พุทธมัคค์
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm
<p><strong>วารสารพุทธมัคค์</strong> เป็นวารสารสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รับตีพิมพ์เผยแพร่บทความในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมโดยเน้นด้านานพระพุทธศาสนาและปรัชญา สหวิทยาการด้านการศึกษา และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p>
ศูนย์วิจัยธรรมศึกษาสำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม : Research Center for Dhammasuksaphrapariyattidhamma of Watawutvikasitaram
th-TH
พุทธมัคค์
2630-0788
-
แนวทางการป้องกันการละเมิดพระวินัยของภิกษุในสังคมไทย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/241248
<p>การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเอกสารเชิงคุณภาพร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการละเมิดพระวินัยของภิกษุในสังคมไทย (2) เพื่อศึกษาการป้องกันการละเมิดพระวินัยของภิกษุในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการป้องกันการละเมิดพระวินัยของภิกษุในสังคมไทย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการละเมิดพระวินัยของภิกษุในสังคมไทยเกิดจากปัจจัย 3 ประการ คือ 1) การไม่รู้พระวินัย 2) การไม่ปฏิบัติตามพระวินัย 3) การตีความพระวินัยต่างกัน โดยมีสาเหตุจากการศึกษาและการปกครองคณะสงฆ์ ความสัมพันธ์กับอุบาสก อุบาสิกา และสภาพสังคมไทยเปลี่ยนไป ผลร้ายแรงที่สุดของการละเมิดพระวินัย คือ อาบัติปาราชิก เกี่ยวข้องกับความผิด 4 อย่าง คือ 1) เสพเมถุน 2) ลักของคนอื่นที่มีราคา 5 มาสก 3) จงใจฆ่ามนุษย์ และ 4) อวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน</p> <p> แนวทางการป้องกันการละเมิดพระวินัยโดยภาพรวม 1) ฝ่ายพระสงฆ์ ภิกษุ ต้องป้องกันตนเอง ด้วยหลักธรรมคือ หิริและโอตตัปปะ สติ สัมปชัญญะ สร้างสมณสัญญา คณะสงฆ์ คือ คณะสงฆ์ผู้ใกล้ชิด คอยแนะนำ บอกสอน ประพฤติปฏิบัติให้ดูเป็นแบบอย่าง คณะสงฆ์ผู้ปกครอง มีอำนาจหน้าที่ปกครองโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และพระวินัย 2) ฝ่ายฆราวาส คอยช่วยป้องกัน สอดส่องดูแล</p> <p> </p>
พระมหาบุญส่ง สิริภทฺโท
พระมหาอดิเดช สติวโร
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
1
7
-
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/241344
<p>ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในสังคมปัจจุบัน โดยใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพด้านเอกสารและมีการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประกอบการวิจัยเรื่องนี้ด้วย <br>ผลการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่ารูปแบบความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทมี 5 รูปแบบ คือ ความเสียสละทรัพย์ ความเสียสละบุตรธิดา ความเสียสละภรรยา ความเสียสละอวัยวะ ความเสียสละชีวิต และมี 3 ระดับบารมี คือ ทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมี <br>ในด้านการศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเสียสละของพระโพธิสัตว์ พบว่า มีธรรมหลักประกอบด้วย ทศบารมี และธรรมสนับสนุนประกอบด้วย อกุศลมูล เบญจศีล เบญจธรรม สัทธา 4 พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 ฆราวาสธรรม 4 บุญกิริยาวัตถุ 10 ส่วนด้านการเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักความเสียสละของพระโพธิสัตว์ในสังคมปัจจุบัน พบว่า บารมี 10 ประกอบด้วย ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี เป็นคุณธรรมหลักที่ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ ด้านกายและทรัพยากร ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยใช้บารมีต่าง ๆ ได้แก่ ทานบารมี และศีลบารมี ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านกายและทรัพยากร เนกขัมมบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี และอธิษฐานบารมี ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ สัจจะบารมี และเมตตาบารมี ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสังคม ปัญญาบารมี และอุเบกขาบารมี ใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านปัญญา</p>
