https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/issue/feed พุทธมัคค์ 2024-11-30T23:23:51+07:00 พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม, ผศ.ดร. maghavin9@yahoo.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารพุทธมัคค์</strong> เป็นวารสารสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รับตีพิมพ์เผยแพร่บทความในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมโดยเน้นด้านานพระพุทธศาสนาและปรัชญา สหวิทยาการด้านการศึกษา และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/273748 ศึกษาแนวคิดปฏิจจสมุปบาทในพุทธปรัชญาเถรวาท 2024-06-22T22:14:48+07:00 เมธา หริมเทพาธิป metha.ang@gmail.com พิบูล ชัชวานิชย์ metha.ha@ssru.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดปฏิจจสมุปบาทในพุทธปรัชญาเถรวาท วิธีการศึกษาเป็นแบบเชิงคุณภาพ โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้เข้าใจความเป็นจริงของโลกและชีวิตเพื่อเป็นพื้นฐานต่อการดำเนินสู่ความดับทุกข์ เข้าใจกฎไตรลักษณ์ที่อยู่ในวงจรปฏิจจสมุปบาท การจะดำเนินไปสู่การดับทุกข์อย่างสิ้นเชิงได้นั้นจำเป็นต้องดำเนินตามสายกลาง ทางสายกลางแห่งปฏิจจสมุปบาทก็คือ ทางแห่งการดับทุกข์โดยสิ้นเชิง เป็นทางแห่งความไม่ยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิอันสุดโต่ง หลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นใน 3 ลักษณะ ดังนี้ 1) ความหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิอันสุดโต่ง ได้แก่ การหลุดพ้นจากมิจฉาทิฏฐิ 2 ประการ คือ สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ 2) ความหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในสถานที่และเวลา ได้แก่ การหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) ในภพ (31 ภพภูมิ) และความยึดมั่นถือมั่นในสังขารที่ปรุงแต่งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ประการหนึ่ง และ 3) ความหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ได้แก่ การหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271614 แรงจูงใจในความผูกพันจงรักภักดีของบุคลากรระดับปฏิบัติการ ต่อมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง 2024-04-23T16:58:15+07:00 ปราการ เกิดมีสุข lullalil_t@hotmail.co.th ณัชชา ธาตรีนรานนท์ pakvalunh.pan@bkkthon.ac.th ภัควลัญชญ์ ผาณิตพิเชฐวงศ์ pakvalunh.pan@bkkthon.ac.th ปราการ เกิดมีสุข pakvalunh.pan@bkkthon.ac.th สุธีรา Suteera pakvalunh.pan@bkkthon.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจในของบุคลากรระดับปฏิบัติงานต่อมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง, ระดับความผูกพันจงรักภักดีต่อองค์กรและเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจความผูกพันจงรักภักดีต่อองค์กร ตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้ได้ คือ บุคลากรในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F – test และทำการทดสอบแบบจับคู่พหุคูณด้วยวิธีการเปรียบเทียบค่า ผลต่างเฉลี่ยกับค่าผลต่างนัยสําคัญน้อยที่สุด (LSD) ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวม อยู่ในระดับสูง โดยปัจจัยจูงใจมีค่าเฉลี่ยมากกว่าปัจจัยค้ำจุน ส่วนด้านความผูกพันจงรักภักดีต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับสูงเช่นกัน เมื่อทำการทดสอบสมมติฐาน พบว่าระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ความผูกพันจงรักภักดีต่อองค์กรแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 โดยบุคลากรที่มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานทั้งปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนสูงจะมีความผูกพันสูงกว่าบุคลากรในการปฏิบัติงานปานกลางและตํ่าทุกด้าน เมื่อพิจารณาค่า F พบว่าบุคลากรที่มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันมีกันความผูกพันต่อองค์กรแตกต่าง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านลักษณะของงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านเงินเดือนและผลตอบแทน ด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ด้านความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านเทคนิคการควบคุมดูแล ด้านความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน และด้านการได้รับการยอมรับ</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/274085 MEDIATING EFFECT OF JOB SATISFACTIONON THE RELATIONSHIP BETWEEN ADMINISTRATORS' TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP, ORGANIZATIONAL JUSTICE AND TEACHERS’ ORGANIZATIONAL COMMITMENT IN PRIVATE UNIVERSITIES OF KUNMING, YUNNAN PROVINCE 2024-06-02T21:41:04+07:00 Zheng Linyi doreenlinyi@gmail.com Peerapong Tipanark tarinee.kit@bkkthon.ac.th Pornthep Mengman tarinee.kit@bkkthon.ac.th <p>The objectives of this research were (1) to determine the components and indicators of administrators' transformational leadership, organizational justice, teachers’ job satisfaction, and organizational commitment in private universities of Kunming under Yunnan Province. (2) to propose the structural equation model for the mediating effect of teachers’ job satisfaction on the relationship between administrators' transformational leadership, organizational justice, and organizational commitment in private universities of Kunming under Yunnan Province.</p> <p> The research was a quantitative research methodology. The population were teachers from private universities in Kunming, Yunnan Province, The People's Republic of China total of 5533 people. The sample size was obtained by multistage random sampling method, totaling 330. Instrument used for data collection was a five-point rating scale questionnaire. Statistics used for data analysis were Confirmatory Factor Analysis and Structural Equation Model.