วารสารศิลปกรรมบูรพา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ <p><span data-sheets-userformat='{"2":515,"3":{"1":0},"4":[null,2,16776960],"12":0}' data-sheets-value='{"1":2,"2":"วารสารศิลปกรรมบูรพา มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ด้านทัศนศิลป์ ในทุกสาขาและด้านการออกแบบ ดนตรี รวมทั้งด้านการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ศิลปะ การจัดการพิพิธภัณฑ์ และมนุษยวิทยา ในลักษณะของบทความวิชาการ บทความวิจัย ผลงานแปลเชิงวิชาการ และผลงานรูปแบบ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ"}'>วารสารศิลปกรรมบูรพา มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัยและสร้างสรรค์ด้านทัศนศิลป์ ในทุกสาขาและด้านการออกแบบ ดนตรี รวมทั้งด้านการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ศิลปะ การจัดการพิพิธภัณฑ์ และมนุษยวิทยา ในลักษณะของบทความวิชาการ บทความวิจัย ผลงานแปลเชิงวิชาการ และผลงานรูปแบบ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ</span></p> Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University th-TH วารสารศิลปกรรมบูรพา 3027-7108 <p>ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร</p> การวิเคราะห์องค์ประกอบศิลป์รูปธรรมเชื่อมโยงนามธรรมในงานประติมากรรมของภาคใต้ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/270712 <p>การวิเคราะห์ความคิดเชิงนามธรรมของสังคมพหุวัฒนธรรมในประติมากรรมของภาคใต้ เป็นการวิเคราะห์รูปธรรมด้านองค์ประกอบศิลป์ เนื้อหาสาระทางพุทธศาสนา ความเชื่อ และรูปแบบการแสดงออกที่หลากหลายของพหุวัฒนธรรม ในสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 9) และเพื่อการวิเคราะห์รูปธรรมสัมพันธ์กับความคิดเชิงนามธรรมของสังคมพหุวัฒนธรรมในประติมากรรมของภาคใต้ และเพื่ออนุรักษ์ สืบทอด สืบสาน และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมด้านพุทธศิลป์ของภาคใต้<br>ผลการวิเคราะห์ ความคิดเชิงนามธรรมของสังคมพหุวัฒนธรรมในประติมากรรมของภาคใต้ ที่มีความโดดเด่นของรูปแบบ องค์ประกอบศิลป์ ประกอบด้วยเนื้อหาพหุวัฒนธรรม และความเชื่อของท้องถิ่นในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในงานประติมากรรม ที่มีลัทธิความเชื่อที่หลากหลาย โดยมีศาสนาพุทธเป็นแกนในการดำเนินชีวิตและความเชื่อท้องถิ่นภาคใต้ โดยมีจิตวิญญาณของคนในท้องถิ่น เชื่อมโยงในรูปแบบการแสดงออกในรูปธรรมในการประกอบกันของรูปทรงที่มีการผสมผสานในผลงาน เกิดความงาม วิธีคิด เกิดเป็นรสนิยมการแสดงออกที่มีความหลากหลายในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยการประกอบกันของหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบช่างหลวง รูปแบบศิลปะจีน รูปแบบศิลปะตะวันตก รูปแบบศิลปะฮินดู-ชวา ซึ่งปรากฏการผสมผสานความเป็นเอกภาพในประติมากรรมของภาคใต้ เกิดเป็นชุดความรู้ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ที่แสดงออกถึงความเชื่อ ความศรัทธา ของชุมชนในภาคใต้ นำไปสู่การอนุรักษ์ สืบสานงานประติมากรรมในภาคใต้ในอนาคต และแนวคิดนามธรรมในเนื้อหาที่สร้างความสัมพันธ์การอยู่ร่วมกันของสังคมในอดีตที่มีความหลากหลายของศาสนา และสามารถนำไปใช้ในการลดความขัดแย้งทางสังคมในปัจจุบันที่มีความหลากหลายเพื่อให้เกิดความปรองดองและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคมปัจจุบันให้มีเอกภาพและสันติสุข</p> สมพร ธุรี พัฒนา