พุทธมัคค์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm <p><strong>วารสารพุทธมัคค์</strong> เป็นวารสารสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รับตีพิมพ์เผยแพร่บทความในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมโดยเน้นด้านานพระพุทธศาสนาและปรัชญา สหวิทยาการด้านการศึกษา และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> th-TH [email protected] (พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม, ผศ.ดร.) [email protected] (สุขชาน มักสัน) Sat, 30 Dec 2023 20:31:57 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การบูรณาการพุทธปรัชญาในอรรถกถาธรรมบทเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในสังคมยุคดิจิทัล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271048 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนในสังคมยุคดิจิทัล 2) ศึกษาและวิเคราะห์พุทธปรัชญาในอรรถกถาธรรมบทว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3) บูรณาการพุทธปรัชญาในอรรถกถาธรรมบทว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนในสังคมยุคดิจิทัล 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนในสังคมยุคดิจิทัล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางปรัชญา ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์และวิธาน เพื่อนำไปสู่องค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า คุณธรรมจริยธรรม คุณงามความดีที่ควรมีอยู่จิตใจ เช่น ความกตัญญูกตเวที เมตตากรุณา พุทธปรัชญาในอรรถกถาธรรมบทที่ปรากฏนิทานเรื่องเล่าเชิงบุคลาธิษฐานและธรรมาธิษฐานสามารถนำมาเป็นรูปแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนได้ ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านกาย สังคม (ศีล) อารมณ์ (จิตใจ) และปัญญา โดยวิเคราะห์ผ่านกรอบพุทธอภิปรัชญา พุทธญาณวิทยา และพุทธจริยศาสตร์ จนวิจักษ์ แล้วนำไปสู่วิธานการประยุกต์ใช้ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เยาวชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมนั้น แล้วนำไปปฏิบัติจนเกิดผลเชิงคุณภาพที่ถูกต้องดีงาม โดยเน้นย้ำให้เยาวชนมีความกตัญญูเวที มีเมตตากรุณา และมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท ต่อการใช้ชีวิตในสังคม ก็เพื่อลดละความโลภ โกรธ หลง อันเป็นกิเลสที่ปลูกฝังอยู่ในจิตใจ และรู้จักนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนให้ได้เห็นแนวทาง ได้รู้วิธีคิด และได้เข้าใจวิธีปฏิบัติ ตามหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา จนเข้าใจลึกซึ้งถึงแก่นแท้แห่งสภาวธรรมทั้งปวงอย่างตรงประเด็น องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยนี้ คือ รูปแบบ MCW Model</p> พระมหาศักย์ศรณ์ คุณปญฺโญ (คงผล) , สวัสดิ์ อโณทัย , สมบูรณ์ บุญโท Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271048 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้กฎแห่งกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมไทยหลังนวยุค https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271050 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคม ไทยหลังนวยุค 2) ศึกษาแนวคิดกฎแห่งกรรมในคำสอนทางพระพุทธศาสนา 3) ประยุกต์ใช้กฎแห่งกรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมในสังคมหลังนวยุค 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์ (analysis) วิจักษ์ (appreciation) และวิธาน (application)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตยังมีความจำเป็น เพราะสังคมไทยหลังนวยุคได้มาสู่ยุคการเปลี่ยนแปลงที่ฉับไวทั้งข้อมูลข่าวสาร ไฮ-เทคโนโลยี วัตถุนิยม บริโภคนิยม หากประชาชนตามไม่ทัน ย่อมเกิดปัญหาได้ พฤติกรรมของคนเป็นไปส่อไปในทางผิดศีลธรรมมากขึ้น กฎแห่งกรรม หากประชาชนมีความเข้าใจถูกต้อง เชื่อกรรมและผลของกรรมสามารถช่วยยับยั้งมิให้ถลำไปสู่ความชั่ว หันมากลับมาทำความดี กฎแห่งกรรมช่วยให้เกิดการพัฒนาชีวิตและลังคม โดยอาศัยสัมมาทิฏฐิ และหลักไตรสิกขามาบ่มเพาะที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาทั้งทางกาย วาจา ใจ อาศัยความมีวินัยในตัวเอง อาศัยจิตใจที่แน่วแน่ มั่นคง และอาศัยปัญญาในการแก้ปัญหาและพัฒนาทั้งทางวัตถุและทางจิตใจไปพร้อม ๆ กัน ร่างจิตที่สมบูรณ์ อยู่ในกายที่สมบูณ์ (sound mind in sound body) องค์ความรู้ใหม่ที่เกิดจากศึกษาวิจัย คือ ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องกรรม (Right understanding of Karma) การรู้จักประยุกต์ใช้ไฮเทคโนโลยี (Applying Hi-technology) รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของของสังคมหลังนวยุค(Changing of Postmodern Society) ซึ่งสามารถเขียนเป็นโมเดลได้ ดังนี้ <strong>Development of the Life Quality and Postmodern Thai Society = RUK + AP-hi +CPS</strong></p> พระครูสังฆรักษ์ทะนงศักดิ์ จิรวฑฒโน (แซ่ฮ่อ), สมบูรณ์ บุญโท , สวัสดิ์ อโณทัย Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271050 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสงฆ์มองผ่านพุทธปรัชญาในสังคมดิจิทัล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271051 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำสงฆ์ในสังคมยุคดิจิทัลในพื้นที่การปกครองคณะสงฆ์จังหวัดยะลา 2.ศึกษาพุทธปรัชญาว่าด้วยภาวะผู้นำสงฆ์ 3.ประยุกต์ใช้พุทธปรัชญาว่าด้วยภาวะผู้นำสงฆ์ในพื้นที่การปกครองคณะสงฆ์จังหวัดยะลา 4. สร้างองค์ความรู้ใหม่และรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสงฆ์มองผ่านพุทธปรัชญาในสังคมดิจิทัล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางปรัชญาแบบวิภาษวิธี และแบบมีการหาเหตุผลด้วยการใช้วิจารณญาณ ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางปรัชญาและศาสนา </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดภาวะผู้นำสงฆ์ในสังคมยุคดิจิทัล ในพื้นที่การปกครองคณะสงฆ์จังหวัดยะลา ต้องมีคุณธรรม คือ ความดีที่ถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ จริยธรรม คือ การประพฤติปฏิบัติตามความดีงาม และศีลธรรม คือ การไม่ละเมิดต่อสิ่งที่เป็นเหตุทำลายความดีงาม (พระธรรมวินัย) จึงค้นหาแนวทางด้วยพุทธปรัชญา เพราะพุทธปรัชญาได้ด้วยการมองโลกแบบองค์รวมเป็นเหมือนการทดสอบตามหลักเหตุและผล มีกระบวนการอิงอาศัยกัน เพื่อให้ผู้นำสงฆ์พัฒนาภาวะผู้นำสงฆ์และเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับคณะสงฆ์จังหวัดยะลา ด้วยการสร้างภาวะความเป็นผู้นำสงฆ์ให้เห็นถึงความสำคัญในการเป็นผู้นำสงฆ์ในยุคการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งทางด้านการสื่อสาร การดำเนินชีวิตประจำวัน ตลอดถึงการบริหารคณะสงฆ์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การนำหลักพลธรรม 4 มาเป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบภาวะผู้นำสงฆ์ ด้วยการอาศัยความร่วมมือจากสังคมโดยรอบ เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมให้เกิดภาวะความเป็นผู้นำสงฆ์อย่างสมบรูณ์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน นำไปสู่องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัย คือ KSPM Model = KSPM + CO</p> พระสิริปัญญาคุณ (สมพล สุวรรณสิงหราช), สมบูรณ์ บุญโท , สวัสดิ์ อโณทัย Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271051 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชายในเรือนจำจังหวัดหนองคาย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271055 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชายในเรือนจำจังหวัดหนองคาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ต้องขังเพศชาย