</p> <p>Research results were revealed that: a mediating effects relationship between administrators' transformational leadership and organizational justice with teachers’ organizational commitment model fit with the empirical data at statistically significant p &lt; 0.01, the value of the full model: Chi-square =120.58, df = 98, GFI =0.96, AGFI=0.94, TLI =0.99, CFI = 0.99, and SRMR= 0.03; (2) administrators’ transformational leadership and teachers’ job satisfaction both have a direct and significant impact on organizational commitment, but organizational justice has not impact on organizational commitment; and (3) teachers’ job satisfaction, as a mediating variable, played a partial mediating role in the relationship between transformational leadership and organizational commitment, played a complete mediating role in the relationship between organizational justice and organizational commitment.</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/274011 การวางใจให้เป็นกลางในการดำเนินชีวิตเพื่อความสุขตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง 2024-06-22T22:11:05+07:00 รวิช ตาแก้ว ravich.ta@ssru.ac.th อัศวิน ฉิมตะวัน asawin_c@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปรัชญา มีวัตถุประสงค์เพื่อตีความการวางใจเป็นกลางในการดำเนินชีวิตเพื่อความสุขอย่างมีวิจารณญาณตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยพบว่า การวางใจเป็นกลางคือ วิถีการดำรงชีวิตโดยมีความเป็นตัวตนของตนเองบนทางสายกลาง มนุษย์ประกอบด้วยชีวิต มีจิต และกาย ใจเป็นกลางระหว่างตนเองตามความเป็นจริงในปัจจุบัน กับตนเองที่คนอื่นคาดหวัง และต้องมีการใช้ชีวิตที่ดี ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ไม่ตกอยู่ในความกดดันของชีวิต วางใจอยู่บนสมดุลระหว่างชีวิตที่ดำรงอยู่ และชีวิตที่คาดหวังได้ เมื่อดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยใจที่เป็นกลางอันพอดีนี้ จิตใจย่อมดำรงปกติสุข</p> <p> ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางแสวงหาความสุขด้วยการทำใจเป็นกลางตามแนวกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง โดยมีวิธีทำใจเป็นกลาง 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ยกเลิกสมมติบัญญัติทั้งปวง 2. เฝ้ามองดูสิ่งนั้นด้วยจิตใจ (soul) 3. พิจารณาสิ่งที่พบด้วยใจ (mind) 4. ตั้งคำถามกับสิ่งที่คิดก่อนหน้า ตอบคำถามด้วยสิ่งที่พบ จนหมดสิ้นความสงสัยในขณะนั้น 5. ทำความเข้าใจ และยอมรับในคำตอบนั้น 6. เข้าใจอย่างลึกซ้ำถึงความเป็นจริงว่าสิ่งทั้งหลายดำเนินไปตามธรรมชาติ</p> <p> เมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนทั้ง 6 แล้วจะพบว่า คำตอบที่ได้นั้นมาจากการเข้าใจธรรมชาติด้วยการที่ใจ (mind) เป็นกลาง ไม่ได้คิดปรุงแต่งให้เป็นไปตามความคิดของตนเอง จะสามารถทำให้มีความสุขในการดำเนินชีวิตได้อย่างแท้จริง</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271778 การจัดการและการมีส่วนร่วมในประเพณีแห่ผ้าห่มพระธาตุจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จังหวัดพะเยา 2024-11-29T19:23:06+07:00 วรรณพร หมื่นจร 64203702@up.ac.th ฉัตรประภา ศรีทา 64203702@up.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการและการมีส่วนร่วมในประเพณีแห่ผ้าห่มพระธาตุจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นพิธีกรรมสำคัญที่สืบทอดมายาวนานของชุมชนวัดพระธาตุจอมทองแต่เมื่อภาคีเครือข่ายที่มีมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นแกนนำเข้ามาร่วมสานต่อจึงทำให้กลายเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ตระการตาจนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจนปัจจุบัน โดยนับแต่ที่มหาวิทยาลัยพะเยาโดยคณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยการศึกษา และคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้ามามีส่วนร่วมครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2559 ร่วมกับจังหวัดพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพะยา ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนรอบวัดพระธาตุจอมทองร่วมกันจัดขึ้น จึงแสดงให้เห็นถึงการจัดการและการมีส่วนร่วมในประเพณีแห่ผ้าห่มพระธาตุจอมทองตามทฤษฎีการจัดการ 4Ms ทั้งในด้านกำลังคน กำลังทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการร่วมกัน นอกจากนี้ยังเป็นไปตามทฤษฎีการมีส่วนร่วมนับแต่ขั้นร่วมกันตัดสินใน ร่วมกันดำเนินงาน ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมประเมินผลงานอีกด้วย </p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/263407 การตีความสัจจะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง 2024-11-29T19:32:11+07:00 ชุมพล ชนะนนท์ chumpol2474@hotmail.com รวิช ตาแก้ว s61584934003@ssru.ac.th <p>ในทางปรัชญา สัจจะ หมายถึง ภาวะของความจริง ภาวะของความจริงสะท้อนผ่านการรับรู้ของมนุษย์ออกมาเป็นกระบวนทรรศน์หรือปรัชญาของแต่ละบุคคล มนุษย์แต่ละคนเห็นสัจจะเป็นเช่นไรก็ตีความเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองไปตามสัจจะที่ตนเห็น และมีเป้าหมายของชีวิตคือความสุขแท้ตามแต่ละบุคคลเข้าใจจากการตีความสัจจะที่ต่างกัน ทำให้มนุษย์มีการผลักดันและขับเคลื่อนรูปแบบของชีวิตที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะดำรงชีวิตในสังคมรูปแบบเดียวกันก็ตาม บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน การตีความสัจจะตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง โดยใช้วิธีวิจัยทางปรัชญา ได้แก่ วิภาษวิธีเพื่อแลกเปลี่ยนเหตุผลระหว่างสองฝ่ายคือฝ่ายกระบวนทรรศน์ปรัชญานวยุคและฝ่ายกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง กระบวนการคิดไตร่ตรองเพื่อแสดงเหตุผลเชิงวิพากษ์ และประเมินคุณค่า ผลการวิจัยพบว่า