ฉินนะโสต บุญเรือง สมประจบ Copyright (c) 2023 คณะศิลปกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-16 2023-11-16 26 2 9 23 การพัฒนาการย้อมสีส้มจากพืชธรรมชาติคำแสดร่วมกับนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจน ด้วยภูมิปัญญาสิ่งทอไทลื้อ กรณีศึกษา ศูนย์ผ้าทอไทลื้อสีธรรมชาติบ้านดอนมูล จังหวัดน่าน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/270727 <p>บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาระดับสีส้มจากทุนวัฒนธรรมไทลื้อ การย้อมสีส้มจากพืชธรรมชาติคำแสด ร่วมกับนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจน และเพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้แก่ชุมชน สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่สอดคล้องกับแนวโน้มกระแสนิยมแฟชั่นระดับสากล โดยวิธีการ 1) ค้นคว้าข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) 1.1) ศึกษาแนวโน้มสีส้มในกระแสแฟชั่น 1.2) ศึกษาการย้อมสีธรรมชาติจากพืชธรรมชาติคำแสดโดยทุนวัฒนธรรมสิ่งทอไทลื้อ 1.3) ศึกษานวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจน 2) ลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เกี่ยวกับกระบวนการการย้อมสีธรรมชาติจากพืชธรรมชาติคำแสด และทดลองพัฒนานวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจน ด้วยทุนวัฒนธรรมสิ่งทอไทลื้อ จากครูภูมิปัญญา บริเวณ ศูนย์ผ้าทอไทลื้อสีธรรมชาติบ้านดอนมูล จังหวัดน่าน 3) วิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง 4) สรุปผล ผลการศึกษา การพัฒนาระดับของสีส้มจากทุนทางวัฒนธรรมการย้อมสีส้มพืชธรรมชาติคำแสด ร่วมกับนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจน ที่สอดคล้องกับแนวโน้มกระแสนิยมแฟชั่นระดับสากล พบว่า การย้อมสีธรรมชาติด้วยเมล็ดพืชธรรมชาติคำแสด โดยการเปลี่ยนตัวแปรของสารช่วยย้อม (Mordant) จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความอิ่มตัวของสี (Saturation) และความสว่าง (Tints) ของระดับสีส้ม รวมไปถึงการย้อมสีธรรมชาติด้วยเมล็ดพืชธรรมชาติคำแสดร่วมกับพืชผสมชนิดอื่นโดยกรรมวิธีการย้อมร้อน และการเปลี่ยนตัวแปรของสารช่วยย้อม (Mordant) มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสี (Hue) และความอิ่มสี (Saturation) ของระดับสีส้ม อีกทั้งนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจนสามารถย้อมสีด้วยเมล็ดพืชธรรมชาติคำแสด โดยกรรมวิธีแบบภูมิปัญญาสิ่งทอพื้นถิ่น</p> กรกต พงศาโรจนวิทย์ พัดชา อุทิศวรรณกุล Copyright (c) 2023 คณะศิลปกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-16 2023-11-16 26 2 25 43 ด้วยรักและรำลึกถึง : ศิลปะเชิงกระบวนการว่าด้วยการเผชิญความอาลัย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/270729 <p>บทความนี้เป็นเอกสารบันทึกกระบวนการศิลปะ ซึ่งตีแผ่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยกระบวนการที่กำหนด เพื่อทำความเข้าใจว่าการลงมือทำงานศิลปะจะช่วยจัดการกับความรู้สึกอาลัยได้อย่างไร วิธีการศึกษาใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเปรียบเทียบระหว่างการเขียนภาพตามลำพังในที่พัก การเขียนภาพตามลำพังในที่สาธารณะ และการเขียนภาพร่วมกับผู้อื่นในที่สาธารณะ และมีการทวนสอบโดยที่ปรึกษา ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการที่ใช้โปรเจคเตอร์ฉายภาพลงบนฉากแล้วเขียนภาพโดยการลอกลายน่าจะมีส่วนช่วยให้เผชิญกับความอาลัยได้ง่ายขึ้น