https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/issue/feed Journal of Inclusive and Innovative Education 2024-08-08T17:12:47+07:00 Assoc. Prof.Kreetha Kaewkhong (รศ.ดร.กรีฑา แก้วคง) cmujournaledu@gmail.com Open Journal Systems <p><strong> Journal of Inclusive and Innovative Education</strong> ISSN online: 2985-0266 <em>(โดยมีชื่อเดิมคือ ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ CMU Journal of Education Print ISSN เดิม : 2586-9043 Online ISSNเดิม : 2586-825X)</em> เป็นวารสารวิชาการระดับชาติ ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิมพ์เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงานวิจัย นวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่อันเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการด้านศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ในยุคสมัยแห่งการปฏิรูปการเรียนรู้ของนักวิชาการ อาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยรับพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการ โดยเปิดรับบทความเฉพาะภาษาไทย และมีสาระเกี่ยวกับการศึกษา ปรัชญาการศึกษา การบริหารการศึกษา หลักสูตรและการเรียนการสอน จิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา การวัดและการประเมินผลทางการศึกษา วิจัยและสถิติการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา การศึกษาพิเศษ การพัฒนาวิชาชีพครู พหุวัฒนธรรมศึกษา แหล่งวิทยาการการเรียนรู้และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา บทความทุกบทความของ <strong>Journal of Inclusive and Innovative Education</strong> จะต้องผ่านพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน เพื่ออ่านประเมินคุณภาพบทความต้นฉบับดังกล่าว ในรูปแบบที่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งบทความต้นฉบับ ไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blinded Review) โดยตีพิมพ์เผยแพร่ 3 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน, ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และ ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม </p> <p> <strong> Online ISSN : 2985-0266</strong></p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/273279 แนวทางการส่งเสริมความสามารถด้านการสอนเชิงสร้างสรรค์ของครูปฐมวัยในยุคโลกที่ผันผวน 2024-05-12T13:01:45+07:00 วาทินี บรรจง b.vatinee@gmail.com ศศิลักษณ์ ขยันกิจ sasilak.k@chula.ac.th กนิษฐ์ ศรีเคลือบ kanit.s@chula.ac.th <p>การสอนเชิงสร้างสรรค์ควรถูกกำหนดให้เป็นทักษะจำเป็นสำหรับครูปฐมวัยเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกยุคใหม่ การสอนเชิงสร้างสรรค์เป็นความสามารถด้านการออกแบบการเรียนรู้ที่อาศัยความรู้ด้านการสอนและทักษะการคิดสร้างสรรค์ งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาครูปฐมวัย พบว่า ครูมีแนวโน้มออกแบบและจัดการกิจกรรมภายในชั้นเรียนตามความเคยชินและประสบการณ์เดิมของตนเองซึ่งไม่สามารถตอบสนองต่อความของเด็กที่แตกต่างได้ ดังนั้น รูปแบบการอบรมครูจึงจำเป็นต้องสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของครูจากภายในเพื่อให้ครูกล้าเสี่ยงออกจากแนวทางปฏิบัติที่คุ้นชิน บทความฉบับนี้นำเสนอประเด็นหลัก 4 เรื่อง ได้แก่ <em>(1)</em> <em>นิยามของการสอนเชิงสร้างสรรค์</em> ทักษะของครูด้านการออกแบบการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ที่ตอบสนองต่อความต้องการเพื่อให้เด็กเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ <em>(2)</em> <em>ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสอนเชิงสร้างสรรค์</em> ทั้งปัจจัยภายในหรือประสบการณ์เดิมที่ส่งผลต่อความคิดและทัศนคติ และปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ <em>(3)</em> <em>แนวคิดการพัฒนาการสอนเชิงสร้างสรรค์</em> ได้แก่ การคิดออกแบบ การคิดไตร่ตรอง และการชี้แนะที่เน้นความแตกต่าง และ <em>(</em><em>4) ลักษณะสำคัญในการสร้างรูปแบบการอบรมครู</em> ประกอบด้วย รูปแบบการอบรมพื้นฐานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการอบรมที่ส่งเสริมทั้งด้านทักษะและทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ของครู</p> 2024-08-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/272281 การสังเคราะห์ระบบหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่โดยบูรณาการมุมมองเชิงระบบของสตัฟเฟิลบีมและสเตคสำหรับโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ 2024-04-02T11:55:50+07:00 สมเกียรติ อินทสิงห์ somkiart.int@cmu.