พระมหาพิทักษ์ จิตฺตโสภโณ
พระมหาอดิเดช สติวโร
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
8
15
-
ยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นความดันโลหิตสูงในชุมชนเลียบคลองมอญ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/242645
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นความดันโลหิตสูงในชุมชนเลียบคลองมอญ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และ ผลการประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นความดันโลหิตสูงในชุมชนเลียบคลองมอญ เป็นแบบการวิจัยและพัฒนา โดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ประชากรคือผู้สูงอายุที่เป็นความดันโลหิตสูง 60 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3) ประเด็นการระดมสมอง และ4)ประเด็นการสนทนากลุ่ม โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลของการวิจัยพบว่า การสร้างยุทธศาสตร์ครั้งนี้ ได้ชื่อวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและกลยุทธ์ครอบคลุมประเด็นยุทธศาสตร์ 5 ด้านได้แก่ ด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน การคลายเครียดและการรักษา นำไปสู่การทดลองส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติตัวการดูแลสุขภาพตนเองได้เพิ่มขึ้นเหมาะสมกับบริบทและประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นความดันโลหิตสูงในชุมชนเลียบคลองมอญ ภาพรวมได้รับการประเมินในระดับดีมาก</p>
วรรณรักษ์ หนูเพชร
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
16
25
-
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/240735
<p>วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีของประชาชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ประชากร ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 121,718 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ที่ระดับความคลาดเคลื่อนไม่เกิน.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีลักษณะเป็นแบบสอบถามการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.878 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที (t- test) One - Way ANOVA หรือ (F- test) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี พบว่า โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการชุมนุมทางการเมือง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านกระบวนการเลือกตั้ง ส่วนด้านการรณรงค์ให้ความรู้ทางการเมือง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด จำแนกตามเพศ พบว่า อยู่ในระดับมาก จำแนกตามอายุ พบว่า อายุ 51 ปี ขึ้นไป อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนกลุ่มอายุอื่นๆ อยู่ในระดับมาก จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ระดับการศึกษาประถมศึกษา กับระดับการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนระดับการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า กับระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า อยู่ในระดับมาก จำแนกตามอาชีพ พบว่า อาชีพเกษตรกรรม/รับจ้าง อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนกลุ่มอาชีพอื่น ๆ อยู่ในระดับมาก และจำแนกตามรายได้ต่อเดือน พบว่า รายได้ต่อเดือน 8,000 - 10,000 บาท อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนกลุ่มรายได้ อื่นๆ อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีของประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษาและรายได้ต่อเดือน ต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ที่มีอาชีพ ต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนที่มีอายุต่างกัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ปัญหาที่มีข้อเสนอแนะมากที่สุด คือ ด้านการชุมนุมทางการเมือง ได้แก่ นักการเมืองไม่สนใจในความเดือดร้อนของประชาชนทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวมจึงก่อให้เกิดการชุมนุมทางการเมืองที่ยาวนาน แนวทางแก้ไขปัญหามากที่สุด คือ ด้านการชุมนุมทางการเมือง ได้แก่ นักการเมืองควรสนใจในความเดือดร้อนของประชาชนและทำเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าส่วนตน</p>
พระมหาประเสริฐศักดิ์ ปุญฺญพฑฺฒโน
สมพงษ์ โกละกะ
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
35
50
-
การประยุกต์ใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่มีต่อการครองตนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/241995
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการการดำเนินชีวิตและครองตนของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่มีต่อการครองตนของนักศึกษา และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตในการครองตนของนักศึกษาวิทยาลัยศาสนศาตร์ยโสธร วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้านเชิงปริมาณได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 321 รูป/คน สำรวจจากแบบสอบถามและแปรผลตามค่าทางสถิติ ส่วนด้านเชิงคุณภาพ ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวนทั้งสิ้น 10 รูป/คน แล้วนำผลการสัมภาษณ์มาประมวลผล วิเคราะห์ สังเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ</p> <p> <strong>ผลการวิจัย </strong>พบว่า 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ด้านอายุ ด้านเพศ จำนวน 321 รูป/คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 224 รูป/คน และเพศหญิง จำนวน 97 คน ส่วนด้านอายุ จำนวน 321 คน ส่วนใหญ่ อายุ 31-40 ปี จำนวน 178 รูป/คน อายุ 41-50 ปี จำนวน 72 รูป/คน และอายุ 51 ปี มีจำนวน 18 รูป/คน และชั้นปีที่ศึกษา จำนวน 321 คน ส่วนใหญ่ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 85 รูป/คน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 80 รูป/คน และชั้นปีที่ 5 จำนวน 24 รูป/คน 2) ผลการวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่มีต่อการครองตนของนักศึกษา ทั้ง 5 ด้าน คือ (1) ด้านความซื่อสัตย์ (2) ด้านความอ่อนน้อมถ่อมตน (3) ด้านความอดทน อดกลั้น (4) ด้านความเอื้อเฟื้อ เสียสละ (5) ด้านความกตัญญู กตเวที พบว่า หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่มีต่อการครองตนของนักศึกษาโดยภาพรวม มีอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 3.82) 3) ผลการวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินชีวิตในการครองตนของนักศึกษา ทั้ง 5 ด้าน คือ (1) ด้านครอบครัว (2) ด้านสังคม-สิ่งแวดล้อม (3) ด้านพฤติกรรมและค่านิยม (4) ด้านหลักธรรมกับการดำเนินชีวิต (5) ด้านความกตัญญู กตเวที โดยภาพรวม มีอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}"> = 3.88) 4) ข้อเสนอแนะการทำวิจัย ควรส่งเสริมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้หลักธรรมในการครองตนเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพราะเป็นสถานศึกษาที่โดดเด่นทางด้านวิชาการควบคู่กับหลักคุณธรรม จริยธรรม ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบูรณาการหลักธรรมทางพุทธศาสนาให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนและการบริหารการศึกษา</p>
จำรัส บุดดาพงษ์
นพรัตน์ ศิลากุล
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
61
68
-
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านกระเบา บ้านหนองบัว และบ้านจะกุด ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/243516