โดยทำให้ผู้สูญเสียได้เห็นรายละเอียดของรอยยิ้มผู้ล่วงลับจากภาพถ่ายที่ตนเองเป็นผู้เลือกมา ซึ่งอาจช่วยกระตุ้นความทรงจำเชิงบวกที่มีต่อผู้ล่วงลับ ทำให้ผู้สูญเสียตระหนักถึงช่วงเวลาที่ผู้ล่วงลับเคยมีความสุข และทำให้เกิด “รอยยิ้มทั้งน้ำตา” ขณะที่การได้ร่วมกันเขียนภาพและจัดแสดงงานในที่สาธารณะน่าจะเป็นเหมือนการเปิดโอกาสให้ชุมชนช่วยยืนยันว่าสายสัมพันธ์ที่ผู้สูญเสียเคยมีกับผู้ล่วงลับนั้นได้เกิดขึ้นจริง และยังดำรงอยู่ต่อไป ผู้สูญเสียและผู้ล่วงลับยังเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันแม้ชีวิตของฝ่ายหนึ่งจะสิ้นสุดไปแล้ว ผู้ที่ยังติดค้างอยู่ในความอาลัยจึงได้รับตัวตนที่หายไปคืนกลับมา และความอาลัยจึงไม่จำเป็นอีกต่อไปเมื่อที่ว่างถูกเติมเต็มแล้ว</p> ปภัทรนันท์ คุณพูนทรัพย์ มาริสา พันธรักษ์ราชเดช นันทวัน ศิริทรัพย์ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-16 2023-11-16 26 2 67 85 การพัฒนาสิ่งทอจากเฮมพ์ สำหรับงานสร้างสรรค์แฟชั่นเครื่องแต่งกาย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/270728 <p>จากกระแสความยั่งยืนในกระบวนการผลิตและการบริโภคปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาสิ่งทอทางเลือกจากเส้นใยธรรมชาติต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น แต่กล่าวได้ว่ายังมีเพียงส่วนน้อยที่ถูกนำมาพัฒนาต่อในบริบทของการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องนวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีจากเฮมพ์ สำหรับกลุ่มผู้บริโภคงานหัตถกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิดทุนวัฒนธรรมเจแปนนอร์ดิก เพื่อความยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบพัฒนาสิ่งทอจากเฮมพ์ เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย โดยใช้กระบวนการทดลองสร้างสรรค์ผลงาน ร่วมกับการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามประเมินผลการพัฒนาสิ่งทอกับผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสิ่งทอ และการออกแบบแฟชั่นเครื่องแต่งกาย<br>ผลจากการศึกษาพบว่าในกระบวนการทดลองทอเส้นใยเฮมพ์แบบหัตถกรรมทอร่วมกับเส้นใยชนิดอื่นด้วยกี่ทอมือแบบ แบบ 2 ตะกอ แบบลายขัดมาตรฐาน และ 4 ตะกอ แบบลายทอมาตรฐาน จะได้สิ่งทอที่มีลักษณะที่แตกต่างกันเหมาะสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ โดยการใช้วิธีการทอแบบเส้นยืนด้วยฝ้ายปั่นเกลียวอุตสาหกรรม เส้นพุ่งด้วยเฮมพ์ต้มสุก และการทอแบบเส้นยืนเฮมพ์ต้มสุก เส้นพุ่งด้วยเส้นไหมหลืบ มีความเหมาะสมกับการนำมาใช้สำหรับงานแฟชั่นเครื่องแต่งกายมากที่สุด ทั้งนี้แนวทางของอัตราส่วนของเส้นใยชนิดอื่นที่ทอร่วม ส่งผลให้มีผ้ามีน้ำหนัก ความหนาบางที่เหมาะแก่การทำเครื่องแต่งกายที่มีโครงสร้างอยู่ทรง มีความแข็งแรง และคงทนมากขึ้น ในด้านสีเป็นสัจจะวัสดุ คือ สีธรรมชาติของตัววัตถุดิบที่เกิดจากการผสมเส้นใยชนิดอื่นทำให้เกิดลวดลายขึ้น โดยลดขั้นตอนการฟอกย้อม ลดการใช้น้ำลงจากกระบวนการย้อมสี</p> ขวัญชัย บุญสม ศิวรี อรัญนารถ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-16 2023-11-16 26 2 45 65 จิตรกรรมไร้สำนึกภาพสะท้อนสัญชาตญาณเพศซ่อนเร้น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/270731 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาความคิดเด็กวัยรุ่นหญิงทางด้านความต้องการทางเพศภายใต้หลักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ 2)เพื่อตีความสัญลักษณ์สะท้อนพฤติกรรมตามสัญชาตญาณเพศที่ซ่อนเร้นในจิตไร้สำนึก รูปแบบผลงานจิตรกรรม 3)เพื่อเป็นสื่อสร้างความเข้าใจเรื่องเพศในเด็กวัยรุ่นเพศหญิง อายุระหว่าง 10-15 ปี <br>ศึกษาทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ และวารสารวัดผลการศึกษาเรื่องปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของเด็กหญิงวัยรุ่นในพื้นที่เขตคลองเตย เพื่อจำแนกระดับของจิตใจที่เป็นมูลเหตุอันสำคัญก่อให้เกิดความคิดนำพาไปสู่พฤติกรรมทางเพศในเด็กวัยรุ่นหญิงตอนต้น อายุระหว่าง 10-15 ปี ใช้การแทนค่าเชิงสัญลักษณ์ เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม โดยการศึกษาและวิเคราะห์นำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม จำนวน 3 ชุด คือ งานทดลองชุดที่ 1 งานทดลองชุดที่ 2 และชุดที่ 3 เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่สื่อถึงอารมณ์และความต้องการทางเพศในเด็กวัยรุ่นหญิง<br>ผลการวิจัยพบว่า สภาพสังคมที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะสังคมที่เต็มไปด้วยค่านิยมทางสื่อ วัตถุ และการแข่งขัน เด็กวัยรุ่นหญิงมีความชอบเสี่ยงทางเพศและความภาคภูมิใจในตนเองเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถพบได้ในวัยรุ่นตอนต้นอายุระหว่าง 12-14 ปี สอดคล้องกับงานวิจัยของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีจิตวิเคราะห์ว่าด้วยเรื่องสัญชาตญาณ (Instinct) ลักษณะเอาแต่ได้ตามความพึงพอใจของตนเอง ผู้วิจัยจึงนำเสนอรูปแบบผลงานจิตรกรรมด้วยการใช้สัญลักษณ์ที่แทนค่าสื่อความหมายของเพศที่ซ่อนเร้นไว้ภายในจิตใจมีลักษณะเป็นภาพสัญญะของความใคร่รักและจินตนาการต่อตนเองให้ออกมาเป็นรูปธรรมด้วย รูปร่าง รูปทรง และสี ตัดทอนจากใบหน้าและร่างกายเด็กวัยรุ่นหญิง ประกอบกันขึ้นมาเพื่อสร้างรูปทรงใหม่จากการทับซ้อนกันของรูปทรงแบบโปร่งใสเป็นมิติของภาพที่มากกว่าหนึ่งลักษณะเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง เกิดการรับรู้และเข้าใจแก่ผู้ชมถึงเนื้อหาอารมณ์ความสับสน จินตนาการ และสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของช่วงวัยสร้างประสบการณ์การรับรู้ของธรรมชาติทางเพศในเด็กวัยรุ่นหญิงตอนต้นให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นในสังคม โดยแสดงออกในรูปแบบผลงานจิตรกรรมสร้างสรรค์ </p> ชนิสรา วรโยธา สมพร ธุรี Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-16 2023-11-16 26 2 87 109 การสร้างสรรค์สารคดีสั้นเพื่อส่งเสริม สืบสานและการดำรงอยู่ของอุปรากรจีนยูนนาน “เสียงงิ้วยูนนานอยู่แห่งใด” https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/270734 <p>งานวิจัยฉบับนี้ยึดการสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ ใช้การสืบสานของศิลปะอุปรากรยูนนานดั้งเดิมและการวิจัยเป็นหลักฐานอ้างอิงทางทฤษฎี วิเคราะห์บทบาทในการอนุรักษ์และสืบสานของอุปรากรยูนนานจากภาพบันทึก อีกทั้งดำเนินการวิเคราะห์และเสนอแผนในการแก้ไขต่อปัญหาที่มีอยู่ในกระบวนการถ่ายบันทึกข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้จะถูกใช้กับภาพยนตร์สารคดีสั้นเรื่องหนึ่ง เนื้อหาหลัก ๆ จะแสดงออกมาผ่านทางการสัมภาษณ์ผู้ที่ยืนหยัดในการสืบสานอุปรากรยูนนานจำนวนหนึ่งและผ่านทางวิธีการ “เล่าเรื่อง” ชื่อของภาพยนตร์สารคดีนี้คือ “เสียงงิ้วยูนนานอยู่แห่งหนใด”<br>ผลลัพธ์แสดงชัดว่า