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นในการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่ และ 2) สังเคราะห์ระบบหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่โดยบูรณาการมุมมองเชิงระบบของสตัฟเฟิลบีมและสเตคสำหรับโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการวิจัยใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง และระยะที่ 3 การสังเคราะห์ระบบหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่ผ่านมุมมองเชิงระบบของของสตัฟเฟิลบีมและสเตค ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 10 คน ครูผู้สอนในโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 20 คน และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านระบบหลักสูตรและการสอน และพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงเรียนในต่างประเทศ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานศึกษา กรอบแนวทางการสนทนากลุ่มครูผู้สอน กรอบการวิเคราะห์การจัดระบบหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่ และแบบประเมินคุณภาพของระบบหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดกลุ่มความสัมพันธ์ของประเด็น และบรรยายพรรณนาทั้งในแบบข้อความและแผนภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) ข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นในการดำเนินงาน คือ วิธีคิดทางหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่และกระบวนการทางหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่ และ 2) ระบบหลักสูตรและการสอนเชิงพื้นที่ฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “APPLE System” โดยมีทั้งสิ้น 5 ระบบงานย่อย โดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (Me=4.86, SD=0.35) และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (Me=4.61, SD=0.57)</p> 2024-08-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/272293 การประยุกต์ใช้ ChatGPT เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาโมดูลกิจกรรมสะเต็ม ตามกรอบแนวคิดดีไอวาย ทิงเกอร์ และเมกเกอร์ 2024-04-21T21:32:32+07:00 สุทธิดา จำรัส suthida.c@cmu.ac.th พงศธร สุยะมูล pongsathon.s@cmu.ac.th <p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวทางการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยรูปแบบการวิเคราะห์เชิงประเด็น (Thematic analysis approach) และ (2) เพื่อถอดบทเรียนลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบของกิจกรรมสะเต็มตามกรอบแนวคิดดีไอวาย ทิงเกอร์ และเมกเกอร์อย่างเป็นระบบ โดยผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนากิจกรรมสะเต็มตามกรอบแนวคิดดีไอวาย ทิงเกอร์ และเมกเกอร์จำนวน 5 โมดูล ที่ประกอบด้วย กิจกรรม UVC Box Experiment, Digital pH Meter, Air Sensor, บอร์ดเกม Startup &amp; Rare earth และ Motion Sensor จากนั้นนำเนื้อหาที่เป็นคู่มือกิจกรรมสะเต็มและเอกสารประกอบ เข้าสู่ขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหา โดยการประยุกต์ใช้ ChatGPT 4.0 ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์ประเภทการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้รูปแบบรูปแบบการวิเคราะห์เชิงประเด็น ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลักของ NLP คือ การวิเคราะห์ไวยากรณ์ การวิเคราะห์ความหมาย การรู้จำเอนทิตี การสกัดความสัมพันธ์ จากผลการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า ChatGPT 4.0 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพได้รวดเร็วและแม่นยำ ช่วยลดอคติจากการตีความของนักวิจัย สามารถค้นพบและดึงประเด็นสำคัญ และรูปแบบที่เกิดขึ้นซ้ำในเนื้อหา ผลลัพธ์มีความแม่นยำและสอดคล้องโดยตรวจสอบได้ด้วยการวิเคราะห์ซ้ำ ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางใหม่ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการวิจัย ในส่วนของผลการวิเคราะห์กิจกรรมสะเต็มตามกรอบแนวคิดดีไอวาย ทิงเกอร์ และเมกเกอร์ แสดง 8 ลักษณะสำคัญคือ (1) การสืบเสาะและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ (2) การบูรณาการแนวคิดสะเต็ม (3) การจัดหลักสูตรการศึกษาและความสอดคล้องของหลักสูตร (4) การเรียนรู้เชิงนวัตกรรมและการปฏิสัมพันธ์ (5) ดีไอวายและความสามารถในการเข้าถึงการศึกษา (6) การคิดเชิงคำนวณและการใช้เทคโนโลยี (7) การประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความจริงและการแก้ปัญหา และ (8) ความคิดสร้างสรรค์และการปรับตัว จากข้อค้นพบสรุปได้ว่าปัญญาประดิษฐ์ประเภท NLP ในชื่อ ChatGPT เวอร์ชัน 4.0 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยรูปแบบการวิเคราะห์เชิงประเด็นได้ดี มีศักยภาพสูงในการเป็นเครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ และกิจกรรมกิจกรรมสะเต็มตามกรอบแนวคิดดีไอวาย ทิงเกอร์ และเมกเกอร์สะท้อนลักษณะสำคัญทางการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพครูต่อไปได้</p> 2024-08-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/272485 แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน 2024-04-02T15:19:34+07:00 ทัชธชา ปัญญารัตน์ tatchtacha.p@gmail.com ยงยุทธ ยะบุญธง yongyouth.y@cmu.ac.th <p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการบริหารจัดการหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน (2) ศึกษาการบริหารจัดการหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี และ (3) พัฒนาและตรวจสอบแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อํานวยการสถานศึกษา หรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะครู และผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งสิ้น 135 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วาระการประชุมและแบบบันทึก และแบบตรวจสอบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ เรียงลำดับ และการสังเคราะห์ประเด็นโดยสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบัน การบริหารจัดการหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ในส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ลำดับแรก คือ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมา การดำเนินการบริหารหลักสูตร การปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร การวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร การเตรียมความพร้อมสถานศึกษา การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล และลำดับสุดท้าย คือ การสรุปผลการดำเนินงาน (2) ผลการศึกษาการบริหารจัดการหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดี พบว่า ผู้บริหารและคณะครูร่วมกันวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน สภาพบริบทและแนวโน้มอาชีพยุคใหม่และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น อีกทั้งความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันและในอนาคต (3) แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรที่ มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน ที่พัฒนาขึ้นมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) แนวปฏิบัติ และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ มีความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ทุกด้าน แนวทางฯ จะช่วยให้เกิดกระบวนการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหลักสูตรที่มุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ได้แก่ ผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม และพลเมืองที่เข็มแข็ง</p> 2024-08-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/273041 ผลของโปรแกรมการสอนแนะผสานจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครูยุคใหม่ 2024-04-24T15:17:54+07:00 วาสิณี จิรสิริ wasinee.j@dru.ac.th อังศินันท์ อินทรกำแหง ungsinun@g.swu.ac.th กฤตติพัฒน์ ชื่นพิทยาวุฒิ krittipat@g.swu.ac.th <p>งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการสอนแนะผสานจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางสังคม โดยเป็นวิจัยการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มก่อนหลังและติดตามผล (Randomize pretest-posttest follow-up design) ครั้งนี้ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 40 คน ด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตามด้วยการสุ่มแบบจำแนกกลุ่มเพื่อเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เก็บข้อมูลจากแบบวัดความฉลาดทางสังคมและแบบวัดจิตวิทยาเชิงบวกที่มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ .88 และ .96 ตามลำดับ และโปรแกรมการสอนแนะผสานจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครูยุคใหม่มีจำนวน 10 กิจกรรม ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาในกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมฯมีคะแนนความฉลาดทางสังคมทั้งด้านรวมและรายด้านได้แก่ ด้านความสามารถระหว่างบุคคล ด้านความสามารถในการปรับตัว และด้านการจัดการกับความเครียดในระยะหลังการทดลอง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38) และระยะติดตามผล (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50) สูงกว่าก่อนการทดลอง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตที่ระดับ .05 (P&lt; .05) และกลุ่มทดลองมีคะแนนความฉลาดทางสังคมในระยะหลังการทดลอง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38) และติดตามผล (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50) สูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งในระยะหลังการทดลอง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46) และระยะติดตามผล (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P&lt; .05) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้ทักษะความฉลาดทางสังคมที่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพครูต่อไป</p> 2024-08-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/273278 วิธีการอำนวยการอภิปรายโต้แย้งของครูในการตั้งคำถามของนักเรียนระหว่างการอภิปรายและการเปรียบเทียบร่วมกันทั้งชั้นเรียนในชั้นเรียนที่ใช้ การศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด 2024-05-20T16:54:27+07:00 วีรภัทร ดากลาง weeraphat_d@cmu.ac.th เจนสมุทร แสงพันธ์ jensamut.s@cmu.