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านกระเบา บ้านหนองบัว และบ้านจะกุด ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 2) ศึกษากระบวนการสร้าง การสืบทอด การเปลี่ยนแปลงภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 3) จัดการองค์ความรู้ตามวัตถุประสงค์ทั้ง 2 ข้อให้เป็นระบบ อยู่ในสภาพพร้อมใช้และเข้าถึงได้ง่าย</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า อาณาบริเวณบ้านกระเบา บ้านหนองบัว และบ้านจะกุด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยของพวกขอมและลาวตามลำดับ และได้มีการอพยพเคลื่อนย้ายกลุ่มชนมาตั้งบ้านแปงเมืองแถบนี้ และได้รับบรรดาศักดิ์ให้ปกครองบ้านเมือง ผนวกกับความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และที่ตั้งสัมพันธ์ ส่งผลให้พื้นที่แถบนี้มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่สืบเนื่องตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยรัฐไทยปัจจุบัน และส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาในเวลาต่อมา</p> <p>ภูมิปัญญาที่ถือเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นแห่งนี้ ซึ่งเป็นผลผลิตของความพยายามที่จะดำรงอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และสังคม ซึ่งประกอบด้วยประชากรอย่างน้อย 2 กลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ๆ คือ ลาวและเขมร อาจตระหนักในคุณค่าของกันและกัน ได้แก่ ภูมิปัญญาการรำแม่มด (บ้านจะกุด) ภูมิปัญญาการสานหมวกและทอเสื่อกก (บ้านหนองบัว) และภูมิปัญญาการย้อมผ้าจากผลกระเบาและการทำเกวียน (บ้านกระเบา) ซึ่งวัฒนธรรมภูมิปัญญาทั้ง 4 ด้านนี้ ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ สืบทอด เปลี่ยนแปลง และพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีในปัจจุบัน</p>
ธันยพงศ์ สารรัตน์
สาคร แก้วสมุทร์
อรพร ทับทิมศรี
นาฎอนงค์กร รุ้งแก้ว
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
105
120
-
การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาน่าน เขต 2
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/244883
<p>วัตถุประสงค์การวิจัยนี้ เพื่อศึกษาการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ประชากรในการวิจัยได้แก่ ข้าราชการบุคลากรครูโรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 จำนวน 159 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการบุคลากรครูโรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวม ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการวางแผนและกำหนดทางเลือกมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และ การประเมินผลและรายงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ส่วนในรายข้อ ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการพัฒนาบุคลากรครู ด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด แต่ข้อย่อยด้านการนำวิทยากร ภูมิปัญญาชาวบ้านมาร่วมจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง</p>
ธารินี กิตติกาญจนโสภณ
วีระ วงศ์สรรค์
เบญจภรณ์ รัญระนา
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-29
2020-12-29
5 2
121
129
-
ศึกษารูปแบบการสอนมรณสติในพื้นที่เสี่ยงของพระครูวิสิฐพรหมคุณ (สมชาย โชติวโร) เจ้าอาวาสวัดพรหมนิวาส ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/241947
<p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการสอนมรณสติในพระพุทธศาสนา 2) ศึกษารูปแบบการสอนมรณสติในพื้นที่เสี่ยงของพระครูวิสิฐพรหมคุณ (สมชาย โชติวโร) เจ้าอาวาสวัดพรหมนิวาส ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส 3) วิเคราะห์รูปแบบการสอนมรณสติในพื้นที่เสี่ยงของพระครูวิสิฐพรหมคุณ (สมชาย โชติวโร) เจ้าอาวาสวัดพรหมนิวาส ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) นำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียง จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหาตามลำดับ</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า:</strong> (1) รูปแบบการสอนมรณสติในพระพุทธศาสนา คือสอนให้เห็นการประกอบกันขึ้นของปัจจัยต่าง ๆ ที่รวมกันของรูปธรรมและนามธรรม รวมถึงองค์ประกอบส่วนย่อยต่าง