ที่อยู่ในเรือนจำจังหวัดหนองคาย จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปของประชากร สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ F - test สำหรับเปรียบเทียบการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชายในเรือนจำจังหวัดหนองคายที่จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ต้องโทษมาแล้ว และจำนวนครั้งที่เคยต้องโทษ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า การกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชายในเรือนจำจังหวัดหนองคาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.45) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือมาตรการลงโทษผู้กระทำผิดวินัย (μ = 3.63) รองลงมาคือด้านการคบเพื่อน (μ = 3.46) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านความเครียด (μ = 3.38) ผลการเปรียบเทียบการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังชายในเรือนจำจังหวัดหนองคาย ที่จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ต้องโทษมาแล้ว และจำนวนครั้งที่เคยต้องโทษ โดยภาพรวม พบว่าผู้ต้องขังที่มีอายุ ระดับการศึกษา และจำนวนครั้งที่เคยต้องโทษ ต่างกันมีการกระทำผิดวินัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้ต้องขังที่มีระยะเวลาที่ต้องโทษมาแล้ว ต่างกันมีการกระทำผิดวินัยไม่แตกต่างกัน</p> จิรานุวัฒน์ ศรีนุกูล , บุญเหลือ บุบผามาลา Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271055 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การกระทำผิดของผู้ต้องขังคดียาเสพติดที่มีอัตราโทษสูง แดนควบคุมพิเศษ เรือนจำจังหวัดหนองคาย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271056 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยการกระทำผิดของผู้ต้องขังคดียาเสพติดที่มีอัตราโทษสูง แดนควบคุมพิเศษเรือนจำจังหวัดหนองคาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ต้องขังชายคดียาเสพติดที่มีอัตราโทษสูง แดนควบคุมพิเศษ เรือนจำจังหวัดหนองคาย จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปของประชากร สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับการเปรียบเทียบปัจจัยการกระทำผิดของผู้ต้องขังคดียาเสพติดที่มีอัตราโทษสูง แดนควบคุมพิเศษ เรือนจำจังหวัดหนองคาย ที่จำแนกตามอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และอาชีพ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยการกระทำผิดของผู้ต้องขังคดียาเสพติดที่มีอัตราโทษสูง แดนควบคุมพิเศษเรือนจำจังหวัดหนองคาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 2.77) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือปัจจัยด้านโอกาสในการกระทำผิด (μ = 2.91) รองลงมาคือปัจจัยด้านการควบคุมตนเอง (μ = 2.76) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือปัจจัยด้านความผูกพันทางสังคม (μ = 2.68) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยการกระทำผิดของผู้ต้องขังคดียาเสพติดที่มีอัตราโทษสูง แดนควบคุมพิเศษ เรือนจำจังหวัดหนองคาย ที่จำแนกตามอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมผู้ต้องขังคดียาเสพติดที่มีอัตราโทษสูง แดนควบคุมพิเศษที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีปัจจัยการกระทำผิดไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดของผู้ต้องขังชาย ในคดียาเสพติดที่มีปริมาณของกลางเป็นจำนวนมากและมีอัตราโทษสูง ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปลูกจิตสำนึกในเรื่องภัยของยาเสพติดตั้งแต่เด็ก และควรให้โอกาสทางสังคมแก่ผู้เสพยาเสพติดให้โอกาสในการกลับตัวกลับใจ</p> สุริยะ นาตรีชน , สุปัน สมสาร์ Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271056 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษผู้ต้องขังเรือนจำหนองคาย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271057 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษผู้ต้องขังเรือนจำหนองคาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดหนองคาย ที่เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี จำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปของประชากร สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษผู้ต้องขังเรือนจำหนองคาย ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า การเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษผู้ต้องขังเรือนจำหนองคาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 3.95) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านร่างกาย (μ = 4.04) รองลงมาคือด้านความสัมพันธ์กับครอบครัวและสังคม (μ = 3.97) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านจิตใจ (μ = 3.91) ผลการเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษผู้ต้องขังเรือนจำหนองคาย ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพและอาชีพ โดยภาพรวมผู้ต้องขังเรือนจำหนองคายที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษของเรือนจำหนองคาย ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดหนองคายที่มีอายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเตรียมความพร้อมก่อนได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษของเรือนจำหนองคาย ไม่แตกต่างกัน</p> เกียรติชัย ชัยจันทร์ , โกศล สอดส่อง Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271057 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 อุดมการณ์และกระบวนการการเสริมสร้างสังคมสู่วิถีชีวิตใหม่ตามหลักพุทธธรรมของเครือข่ายจิตอาสาจังหวัดชัยภูมิ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271059 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอุดมการณ์ในการเสริมสร้างสังคมสู่วิถีชีวิตใหม่ของเครือข่ายจิตอาสาจังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสังคมสู่วิถีชีวิตใหม่ของเครือข่ายจิตอาสาจังหวัดชัยภูมิ 3) เพื่อประยุกต์กระบวนการเสริมสร้างสังคมสู่วิถีชีวิตใหม่ตามหลักพุทธธรรมของเครือข่ายจิตอาสาจังหวัดชัยภูมิให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือในการทำวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มจากกลุ่มจิตอาสา รวมจำนวน 35 รูป/คน ในเขตจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 5 อำเภอ มีอำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอหนองบัวแดง และอำเภอภูเขียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มจิตอาสาระดับผู้นำ ระดับผู้ปฏิบัติการ และระดับผู้รับบริการ ในพื้นที่ 5 อำเภอ เพื่อสร้างเครือข่ายจิตอาสาให้เกิดมีพลังในการทำงานด้านจิตอาสา ในอำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอหนองบัวแดง และอำเภอภูเขียว มีกระบวนการในการนำหลักพุทธธรรม เพื่อเสริมสร้างสังคมสู่วิถีชีวิตใหม่ของเครือข่ายจิตอาสาจังหวัดชัยภูมิ ใช้ ศีล 5 คือ การนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นสัญญาประชาคมในกลุ่มจิตอาสา และสังคหวัตถุ 4 ในการส่งเสริมการดำเนินชีวิตในสังคมเพื่อให้สังคมในสถานการณ์ปัจจุบันเกิดความสงบสุข มีสาราณียธรรม 6 คือ การปฏิบัติตน ประพฤติสุจริตในสิ่งที่ดีงามอย่างสม่ำเสมอ มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น และ ใช้อิทธิบาท 4 เป็นแนวทางสำหรับการใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จ ด้วยกระบวนการเสริมสร้างสังคมสู่วิถีชีวิตใหม่ตามหลักพุทธธรรมของเครือข่ายจิตอาสาจังหวัดชัยภูมิ ก่อให้เกิดเป็นชุมชนแนวใหม่ขึ้นมา เพื่อให้เป็นแบบอย่างด้านการพัฒนาคน พัฒนาชุมชนและพัฒนาสังคม ให้อยู่อย่างสันติสุข ด้วยหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นแนวปฏิบัติให้มีความสำนึกรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ด้วยสติ สัมปชัญญะ พร้อมมีจิตอาสาให้ความร่วมมือกับสังคม</p> พระมหาวิฑูรย์ Phramaha Witoon , พูนศักดิ์ กมล Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271059 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การรักษาสัจจะตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/263412 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปรัชญาด้วยวิภาษวิธีและวิธีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธานการรักษาสัจจะตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ผลการวิจัยพบว่า การรักษาสัจจะตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลางเสริมสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์ ปรับตัว ร่วมมือ และแสวงหา เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมีเป้าหมายคือความสุขแท้ตามวามเป็นจริง และตอบคำถามของฝ่ายตรงข้ามที่ยืนยันว่า การรักษาสัจจะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตต้องมาจากศาสนาด้วยคำสอนของศาสดาเท่านั้นถึงจะเป็นความดีแท้ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นพบว่า 1) การรักษาสัจจะจากคำสอนของศาสดาทั้งทางตรงและทางอ้อมนั้นจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจจากตนเองเป็นฐานด้วย 2) ผู้รักษาสัจจะต้องปฏิบัติและสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่าผลที่ได้เป็นเช่นไร ความสัมพันธ์ระหว่างสัจจะกับตัวผู้รักษาสัจจะจึงจะส่งผลให้ประจักษ์ได้ 3) ผลจากการรักษาสัจจะ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้สึกว่าดีและมีความสุขจากใจของตนเองที่ได้กระทำการรักษาสัจจะ ไม่ใช่เพียงศรัทธาโดยที่ไม่รู้สึกหรือคิดเอา 4) ความสุขแท้จากศาสนาจึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง ความจริง ความดี ความงาม ที่ส่งผลให้เฉพาะบุคคลผู้รักษาสัจจะได้รับเฉพาะตน 5) คำสอนของศาสดาจึงเป็นเหมือนคู่มือหรือแผนที่ให้แก่ผู้ที่สนใจศรัทธาไปฝึกปฏิบัติ ไม่ควรนำมาอ้างอิงค้ำประกันความถูกต้องหรือยกตนข่มท่านว่าดีกว่า สูงส่งกว่า หรือบริสุทธิ์กว่า โดยไม่สนใจต่อสัจจะในบริบทอื่น ๆ</p> ชุมพล ชนะนนท์, รวิช ตาแก้ว Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/263412 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265298 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัย โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 348 คน และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย คือ (= 4.36, S.D. = 0.646) และเมื่อพิจารณเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านปัญญาภาวนา (= 4.39, S.D. = 0.654) รองลงมาคือ ด้านสีลภาวนา (= 4.38, S.D. = 0.615) ด้านกายภาวนา (= 4.37, S.D. = 0.670) และ ด้านจิตภาวนา (= 4.31, S.D. = 0.645) 3. <span style="font-size: 0.875rem;">ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูงมาก 0.962 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านจิตภาวนา, ด้านปัญญาภาวนา, และด้านสีลภาวนา, ด้านกายภาวนา มีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันในระดับสูง</span></p> วลัยกรณ์ จันทร์ทอง, พระครูโสภณวีรานุวัตร, นพดล ดีไทยสงค์ Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265298 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลสระกระโจม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265297 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักอปริหานิยธรรม 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักอปริหานิยธรรม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 344 คน สุ่มตัวอย่างตามวิธีการของยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลด้านสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. ประชาชนมีระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักอปริหานิยธรรม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี เพศและอายุต่างกันมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐาน ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ แตกต่างกัน มีส่วนรวมในการพัฒนาชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตามหลักอปริหานิยธรรม 1) การตัดสินใจ วันทำงานไม่ตรงกัน เสียงประชาสัมพันธ์ไม่ค่อยได้ยินเสียง 2) การดำเนินงาน ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่น้อย 3) การรับผลประโยชน์ ชุมชนของบประมาณจะไม่ค่อยได้รับผล เลยทำให้บางชุมชนไม่ได้รับการอนุมัติให้เกิดการพัฒนา 4) การประเมินผล ประชาชนขาดความร่วมมือ ไม่มีความรู้เรื่องแผนพัฒนา</p> <p> </p> ปัญญา โสภาสุวพันธุ์ , วิชชุกร นาคธน , นพดล ดีไทยสงค์ Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265297 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชน ในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/264301 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 2. เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยการประยุกต์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 389 คน จากประชาชนผู้ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปซึ่งอาศัยอยู่ในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 13,253 คนโดยเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที่ และค่าเอฟ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>ผลการวิจัย พบว่า</strong></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ระดับภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.79) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านคุณลักษณะ ( =3.81) ด้านตามสถานการณ์ ( =3.79) ด้านการเปลี่ยนแปลง ( =3.79) และด้านพฤติกรรม ( =3.76) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีอายุ อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ผลการนำเสนอภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยการประยุกต์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 พบว่า 1. ด้านคุณลักษณะ ภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสต้องประกอบไปด้วยคุณลักษณะที่ดีที่พึงประสงค์ คือ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ รอบรู้พระธรรมวินัยและกฎหมายบ้านเมือง เป็นผู้ที่มีความอดทนสูง มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ มีรูปร่างสมบูรณ์สมส่วน และมีบุคลิกดี 2. ภาวะผู้นำด้านพฤติกรรมทางการปกครองของเจ้าอาวาส เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผู้นำอีกประการหนึ่งในการปกครอง เพราะถือว่าเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ผู้ตามจะนำไปยึดถือปฏิบัติ หากผู้นำมีพฤติกรรมหรือประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่ดี ก็จะส่งผลให้ผู้ตามประพฤติปฏิบัติดีตามไปด้วย 3. ด้านตามสถานการณ์ ภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาส เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะนำความสำเร็จมาสู่องค์กรและชุมชนนั้นๆ กล่าวคือ ผู้นำต้องมีไหวพริบปฏิภาณปรับเปลี่ยนวิธีการในการปกครองบริหารจัดการไปตามสถานการณ์ได้อย่างกลมกลืน สามารถประเมินสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า มีการวางแผนเป็นลำดับขั้นตอนแสดงออกถึงความมีภาวะผู้นำเพื่อรับมือและแก้ไขได้ในทุกๆ สถานการณ์ 4. ด้านการเปลี่ยนแปลง ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองและบริหารจัดการด้วยวิธีการใหม่ๆ ที่ทันสมัยและเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา เป็นแบบอย่างความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ ผู้นำต้องสามารถกำหนดเป้าหมาย และแผนงานในการไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างชัดเจนและทำได้จริง</span></p> พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์), พระวิชัย วิชโย (พลโยธา) , สุเนตร ธนศิลปพิชิต Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/264301 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชน ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/264332 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยการประยุกต์ตามหลักพุทธธรรม โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน จากประชาชนผู้ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปซึ่งอาศัยอยู่ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 99,910 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ <br />ผลการวิจัย พบว่า<br />1. ระดับการการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.96) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านหลักนิติธรรม ( =4.04) ด้านหลักความโปร่งใส ( =3.98) ด้านหลักคุณธรรม ( =3.97) ด้านหลักความรับผิดชอบ ( =3.97) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ( =3.91) และด้านหลักความคุ้มค่า ( =3.90) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ<br />2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ และการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มี อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย<br />3. ผลการนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมในการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ โดยการประยุกต์ตามหลักพุทธธรรม คือ สาราณียธรรม 6 ประการ พบว่า 1) ด้านหลักนิติธรรม ผู้นำต้องมีความต้องมีความรู้ทางด้านกฎหมาย เคารพกฎกติกาของชุมชน ต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชน 2) ด้านหลักคุณธรรม ผู้นำควรยึดมั่นในคุณธรรมความดีงาม มีคุณธรรมประจำใจ ยึดมั่นในความถูกต้อง มีความจริงใจต่อประชาชน และสร้างค่านิยมที่ดีงามให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือสมาชิกของสังคมได้ยึดถือปฏิบัติตาม 3) ด้านหลักความโปร่งใส ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดีมีความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส มีความตรงไปตรงมา ตรวจสอบได้ และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการปฏิบัติงาน 4) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ผู้นำต้องรับฟังความคิดเห็น เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมรับรู้และร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สำคัญ ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น 5) ด้านหลักความรับผิดชอบ ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง ควรมีส่วนร่วมต่อการรับผิดชอบต่อผลงานที่ทำและภาระหน้าที่ที่มีต่อสังคม ต้องกล้าคิด กล้าทำ และกล้าตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่ 6) ด้านหลักความคุ้มค่า ผู้นำต้องตระหนักว่าทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด ในการบริหารจำเป็นจะต้องประหยัด ต้องคำนึกถึงความคุ้มค่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม ควรรณรงค์ให้บุคลากรรู้จักความประหยัด </p> พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์), พระอธิการธีรพล รวิวณฺโณ (ภูเขาใหญ่) , สุเนตร ธนศิลปพิชิต Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/264332 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/264464 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับของการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ โดยการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ โดยการประยุกต์ตามหลัก อปริหานิยธรรม 7 โดยมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน จากประชาชนผู้ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในอำเภอเมืองชัยภูมิ จำนวน 137,400 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที่ (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (descriptive interpretation)</p> <p> </p> <p><strong>ผลการวิจัย พบว่า</strong></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ระดับการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ =4.05) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการตรวจสอบการทำงาน และด้านการติดตามข่าวสาร (𝑥̅ =4.05) และด้านการบริหาร (𝑥̅ =4.04) ด้านการกำหนดนโยบาย (𝑥̅ =4.04) ตามลำดับ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ผลการนำเสนอการมีส่วนร่วมของนักการเมืองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในอำเภอเมืองชัยภูมิ โดยประยุกต์ตามหลักอปริหานิยธรรม พบว่า ด้านการประชุมกันเนืองนิตย์ นักการเมืองท้องถิ่นให้ความสำคัญกับการประชุม เพื่อนำมาซึ่งความสำเร็จ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ด้านการพร้อมเพรียงกันประชุม นักการเมืองท้องถิ่นไม่ละทิ้งการประชุม เข้าร่วมประชุมตรงเวลา และร่วมกิจกรรมเสมอ ด้านการไม่บัญญัติ หรือล้มเลิกบัญญัติตามอำเภอใจ นักการเมืองท้องถิ่นยินดี ให้ความสำคัญ และส่งเสริมประชาชนให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ด้านการเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา นักการเมืองท้องถิ่นปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาด้วยความขยันหมั่นเพียร เคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามนโยบายภาครัฐ ด้านการให้เกียรติ และคุ้มครองสตรี นักการเมืองท้องถิ่นปฏิบัติต่อสตรีอย่างให้เกียรติ เท่าเทียม เสมอภาค ไม่กดขี่ ข่มเหง ปกป้องจากอันตราย และให้โอกาสมีส่วนร่วมทำงาน ด้านสักการะ เคารพนับถือ บูชาต่อปูชนียสถานทั้งหลาย นักการเมืองท้องถิ่นมีส่วนร่วมดูแลความสะอาดวัด รวมถึงร่วมรักษาวัฒนธรรมอันดี ในการจัดงานวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในสถานการณ์โควิด-๑๙ ด้านการให้การอารักขา คุ้มครอง ป้องกันโดยธรรมแก่นักบวชทั้งหลายเป็นอย่างดี นักการเมืองท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือคณะสงฆ์ ประสานงาน ดูแลเมื่อคณะสงฆ์ติดเชื้อ และป้องกันคณะสงฆ์จากสถานการณ์โควิด-19</span></p> พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์) , สุจิตรา สงวนศิลป์ , สุเนตร ธนศิลปพิชิต Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/264464 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในอำเภอเมืองชัยภูมิ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265098 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในอำเภอเมืองชัยภูมิ 2. เพื่อเปรียบเทียบการกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในอำเภอเมืองชัยภูมิ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อนำเสนอการกล่อมเกลาทางการเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในอำเภอเมืองชัยภูมิ โดยการประยุกต์ตามหลักสังคหวัตถุ 4</p> <p><strong>ผลการวิจัย พบว่า</strong></p> <p>หลักธรรม คือสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจบุคคลและประสานหมู่ชนไว้ในความสมานสามัคคี เกิดจากการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนทุกคนและทุกสังคม เป็นรากฐานแห่งการแบ่งปันผลประโยชน์ ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าแก่ตนและสังคม สังคหวัตถุมี 4 ได้แก่ 1) ทาน หมายถึงการให้ หรือการเผยแพร่ความรู้ในการทางการเมือง เพื่อประโยชน์แก่บุคคล อื่น ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว 2) ปิยวาจา หมายถึงการพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบ คายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 3) อัตถจริยา หมายถึงการ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น 4) สมานัตตตา หมายถึงการวางตนสม่ำเสมอ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย</p> พระครูปลัดชวนากร เขมปญฺโญ (จันทาพูน) , ไพทูรย์ มาเมือง , พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ (เอมพันธ์) Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265098 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การประยุกต์หลักสัปปุริสธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265296 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการพัฒนาศักยภาพการบริหารของนักปกครองท้องที่ 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักสัปปุริสธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 359 คน และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน</p> <p><strong>ผลการวิจัย พบว่า</strong> 1.ระดับการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการพัฒนาศักยภาพการบริหารของนักปกครองท้องที่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์หลักสัปปุริสธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ แตกต่างกันมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐาน ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีส่วนรวมในการบริหารงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 4. แนวทางการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมตาม<br />หลักสัปปุริสธรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ 1) ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย คือ ผู้ใหญ่พร้อมผู้ช่วยจะมาช่วยกันแก้ปัญหาในเบื้องต้นก่อน 2) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ คือ ชุมชนมีความขาดแคลนในด้านใดบ้าง 3) ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ ผู้ใหญ่และผู้ช่วยขอความร่วมมือให้ลูกบ้านช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด</p> ณัฏฐ์ชญาดา โชติพิพัฒอังกูร, วิชชุกร นาคธน, นพดล ดีไทยสงค์ Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265296 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การบริหารการการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมทางการศึกษา "ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์" เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265709 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของนวัตกรรมทางการศึกษา “ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์” เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2)เปรียบเทียบทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมทางการศึกษา “ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ 3)เปรียบเทียบการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ หลังการการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมทางการศึกษา “ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 4)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมทางการศึกษา “ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ “ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์” เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบทดสอบวัดทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ แบบทดสอบวัดการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ (เกี่ยวกับ ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์) และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมทางการศึกษา “ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติที (t-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมทางการศึกษา “ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ มีประสิทธิภาพ (E 1 /E 2 ) เท่ากับ 82.75/83.54 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้เรียนด้วยวิธีการการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมทางการศึกษา “ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ มีทักษะการคิดทางด้าน คุณธรรม จริยธรรม รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมทางการศึกษา “ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ มีทักษะการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมทางการศึกษา “ภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.16, SD.= 0.23)</span></p> ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ , จุฑารัตน์ นิรันดร , พรเพชร รานี , เฌอพิชช์ญา วสันต์วีรวัฒน์ Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265709 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 คุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย และการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271052 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการด้านการปรึกษากฎหมายกับสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหายและการบังคับคดี จำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test</p> <p><strong> ผลการวิจัย พบว่า </strong></p> <p> คุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและ<br />การบังคับคดีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ รองลงมาคือด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ</p> <p> ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับคุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี ตามความคิดเห็นของประชาชนที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมพบว่าประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี ไม่แตกต่างกัน</p> <p> ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี ได้แก่ ควรจัดอบรมให้กับเจ้าหน้าที่หรือพนักงานเป็นประจำในเรื่องของการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ</p> สุนิสา วรรณภักดี, บุญเหลือ บุบผามาลา Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271052 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น จังหวัดหนองบัวลำภู https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271053 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือหัวหน้าครัวเรือนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น คำนวณตามสูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน่ 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับเปรียบเทียบการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชน ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพ ตามลำดับ</p> <p><strong> ผลการวิจัย พบว่า </strong></p> <p> การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านความพอประมาณ รองลงมาคือด้านเงื่อนไขคุณธรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านเงื่อนไขความรู้</p> <p> ผลการเปรียบเทียบการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น จังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพ โดยภาพรวม พบว่าหัวหน้าครัวเรือนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพต่างกัน มีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตไม่แตกต่างกัน</p> <p> ข้อเสนอแนวทาง ในการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น จังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนขมิ้น ควรจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้รู้รายรับ รายจ่ายของครอบครัวและเก็บออมรายได้ส่วนหนึ่งไว้ใช้ในยามจำเป็น</p> <p> </p> บุษราภรณ์ บุตรดีสุวรรณ , ชาญยุทธ หาญชนะ Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271053 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วน ตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271054 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น 2)เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น และ3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่มีอายุ18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน จำนวน 386 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ปัจจัยส่วนบุคคล โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.90) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (= 4.28) รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมดำเนินการ (= 4.13) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมประเมินผล (= 3.58) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวม พบว่าประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหัน ควรมีการดำเนินการสำรวจปัญหา ความเดือดร้อน และความต้องการของประชาชน</p> ภูวนาฐ ประถมพานิชย์ , พิชัยรัฐ หมื่นด้วง Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271054 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ศึกษาการปรับตัวของชุมชนในการประกอบพิธีทำบุญตามหลักฮีตสิบสอง ของอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265136 <p>วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการปรับตัวของชุมชนในการประกอบพิธีทำบุญตามหลักฮีตสิบสองของอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาหลักการประกอบพิธีทำบุญตามหลักฮีตสิบสอง (2) เพื่อศึกษาการปรับตัวในการประกอบพิธีตามฮีตสิบสองของอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา (3) เพื่อเสนอการปรับตัวในการประกอบพิธีทำบุญตามหลักฮีตสิบสองในสังคมปัจจุบัน ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก จากกลุ่มประชาชนอำเภอแก้งสนามนาง จำนวน 10 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ อำเภอแก้งสนามนาง จำนวน 10 รูป/คน โดยใช้วิธีการเจาะจงตามประเด็นที่ต้องการศึกษาวิจัย จำนวน 20 คน</p> <p> จากการศึกษาพบว่า การปรับตัวของชุมชนในการประกอบพิธีทำบุญตามหลักฮีตสิบสองของอำเภอแก้งสนามนาง ด้านการปรับตัวของชุมชนในการประกอบพิธีทำบุญ พบว่า ในเรื่องของการทำบุญตามประเพณีหลักปฏิบัติประจำเดือน คนในชุมชนมีความตื่นตัวในการปรับรูปแบบของการทำบุญเป็นอย่างดี เพราะเหตุปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านของสมัยนิยม และโรคระบาด ด้วยเหตุนั้นการประกอบพิธีทำบุญตามหลักฮีตสิบสองของอำเภอแก้งสนามนาง จึงต้องมีการปรับรูปแบบในการประกอบพิธี</p> <p> การปรับตัวของชุมชนในการประกอบพิธีทำบุญตามหลักฮีตสิบสองของอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า สภาพการประกอบพิธีทำบุญตามหลักฮีตสิบสองที่มีมาแต่เดิมก็ยังคงเป็นการประกอบพิธีตามแบบเดิม แต่จะมีเพิ่มเติม คือ รูปแบบของการทำบุญในแต่ละเดือน ที่จะเน้นการประกอบให้ได้ประโยชน์มาก และสะดวก ประหยัด พิธีกรรมถูกต้องตามหลักฮีตสิบสอง</p> <p> ดังนั้นการนำเสนอเกี่ยวกับการปรับตัวของชุมชนในการประกอบพิธีทำบุญตามหลักฮีตสิบสองของอำเภอแก้งสนามนาง จะต้องมีรูปแบบที่ทันสมัย และสร้างความเข้าใจให้กับเยาวชนเป็นอย่างดีด้วย จึงจะเป็นรูปแบบที่ดีและเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีและถูกต้อง ที่สำคัญชุมชนที่อยู่ร่วมกันมีความเห็นในเรื่องการปรับเปลี่ยนพิธีการทำบุญเป็นอย่างดี</p> พูนศักดิ์ กมล, พระครูศรีธรรมประยุต , กาญจนพงศ์ สุวรรณ Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265136 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาล ในภาคตะวันออกของประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271058 <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้มี 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาวะทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารที่ใช้หลักธรรมาภิบาลของเทศบาลในภาคตะวันออกของประเทศไทย (2) เพื่อศึกษามาตรการการป้องกันการทุจริตในเทศบาลในภาคตะวันออกของประเทศไทย และ (3) เพื่อค้นหารูปแบบของการบริหารที่ใช้หลักธรรมาภิบาลที่พึงประสงค์</p> <p> การวิจัยนี้มีคุณลักษณะป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลที่ต้องการได้มาจาก 3 แหล่ง คือ (1) เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และ (3) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 30 ท่าน เกี่ยวกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ปรากฏว่า พวกเขาทั้งหมดมีความรู้และประสบการณ์ต่างๆ อย่างมากเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล และการบริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เครื่องมือนี้ใช้เพื่อสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ผู้วิจัยได้ให้การรับรองในเรื่องความเป็นส่วนตัว ความลับและการไม่เปิดเผยชื่อของผู้ให้ข้อมูล ข้อมูลทั้งหมดที่เก็บรวบรวมได้ ได้ทำการวิเคราะห์โดยวิธีการบรรยายความและแบบอุปนัย</p> <p> ข้อค้นพบจากการวิจัย (1) เกี่ยวกับสภาวการณ์ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าใจหลักการของธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง “ความโปร่งใส” และ “การมีส่วนร่วมของประชาชน” (2) เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันการกระทำที่ทุจริต พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีนโยบายที่ชัดเจนและระเบียบวิธีปฏิบัติที่กล่าวระบุไว้อย่างแจ่มชัด มีการสร้างระเบียบวิธีปฏิบัติที่ส่งเสริมพฤติกรรมที่ถูกต้องหลักจริยธรรมและให้พนักงานมีความรับผิดชอบต่อการประพฤติปฏิบัติของตน ตลอดจนมีการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมการบริหารต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) เกี่ยวกับรูปแบบของการบริหารที่อิงหลักธรรมาภิบาลที่พึงประสงค์ พบว่า รูปแบบของการบริหารควรจะประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ 1) การบริหารที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง 2) การบริหารจัดการความรู้ของชุมชน 3) การใช้ผู้นำที่มีความเก่งกล้าสามารถจริงๆ บริหาร และ 4) การตั้งมาตรฐานในการปฏิบัติงานไว้ในระดับสูง</p> สมพร หลุงเจริญ Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271058 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ทวารวดี : เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/268189 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอารยธรรมทวารวดี 2) เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอารยธรรมทวารวดีในสังคมไทย เป็นงานวิจัยเชิงเอกสารและงานวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยกระบวนการศึกษาข้อมูลจากหนังสือ ตำรา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการลงพื้นที่ภาคสนาม มุ่งศึกษาและนำเสนอเส้นทางการเผยแพร่พระพุทธศาสนาร่วมกับองค์ความรู้อารยธรรมทวารวดี ให้เกิดความเชื่อมโยงองค์ความรู้อารยธรรมทวารวดีในวงกว้างและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอารยธรรมทวารวดีในสังคมไทย เกิดจากการเชื่อมโยงอารยธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดีย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 - 18 เป็นการเคลื่อนตัวมาพร้อมกับการติดต่อค้าขายของชาวอินเดียที่เข้ามาพร้อมกับศิลปกรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ วัฒนธรรม และศาสนา สำหรับการนำเสนอผลการศึกษาเส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอารยธรรมทวารวดีสังคมไทย ได้สร้างโมเดลแผนที่แสดงเส้นทางการเผยแผ่ของอินเดียและในยุคก่อนทาวารวดีตอนต้น ยุคทาวารวดีตอนต้น ยุคทาวารวดีตอนกลาง และยุคทาวารวดีตอนปลาย </p> เพ็ญพรรณ เฟื่องฟูลอย, ภัทรกุล ศิลปรัตน์ Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/268189 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู เพื่อการบริหารงาน โรงเรียนนครนนท์วิทยา 5 ทานสัมฤทธิ์ จังหวัดนนทบุรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/263843 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาระดับความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู เพื่อการบริหารงานโรงเรียนนครนนท์ วิทยา 5 ทานสัมฤทธิ์ 2.เพื่อเปรียบเทียบระดับความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูเพื่อการบริหารงาน โรงเรียนนครนนท์ วิทยา5 ทานสัมฤทธิ์ จังหวัดนนทบุรี ประชากร คือครู จํานวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามระดับประมาณค่า ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าดัชนีสอดคล้อง 0.60-1.00 และมีค่าเฉลียความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟและการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเซฟเฟ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูเพื่อการบริหารงาน โรงเรียนนครนนท์ วิทยา 5 ทานสัมฤทธิ์ จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายด้านโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย พบว่าส่วนใหญ่คือ ด้านคอมพิวเตอร์อันดับที่สอง คือด้านระบบสื่อสารและลําดับสุดท้ายคือด้านเทคโนโลยีเครือข่ายตามลําดับและเพื่อเปรียบเทียบระดับความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า ครู มีทักษะในด้านคอมพิวเตอร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพียงด้านเดียว</p> โสภี วิวัฒน์ชาญกิจ Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/263843 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านทักษะดิจิทัลให้กลายเป็นพลเมืองดิจิทัล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265853 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านทักษะดิจิทัลให้กลายเป็นพลเมืองดิจิทัล โดยการวิจัยนี้เป็นรูปแบบของการวิจัยและพัฒนา ผลการศึกษาพบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามจะมีบทบาทในการสร้างความรู้ความเข้าใจทักษะดิจิทัลต่อประชาชนในเขตพื้นที่ในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ และรูปแบบการเรียนรู้ด้านทักษะดิจิทัลดำเนินการผ่าน 2 โครงการหลักได้แก่ โครงการธรรมะหรรษา และเวทีประชาคมที่ชุมชนจะมาแลกเปลี่ยนกับองค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองใหม่ รวมถึงการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้จะมีการสอดแทรกประเด็นทางสังคมทำให้ประชาชนในพื้นที่ผ่านการเรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัลในรูปแบบทางอ้อมและไม่เป็นทางการมากกว่า</p> พิจักษณ์ ภู่ตระกูล Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265853 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การสำรวจและเปรียบเทียบผลการประเมินด้านคุณธรรมและความโปร่งใสจากการตอบคำถามตามประสบการณ์หรือตามความคิดเห็นของผู้เรียนในชั้นเรียน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271039 <p>การทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีหน้าที่ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ทุกหน่วยงานและทุกปีงบประมาณ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ คณะสเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้สอนเรื่องคุณธรรมและความโปร่งใส ให้กับนิสิตชั้นปีที่ 3 ทั้งสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด รวมทั้งได้ทำการสำรวจและเปรียบเทียบผลการประเมินด้านคุณธรรมและความโปร่งใสจากการตอบคำถามตามประสบการณ์หรือตามความคิดเห็นของผู้เรียนในชั้นเรียน โดยเปรียบเทียบกัน 2 คู่ ได้แก่ ระหว่างนิสิตชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ กับ สาขาวิชากายภาพบำบัด และระหว่างนิสิตกายภาพบำบัดชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 กับ 2565 ใน 3 ประเด็น คือ พฤติกรรมด้านคุณธรรมความโปร่งใสของผู้เรียน การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของคณะสหเวชศาสตร์โดยผู้เรียน และการประเมินพฤติกรรมการทุจริตโดยผู้เรียนจาก 14 สถานการณ์จำลองเทียบกับผลการประเมินโดยผู้สอน ทั้งหมดนี้เป็นการประเมินแบบออนไลน์ที่ไม่มีการระบุตัวตน พบว่าทั้ง 2 คู่ที่เปรียบเทียบใน 3 ประเด็นดังกล่าว ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p&gt;0.05) แสดงว่าผู้เรียนทั้งสามกลุ่มมีพฤติกรรมใกล้เคียงกัน เนื่องจากอยู่ในวัยเดียวกัน มีประสบการณ์ชีวิตไม่ต่างกัน แต่พบว่า การทำผิดกฏจราจร การเกี่ยวข้องกับการทุริต การทุจริตในกิจกรรมการเรียนหรือการสอบ เป็นพฤติกรรมที่น่าสนใจและไม่พึงประสงค์ ที่สมควรจัดให้มีการรณรงค์ป้องกันและกำจัดพฤติกรรมเหล่านี้ ให้หมดไปจากสังคมไทยโดยเร็ว ส่วนการดำเนินงานของคณะสหเวชศาสตร์นั้น ผู้เรียนให้คะแนนในระดับที่สูง ชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานของคณะฯ มีคุณธรรมและความโปร่งใสดี นอกจากนี้ยังพบว่าเยาวชนแยกแยะพฤติกรรมการทุจริตและไม่ทุจริตออกจากกันได้ การให้ความรู้ด้านการทุจริตจึงอาจไม่จำเป็น การรณรงค์ให้เยาวชนตระหนักและไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริต จึงน่าจะมีความสำคัญและจำเป็นมากกว่า</p> ยุทธนา หมั่นดี , จุฑารัตน์ หมอเต๊ะ, สุรสิทธิ์ สุวรรณสินธุ์ Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/271039 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 บทวิจารณ์หนังสือเรื่อง "กระแสธารปรัชญาจีน: ข้อโต้แย้งเรื่องธรรมชาติ อำนาจ และจารีต" https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/266060 <p>หนังสือเรื่อง “กระแสธารปรัชญาจีน: ข้อโต้แย้งเรื่องธรรมชาติ อำนาจ และจารีต” เขียนโดย สุวรรณา สถาอานันท์ เป็นหนังสือทางวิชาการที่เกี่ยวกับปรัชญาจีนและจีนศึกษา จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเดือนกันยายน พ.ศ. 2538 สำหรับเล่มที่ผู้วิจารณ์ใช้ในการวิจารณ์นี้เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 4 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 มีจำนวน 320 หน้า เพื่อเสนอมุมมองของปรัชญาจีน และวัฒนธรรมจีน คติความเชื่อของชาวจีน และประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับจีนศึกษา เนื้อหาการเขียนของหนังสือเรื่อง “กระแสธารปรัชญาจีน: ข้อโต้แย้งเรื่องธรรมชาติ อำนาจ และจารีต” นี้ได้มีการแบ่งสัดส่วนเนื้อหาหลักของงานออกเป็น 4 บท ได้แก่ บทที่ 1 ขงจื่อ: ปริมณฑลปรัชญาจีน, บทที่ 2 เหลาจื่อ: วีถีแห่งธรรมชาติ, บทที่ 3 จวงจื่อ: ท้าทายขนบจารีต, บทที่ 4 หานเฟยจื่อ: อำนาจนิตินิยม, บรรณานุกรม และประวัติผู้เขียน ซึ่งเป็นการแบ่งตามรูปแบบของหนังสือทางวิชาการทั่วไป ผู้วิจารณ์ ได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้มี 2 ประการ คือ 1) การหลีกลี้สังคม ผู้วิจารณ์เห็นด้วยกับผู้เขียนที่อธิบายต่างจากทัศนะของศาสตราจารย์ เฮอร์เบิร์ต ฟิงกาเร็ต เพราะวัฒนธรรมของตะวันออกโดยเฉพาะของจีนนั้นย่อมมีความแตกต่างกับวัฒนธรรมตะวันตกที่ได้นำมาเป็นฐานความคิดในการอภิปรายคัมภีร์หลุนอี่ว์ แต่ไม่เห็นด้วยในประเด็นที่จะผู้เขียนมีท่าทีที่สนับสนุนขงจื่อที่มองมรรควิธีของตนว่าเป็นหนทางอันถูกต้องเพียงหนทางเดียว และ 2) จวงจื่อกับ ปรัชญาจีน ประเด็นนี้ผู้วิจารณ์เห็นด้วยกับผู้เขียนที่มองจวงจื่อมีแนวคิดที่แตกต่างและโดดเด่นจากนักปราชญ์ร่วมสมัย จนได้รับการยกย่องจากนักวิชาการยุคปัจจุบัน แม้จะถูกมองว่าเป็นแนวคิดสุดโต่งและถูกต่อต้านจากนักคิดร่วมสมัยก็ตาม อย่างไรก็ตาม