https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/issue/feed วารสารศิลปกรรมบูรพา 2024-06-18T16:47:45+07:00 ผศ.ดร. ภูวษา เรืองชีวิน artsbuufa@gmail.com Open Journal Systems <p><span data-sheets-userformat="{&quot;2&quot;:515,&quot;3&quot;:{&quot;1&quot;:0},&quot;4&quot;:[null,2,16776960],&quot;12&quot;:0}" data-sheets-value="{&quot;1&quot;:2,&quot;2&quot;:&quot;วารสารศิลปกรรมบูรพา มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ด้านทัศนศิลป์ ในทุกสาขาและด้านการออกแบบ ดนตรี รวมทั้งด้านการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ศิลปะ การจัดการพิพิธภัณฑ์ และมนุษยวิทยา ในลักษณะของบทความวิชาการ บทความวิจัย ผลงานแปลเชิงวิชาการ และผลงานรูปแบบ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ&quot;}">วารสารศิลปกรรมบูรพา มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ด้านทัศนศิลป์ ในทุกสาขาและด้านการออกแบบ ดนตรี รวมทั้งด้านการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ศิลปะ การจัดการพิพิธภัณฑ์ และมนุษยวิทยา ในลักษณะของบทความวิชาการ บทความวิจัย ผลงานแปลเชิงวิชาการ และผลงานรูปแบบ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ</span></p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/273159 An Orchestration Study of Myanmar Saing Waing Ensemble 2024-04-22T10:55:21+07:00 Wai Hin Ko Ko kittipanc@go.buu.ac.th Kittipan Chittep kittipanc@go.buu.ac.th <p><em>Saing waing,</em> Myanmar's traditional music ensemble, represents a rich cultural heritage with untapped potential for innovation in composition and orchestration. Despite its readiness for new music and art forms, creative and orchestration crafts lag behind.</p> <p>This study aims to support composers and younger musicians by providing: 1) a detailed analysis and description of Myanmar <em>saing waing</em> instruments, and 2) an explanation of orchestration techniques in composing new <em>saing waing</em> music, demonstrated through the example piece "Gazing Bagan." The information and orchestrating knowledge are collected by 1) intensive literature review, 2) interviews and study with the <em>saing waing</em> musicians, and 3) recording and transcribing musical fragments and classical works.</p> <p> The research involves an intensive literature review, interviews with <em>saing waing</em> musicians, and recording and transcribing musical fragments and classical works. The key findings are 1) A detailed analysis, including diagrams, illustrations, and idiomatic playing techniques of <em>saing waing</em> instruments. 2) A comprehensive discussion of traditional orchestration practices for the <em>saing waing</em> ensemble, derived from classical works. 3) An innovative approach to orchestrating the <em>saing waing</em> ensemble, illustrated through "Gazing Bagan."</p> <p> This study provides valuable insights and practical knowledge for composers, researchers, and young musicians wishing to create new works using <em>saing waing</em> instruments or the entire ensemble. This research bridges traditional and contemporary practices, fostering new creative directions for Myanmar's musical heritage.</p> 2024-06-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะศิลปกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/274843 การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมคราม จังหวัดปทุมธานี 2024-06-18T06:59:21+07:00 จุฑามาศ เถียรเวช jutamach@vru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมคราม จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมคราม จังหวัดปทุมธานี และ3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมคราม จังหวัดปทุมธานี</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจขนาดย่อมจะอยู่รอด หรือล้มเหลว ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการที่เรียกว่า “ผู้ประกอบการ” ที่จะต้องสะท้อนถึงความเป็นนักธุรกิจที่มองเห็นโอกาส โดยมุ่งหวังที่จะให้ธุรกิจรอดและเจริญเติบโต ดังนั้น แบรนด์ FINE HEART By Thanyanan จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและแตกต่างจากคู่แข่งทางการตลาด ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ โดยผู้วิจัยสามารถสรุปผลการวิจัยเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ 1) ออกแบบตราสินค้า จำนวน 3 รูปแบบ และนำมาคัดเลือก จากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ พบว่าตราสินค้า รูปแบบที่ 1 ได้คะแนนสูงที่สุด มีผลคะแนนอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ (ค่าเฉลี่ย Mean = 4.33, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD = 0.80) 2) ออกแบบบรรจุภัณฑ์โครงสร้างโดยเลือกใช้กล่องลูกฟูกสีขาว ขนาด 27.5X5X20.5 เซนติเมตร โดยกล่องลูกฟูกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรง และราคาไม่แพงมาก วัสดุทำจากธรรมชาติซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3) ออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ (ฉลากสินค้า) ขนาด 15X17 เซนติเมตร โดยลวดลายกราฟิกที่ใช้ในการออกแบบนั้น เกิดจากการนำเอาต้นคราม ประกอบไปด้วยใบของต้นครามและช่อดอกคราม มาตัดทอนและวาดให้เป็นภาพประกอบที่มีเอกลักษณ์และนำมาจัดองค์ประกอบศิลป์ และผลิตเป็นสติ๊กเกอร์ (PVC) ทึบขาว 4) นำบรรจุภัณฑ์ต้นแบบไปประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พบว่า มีผลคะแนนอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ (ค่าเฉลี่ย Mean = 4.40, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD = 0.61)</p> 2024-06-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/274857 การออกแบบอัตลักษณ์สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อการพัฒนาสินค้าอย่างยั่งยืน 2024-06-18T16:00:05+07:00 กฤษฏิ์ ตุลวรรธนะ krit.tu@ssru.ac.th ดวงรัตน์ ด่านไทยนำ duangrat.da@ssru.ac.th <p>จากแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566 – 2570 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม วิสัยทัศน์ โดยมีประเด็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของจังหวัด โดยใช้การออกแบบอัตลักษณ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จังหวัดสมุทรสงคราม ส่งเสริมให้ผู้ผลิตสามารถนำผลิตภัณฑ์สินค้าการเกษตรมาแปลรูปและส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลเพื่อสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนเกษตรสวนนอก อำเภอบางคนทีจังหวัดสมุทรสงคราม ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก พบว่าสินค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสินค้าทั้งรูปแบบการมัดย้อมโดยใช้วัสดุจากใบลิ้นจี่ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผลิตภัณฑ์ยังไม่มีอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ จากข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และอัตลักษณ์วิสาหกิจชุมเกษตรสวนนอก 2.เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ชุมชนเกษตรสวนนอก ภาคเอกสาร จากการศึกษาทฤษฎีด้านการออกแบบบอัตลักษณ์จากการสัมภาษณ์ใช้การสัมภาษณ์กลุ่ม(Focus Group) 3.เพื่อออกแบบอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่โดยใช้ชื่อวิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก มาสร้างเป็นตราสัญลักษณ์แบบตัวอักษร (Logo Wordmarks) การเลือกใช้สี (Corporate Color) ที่มาจากใบลิ้นจี่ ตัวอักษร (Typography) องค์ประกอบของกราฟิก (Graphic Element) จากลวดลายผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ โดยนำผลงานการออกแบบไปประเมินกับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอัตลักษณ์ชุมชน นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจและมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนก่อให้เกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนและเป็นตัวอย่างในการสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของชุมชนอื่นๆต่อไป</p> 2024-06-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/274858 การสร้างสรรค์สื่อสมัยใหม่ทางพุทธศาสนาในรูปแบบปริศนาธรรม 2024-06-18T16:11:02+07:00 วารินทร์ เงินลาด ngwarin@gmail.com ไชยพจน์ หวลมานพ chaipoth_h@rmutt.ac.th <p>การวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์สื่อสมัยใหม่ทางพุทธศาสนาในรูปแบบปริศนาธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ ตีความ สร้างสรรค์ผลงานสื่อสมัยใหม่ทางพุทธศาสนาในรูปแบบปริศนาธรรม และสร้างองค์ความรู้ โดยใช้หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีการรับรู้ทางทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และสุนทรียะ</p> <p>ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักวิชาการการสร้างสรรค์ภาพประกอบ และบุคคลทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มาชมผลงาน ที่วัดปัญญานันทราราม โดยทำแบบสอบถามการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 180 คน พบว่าส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 20-50 ปี เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพศหญิงจำนวน 114 คน และ เพศชายจำนวน 66 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) เป็นการนำเสนอผลงานการสร้างสรรค์ เน้นโครงสร้างองค์ประกอบใหม่ ให้เกิดความเป็นเอกภาพของรูปทรงกับเนื้อหา ตามหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา ผสมผสานกับแนวทางการสร้างสรรค์ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ให้ถ่องแท้ เกิดองค์ความรู้แนวเรื่อง นิพพาน ที่สามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุมีผล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทดลองผสมผสานจินตภาพสมมติจากปริศนาธรรม ทำให้เกิดผลงานสร้างสรรค์สื่อสมัยใหม่ทางพุทธศาสนาในรูปแบบปริศนาธรรม แนวเรื่อง นิพพาน จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่ ผลงานเรื่อง นิพพาน พระพักตร์พระพุทธรูป พุทธมามกะ ซึ่งผลงานทั้งหมด ได้แนวคิดจากเรื่อง นิพพาน</p> <p>&nbsp;2) การสร้างสรรค์ผลงานทําให้ผู้พบเห็นเข้าใจเนื้อหา สาระ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ลึกซึ้งดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดการรับรู้ และเข้าใจของผู้คนในรูปแบบแสดงผลงานศิลปะ ส่งเสริมสร้างจินตนาการ ประสบการณ์ ในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าได้กว้างขวางยิ่งขึ้น มีการแนะนำ และบอกต่อผู้อื่นให้มาชมผลงานภายในวัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี มากยิ่งขึ้น เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยให้สังคมไทยเกิด ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหนทางไปสู่ผลบุญ และความสุข</p> 2024-06-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/274859 กระบวนการสร้างสรรค์แอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในหัวข้อ สายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่พบในจังหวัดขอนแก่น 2024-06-18T16:17:07+07:00 เปรมวดี วินิจฉัยกุล premwadee.vi@spu.ac.th <p>ผลงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่พบในจังหวัดขอนแก่นและอัตลักษณ์ชุมชนของอุทยานธรณีขอนแก่น 2) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่พบในจังหวัดขอนแก่นและอัตลักษณ์ชุมชนของอุทยานธรณีขอนแก่น 3) เพื่อสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานสื่อดิจิทัลที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ 5 สายพันธุ์โดยสอดแทรกอัตลักษณ์ของชุมชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยการสร้างสรรค์แอนิเมชันนี้เป็นการศึกษาการใช้สื่อดิจิทัลสร้างสรรค์ประเภทแอนิเมชัน 2 มิติเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียน เริ่มด้วยการศึกษาข้อมูล 4 ด้านหลักๆ ได้แก่ 1) ข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์ไดโนเสาร์ในจังหวัดขอนแก่น 2) ข้อมูลเกี่ยวกับอัตลักษณ์ชุมชนของอุทยานธรณีขอนแก่น 3) ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับเด็กวัยเรียน 4) แนวทางการสร้างสรรค์แอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชันที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ไดโนเสาร์ในจังหวัดขอนแก่น มีเครื่องมือในการวิจัยคือแอนิเมชัน 2 มิติเกี่ยวกับไดโนเสาร์ 5 สายพันธุ์ที่สอดแทรกอัตลักษณ์ชุมชนของอุทยานธรณีขอนแก่น แบบประเมินความพึงพอใจ แบบสอบถามผู้ชมและผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน วิธีการดำเนินงานวิจัยเป็นไปตามขั้นตอนดังนี้ ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยแล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาสรุปเนื้อหาที่จะนำมาเสนอในสื่อแอนิเมชันจากนั้นทำการส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความถูกต้องของเนื้อหาแล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูล คัดเลือกแนวทางการสร้างสรรค์ให้สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากนั้นทำการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชัน นำไปจัดแสดงผลงานและสำรวจความพึงพอใจของผู้ชมจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยมีดังนี้ (1) ไดโนเสาร์ที่ขุดพบเป็นครั้งแรกในจังหวัดขอนแก่นมีทั้งหมด 5 สายพันธ์ได้แก่ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhornae) กินรีไมมัส ขอนแก่นเอนซิส (Kinnareemimus khonkaennsis) สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis) สยามโมซอรัส สุธีธรนิ (Siamosaurus suteethorni) ภูเวียงเนเตอร์ แย้มนิยมมิ (Phuwiangvenator yaemniyomi) ซึ่งเป็นชื่อเรียกที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการค้นพบและยังมีชื่อเล่นเพื่อการจดจำได้ง่ายคือ น้องโย่ง น้องเปรียว น้องดุ น้องแข่ น้องแรพ ตามลำดับ โดยแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะเด่นในด้านกายภาพ การอยู่อาศัย อาหารการกินและถิ่นที่อยู่ (2) แนวทางการสร้างสรรค์สื่อเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียนโดยออกแบบสื่อดิจิทัลที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ไดโนเสาร์ประเภทแอนิเมชัน 2 มิติที่ดึงดูดความสนใจของเด็ก สร้างความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับผู้ชมและมีการออกแบบการเล่าเรื่องที่เน้นข้อมูลสำคัญ พบว่าช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ได้โดยผลการทดสอบด้วยสถิติ Paired Samples Test พบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่อยู่ในพื้นที่อำเภอภูเวียงและอำเภอเวียงเก่า มีระดับการเรียนรู้ก่อนและหลังการเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่พบในจังหวัดขอนแก่นและอัตลักษณ์ชุมชนของอุทยานธรณีขอนแก่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (Sig. = 0.00) โดยที่มีคะแนนการเรียนรู้หลังดู (mean = 14.20) สูงกว่าก่อนดู (mean = 10.59) สื่อดิจิทัลที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ไดโนเสาร์ และ (3) ผู้วิจัยได้ทำการสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานสื่อดิจิทัลที่ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ 5 สายพันธุ์โดยสอดแทรกอัตลักษณ์ชุมชนของอุทยานธรณีขอนแก่นทั้งในช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยมีการจัดแสดงให้กับผู้ชมซึ่งเป็นคนในพื้นที่ ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์และบุคคลทั่วไปที่สนใจ</p> 2024-06-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/274860 การสร้างสรรค์ทับทรวงตัวพระ ด้วยแนวคิดเชิงนวัตกรรม 2024-06-18T16:23:40+07:00 สมศักดิ์ ทองปาน somsakthongpan@gmail.com <p>บทความวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ทับทรวงตัวพระ ด้วยแนวคิดเชิงนวัตกรรมจากการศึกษารูปแบบอัตลักษณ์ของทับทรวงพระในละครไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่าเราสามารถออกแบบทับทรวงตัวพระ ในรูปแบบประยุกต์สร้างสรรค์ ด้วยเหตุผลที่จะสร้างประโยชน์กับพื้นที่ด้านหลังของตัวทับทรวง ซึ่งมีความบางเบาใช้ประกอบการแต่งกายเพื่อการแสดงนาฏศิลป์ไทย ด้วยแนวคิดที่จะทำอย่างไรให้พื้นที่ด้านหลังของทับทรวงตัวพระเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า กล่าวคือมีความสวยทั้งด้านหน้า และมีประโยชน์ที่ด้านหลังของชิ้นงานในการจัดเก็บของมีค่าส่วนตัว สร้างการเปลี่ยนแปลงในงานถนิมพิมพาภรณ์ ในรูปแบบใหม่ เป็นทรัพย์สินทางปัญญา กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ "Innovation Thailand" ซึ่งได้นำวิชาศิลปะสาระนาฏศิลป์มาเชื่อมโยงในการจัดการเรียนรู้มาพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งนวัตกรรมใหม่ การประดิษฐ์ “ทับทรวงตัวพระ” รูปแบบนี้ไม่เคยปรากฏมาก่อน ในแวดวงเครื่องประดับประกอบการแต่งกายการแสดงนาฏศิลป์ไทย</p> 2024-06-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/274863 กรณีศึกษาแบบอย่างการนำองค์ประกอบเทวตำนานเทพทวารบาลจีนบูรณาการสู่การออกแบบหนังสือภาพประกอบสามมิติเชิงสร้างสรรค์สำหรับเด็กวัย 3-6 ปี 2024-06-18T16:40:56+07:00 Yi He 119057119@qq.com ภูวษา เรืองชีวิน puvasa@go.buu.ac.th ผกามาศ สุวรรณนิภา psuwannipa@gmail.com <p>เทพทวารบาลจีนของเมืองโบราณล่างจงถือเป็นหนึ่งในขุมสมบัติด้านศิลปะพื้นบ้านประจำภูมิภาคทางตอนเหนือของมณฑลเสฉวน ทว่าในปัจจุบันขุมสมบัตินี้กลับเสียหายร้ายแรงจนหลงเหลืออยู่เพียงน้อยนิด บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ตำนานเทพทวารบาลจีนของเมืองโบราณล่างจง มณฑลเสฉวน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในเชิงลึก เพื่อนำองค์ความรู้เกี่ยวกับตำนานเทพทวารบาลจีนมาใช้เป็นหัวข้อหลักในการออกแบบและสร้างสรรค์หนังสือภาพประกอบเชิงสร้างสรรค์สามมิติสำหรับเด็กอนุบาลวัย 3-6 ปี ซึ่งรูปแบบการแสดงออกเชิงศิลปะที่เกิดจากการบูรณาการร่วมกันระหว่างหนังสือภาพสำหรับเด็กและปัจจัยวัฒนธรรมจีนในการวิจัยครั้งนี้ไม่เพียงนำไปสู่การสืบสานวัฒนธรรมเทพทวารบาลจีนเมืองโบราณล่างจงด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ แต่ในขณะเดียวกันยังเป็นการเปิดโอกาสให้เหล่าผู้ปกครองและเด็ก ๆ ที่ไม่เคยรับรู้หรือไม่เข้าใจวัฒนธรรมเทพทวารบาลจีนได้เริ่มศึกษาทำความเข้าใจในวัฒนธรรมเทพทวารบาลจีนเสียใหม่</p> 2024-06-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/274864 นวัตกรรมประติมากรรมเครื่องเคลือบสมัยใหม่ของโจวกั๋วเจิน รรมประติมากรรมเครื่องเคลือบสมัยใหม่ของโจวกั๋วเจิน 2024-06-18T16:47:45+07:00 โจว ฟาง 62810051@my.buu.ac.th ภรดี พันธุภากร poradee@buu.ac.th <p>ศิลปะประติมากรรมเครื่องเคลือบสมัยใหม่ของโจวกั๋วเจินมีภาษาศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่ปี 1950 โจวกั๋วเจินมีส่วนสำคัญอย่างมากในการส่งเสริมและสนับสนุนการสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและคุณค่าทางจิตวิญญาณของเครื่องเคลือบจีนที่มีอายุกว่าพันปี และเป็นผู้สร้างคุณูปการต่อการส่งเสริมและพัฒนาศิลปะประติมากรรมเครื่องเคลือบสมัยใหม่ของจีน โดยมีความตั้งใจ “สืบทอดโดยไม่คัดลอก สร้างสรรค์สิ่งใหม่โดยไม่ลืมรากเหง้า ” ในปี 1954-1959 เป็นยุคหมอก หมายถึง ช่วงเวลาแห่งการรับรู้ที่คลุมเครือ โจวกั๋วเจินต้องการสร้างแนวความคิดทางศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การสร้างสรรค์ในยุคหมอก ใช้องค์ประกอบที่เรียบง่าย สมจริงเป็นธรรมชาติ มีความประสานผสมกลมกลืนระหว่าง “มุมมอง&nbsp; รูปร่าง &nbsp;วิญญาณ และ อารมณ์” ในปี 1960-1981 เป็นยุคสุนทรียภาพ โจวกั๋วเจินเริ่มแสวงหาความสมบูรณ์ของรูปร่างรูปทรง มีการตกแต่งโดยการใช้น้ำเคลือบสี ทำให้ผลงานมีเสน่ห์ น่าดึงดูด และน่าสนใจ ในปี 1981-1988 เป็นยุคโบราณ โจวกั๋วเจินได้พบแก่นแท้ของความงาม การแสดงออกถึง ธรรมชาติอันศักดิ์สิทธิ์ และความเป็นอันหนึ่งเดียวกันของมนุษย์กับธรรมชาติ” อันเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมตะวันออก ในปี 1988-2007 เป็นยุคการแสดงออกใหม่ เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลง สร้างจิตสำนึก การขึ้นรูปที่เป็นการอนุรักษกับผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดมุมมองความคิด “ศิลปะการสร้างเครื่องเคลือบดินเผา แบบดั้งเดิมเป็นงานฝีมือที่บริสุทธิ์ที่สุด และชิ้นงานจะถูกปกคลุมไปด้วยรอยนิ้วมือที่ถือเป็นรอยประทับทางอารมณ์ มีจิตวิญญาณของศิลปิน ที่เป็นอิสระในการสร้างผลงาน สามารถระบายจินตนาการและ พลังได้อย่างเต็มที่” ในปี 2007- ปัจจุบัน เป็นยุคสู่สิ่งแวดล้อมอันยิ่งใหญ่ โจวกั๋วเจินได้สร้างเครื่องเคลือบขนาดใหญ่ ก้าวข้ามขีดจำกัด สะท้อนถึงลักษณะของยุคสมัย &nbsp;เป็นอุดมคติ และสุนทรียภาพของคนรุ่นนี้”</p> 2024-06-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024