Journal of Inclusive and Innovative Education https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu <p><strong> Journal of Inclusive and Innovative Education</strong> ISSN online: 2985-0266 <em>(โดยมีชื่อเดิมคือ ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ CMU Journal of Education Print ISSN เดิม : 2586-9043 Online ISSNเดิม : 2586-825X)</em> เป็นวารสารวิชาการระดับชาติ ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิมพ์เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงานวิจัย นวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่อันเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการด้านศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ในยุคสมัยแห่งการปฏิรูปการเรียนรู้ของนักวิชาการ อาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยรับพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการ โดยเปิดรับบทความเฉพาะภาษาไทย และมีสาระเกี่ยวกับการศึกษา ปรัชญาการศึกษา การบริหารการศึกษา หลักสูตรและการเรียนการสอน จิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา การวัดและการประเมินผลทางการศึกษา วิจัยและสถิติการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา การศึกษาพิเศษ การพัฒนาวิชาชีพครู พหุวัฒนธรรมศึกษา แหล่งวิทยาการการเรียนรู้และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา บทความทุกบทความของ <strong>Journal of Inclusive and Innovative Education</strong> จะต้องผ่านพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน เพื่ออ่านประเมินคุณภาพบทความต้นฉบับดังกล่าว ในรูปแบบที่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งบทความต้นฉบับ ไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blinded Review) โดยตีพิมพ์เผยแพร่ 3 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน, ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และ ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม </p> <p> <strong> Online ISSN : 2985-0266</strong></p> Faculty of Education, Chiang Mai University th-TH Journal of Inclusive and Innovative Education 2985-0266 <p> หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่</p> โมเดลการวัดความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/271065 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 550 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามความเป็นผู้ประกอบการ แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 29 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Reliability) เท่ากับ 0.936 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Second Order Confirmatory Factor Analysis: 2nd CFA) ด้วยโปรแกรม Mplus 7.4 ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวัดความเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีความตรงเชิงโครงสร้างและสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 10 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ความกล้าเสี่ยง มี 2 ตัวบ่งชี้ คือ ความกล้าได้กล้าเสีย และความอดทนต่อความล้มเหลว 2) ความมีนวัตกรรม มี 2 ตัวบ่งชี้ คือ การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการใช้เทคโนโลยีในการทำงาน 3) การทำงานเชิงรุก มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ การวางแผนการทำงานล่วงหน้า การแสวงหาโอกาส และความสามารถในการแข่งขัน และ 4) ความต้องการความสำเร็จ มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ การมีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน ความมุ่งมั่นพยายามทำงานให้เสร็จ และความรับผิดชอบในการทำงาน มีค่าความสอดคล้องกลมกลืนเท่ากับ x^2= 22.777, df =16, p-value = 0.1198, CFI = 0.998, TLI = 0.993, RMSEA = 0.028, SRMR = 0.014 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบลำดับขั้นที่ 1 มีค่าระหว่าง 0.666 ถึง0.846 และค่าน้ำหนักองค์ประกอบลำดับขั้นที่ 2 มีค่าระหว่าง 0.934 ถึง 0.960 โดยองค์ประกอบความต้องการความสำเร็จ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงสุด รองลงมาคือ การทำงานเชิงรุก, ความมีนวัตกรรม และความกล้าเสี่ยง ตามลำดับ</p> ทวีป กันทวี น้ำผึ้ง อินทะเนตร Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 8 1 1 15 ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการเตรียมความพร้อมด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเข้ารับตำแหน่งครูใหม่ในบริบทจังหวัดชายแดนภาคใต้ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/272022 