ฝ่ายตรงข้ามให้เหตุผลสนับสนุนไว้เพื่อพิสูจน์ว่า สัจจะต้องตีความจากระบบเครือข่ายของนวยุคภาพถึงจะถูกต้องตามความเป็นจริง เหตุผลฝ่ายตรงข้ามดูเหมือนว่า สัจจะต้องตีความจากระบบเครือข่ายของนวยุคภาพเท่านั้น เพราะระบบเครือข่ายของนวยุคภาพมีความน่าเชื่อถือและเป็นความจริงสากล แต่ผู้วิจัยกลับมีความคิดเห็นตรงกันข้ามว่า การตีความดังกล่าวยังมีจุดอ่อนที่สามารถโต้แย้งได้ การตีความสัจจะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ได้จำกัดอยู่ที่ระบบเครือข่ายของนวยุคภาพเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะข้อสรุปดังกล่าวเกิดจากการตีความที่ละเลยในเรื่องคุณค่าของสัจจะในระดับปัจเจกและสิ่งอื่นที่อยู่นอกระบบเครือข่าย ไม่สอดคล้องกับความจริงของชีวิตที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ซึ่งเป็นหลักสำคัญของปรัชญาหลังนวยุค โดยเฉพาะในเรื่องของพลังสร้างสรรค์ กล่าวคือ ความรู้สากลที่เป็นระบบเครือข่ายที่นวยุคภาพกล้าวอ้างนั้นล้วนมาจากพลังสร้างสรรค์ที่มาจากผู้คิดนอกกฎนอกกรอบระบบเครือข่ายแบบเดิม ๆ ที่ผ่านมานวยุคเองมักปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ สรุปได้ว่า แม้สัจจะที่แต่ละบุคคลค้นพบจะขัดแย้งกับระบบเครือข่าย หากได้เสริมสร้างวิจารณญาณให้กับผู้ตีความอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น รวมทั้งให้ใช้พลังสร้างสรรค์ พลังปรับตัว พลังร่วมมือ และพลังแสวงหา เพื่อสามารถเข้าถึงความสุขแท้ของชีวิตในแต่ละช่วง ย่อมสามารถยอมรับได้ว่าเป็นสัจจะที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/274038 MEDIATING EFFECTS OF THE RELATIONSHIP BETWEEN TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP AND TEAM INNOVATION PERFORMANCE IN INTERDISCIPLINARY TEAMS IN UNIVERSITIES UNDER ANHUI PROVINCE 2024-06-22T22:07:08+07:00 Liu Wentao 6443202039@bkkthon.ac.th Peerapong Tipanark tarinee.kit@bkkthon.ac.th Pornthep Mengman tarinee.kit@bkkthon.ac.th <p>The objectives of this study are: 1. To determine the components and indicators of the transformational leadership, team innovation performance, organizational innovation climate and knowledge sharing in Interdisciplinary teams from universities in Anhui Province. 2. To propose the Structural Equation Modeling the mediating effect of knowledge sharing and organizational innovation climate on the relationship between transformational leadership and team innovation performance of interdisciplinary teams in universities of Anhui province.</p> <p>Quantitative research methods are utilized. The study surveyed 462 faculty members from eight universities in Anhui Province who teach interdisciplinary majors and engage in research. The sample size was determined using a statistical program and obtained through proportional stratified sampling method, resulting in a total of 360 participants. Data was collected using a five-point scale questionnaire. Confirmatory Factor Analysis (CFA) and Structural Equation Modeling (SEM) were the statistical methods used for data analysis.</p> <p>The findings of the study revealed that 1. organizational innovation climate and knowledge sharing play a mediating effect between transformational leadership and team innovation performance, and the agreement between the model and empirical data is statistically significant at P &lt; 0.01, and the values of the complete model are P &lt; 0.01: Chi-square = 74.29, df = 59, GFI = 0.97, AGFI = 0.96, TLI = 0.99, the CFI = 0.99, and SRMR = 0.03; 2. Transformational leadership has a direct and significant effect on team innovation performance, organizational innovation climate, and knowledge sharing, Organizational innovation climate and knowledge sharing act as mediating variables and play a partial mediating role in the relationship between transformational leadership and team innovation performance.</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/263919 การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี 2023-06-26T23:02:49+07:00 มาริษา เทศปลื้ม marisathespluem@gmail.com เฉลียว พันธุ์สีดา marisathespluem@gmail.com ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์ marisathespluem@gmail.com หัทยา แย้มชุติ marisathespluem@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP model) ควบคู่กับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (Internal Quality Assurance: IQA) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอน จำนวน 12 คน นักศึกษา จำนวน 115 คน บัณฑิต จำนวน 185 คน และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 108 คน รวมทั้งสิ้น 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561) ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.16, S.D. = 0.58) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านมีความเหมาะสมในระดับมาก โดยด้านที่มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด คือ ด้านกระบวนการ ( = 4.31, S.D. = 0.58) รองลงมา คือ ด้านบริบท ( = 4.20, S.D. = 0.54) ด้านปัจจัยนำเข้า ( = 4.07, S.D. = 0.64) และด้านผลผลิต ( = 4.04, S.D. = 0.56) และมีผลการประเมินตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ในทุกตัวบ่งชี้ ระดับคุณภาพดีมาก แสดงให้เห็นว่า หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพจึงสมควรที่จะดำเนินการต่อไป เพียงแต่ปรับปรุงองค์ประกอบย่อยในบางประเด็นเพื่อให้มีคุณภาพมากขึ้น</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/274039 ทักษะการบริหารสถานศึกษายุคใหม่ของผู้บริหารโรงเรียนในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2024-06-22T21:45:11+07:00 