ๆ ประกอบกันขึ้นจนเป็นตัวเราเรียกว่า ชีวิต และในท้ายที่สุดแล้วชีวิตนี้ก็จะเดินทางไปสู่ มรณะ ภายใต้กฎของธรรมชาติ กฎของไตรลักษณ์ (สามัญลักษณะ) ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน ให้ทำใจยอมรับความตายที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในวันข้างหน้า เพื่อไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นและไม่เป็นทุกข์ ผู้ใดยึดเอามรณสติเป็นอารมณ์ จะได้ประโยชน์สูงสุดคือพระนิพพานเลยทีเดียว เหล่านี้จึงเรียกว่า รูปแบบการสอนมรณสติในพระพุทธศาสนา (2) พระครูวิสิฐพรหมคุณ (สมชาย โชติวโร) ปฏิบัติศาสนกิจพื้นที่เสี่ยง คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่การก่อความไม่สงบ โดยรูปแบบเริ่มจากตัวท่านเองที่ใช้มรณสติด้วยการระลึกถึงความตายเสมอว่า สักวันความตายต้องมาถึงตัวเราไม่มีใครหนีพ้นความตายไปได้ ท่านจึงเดินทางจากจังหวัดนครราชสีมาอาสาลงมาปฏิบัติศาสนกิจในพื้นที่เสี่ยงตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2547 (3) รูปแบบการสอนมรณสติเกิดจากประสบการณ์ตรงของท่านที่ถูกลอบวางระเบิดขณะออกบิณฑบาตในเช้าวันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2549 ทำให้จีวรเปื้อนเลือด ได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดที่ฝังเข้าไปบริเวณท้ายทอยตรงศูนย์ควบคุมการมองเห็น ส่งผลให้สายตาพร่ามัวมาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงมีรูปแบบการสอนมรณสติสอดแทรกอยู่เสมอในการปฏิบัติศาสนกิจทุกด้าน ที่ชัดเจนที่สุดคือ การบริจาคโลงศพ</p>
ประเสริฐ ชมพรมมา
ประชัน ชะชิกุล
ภัทรชัย อุทาพันธ์
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
150
157
-
ความสัมพันธ์ระหว่างคอง 14 กับหลักทศพิธราชธรรมที่มีต่อการส่งเสริมการปกครอง
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/242268
<p>บทความวิชาการนี้เป็นการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างคอง 14 กับทศพิธราชธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาซึ่งจากการศึกษาความเป็นมาของคอง 14 ซึ่งเป็นจารีตประเพณีของชาวอีสานโบราณ โดยเฉพาะแนวทางการปฏิบัติของผู้ปกครอง และรูปแบบการปกครอง อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออีสานโบราณพบว่า พระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความเจริญเติบโตในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างด้านการเมืองการปกครอง ที่กษัตริย์ได้นำเอาหลักธรรมหลักธรรมคำสั่งสอน มาเป็นรากฐานในการบริหารและกำหนดควบคุมคนในสังคมอีสานโบราณที่มีความแตกต่างของเชื้อชาติ วัฒนธรรมประเพณี ให้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยใช้รูปแบบ วิธีการและหลักการปฏิบัติมาจากพระธรรมวินัย ผู้ปกครองใช้พระพุทธศาสนาเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้ที่ถูกปกครอง ผู้ปกครองปฏิบัติตัวให้อยู่ในศีลธรรม ใช้หลักธรรมมาเป็นหลักปฏิบัติและอ้างความชอบธรรมในอำนาจ มีการใช้จารีตประเพณีและกฎระเบียบต่างๆ กำหนดหน้าที่และวิถีชีวิตของคนในสังคมไว้อย่างชัดเจน</p>
พระปลัดธีระพงษ์ สุขิโต (ไชยวัน)
พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
26
34
-
พระพุทธเจ้าชนะมารในปรัชญา 5 กระบวนทัศน์
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/241187
<p>ท่านเชื่อในเรื่องอภินิหารหรือไม่ ? ในบทสวดพุทธชยมงคลคาถา ซึ่งเป็นบทสรรเสริญถึงชัยชนะอันยิ่งใหญ่ 8 ครั้งของพระพุทธเจ้าที่ทรงเอาชนะมารในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างราบคาบ พระคาถาบทนี้เป็นที่เชื่อถือและศรัทธาในบรรดาพุทธบริษัททั้งหลายตลอดมาแต่ครั้งโบราณกาล โดยนำไปใช้สวดในพิธีต่าง ๆ มากมาย หรือแม้แต่ในพิธีหลวงก็เช่นกัน ถึงแม้จะมีบางคนสงสัยว่า พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะมารมากมายเหล่านี้ได้อย่างไร แต่ก็ไม่มีใครกล้าตั้งคำถามขึ้นมา เพราะคงจะเป็นเรื่องแปลกสำหรับสังคมนั้นทันที ความเชื่อเช่นนี้ก็มีอยู่ศาสนาเทวนิยมอื่น ๆ ด้วยเช่น คริสต์ และอิสลาม