อุปรากรยูนนานเป็นรูปแบบการแสดงออกทางศิลปะดั้งเดิมชิ้นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มีประวัติศาสตร์การพัฒนาอันยาวนาน ในด้านการร้องและการแสดงของอุปรากรยูนนานยังคงดำเนินตามรูปแบบดั้งเดิม อุปรากรยูนนานมีกลิ่นอายพื้นถิ่นที่เข้มข้นและสไตล์ศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ได้เป็นตัวแทนชีวิตพื้นบ้านของท้องถิ่น ภาพยนตร์สารคดี “เสียงงิ้วยูนนานอยู่แห่งหนใด” ยึดผู้สืบสานอุปรากรยูนนานทั้งสามรุ่น (คนสูงอายุ คนวัยกลางคนและคนหนุ่มสาว) เป็นเป้าหมายหลัก เล่าบรรยายเรื่องราวของผู้สืบสานและอุปรากรยูนนานไปยังผู้ชมผ่านทางการดำเนินการถ่ายทำการแสดงอุปรากรยูนนานและผู้สืบสานใน 3 หัวข้อ คือ อุปสรรคความยากลำบาก การยืนหยัดอดทนและการสืบต่อ เพื่อมาแสดงสภาพปัจจุบันของอุปรากรยูนนาน ดึงดูดความสนใจที่มีต่ออุปรากรยูนนานดั้งเดิมของผู้คน งานวิจัยฉบับนี้ได้อธิบายและแนะนำถึงกระบวนการการสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์สารคดี “เสียงงิ้วยูนนานอยู่แห่งหนใด” หลัก ๆ ประกอบด้วยการเลือกหัวข้อ การวางแผนก่อนการถ่ายทำ การทำการถ่ายทำและกระบวนการหลังการถ่ายทำ ซึ่งสามารถทำให้ข้อมูลภาพที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอุปรากรยูนนานดั้งเดิมสมบูรณ์ขึ้นได้โดยการสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์สารคดี ทำให้คนจำนวนมากขึ้นเข้าใจวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งนี่ก็จะทำให้คนรุ่นถัดไปนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการรู้จักถึงคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ รวมถึงความได้เปรียบและความสำคัญของวัฒนธรรมยูนนาน อีกทั้งดำเนินการส่งเสริมผลักดันและรักษาวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้ให้คงอยู่ต่อไป ในขณะเดียวกันก็พบข้อบกพร่องบางอย่างในขณะสร้างสรรค์ผลงานเช่นกัน ซึ่งก็สามารถทำให้เราได้ย้อนไตร่ตรองรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง มีบทบาทในการเป็นแรงบันดาลใจสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานในวันข้างหน้า</p> Yuntao Su ภูวษา เรืองชีวิน บุญชู บุญลิขิตศิริ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-16 2023-11-16 26 2 111 131 เพลงย่ำค่ำสู่เพลงยิ้มแป้น: การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมปี่พาทย์มอญ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/270737 <p>บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาการปรับเปลี่ยนรูปแบบบทเพลงบรรเลงของวงปี่พาทย์มอญ โดยใช้กรอบแนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีของศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี อธิบายถึงปัจจัยของการเปลี่ยนแปลง แนวคิดของการปรับตัวของนักดนตรีอาชีพและลักษณะเฉพาะของบทเพลงที่สร้างขึ้นใหม่ที่ได้รับความนิยมในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ดำเนินงานวิจัยตามกรอบงานวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านชาติพันธุ์วรรณาและมานุษยวิทยาดนตรี เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในการบรรเลงปี่พาทย์มอญคณะรุ่งสุรินทร์บรรเลง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2565 ผลการวิจัยพบว่า บทเพลงบรรเลงตามประเพณีการบรรเลงในวงปี่พาทย์มอญที่นิยมกันในอดีตเริ่มถูกแทนที่ด้วยบทเพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง เพลงแหล่ เและเพลงสมัยนิยมอย่างมีนัยสำคัญ บทเพลงดังกล่าวมิได้บรรเลงเช่นเดียวบทเพลงต้นฉบับ แต่ได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอใหม่ให้อยู่ในรูปแบบเฉพาะที่สามารถบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มอญได้ กระแสความนิยมจากผู้ฟังมีส่วนสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการบรรเลงบทเพลงในวงปี่พาทย์มอญ</p> สันติ อุดมศรี จรัญ กาญจนประดิษฐ์ Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-16 2023-11-16 26 2 133 151 การออกแบบนวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/270738 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ 2)เพื่อศึกษานวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ 3)เพื่อสร้างต้นแบบและศึกษาความพึงพอใจนวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เจ้าของร้านขายโคมไฟและลูกค้าที่มาเลือกซื้อโคมไฟในตลาดนัดจตุจักรจำนวน 50 คน โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อต้นแบบนวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่<br>ผลการวิจัยพบว่า ส่วนที่ 1 อัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ มีองค์ประกอบของตัวหนังใหญ่ คือ ลวดลาย สีสัน รูปทรง ซึ่งลวดลายการฉลุเป็นลายไทยพื้นฐานเป็นแม่แบบจากจิตรกรรมไทย โดยลวดลายรูปหนังใหญ่ส่วนใหญ่เกิดจากเครื่องมือที่เรียกว่า ตุ๊ดตู่ มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กกรวงรูกลมขนาดต่างๆ ตอกเรียงต่อกัน จนเกิดเป็นลวดลายต่างๆบนตัวหนัง ส่วนที่ 2 กำหนดแนวคิดในการออกแบบนวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ ให้สามารถใช้สอยได้ตามหน้าที่อย่างเหมาะสมโดยใช้แนวคิดการออกแบบอัตลักษณ์ หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ แนวคิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ ประกอบด้วย โคมไฟแขวน โคมไฟตั้งพื้น และโคมไฟติดผนังเพื่อให้ได้รูปแบบที่แสดงอัตลักษณ์ลวดลายของศิลปะหนังใหญ่ ที่มีความงามในด้านลวดลายและพื้นผิว รูปทรงโคมไฟใช้ออกแบบมาจากรูปทรงเรขาคณิตรูปทรงกรวย โดยใช้สีแดง สีน้ำตาล สีส้มและสีธรรมชาติใช้ในทำต้นแบบโคมไฟ ส่วนที่ 3 ต้นแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟทั้ง 3 แบบ พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ต้นแบบโคมไฟแขวนโดยรวมในระดับมาก (&nbsp; <img title="\overline{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\overline{x}"> =4.03 ) โคมไฟตั้งพื้นโดยรวมในระดับมาก ( <img title="\overline{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\overline{x}"> =4.04 ) และโคมไฟติดผนังโดยรวมในระดับมาก ( <img title="\overline{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\overline{x}">=4.08 ) ซึ่งรูปแบบผลิตภัณฑ์มีความสวยงามและเหมาะสมกับการใช้งาน มีรูปทรงที่มีความร่วมสมัยสามารถเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่นิยมในความแปลกใหม่มีคุณค่าของศิลปะไทย </p> ธรรมรัตน์ บุญสุข รุ่งนภา สุวรรณศรี Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-16 2023-11-16 26 2 153 173 การแสดงเดี่ยวเพื่อนำเสนอชีวิตของตัวละครที่ถูกกดทับ จากวาทกรรมความสมบูรณ์แบบเรื่อง The Masterpiece https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/270739 <p>บทความวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ความรู้จากผลงานสร้างสรรค์จากการวิจัยปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทละครและนำเสนอการแสดงเดี่ยว