วรชัย วิภูอุปรโคตร vorachai.vip@bkkthon.ac.th วัชรี รัศมีดิษฐ watcharee.ratsamee@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ของผู้บริหารโรงเรียนในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ของผู้บริหารโรงเรียนในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามการประเมินของครู จำแนกตามระดับการศึกษาและอายุ</p> <p>การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรเป็นครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 320 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 175 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นดำเนินการสุ่มแบบชั้นภูมิ วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) สร้างเครื่องมือ (3) เก็บรวบรวมข้อมูล และ (4) วิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า (1) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ของผู้บริหารโรงเรียนในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าทักษะการสื่อสาร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือทักษะการบริหารจัดการองค์การ ทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ และ ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล (2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการบริหารสถานศึกษายุคใหม่ของผู้บริหารโรงเรียนในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามการประเมินของครู จำแนกตามระดับการศึกษา และอายุ โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/257041 อิทธิพลของหลักพุทธธรรมในการปกครองและภาวะผู้นำที่มีต่อพฤติกรรม อันพึงประสงค์ของผู้นำในชุมชนเขตพื้นที่วัดหนองเต่าคำ บ้านดงป่างิ้ว ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 2022-06-13T15:33:54+07:00 ณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์ bhikkunuttawat.t@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านเพศมีอิทธิพลต่อหลักพุทธธรรมในการปกครอง ภาวะผู้นำ และพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้นำ ในชุมชนเขตพื้นที่วัดหนองเต่าคำ บ้านดงป่างิ้ว ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และ2) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของหลักพุทธธรรมในการปกครองและภาวะผู้นำที่มีต่อพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้นำ ในชุมชนเขตพื้นที่วัดหนองเต่าคำ บ้านดงป่างิ้ว ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการวิจัยเชิงสำรวจของผู้นำในชุมชนเขตพื้นที่วัดหนองเต่าคำ ที่เป็นประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน (เท่านั้น) โดยใช้แบบสอบถาม และใช้สถิติการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยด้านเพศไม่มีอิทธิพลต่อหลักพุทธธรรมในการปกครอง ภาวะผู้นำ และพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้นำ ในชุมชนเขตพื้นที่วัดหนองเต่าคำฯ ระดับพฤติกรรมของปัจจัยในภาพรวมด้านผู้นำ ภาวะผู้นำ และหลักพุทธธรรมในการปกครองอยู่ในระดับปานกลาง ความแปรปรวนของการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณของปัจจัยในภาพรวมที่ส่งผลต่ออิทธิพลของหลักพุทธธรรมในการปกครอง ภาวะผู้นำ และพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้นำอย่างมีนัยสำคัญ และความถดถอยเชิงพหุคูณของปัจจัยในภาพรวมอิทธิพลของหลักพุทธธรรมในการปกครองที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำ และพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้นำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ 0.01 โดยการทำนายผลการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนของการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณยืนยันว่าตัวแปรอิสระ (เพศ) ไม่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ </p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/273068 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการนิเทศภายในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 2024-04-01T06:23:22+07:00 วราภรณ์ สูแพะ waraporn.supa@northbkk.ac.th อุษาพร กลิ่นเกสร Waraporn.supa@northbkk.ac.th สมศักดิ์ คงเที่ยง Waraporn.supa@northbkk.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร เพื่อศึกษาการนิเทศภายในโรงเรียน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการนิเทศโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 ในการวิจัยใช้วิธีการหาค่าโดยการสุ่มแบบง่ายจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูได้จำนวน 309 คน ในปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p><strong> ผลการวิจัย</strong> พบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับ ได้แก่ ด้านการวางแผนกำหนดภารกิจ ด้านการประเมินผลและตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน ด้านการนิเทศการสอน ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ และด้านการจัดการหลักสูตรและการสอน 2) การนิเทศภายในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน มีการดำเนินการอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับ ได้แก่ การประเมินผลการนิเทศและการรายงานผล การวางแผนการนิเทศและกำหนดทางเลือก การดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน การสร้างสื่อและเครื่องมือในการนิเทศและ การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการนิเทศภายในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง 0.802 (r= 0.802) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/264003 ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานรายวิชาสถานการณ์จำลอง และเกมเพื่อการเรียนรู้ ของนักศึกษาวิชาชีพครู 2023-06-26T23:04:15+07:00 มาริษา เทศปลื้ม marisathespluem@gmail.com พรรณี บุญประกอบ marisathespluem@gmail.com มนัส บุญประกอบ marisathespluem@gmail.com เฉลียว พันธุ์สีดา marisathespluem@gmail.com นภวรรณ แย้มชุติ marisathespluem@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสถานการณ์จำลองและเกมเพื่อการเรียนรู้ ของนักศึกษาวิชาชีพครูก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน 2) ศึกษาความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครูหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครูต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน รายวิชาสถานการณ์จำลองและเกมเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One – Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบประเมินทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ 3) แบบสอบถามความคิดเห็น และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาวิชาชีพครูที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสถานการณ์จำลองและเกมเพื่อการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักศึกษาวิชาชีพครูหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน มีคะแนนความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 3.69, S.D. = 0.59) และ 3) นักศึกษาวิชาชีพครูมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.19, S.D. = 0.62)</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/274041 การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในสำนักงาน เขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2024-11-28T16:55:12+07:00 วรชัย วิภูอุปรโคตร vorachai.vip@bkkthon.ac.th ชลธราธร ภาคำ choltara123@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร และ (2) เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามการประเมินของครู จำแนกตาม อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน </p> <p>การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรประกอบด้วยครูในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 7 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 320 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ประกอบด้วย ครูในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 175 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) สร้างเครื่องมือ (3) เก็บรวบรวมข้อมูล และ (4) วิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตทวีวัฒนา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม อายุ ประสบการณ์ในการทำงานตามการประเมินของครูจำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ในภาพรวมไม่แตกต่าง</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/257042 การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลต่อกระบวนการทางความคิด ตามหลักสัมมาทิฏฐิของคนในชุมชน เขตพื้นที่วัดหนองเต่าคำ บ้านดงป่างิ้ว ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 2024-11-29T19:19:19+07:00 พระณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์ bhikkunuttawat.t@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลต่อกระบวนการทางความคิดตามหลักสัมมาทิฏฐิของคนในชุมชน เขตพื้นที่วัดหนองเต่าคำ บ้านดงป่างิ้ว ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า ระดับพฤติกรรมกระบวนการทางความคิดและระดับพฤติกรรมตามหลักสัมมาทิฏฐิของคนในชุมชน เขตพื้นที่วัดหนองเต่าคำฯ อยู่ในระดับปานกลาง, ความแปรปรวนของความถดถอยเชิงพหุคูณของปัจจัยในภาพรวมที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลต่อกระบวนการทางความคิดของคนในชุมชน, ความแปรปรวนของความถดถอยเชิงพหุคูณของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลต่อหลักสัมมาทิฏฐิของคนในชุมชน, ความถดถอยเชิงพหุคูณของปัจจัยในภาพรวมที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลต่อกระบวนการทางความคิดตามหลักสัมมาทิฏฐิของคนในชุมชน, สมมติฐานเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลต่อกระบวนการทางความคิดตามหลักสัมมาทิฏฐิของคนในชุมชน และสมมติฐานเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามของปัจจัยด้านเพศที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลต่อกระบวนการทางความคิดตามหลักสัมมาทิฏฐิของคนในชุมชน เขตพื้นที่วัดหนองเต่าคำ บ้านดงป่างิ้ว ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 </p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/273069 ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารกับประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 2024-06-29T00:33:49+07:00 ชฎาพร ผลประสาท chadaporn.phon@northbkk.ac.th อุษาพร กลิ่นเกษร chadaporn.phon@northbkk.ac.th สมศักดิ์ คงเที่ยง chadaporn.phon@northbkk.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของครูในการบริหาร ระดับประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารกับประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 วิธีการศึกษาได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำนวน 285 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยนำไปทดลองสอบถาม (try-out) กับกลุ่มทดลองสอบ จำนวน 30 คน เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ตามวิธีของ Cronbach ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.983 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 ค่าเฉลี่ยระดับการมีส่วนร่วมของครูในการบริหาร อยู่ในระดับมาก ( = 4.01, S.D. = 0.522) และเมื่อพิจารณารายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับ ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล และด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ สำหรับค่าเฉลี่ยของ ประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D.