หนังสือเรื่อง “กระแสธารปรัชญาจีน: ข้อโต้แย้งเรื่องธรรมชาติ อำนาจ และจารีต” เล่มนี้ มีความเหมาะสมสำหรับนิสิตนักศึกษาด้านปรัชญาที่ควรอ่านหลังจากมีพื้นฐานความรู้ทางด้านปรัชญาจีนเบื้องต้น ก็จะช่วยต่อยอดแนวคิดเชิงปรัชญาต่อไปทั้งทางด้านปรัชญาจีนสำนักต่างๆ ทั้งนี้เพื่อต่อยอดความสนใจใคร่รู้ที่สามารถนำไปสู่การวิเคราะห์วิจารณ์ในเชิงลึกได้ต่อไป</p> พระวิเชียร เถี่ยนอี๊ (กาญจนไตรภพ) Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/266060 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 วิเคราะห์แบบในการใช้เหตุผลจากคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทเรื่องมัฏฐกุณฑลี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/264349 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เหตุผลในพระพุทธศาสนาและวิเคราะห์การใช้เหตุผลในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทโดยวิเคราะห์จากการใช้เหตุผลจากธรรมบทเรื่องมัฏฐกุณฑลี ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า รูปแบบของการใช้เหตุผลทั่วไปนั้นมี 2 รูปแบบ คือ การใช้เหตุผลแบบนิรนัย และการใช้เหตุผลแบบอุปนัย ส่วนการใช้เหตุผลในพระพุทธศาสนามีทั้งการใช้เหตุผลแบบนิรนัยและแบบอุปนัย นอกจากนี้การใช้เหตุผลในพระพุทธศาสนายังมีการใช้เหตุผลในระดับโลกียะและโลกุตระ การใช้เหตุผลในอรรถกถาธรรมบทเรื่องมัฏฐกุณฑลีเป็นการใช้เหตุผลแบบอุปนัยซึ่งหลักการใช้เหตุผลแบบอุปนัย เริ่มจากหลักความจริงเฉพาะอย่าง นำไปสู่หลักความจริงสากล หรือหาความจริงจากหน่วยย่อยไปหาหน่วยใหญ่ จากกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มเพื่อต้องการทราบภาพรวมของกลุ่มใหญ่ เช่น เราต้องการรู้ว่า “การร้องให้ถึงคนทั้งหมดที่ตายและถูกฝังศพไปแล้วจะไม่ทำให้คนตายฟื้นคืนชีพได้ จริงหรือไม่” จากการเฝ้าสังเกตเห็นการร้องให้ถึงคนตายที่ถูกฝังศพไปแล้วของคนจำนวนหนึ่ง ไม่ปรากฏเห็นว่าคนตายที่ถูกฝังศพไปแล้วฟื้นคืนชีพได้เลย เป็นการแสดงให้เห็นว่า “การร้องให้ถึงคนทั้งหมดที่ตายและถูกฝังศพไปแล้วจะไม่ทำให้คนตายฟื้นคืนชีพได้ เป็นเรื่องจริง”</p> พระครูพิบูลย์พัฒนประสุต, ทวีศักดิ์ ทองทิพย์ Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/264349 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำของเยาวชนยุคดิจิทัล: การเสริมศักยภาพนักศึกษาด้านการพัฒนาทักษะทางวิชาการของเครือข่ายมหาวิทยาลัยภูมิภาคตะวันตก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/264621 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทเรียนการเสริมศักยภาพภาวะผู้นำของเยาวชนจากโครงการเสริมศักยภาพทักษะทางวิชาการของเครือข่ายมหาวิทยาลัยภูมิภาคตะวันตกของนักศึกษาสาขาจัดการชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การถอดบทเรียน และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบคุณภาพด้วยเทคนิคสามเส้าและนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าการเสริมศักยภาพผู้นำของเยาวชน ประกอบด้วย การมีเป้าหมายร่วม การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การทำงานเป็นทีม การคิดเชิงบวก และเข้าใจเชิงระบบ กระบวนการเสริมศักยภาพที่เป็นขั้นตอน ประกอบด้วย 4 ลำดับ คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินความต้องการ 2) การเสริมศักยภาพ 3) การเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันทางวิชาการ และ 4) สรุปบทเรียนประเมินผล</p> นิภาวรรณ เจริญลักษณ์ Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/264621 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปริสุทธิศีลหลักปฎิบัติเพื่อความหมดจดแห่งศีลของภิกษุในพระพุทธศาสนา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265707 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปาริสุทธิศีล 4 ประการ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เพื่อเป็นหลักปฏิบัติเพื่อความหมดจดแห่งศีลของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนเกี่ยวกับศีลในหลายระดับทั้งระดับเบื้องต้น ระดับกลาง และระดับสูง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้กล่าวถึงศีลไว้อย่างชัดเจนและให้ความสำคัญกับปาริสุทธิศีลซึ่งเป็นหลักปฏิบัติเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดแห่งศีลของพระภิกษุและพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนา ปาริสุทธิศีลประกอบด้วย ปาติโมกข์สังวรศีล อินทรีย์สังวรศีล อาชีวปริสุทธิศีล ปัจจัยสันนิสิตศีล ศีลทั้ง 4 ประการนี้ครอบคลุมหลักปฏิบัติเพื่อความหมดจดแห่งศีลของภิกษุในพระพุทธศาสนา สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติตามปาริสุทธิศีลบรรลุถึงความหมดจดและบริสุทธิ์ของศีลได้</p> ทวีศักดิ์ ทองทิพย์, พระครูนิมิตรัตนตนาภรณ์ Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/265707 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 บทความปริทัศน์ เรื่อง “นิตยสารธรรมจักษุ (พ.ศ. 2437-2454) : ความเป็นมาและสารัตถะ” https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/269242 <p>บทความนี้เป็นการปริทัศน์บทความวิจัย เรื่อง “นิตยสารธรรมจักษุ (พ.ศ. 2437-2454) : ความเป็นมาและสารัตถะ” ที่ตีพิมพ์ครั้งที่ 1 ในวารสารธรรมธารา ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (2023) : (ฉบับรวมที่ 17) กรกฎาคม-ธันวาคม จำนวน 43 หน้า (หน้า 76-119) พิมพ์ที่ ศูนย์พุทธศาสตร์ศึกษา DCI พระนครศรีอยุธยา โดยผู้แต่ง คือ พระมหาสราวุธ โพธิ์ศรีขาม และ ณัชพล ศิริสวัสดิ์ ได้เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของงานวิจัยเพื่อจัดทำวิทยานิพนธ์ หลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาบาลี-สันสกฤต และพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อศึกษาความเป็นมาของนิตยสารธรรมจักษุ พ.ศ. 2437-2454 เพื่อวิเคราะห์สารัตถะและกลวิธีนำเสนอพุทธธรรมที่ปรากฏในนิตยสารธรรมจักษุ พ.ศ. 2437-2454 และเพื่อศึกษาบทบาทสำคัญของพุทธธรรมในนิตยสารธรรมจักษุที่มีต่อพุทธศาสนาไทย ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร นำเสนอโดยการพรรณนาวิเคราะห์</p> <p>บทความวิจัยที่นำมาวิจารณ์นี้ มีจุดเด่น คือ การนำเสนอผลการศึกษาความเป็นมาและสารัตถะของนิตยสารธรรมจักษุ พ.ศ. 2437-2454 ที่ได้ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารปฐมภูมิ โดยบรรยายด้วยภาษาที่เรียบง่ายอย่างละเอียดและชัดเจน มีข้อค้นพบว่า นิตยสารธรรมจักษุเป็นนิตยสารทางพุทธศาสนาเล่มแรกในประเทศไทย และมีคุณค่าเป็นวรรณกรรมร้อยแก้วทางพุทธศาสนาเถรวาทในสมัยรัตนโกสินทร์ ส่วนจุดด้อย คือ ข้อจำกัดของการรายงานผลการวิจัยที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการดำเนินการวิจัย โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความสำคัญ คือ เนื้อหาพุทธธรรมของนิตยสารธรรมจักษุ ในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นบรรณาธิการ พ.ศ. 2437-2454 ที่มีบทบาทต่อพุทธศาสนาไทย</p> <p>คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องของการรู้และการเห็นเสมอ มิใช่เรื่องของการเชื่อ ดังปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาที่กล่าวถึงบุคคลที่ได้กระทำสัจธรรมให้แจ้งแล้วว่า <em>“ธรรมจักษุ (ดวงตาเห็นธรรมที่ปราศจากธุลีและมลทิน) ได้เกิดขึ้นแล้ว”</em> ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงทำให้เป็นที่ประจักษ์ ตลอดระยะเวลา 17 ปี ของการตีพิมพ์นิตยสารธรรมจักษุ (พ.ศ. 2437-2454) นับเป็นคุณูปการแก่พุทธศาสนิกชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้</p> อัญชลิตา สุวรรณะชฎ Copyright (c) 2023 พุทธมัคค์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/269242 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700