การวิจัยครั้งนี้มีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารวิชาการด้านทฤษฎีวาทกรรมและมายาคติ การศึกษาวีดีทัศน์ ภาพยนตร์และบทละครที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางการเขียนบทละครโดยได้แรงบันดาลใจจากหนังสือเรื่อง การเดินทางของส่วนที่หายไป (The Missing Piece Meets the Big O) ของ เชล ชิลเวอร์สเตน (Shel Silverstein) แปลโดย ปลาสีรุ้งเพื่อนำมาสร้างโครงเรื่องแล้วนำมาข้อมูลมาตีความเพื่อสร้างบทละครสำหรับการแสดงเดี่ยวโดยมีธีรภัทร นาคปานเสือเป็นนักแสดง กำกับการแสดงโดย สัณห์ไชญ์ เอื้อศิลป์ ผลการวิจัยพบว่าบทละครสำหรับการแสดงเป็นบทพูดเดี่ยว (monologue) ซึ่งมีการเลือกใช้สัญญะ การอุปมาอุปไมย แนวความคิดหลักของเรื่องคือ จงเรียนรู้ที่จะยอมรับและเติบโตในแบบของตัวเองโดยนำเรื่องราวการถูกลดคุณค่าในชีวิตจากความคาดหวังความสมบูรณ์และความสำเร็จของผู้อื่นโดยเล่าเรื่องผ่านตัวละครหลักชื่อ เอมมา เทย์เลอร์ซึ่งเธอแต่งตัวเป็นผู้หญิงแต่แท้จริงเธอเป็นผู้ชายอายุประมาณ 40 ปี บทละครมีลักษณะเป็นภาพปะติดปะต่อ (collage) ผลงานการแสดงเดี่ยวใช้เทคนิคและวิธีการแสดงแบบละครเควียร์เพื่อวิพากษ์วิจารณ์ เสียดสี ประชดประชันสังคมโดยเสนอมุมมองผ่านเพศที่สาม การเข้าสู่สภาวะของตัวละครใช้วิธีการด้นสด (improvisation) การเรียกความทรงจำในอดีต (memory recall) การฝึกหาความหมายของคำพูดและความหมายใต้คำพูด (subtext) ทดลองหาวิธีการนำเสนอใหม่ ๆ ผ่านกระบวนการซ้อมภายใต้แนวทางที่ผู้กำกับการแสดงกำหนดให้โดยมีองค์ประกอบทั้งเสื้อผ้า พื้นที่และฉาก รวมทั้งแสงและเสียงที่ส่งเสริมสอดคล้องไปกับการแสดงทำให้สามารถสื่อสารแก่นความคิดไปสู่ผู้ชมให้เกิดเรียนรู้ไปกับการแสดงและตัวละคร</p> ธีรภัทร์ นาคปานเสือ คณพศ วิรัตนชัย Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-16 2023-11-16 26 2 175 191 การเรียบเรียงบทเพลงพื้นบ้านสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม โคราชขอต้อนรับ โดย กำปั่น บ้านแท่น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buraphaJ/article/view/270740 <p>บทความเรื่อง “การเรียบเรียงบทเพลงเพลงพื้นบ้านสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม โคราชขอต้อนรับ โดย กำปั่น บ้านแท่น” เป็นบทความวิชาการ โดยผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารทางวิชาการ เรียบเรียงบทเพลงจากบทเพลงพื้นบ้านสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลมให้เกิดโน้ตเพลงในรูปแบบดนตรีตะวันตก เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันเป็นประเพณีท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นและทรงคุณค่าทางการศึกษาให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสศึกษาความเป็นมาของบทเพลงพื้นบ้านอีสาน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.) เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้เป็นสาธารณะประโยชน์แก่วงดุริยางค์เครื่องลมในประเทศไทย 2.) เพื่อพัฒนาบทเพลงพื้นบ้านสู่ดนตรีสากลในรูปแบบการบันทึกโน้ตแบบดนตรีตะวันตก การเรียบเรียงบทเพลงพื้นบ้านนี้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างสมบูรณ์ตามที่ผู้เขียนได้กำหนดไว้</p> ณัฐวัตร แซ่จิว Copyright (c) 2023 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-11-16 2023-11-16 26 2 193 205