= 0.475) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับ ได้แก่ การแก้ไขปัญหาภายในสถานศึกษา รองลงมา คือ การผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง การพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก และด้านที่น้อยที่สุดคือ การปรับเปลี่ยนและพัฒนาสถานศึกษา ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารกับประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษาโดยรวมสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01(r = 0.754) </p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/266056 ภาวะผู้นำของเยาวชนยุคดิจิทัล: การเสริมศักยภาพนักศึกษา ด้านการพัฒนาทักษะทางวิชาการของเครือข่ายมหาวิทยาลัยภูมิภาคตะวันตก 2023-12-10T16:31:58+07:00 นิภาวรรณ เจริญลักษณ์ nipawan.cha@mahidol.edu <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทเรียนการเสริมศักยภาพภาวะผู้นำของเยาวชนจากโครงการเสริมศักยภาพทักษะทางวิชาการของเครือข่ายมหาวิทยาลัยภูมิภาคตะวันตกของนักศึกษาสาขาจัดการชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การถอดบทเรียน และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบคุณภาพด้วยเทคนิคสามเส้าและนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าการเสริมศักยภาพผู้นำของเยาวชน ประกอบด้วย การมีเป้าหมายร่วม การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การทำงานเป็นทีม การคิดเชิงบวก และเข้าใจเชิงระบบ กระบวนการเสริมศักยภาพที่เป็นขั้นตอน ประกอบด้วย 4 ลำดับ คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินความต้องการ 2) การเสริมศักยภาพ 3) การเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันทางวิชาการ และ 4) สรุปบทเรียนประเมินผล</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/274045 การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสหวิทยาเขตบัณฑูรสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2024-11-29T18:41:36+07:00 วรชัย วิภูอุปรโคตร vorachai.vip@bkkthon.ac.th สุขธนัท อินณะระ 6533100122@bkkthon.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตบัณฑูรสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร และ 2) เปรียบเทียบการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตบัณฑูรสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ตามการประเมินครูจำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน</p> <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรเป็นครูในสหวิทยาเขตบัณฑูรสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 140 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 103 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) สร้างเครื่องมือ (3) เก็บรวบรวมข้อมูล และ (4) วิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตบัณฑูรสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความสุภาพ รองลงมา คือ ด้านความซื่อสัตย์ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความประหยัด 2) การเปรียบเทียบการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตบัณฑูรสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ตามการประเมินของครู จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน ทุกด้านไม่แตกต่างกัน</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/261158 แนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารคณะสงฆ์ ของวัดในจังหวัดสมุทรสงคราม 2022-12-18T22:47:38+07:00 พระครูสาครธรรมประสิทธิ sakornthamprasit@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารคณะสงฆ์ของวัดในจังหวัดสมุทรสงคราม 6 ด้าน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพระสังฆาธิการจำนวน 385 รูป ผลการวิจัยพบว่าพระสังฆาธิการส่วนใหญ่มี อายุ 41 – 50 ปี มีพรรษา 21 – 30 พรรษา จบปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จบนักธรรมชั้นเอกและไม่มีวุฒิทางเปรียญธรรม ประสิทธิผลของการบริหารกิจการคณะสงฆ์พบว่าอยู่ในระดับมากในทุกด้านซึ่งได้แก่ ด้านงานสาธารณูปการ ด้านงานการปกครอง ด้านงานศึกษาสงเคราะห์ ด้านงานศาสนศึกษา ด้านงานเผยแผ่ศาสนธรรมและด้านงานสาธารณสงเคราะห์</p> <p> ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ สรุปได้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดประสิทธิผลของการบริหารกิจการคณะสงฆ์ มากที่สุดโดยลำดับได้แก่ ภาวะผู้นำของเจ้าอาวาส(Ŷ = 0.374X1 + 0.491X2) ค่าR Square = 0.805 คุณภาพการบริหาร (Ŷ = 0.742X1 + 0.325X2 - 0.453X3 ) ค่า R Square = 0.793 และการมีส่วนร่วมสนับสนุน(Ŷ = 0.245X1 - 0.120X2 - 0.255X3)ค่า R Square = 0.716ตามลำดับ โดยมีสมการพยากรณ์ Ŷ = 0.429X1 + 0.421X2+ 0.418X3 ค่า R Square = 0.761</p> <p> การวิจัยนี้ ได้ค้นพบทฤษฎีสำคัญที่ส่งผลให้เกิดประสิทธิผลการบริหารกิจการคณะสงฆ์ คือ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีการบริหารและทฤษฎีการมีส่วนร่วมและได้สะท้อนให้เห็นว่าวัดยังมีการบริหารงานตามทฤษฎีองค์การในระบบปิดเพราะประสิทธิผลของการบริหารกิจการคณะสงฆ์ยังขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสเป็นหลักจึงควรที่จะเปิดการบริหารกิจการวัดให้มีผู้มีส่วนร่วมสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมภายนอกตามทฤษฎีองค์การระบบเปิดให้มากยิ่งขึ้นและมีการปรับโครงสร้างการแบ่งงานของการบริหารวัดให้มีรองเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสผู้รับผิดชอบในด้านต่างๆและมีคณะสงฆ์ปฏิบัติหน้าที่รองรับในแต่ละด้านอย่างเป็นระบบตามหลักการจัดองค์การที่ยึดหลักกฎหมายและเหตุผล</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/273203 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับ การบริหารงานวิชาการโรงเรียน อำเภอเมืองปทุมธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 2024-11-29T18:50:03+07:00 มนตรา แสนคำ montra.saen@northbkk.ac.th อุษาพร กลิ่นเกสร montra.saen@northbkk.ac.th อัจฉรา นิยมาภา montra.saen@northbkk.ac.th ทรงยศ แก้วมงคล montra.saen@northbkk.ac.th อัจศรา ประเสริฐสิน montra.saen@northbkk.ac.th <p>การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการโรงเรียน อำเภอเมืองปทุมธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับของภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับการบริหารวิชาการ และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับงานบริหาร วิชาการโรงเรียนในอำเภอเมืองปทุมธานี สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการหรือหัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคลและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 226 คน ซึ่งสุ่มมาจากจำนวนประชากร 568 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างเป็น 2 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 สุ่มจำนวนโรงเรียน 25 โรงเรียน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Propotion Stratefied Sampling) โดยใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง และขั้นตอนที่ 2 ใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ในการสุ่มจำนวนครู จากโรงเรียนในแต่ละขนาด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ดังนี้5 อยู่ในระดับมากที่สุด 4 อยู่ในระดับมาก 3 อยู่ในระดับปานกลาง 2 อยู่ในระดับน้อย 1 อยู่ในระดับน้อยที่สุดวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product-moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในอำเภอเมืองปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ( = 3.91, S.D. = 0.388) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอเมืองปทุมธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับ ได้แก่ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ( = 3.93, S.D. = 0.450) รองลงมา คือ การระตุ้นทางปัญญา ( = 3.90, S.D. = 0.448) การคำนึงถึงปัจเจกบุคคล ( = 3.90, S.D. = 0.448) และ การสร้างแรงบันดาลใจ ( = 3.88, S.D. = 0.466) 2. การบริหารวิชาการโรงเรียนในอำเภอเมืองปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา( = 4.15, S.D. =0.744 การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา( = 4.15, S.D. = 0.744 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา( = 3.97 , S.D. = 0.635 การนิเทศการศึกษา ( = 3.88,S.D. = 0.647) การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน( = 3.80, S.D. =0.646) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้( = 3.76, S.D. = 0.765 และ การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ( = 3.73, S.D. = 0.584 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการกระตุ้นปัญญามีความสัมพันธ์กับความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนในอำเภอเมืองปทุมธานี สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางบวกซึ่งอยู่นระดับสูง ( = 0.810) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/274051 RELATIONSHIP BETWEEN TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP OF ADMINISTRATORS AND TEACHING INNOVATION PERFORMANCE OF TEACHERS IN INNER MONGOLIA MEDICAL UNIVERSITY UNDER INNER MONGOLIA 2024-11-29T18:40:04+07:00 ธารินี กิตติกาญจนโสภณ tarinee2004@outlook.co.th Qiu DongYi tarinee.kit@bkkthon.ac.th Vorachai Vipoouparakhot tarinee.kit@bkkthon.ac.th Somkid Sakulsatapat tarinee.kit@bkkthon.ac.th <p>The research objective were: (1) to study transformational leadership of administrators in InnerMongolia Medical University; (2) to study the teaching innovation performance of teachers in InnerMongolia Medical University; and (3) to study the relationship between transformational leadership of administrators and teaching performance of teachers innovation performance in InnerMongolia Medical University.</p> <p> This research was a survey research method. The population consisted of 500 teachers in InnerMongolia Medical University. Sample size was determining as Krejcie and Morgan’s table, obtained via simple random sampling techniques. The sample comprised of 217 teachers. The instrument for data collection was a 5-point rating scale questionnaire. The statistic for data analysis were frequency, percentage, mean, Standard Deviation and Pearson Correlation Coefficient.</p> <p> The results were found that: (1) transformational leadership of administrators in InnerMongolia Medical University, overall was at high level; (2) teaching innovation performance of teachers in InnerMongolia Medical University, overall was at high level; and (3) the relationship between transformational leadership of administrators and teaching innovation performance of teachers in InnerMongolia Medical University was positive correlation with statistically significant at the .01 level.</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/263329 บทวิจารณ์หนังสือเรื่อง “คู่มือมนุษย์” 2022-12-18T16:07:31+07:00 พระอธิการอำพน จารุโภ (ดาราศาสตร์) darasas11355@gmail.com <p>หนังสือเรื่อง <strong>“คู่มือมนุษย์”</strong> ที่ผู้เขียนสนใจและนำมาวิจารณ์ต่อไปนี้เป็นเทปบันทึกของพระธรรมเทศนา ของหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ ซึ่งเกิดจากที่ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้บรรยายในการอบรมผู้ที่จะเข้าเป็นผู้พิพากษา ได้รับการโปรดเกล้าเป็นตุลาการ เพื่อนำหลักธรรมสำหรับการปฏิบัติตน ตามหน้าที่หรือผดุงรักษาคุณธรรมเอาไว้ และเนื้อหาของคำเทศนาถูกตีพิมพ์เป็นหนังสือหลายครั้งหลายสำนักพิมพ์ แต่ฉบับที่ผู้เขียนนำมาวิจารณ์นั้น เป็นของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งตีพิมพ์เนื่องในเทศกาลวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี 2552 เนื้อหาได้รับการอธิบายอย่างลึกซึ้ง <strong>“คู่มือมนุษย์” ที่พุทธทาส อินทรปญโญ</strong> ได้นำเสนอนั้น มีหลักการตามแนวปรัชญา