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การอภิปรายโต้แย้งของนักเรียนที่เกิดขึ้นจากการตั้งคำถามของนักเรียน และ 2) ศึกษาวิธีการของครูในการอำนวยการอภิปรายโต้แย้งจากคำถามของนักเรียน ในระหว่างการอภิปรายและการเปรียบเทียบร่วมกันทั้งชั้นเรียน ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยอาศัยกรอบ TLSOA Model ในการดำเนินการวิจัย งานวิจัยนี้มีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 คน และครูผู้สอนคือนักศึกษาครูคณิตศาสตร์จำนวน 1 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ในโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ใช้ TLSOA Model เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 10 แผน การบันทึกวิดีทัศน์และภาพนิ่ง ผลงานนักเรียน และโพรโทคอลชั้นเรียน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลชั้นเรียนจากการวิเคราะห์โพรโทคอลและการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยในชั้นเรียนที่ใช้ TLSOA พบว่า 1) การอภิปรายโต้แย้งจากการตั้งคำถามของนักเรียนมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1.1) การนำเสนอข้อมูลเพื่อการโต้แย้งผ่านการตั้งคำถาม (Datum) เป็นการนำเสนอข้อมูล หรือหลักฐานจากสิ่งที่นักเรียนสังเกตได้จากผลงานของเพื่อน โดยตั้งคำถามเชิงโต้แย้งที่แสดงถึงคำถามที่ผู้ถามตระหนักถึงความเป็นปัญหาและมีข้อสรุปของการโต้แย้งเป็นของตนเอง 1.2) การยืนยันข้อโต้แย้งของการตั้งคำถาม (Warrants) เป็นการอธิบายถึงวิธีการหรือแนวคิดของนักเรียน เพื่อหาเหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้งของผู้ถาม หรือการยืนยันแนวคิดด้วยการโต้แย้งกลับของผู้ถูกถาม 1.3) การสรุปข้อโต้แย้งของการตั้งคำถาม (Claim) เป็นการได้มาซึ่งข้อสรุปที่มาจากแนวคิดของนักเรียน ซึ่งอาจได้มาจากผู้ตั้งคำถามหรือนักเรียนคนอื่นช่วยกันให้เหตุผลจนได้ข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับ และ 2) วิธีการของครูในการอำนวยการอภิปรายโต้แย้งคำถามของนักเรียนในระหว่างการอภิปรายและการเปรียบเทียบร่วมกันทั้งชั้นเรียน ประกอบด้วย 2.1) การเขียนคำถามและคำตอบของนักเรียนที่เกิดจากการโต้แย้งบนกระดาน 2.2) การออกเสียงซ้ำ (revoicing) โดยทวนคำถามของนักเรียน และให้นักเรียนสะท้อนถึงคำถามของเพื่อนที่นักเรียนได้ยินและตระหนัก 2.3) การให้นักเรียนสังเกตและอธิบายความเหมือนและความต่างของแนวคิดเพื่อใช้เป็นข้อสรุปของข้อโต้แย้งนั้น 2.4) การให้นักเรียนที่ตั้งคำถามมีโอกาสตอบกลับคำถามของตนเอง หรือแสดงแนวคิดของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนกับเพื่อน </p> 2024-08-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/273451 ผลของการใช้ซีเรียสเกมที่มีต่อความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2024-05-14T20:56:10+07:00 กิตติพันธ์ วิบุลศิลป์ k.wiboonsin@gmail.com วันดี เกษมสุขพิพัฒน์ feduwdk@ku.ac.th ชานนท์ จันทรา feducnc@ku.ac.th ต้องตา สมใจเพ็ง fedutts@ku.ac.th <p>ซีเรียสเกมเป็นเครื่องมือในการจำลองสถานการณ์ทางการเงินที่ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านการลองผิดลองถูกและรับข้อมูลป้อนกลับจากระบบเกมที่สะท้อนถึงปรากฏการณ์ทางการเงินในชีวิตจริง การเรียนรู้โดยใช้ซีเรียสเกมจะช่วยให้นักเรียนเห็นผลกระทบจากการตัดสินใจและสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ในทันทีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินตามจุดประสงค์การเรียนรู้ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากการใช้ซีเรียสเกมในการจำลองสถานการณ์ทางการเงิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ซีเรียสเกมจำนวน 4 เกม พัฒนาขึ้นเพื่อจำลองปรากฏการณ์ทางการเงิน และชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 100 นาที โดยจัดกิจกรรมในคาบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมและการตัดสินใจของนักเรียนระหว่างการเล่นเกม การสัมภาษณ์แบบกลุ่มเกี่ยวกับความเข้าใจทางการเงินและทักษะทางการเงินที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกม และการตอบคำถามในเอกสารสรุปองค์ความรู้หลังจากการเล่นเกม จากนั้น จึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีพัฒนาการเกี่ยวกับความฉลาดรู้การเงินดีขึ้นหลังการเล่นซีเรียสเกม การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ซีเรียสเกมสามารถพัฒนาความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนได้ทั้งในด้านความเข้าใจทางการเงินและทักษะการประเมินและการตัดสินใจทางการเงินผ่านการเล่นเกม โดยนักเรียนจะได้รับประสบการณ์ทางการเงินโดยตรงซึ่งจะนำไปสู่ความตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการการเงินส่วนบุคคลเพื่อความเป็นอยู่ทางการเงินที่ดีขึ้น</p> 2024-08-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/273587 ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมดิจิทัลกับการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 2024-04-29T14:57:05+07:00 มัญชุภร ทิพย์โภชน์ mmanchup@gmail.com สรรฤดี ดีปู่ sanrudee.d@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วัฒนธรรมดิจิทัลของสถานศึกษา 2) การบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมดิจิทัลกับการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 346 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม ซึ่งวัดตัวแปรทั้ง 2 มีดัชนี IOC เท่ากับ 1.00 ทุกข้อย่อยของทั้ง 2 ตัวแปร และค่าความเชื่อมั่นของตัวแปรเท่ากับ 0.98 และ 0.94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมดิจิทัลของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ การมุ่งเน้นผู้รับบริการเป็นสำคัญ 2) การบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านความปลอดภัยจากการถูกละเมิดสิทธิ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมดิจิทัลกับการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กันเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในระดับสูง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .855</p> 2024-08-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/273971 การส่งเสริมความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (SMTE) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ 2024-05-21T12:42:13+07:00 วราพร แสงผึ้ง waraphon.s@chs.ac.th วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์ wsupap@gmail.com <p>ความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งทั้งต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์และการประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงของนักเรียน และผลการประเมินความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ของ PISA พบว่า นักเรียนไทยมีผลการประเมินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน จากห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (SMTE) โรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ จำนวน 4 แผน (มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสม เท่ากับ 4.67) ใบกิจกรรม และแบบวัดความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ (มีผลการประเมินค่า IOC แต่ละข้อมากกว่า 0.6) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ถูกนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและวิเคราะห์แบบองค์ประกอบย่อยในแต่ละกระบวนการของความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 3 (ดีมาก) 2 (ดี) 1 (พอใช้) และ 0 (ปรับปรุง) ผลการวิจัยพบว่า หลังเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ นักเรียนส่วนใหญ่มีความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ทั้ง 3 กระบวนการ คือ การคิดสถานการณ์ของปัญหาในเชิงคณิตศาสตร์ การใช้แนวคิดทางคณิตศาสตร์และการตีความและประเมินผลลัพธ์ อยู่ในระดับ 2 (ดี) - 3 (ดีมาก) นั่นคือ นักเรียนสามารถ 1) วิเคราะห์และระบุประเด็นปัญหาจากสถานการณ์ แปลงปัญหาให้อยู่ในรูปของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ คือ การวาดภาพหรือการใช้ตารางเพื่อแสดงความสัมพันธ์และการใช้สมการเพื่อหาตัวไม่ทราบค่า 2) เลือกใช้ยุทธวิธีและดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และ 3) แปลความหมายผลลัพธ์ วิเคราะห์ความสมเหตุสมผลของวิธีการแก้ปัญหาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม</p> 2024-08-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/274967 แนวทางการพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกให้กับนักเรียน : การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ 2024-07-10T11:47:24+07:00 มัณฑนา วิเศษสัตย์ montana.viss@gmail.com ชุติมา สุรเศรษฐ chutima.p@chula.ac.th กนิษฐ์ ศรีเคลือบ kanit.s@chula.ac.th <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ และสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกให้กับนักเรียน โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบตั้งแต่ปี 2015 ถึง 2024 จากฐานข้อมูลต่างประเทศ ได้แก่ Science Direct, Springer Link, Scopus และในประเทศไทย ได้แก่ ThaiJo และ ThaiLIS แบ่งการสังเคราะห์เนื้อหาเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1) คุณลักษณะทั่วไปของงานวิจัย 2) ลักษณะของกิจกรรม และ 3) ผลการวิจัยที่ต้องการส่งเสริม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยายโดยการแจกแจงความถี่และร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสังเคราะห์ประเด็น ผลจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ พบว่า งานวิจัยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 14 เรื่อง ส่วนมากได้รับการตีพิมพ์ในปี 2020 และ 2023 ตัวอย่างการวิจัยเป็นผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ระยะเวลาเฉลี่ยต่อครั้งที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมมากกว่า 1 ชั่วโมง โครงสร้างในการดำเนินกิจกรรมจะเริ่มต้นที่การพัฒนาความหวังโดยการตั้งเป้าหมายและจะมีกิจกรรมย่อยอื่น ๆ ในกระบวนการตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ประกอบที่เหลือ ลักษณะของชุดกิจกรรมส่วนมากจะมีจำนวน 4 ครั้งตามองค์ประกอบของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก มีการนำแนวคิด/ทฤษฎี และรูปแบบการสอนต่าง ๆ มาบูรณาการ และมีเป้าหมายที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณลักษณะเชิงบวกเป็นหลัก ผู้ที่สนใจในการพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกให้กับผู้เรียนสามารถนำข้อมูลไปออกแบบแนวทางการพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกให้สอดคล้องกับบริบทได้</p> 2024-08-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education