เป็นต้น เพราะศาสนาเหล่านี้เชื่อในอภินิหารของพระผู้เป็นเจ้า ว่าสามารถดลบันดาลสิ่งใดๆ ให้เกิดกับชีวิตมนุษย์ได้ กระบวนทัศน์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับความเชื่อในปาฏิหาริย์จึงมีอยู่เสมอ แต่ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม การศึกษา เพศ วัย สภาพสังคม และความคิดของคนในยุคนั้น ๆ ดังนั้น ทฤษฎีปรัชญาจึงแบ่งกระบวนทัศน์เหล่านี้ในแต่ละยุคเรียกว่า “ปรัชญา 5 กระบวนทัศน์” เพื่อที่จะอธิบายกระบวนทัศน์เหล่านั้นให้ชัดเจน และทำให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่จะใช้สติปัญญาอย่างต่อเนื่องของมนุษย์ ผู้เป็นเวไนยสัตว์และประเสริฐกว่าสัตว์อื่นๆ สำหรับชาวพุทธแล้ว กระบวนทัศน์ที่ใช้เหตุและผลอย่างมีสติปัญญารู้คิด กอปรกับมีศรัทธาอันมั่นคงในอภินิหารของพระพุทธเจ้าที่ปรากฎอยู่ในพุทธชยมงคลคาถานี้ ก็ย่อมทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ได้ว่า สาระที่แท้จริงของพระคาถานั้นอยู่ที่การประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรมที่ทรงเอาชนะต่อมารทั้งหลาย และพระองค์ทรงกระทำเป็นแบบอย่างให้ปรากฎ เมื่อนั้น ศรัทธาที่มีอยู่ย่อมพัฒนาไปสู่ปัญญาที่ถูกต้องแท้จริงคือ “สัมมาทิฐิ” อันเป็นหนึ่งในอริยมรรค 8 ซึ่งจะนำไปสู่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ในที่สุดนั่นเอง</p>
สุรวุฒิ แสงมะโน
พระปลัดวสันต์ ธีรวโร
บัญชา ธรรมบุตร
แสงอาทิตย์ ไทยมิตร
พระพจนันท์ กุมพล
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
51
60
-
การพัฒนาศักยภาพความเป็นธรรมทูตคฤหัสถ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่างประเทศ
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/242307
<p>การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศได้เริ่มต้นจากคนไทยที่ไปประกอบอาชีพอยู่ต่างประเทศ ซึ่งมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาต้องการที่พึ่งทางจิตใจจึงนำความเป็นชาวพุทธและพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่และอุปัฏฐากพระภิกษุที่อาราธนามาจากประเทศไทยเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ ด้วยเหตุที่ชาวพุทธในต่างประเทศมีการปฏิบัติตนตามหลักพุทธธรรมและมีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงได้รับการขนานนามว่า “ธรรมทูตคฤหัสถ์” และการที่พระภิกษุซึ่งจะทำหน้าที่เป็นพระธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองได้เพราะคฤหัสถ์ชาวพุทธให้การเกื้อหนุนอุปัฏฐากอุปถัมภ์และดูแลทุกอย่าง อีกทั้งพระภิกษุจะไม่สามารถเผยแผ่ได้อย่างเต็มที่ ถ้าไม่มีคฤหัสถ์ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ และเมื่อคฤหัสถ์ได้พัฒนาศักยภาพความเป็นธรรมทูตแล้วเผยแผ่คำสอนแก่บุคคลใกล้ชิดให้ได้เข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างประเทศด้วยแล้วธรรมทูตคฤหัสถ์ชาวพุทธถือว่ามีบทบาทสำคัญที่ช่วยสื่อสารทำให้คนท้องถิ่นเข้าใจพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่งผลให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศมีพัฒนาการไปในทางที่ดีมากยิ่งขึ้น บทความนี้นำเสนอการพัฒนาศักยภาพการเผยแผ่, ความเป็นมาของธรรมทูตคฤหัสถ์ในการเผยแผ่, ธรรมทูตคฤหัสถ์กับการเผยแผ่ และการพัฒนาศักยภาพความเป็นธรรมทูตคฤหัสถ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ</p>
พระมหาไพฑูรย์ ปนฺตนนฺโท
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
69
78
-
หลักธรรมเพื่อคุณภาพและความสำเร็จของงานวิจัย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/240994