ที่เน้นอรรถปริวรรตศาสตร์อธิบายในวิธีการที่เรียกว่า การถอดความเชิงปรัมปรา โดยเริ่มตั้งแต่ คำจำกัดความตามรากศัพท์ แล้วจึงขยายออกไปสู่ความหมายที่ใช้ในสังคมเพื่อให้เข้าใจ“ภาษาธรรม”ของคำว่า “คู่มือมนุษย์”แบบ “ภาษาคน” อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการเชื่อมโยงกับที่พระพุทธองค์ทรงอาศัยการไตร่ตรองเชิงวิเคราะห์ โดยการพัฒนาการศึกษาเกี่ยวกับอดีตการพิจารณาถึงอนาคต ที่ทำให้การไตร่ตรอง เป็นการไตร่ตรองที่แท้จริง ถึงแม้ความหมายที่ถูกต้องทั้งมวลจะถูกขมวดไว้ในคำว่า “ตถตา” ก็ตามเพื่อทำให้ชีวิตของตนเองเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดตามหลักของพระพุทธศาสนา</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271135 บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) ตอบคำถาม เรื่อง สตรีในพระพุทธศาสนา 2024-11-29T18:02:20+07:00 พระปลัดสมหมาย สุรปญฺโญ (ใจงาม) phrasommai2407@gmail.com ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม phrasommai2407@gmail.com <p>ภาพรวมของหนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับพระภิกษุณีในประเทศไทย โดยมีเนื้อหาสาระในการเรียกร้องสิทธิทางการอุปสมบทเป็นพระภิกษุณีในประเทศไทย โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 6 บท คือ บทที่ 1 พระภิกษุณีสงฆ์ในสมัยพุทธกาล บทที่ 2 พระภิกษุณีสงฆ์ในปัจจุบัน บทที่ 3 ความเชื่อที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสตรีชาวพุทธ บทที่ 4 ท่าทีของสตรีชาวพุทธต่อปัญหาสังคม บทที่ 5 แม่ชีในประเทศไทย และ บทที่ 6 องค์กรพัฒนาสตรีชาวพุทธในประเทศไทย </p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/256491 ธาเลส ผู้ริเริ่มปรัชญากรีก 2024-11-29T17:58:53+07:00 ปรียะพงษ์ คุณปัญญา priyaphngsk@gmail.com <p>บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากระบวนทรรศน์ต่างๆ โดยใช้กระบวนการศึกษาจากเอกสารหนังสือ ผลของการศึกษาพบว่า ปรัชญามนุษย์โลกมีความน่าสนใจและสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จำนำมาศึกษา เพราะถือว่าเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมวลมนุษย์โลกโดยรวม จึงได้ตั้งประเด็นปัญหาดังกล่าวไว้ เพื่อจะได้นำเสนอเนื้อและวิธีการในการแสวงหาความรู้ปัญหาต่างๆ โดยก้าวแรกของการแสวงหาความรู้นั้น มนุษย์ต้องริเริ่มกลับมาให้คุณค่าความสำคัญในการเป็นมนุษย์ก่อนว่า มนุษย์เป็นจุดศูนย์ร่วมทุกอย่าง ทุกอย่างสามารถเข้าถึง อธิบายได้ด้วยเหตุผล โดยผ่านวิธิการกลั้นกรองโดบสมองมนุษย์ รวบรวมข้อมูล เฝ้าสังเกต ติดตามผล อย่างช้านานแล้วนำมาขบคิดจนตกผลึก บ่งบอกว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผลที่แตกต่างจากสัตว์เดรัจฉาน จากลักษณะร่วมระหว่างมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉานคือกิน อุจจาระ สืบพันธุ์ หลับนอนสิ่งเหล่านี้เป็นลักษณ์ทั่วไปของสัตว์โลก เพราะมนุษย์นั้นนอกจากจะมีสัญชาตญาณลอกเลียนแบบแล้ว ยังสงสัยถึงความน่าจะเป็นไปได้ตลอดถึงความสอดคล้องกันของเหตุการณ์ต่างที่มีอาจจะมีความสัมพันธ์กันทางระบบนิเวศวิทยา การสังเกตนี้บางครั้งอาจกินเวลานานมากพอสมควร เพราะจะต้องติดตามอยู่อย่างสม่ำเสมอถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำมาเป็นแนวคิดในการอธิบายถึงสาเหตุการเกิดขึ้น โดยจำแนกออกเป็น 2 ประการ คือ 1. ปัญหาเกี่ยวกับรูปธรรม คือ ปัญหาที่สามารถมองเห็นจบต้องได้โดยประสาทสัมผัส 2. ปัญหาเกี่ยวกับนามธรรม นั้น ได้มุ่งเน้นเกี่ยวกับเรื่องความรู้สึกผิดชอบชั่วดี โดยรวมเรียกว่ามโนธรรมสำนึกนั้นเอง</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/272021 การปรับปรุงการสอนพุทธศาสนาในยุคที่เปลี่ยนแปลง 2024-11-29T20:04:10+07:00 พระสมพร นามอินทร์ namein33@gmail.com พระมหาพิเศษ สุขสมาน Namein33@gmail.com ชาตรี สุขสบาย Namein33@gmail.com <p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ การปรับปรุงการสอนพุทธศาสนาในยุคที่เปลี่ยนแปลง โดยใช้การศึกษาจาก การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากตำรา เอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง จากผลการศึกษาพบว่า การปรับปรุงการสอนพุทธศาสนาในยุคที่เปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคม การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และความแตกต่างระหว่างผู้เรียน แนวทางการปรับปรุงที่สำคัญ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และการออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการทำงานร่วมกันและการสื่อสาร</p> <p>การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ควรนำมาใช้ โดยครอบคลุมการทำกิจกรรมกลุ่ม การอภิปราย และการทดลอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง สำหรับผู้สอน ความรู้และทักษะในการสอนยุคปัจจุบันเป็นสิ่งที่จำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถถ่ายทอดหลักธรรมพุทธศาสนาและทักษะชีวิตให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปรับปรุงและนำเทคโนโลยีและวิธีการที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการสอนพุทธศาสนาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำให้ผู้เรียนเข้าใจหลักทางธรรมและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/263298 ความสำคัญของคุณธรรม 8 ประการสำหรับเยาวชน 2022-12-18T16:14:13+07:00 ดวงพร ปานะพราหม moon_sophee@hotmail.com <p>คุณธรรม เป็นหัวใจสำคัญต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรม บ่งถึงการแสดงออกทางกาย ทางวาจาและทางใจ ตลอดถึงหลักคิด วิธีพูด วุฒิภาวะของแต่ละบุคคล ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งของปัจเจกบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่เป็นผู้นำองค์กร หน่วยงาน หรือปัญญาชน หลักคิดวิธีการของบุคคลเหล่านี้จะมีอิทธิพลส่งผลให้สังคมเกิดการเคลื่อนไหวทั้งความคิดและสติปัญญา คุณธรรม 8 ประการ จึงเป็นบารมรธรรมอย่างหนึ่งที่นำพาบุคคลให้ประสบความสำเร็จในทุกๆ ด้าน</p> 2024-11-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 พุทธมัคค์