<p>บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษา วิเคราะห์ หลักธรรมเพื่อคุณภาพและความสำเร็จของงานวิจัย ในการดำเนินการวิจัยนั้นการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมและความเป็นประชาธิปไตยในการกระทำงานวิจัยร่วมกันของผู้วิจัยกับผู้ร่วมวิจัยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ผู้เขียนเห็นว่า ควรมีหลักธรรมเป็นเครื่องชี้นำ เพื่อใช้เป็นข้อคิดตลอดระยะเวลาในการทำวิจัย เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย โดยเชื่อว่าการนำหลักธรรมที่จะกล่าวถึงข้างล่างนี้มาใช้ ได้ช่วยเสริมสร้างให้การดำเนินงานวิจัยเป็นไปอย่างมีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยตามหลักการ แนวคิด และลักษณะของการวิจัยดังกล่าวเป็นไปอย่างมีคุณภาพและบรรลุผลสำเร็จ หลักธรรมที่นำมาใช้ประกอบในการวิจัย ได้แก่ กัลยาณมิตรธรรม 7 สังคหวัตถุ 4 วุฒิธรรม 4 เวสารัชชกรณธรรม 5 สาราณียธรรม 6 อริยทรัพย์ 7 นาถกรณธรรม 10 สัปปุริสธรรม 7 พรหมวิหาร 4 ฆราวาสธรรม 4 และอิทธิบาท 4 การนำหลักธรรมเหล่านี้มาประยุกต์ใช้สามารถเสริมสร้างให้การดำเนินงานวิจัยเป็นไปด้วยความยุติธรรมและมีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยดังกล่าว มีคุณภาพและบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ ตลอดจนสร้างบรรยากาศในการทํางานให้ทํางานอย่างมีความสุข และผลงานมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้เขียนจึงนำหลักธรรมทั้งหมดที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้นมาใช้เป็นฐาน เพื่อใช้ข้อคิด เตือนใจในการทำวิจัย เพื่อมุ่งหวังให้เกิดความรู้ใหม่ในการศึกษาค้นคว้างานวิจัย และการทำวิจัยได้ก่อเกิดงานที่มีคุณภาพต่อไป</p>
พระมหาไพจิตร อุตฺตมธมฺโม
พระมหาณัฐวุฒิ สงวนงาม
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
79
87
-
มิติของการตีความคำสอนของศาสนาส่งผลต่อจุดยืนและวิธีการเข้าถึงความจริงสุงสุด
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/241123
<p>การตีความคำสอนที่ตั้งอยู่บนฐานแบบเทวนิยมนำไปสู่การปฏิบัติที่บ่งถึงเป้าหมายเชิงการยอมรับและมองโลกในเชิงหนทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายเชิงภาววิสัย ส่วนการตีความของอเทวนิยมตั้งอยู่บนฐานของการสร้างความรู้แจ้งตนเองเชิงญาณวิทยา โดยแบ่งฐานความรู้ออกเป็น ๒ อย่างคือ ความรู้เชิงสมมติและความรู้เชิงปรมัตถ์ ความรู้ที่แท้จริงมีความเชื่อมโยงกับจิตในฐานะผู้รู้ที่มีฐานของความเป็นปรมัตถ์ในตัวเอง การมองเห็นฐานปรมัตถ์ในตัวเองทำให้เกิดการมองเห็นภาวะที่สมบูรณ์ในตัวเอง จึงไม่จำเป็นต้องแสวงหาเป้าหมายอื่น ความรู้แจ้งความเป็นจริงแท้แบบปรมัตถ์จึงมีความบริบูรณ์เพื่อทำให้จิตเข้าสู่เอกภาพมีลักษณะเป็นอัตวิสัย ส่วนการตีความเชิงเทวนิยมยังมีการแบ่งแยกความจริงของโลกในฐานะสิ่งถูกรังสรรค์ขึ้นและตัวผู้รังสรรคสมบูรณ์ในฐานะแหล่งเดิมเพื่อนำไปสู่การเข้าถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งสมบูรณ และวิธีการดังกล่าวตั้งอยู่บนฐานของความยินยอมหรือศรัทธาซึ่งเป็นภาวะจิตแบบภาววิสัย จึงส่งผลต่อพฤติกรรมของการดำเนินชีวิต ๒ แบบคือ อเทวนิยมเน้นความรู้ที่เกิดจากการรู้แจ้งความเป็นจริง ส่วนอย่างหลังคือเทวนิยมรอการประทานหรือการเปิดเผยจากพระผู้สรร้าง ซึ่งเป็นสิ่งอื่นนอกจากจิตตนเอง การเข้าถึงจึงมีลักษณะ<br>ภววาท</p>
ธานี สุวรรณประทีป
ชัยชาญ ศรีหานู
พระปลัดประพจน์ สุปภาโต
พระมหาสมศักดิ์ ญาณโพโธ
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
88
97
-
รัฐศาสตร์ในพุทธศาสตร์
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/242132
<p>การอธิบายพระพุทธศาสนาในประเด็นของรัฐศาสตร์ เป็นการอธิบายหลักการของพระพุทธศาสนาที่เชื่อมโยงหรือเกี่ยวพันกับการปกครองหรือการบริหารการปกครองของพุทธโดยสามารถมองได้ 3 ประเด็นดังนี้คือ 1) รูปแบบการปกครอง 2)หลักการบริหารในองค์กรสงฆ์ อันได้แก่ การรับบุคคลเข้าในองค์กร แต่งตั้งบุคคลเข้าทำงานในองค์กร หลักการตัดสินลงโทษผู้กระทำผิดบุคคลในองค์กร 3) แนวคิดทางการเมืองโดยผ่านหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ทั้ง 3 การนี้ เป็นหลักการที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนา ซึงหลักการดังกล่าวเป็นหลักการที่ทำให้บุคคลที่อยู่ในองค์กรได้รับความยุติธรรมและทำให้เกิดความสุขสงบขององค์กรสงฆ์และสังคมที่นับถือพระพุทธศาสนา</p>
มงคลชัย สมศรี
กิตติคุณ ภูลายาว
พระณฐกร ปฏิภาณเมธี
พระมหาจำเริญ กตปณฺโญ
พระครูสังฆรักษ์วีรวัฒน์ วีรวฒฺฑโณ
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
98
104
-
การพัฒนาศักยภาพของพระสังฆาธิการในสังคมไทย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/242272
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการพัฒนาศักยภาพในพระพุทธศาสนา และ การพัฒนาศักยภาพของพระสังฆาธิการในสังคมไทย ที่ผู้บริหารมุ่งเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพภายในองค์กรอย่างเต็มความสามารถโดยใช้ทั้งกลยุทธ์และทักษะเพื่อพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสำคัญที่สามารถเอื้ออำนวยให้องค์การบรรลุเป้าหมายในการเลือกสรรคนดี มีความรู้ ความสามารถ เข้ามาทำงานโดยมีการดำเนินการฝึกอบรม และพัฒนาปรับปรุงให้มีความรู้ ความสามารถ ทันต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีการบริหารปกครองโดยหลักเมตตาธรรมตามพระธรรมวินัย กฎ ระเบียบ คำสั่งมหาเถรสมาคม มีการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม และได้พัฒนาวัด ได้มีบทบาทการเผยแผ่ศาสนธรรม หรือชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม</p>
พระอธิการสุพิศ อํสุสีโล
พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
130
139
-
คติความเชื่อเรื่องป่าหิมพานต์ที่มีอิทธิพลต่องานพุทธศิลป์
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/241737
<p> บทความวิชาการนี้เป็นการนำเสนอคติความเชื่อเรื่องป่าหิมพานต์ส่งอิทธิพลต่อการสร้างงานพุทธศิลป์คือ ในด้านจิตรกรรม มีการประดับตกแต่งศาสนสถานด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ ในด้านประติมากรรมมีการประดับตกแต่งอาคารศาสนสถานด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ เช่น พญานาค สิงห์ และในด้านสถาปัตยกรรมความเชื่อเรื่องป่าหิมพานต์ส่งอิทธิพลต่อการวางผังสิ่งก่อสร้างภายในวัด การสร้างซุ้มประตูโขงทางเข้าวัด ซุ้มประตูโขงเปรียบเสมือนป่าหิมพานต์ เป็นประตูเชื่อมระหว่างแดนมนุษย์กับแดนสวรรค์ตามคติจักรวาลการประดับตกแต่งศาสนสถานด้วยเหล่าสัตว์หิมพานต์ ด้วยเชื่อว่าสัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์วิเศษ มีอำนาจ พละกำลังมาก สามารถปกป้องคุ้มครองอาคารศาสนสถานให้รอดพ้นจากภยันตรายต่างๆได้ ในอีกด้านหนึ่งเพื่อให้เกิดความสวยงามตระการตา เป็นดั่งสรวงสวรรค์ ช่วยน้อมนำผู้คนให้เกิดความเลื่อมใส ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างผาสุก และเพื่อเป็นเครื่องช่วยนาทางให้ไปเกิดในภพภูมิที่สูงขึ้นหรือหลุดพ้นจากวัฏสงสารอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนาคือพระนิพพาน</p>
พระมณีพร ขนฺติสาโร
พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
140
149
-
พื้นฐานปรัชญาสังคมและการเมืองเพื่อรัฐประศาสนศาสตร์
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/240919
<p>การศึกษาแนวคิดพื้นฐานปรัชญาสังคมและการเมืองเพื่อรัฐประศาสนศาสตร์ เป็นการศึกษาความหมายแนวคิดทางปรัชญาที่มีความสำคัญต่อสังคมในเชิงปฏิบัติ และมีผลต่อเนื่องจนถึงการบริหารในระบบของการเมืองการปกครอง ที่เป็นพื้นฐานทางปรัชญาก็เพื่อศึกษาปรัชญาการปกครองในทัศนะของนักปรัชญาต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเมืองการปกครองของประเทศ</p> <p>ดังนั้น นักปรัชญาตะวันตกจึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องปรัชญาการปกครองเป็นหลักสำคัญ เช่น หลักการปกครองและการเป็นผู้ปกครองของนักปรัชญา เช่นอาริสโตเติล กล่าวว่า การปกครองเน้นที่ความสงบสุขของประชาชนเป็นหลัก รูปแบบการปกครองแต่ละรูปแบบนั้นไม่มีความเท่าเทียมกันเพราะขึ้นอยู่กับการบริหารของผู้ปกครองว่ามีการใช้หลักปรัชญาสังคมและการเมืองเพื่อสอดรับกับแนวคิดที่จะปรับใช้รูปแบบใดเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมอย่างแท้จริง</p>
Phramaha Mongkholkan Thitadhammo
Copyright (c) 2020 พุทธมัคค์
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2020-12-30
2020-12-30
5 2
158
167