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการเตรียมความพร้อมด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อเข้ารับตำแหน่งครูใหม่ในบริบทจังหวัดชายแดนภาคใต้ของนักศึกษาครู ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการเตรียมความพร้อมเข้ารับตำแหน่งครูใหม่ในบริบทจังหวัดชายแดนภาคใต้ของนักศึกษาครู เป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง 5 คณะศึกษาศาสตร์ และคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 299 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มี 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปการเตรียมความพร้อมเข้ารับตำแหน่งครูใหม่ในบริบทจังหวัดชายแดนภาคใต้ของนักศึกษาครู และความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการเตรียมความพร้อมเข้ารับตำแหน่งครูใหม่ในบริบทจังหวัดชายแดนภาคใต้ของนักศึกษาครู ผลการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลของโมเดลสมการโครงสร้างด้วยวิธี PLS-SEM พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการเตรียมความพร้อมเข้ารับตำแหน่งครูใหม่ในบริบทจังหวัดชายแดนภาคใต้ของนักศึกษาครู เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การทำนายด้วยค่า R2 แสดงว่าตัวแปรแฝงทั้ง 6 ตัวสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตามได้ร้อยละ 31.60 และผลการทดสอบสมมติฐานโมเดลสมการโครงสร้างพบว่ามี 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการเตรียมความพร้อมเข้ารับตำแหน่งครูใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ คุณภาพหลักสูตรของมหาวิทยาลัย แรงจูงใจในการประกอบอาชีพครู และบทบาทหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งผลการวิจัยนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมหรือถ่ายทอดความรู้ในเนื้อหา สามารถบูรณาการวิธีการสอนให้เข้ากับบริบทในพื้นที่</p> อรรถพล ลิวัญ สถาพร เรืองรุ่ง อาฟีฟี ลาเต๊ะ ยุพดี ยศวริศสกุล มีชัย วงศ์แดง แวฮาซัน แวหะมะ Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 8 1 16 30 องค์ประกอบของการตัดสินใจเลือกสถานที่ฝึกงาน ของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน อันดับสอง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/271617 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการตัดสินใจเลือกสถานที่ฝึกงานของนิสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mix methods research) ด้วยแผนการวิจัยแบบ Instruments Development design วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่ม ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม กลุ่มละ 7 คน ได้องค์ประกอบการตัดสินใจเลือกสถานที่ฝึกงาน 4 องค์ประกอบ ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนิสิตชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 489 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง ได้ค่า Reliability อยู่ระหว่าง .838-.915 ค่า convergence validity อยู่ระหว่าง .533-.636 และดัชนีตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลพบว่า X<sup>2</sup> = 731 , df = 227, X<sup>2</sup>/df = 3.220, CFI= .941,TLI=.928, NFI=.917, RMSEA =.067, SRMR = .058 จึงสรุปได้ว่า องค์ประกอบของการตัดสินใจเลือกสถานที่ฝึกงาน มี 4 องค์ประกอบ โดยที่ด้านแรงจูงใจมีน้ำหนักมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการรับรู้ภาพลักษณ์ ด้านความคาดหวังต่ออาชีพในอนาคต และด้านบุคลิกภาพและการพัฒนาตนเอง (ค่าน้ำหนักเท่ากับ .990, .980, .820, .770 ตามลำดับ) </p> พูลพงศ์ สุขสว่าง พรทิพย์ พันธ์ยุรา วรรณประภา เอี่ยมฤทธิ์ Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 8 1 31 45 ปัจจัยและกระบวนการพัฒนาผู้เรียนสู่ความสำเร็จในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาอังกฤษของโรงเรียนชายขอบในประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/272241 <p>วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนให้โรงเรียนชายขอบประสบความสำเร็จในเรื่องผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาอังกฤษ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการในการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนชายขอบในแต่ละพื้นที่ โดยใช้กรอบแนวคิดทางจิตวิทยาการศึกษาและสังคมวิทยาการศึกษา ประกอบกับการวิจัยแบบพหุกรณีศึกษาและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์ การบันทึกภาคสนาม และการวิเคราะห์เอกสาร พื้นที่การวิจัยคือโรงเรียนกรณีศึกษาจำนวน 4 แห่ง และผู้ให้ข้อมูล จำนวน 20 คน ทั้งนี้ การใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบประเด็นได้นำไปสู่ผลการวิจัยดังนี้ 1) ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดความสำเร็จของโรงเรียนกรณีศึกษาแต่ละแห่งมีประเด็นที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ การทำงานร่วมกันทั้งองคาพยพ คุณลักษณะของครูแบบมืออาชีพ การสอนที่เน้นสมองเป็นฐาน ความรู้สึกท้าทายต่อปัญหาทางการศึกษา และการเปลี่ยนแปลงปฏิบัติการสอน ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนที่มีความแตกต่าง ได้แก่ คุณลักษณะของครูนวัตกรและการกระทำทางสังคม และ 2) โรงเรียนกรณีศึกษาได้สะท้อนถึงกระบวนการในการพัฒนาผู้เรียนตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง อีกทั้งมีโรงเรียนกรณีศึกษาหนึ่งแห่งที่ปรากฏให้เห็นถึงกระบวนการปลดปล่อยจากภาวะแบบอาณานิคมทางการศึกษาอย่างครบถ้วน โดยระดับขั้นที่แตกต่างไปจากโรงเรียนกรณีศึกษาอื่นก็คือ การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและในระดับลึก รวมถึงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของผู้เรียนที่ไปได้ไกลกว่าการสอบ O-NET ผลจากข้อค้นพบดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงในปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนและโรงเรียนแม้เพียงเล็กน้อยก็สามารถสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนชายขอบให้สูงขึ้นได้แม้จะอยู่ในเงื่อนไขแห่งความขาดแคลนด้านทรัพยากรและสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้เรียน</p> ชนัดดา ภูหงษ์ทอง Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 8 1 46 60 การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิชาชีพครูระดับประถมศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/272491 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยนวัตกรรมห้องเรียนเสมือนจริง ตามแนวคิดพหุวิทยาการโดยใช้สถานการณ์เป็นฐานสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาการประถมศึกษา 2) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูประถมศึกษา และ 3) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเอง ของนักศึกษาวิชาชีพครูประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาวิชาชีพครูประถมศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 163 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มทดลองใช้นวัตกรรมห้องเรียนเสมือนจริง จำนวน 50 คน ได้มาโดยการอาสาสมัครกลุ่มทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน จำนวน 50 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่าน LMS จำนวน 63 คน ได้มาโดยการอาสาสมัคร สถิติที่ใช้ในงานวิจัย<strong> </strong>ได้แก่ สถิติทดสอบ Wilcoxon signed-rank ผลการวิจัยพบว่า (1) นวัตกรรมห้องเรียนเสมือนจริงตามแนวคิดพหุวิทยการโดยใช้สถานการณ์เป็นฐาน ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ 2) หลักการ 3) สาระการเรียนรู้ 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5) สื่อและแหล่งการเรียนรู้และ 6) การวัดและประเมินผล หลังใช้นวัตกรรมห้องเรียนเสมือนจริง ฯ กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนใช้ 2) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ประกอบด้วย 3 กิจกรรม เวลาเรียนรู้รวม 15 ชั่วโมง หลังใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมสูงกว่าก่อนใช้ และ 3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบจัดการเรียนรู้ (LMS) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครูประถมศึกษา มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) กิจกรรมการเรียนรู้ 5) กรอบการจัดกิจกรรม 6) บทบาทของผู้เรียนและผู้สอน และ 7) การประเมินผล หลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านระบบจัดการเรียนรู้คะแนนเฉลี่ยการเรียนรู้แบบนำตนเองสูงกว่าก่อนใช้</p> พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ รัตนา กลิ่นจุ้ย ดวงเดือน วรรณกูล วิไลวรรณ หมายดี วาสนา จักร์แก้ว Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 8 1 61 75 การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน ด้วยกิจกรรม STEM ที่ประยุกต์แนวคิดฟิสิกส์ในการออกแบบ ผ่านรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (BLC) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/271632 <p>การแก้ปัญหาเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและจำเป็นในชีวิตประจำวัน เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนผ่านกิจกรรมสะเต็ม โดยเกี่ยวข้องกับการศึกษาและการออกแบบระบบดูดซับการกระแทกของยานอวกาศ ผู้วิจัยสร้างสถานการณ์ปัญหา เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนได้แก้ไขปัญหาอย่างอิสระ โดยนักเรียนได้รับการสนับสนุนให้บูรณาการแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม การออกแบบ และคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหา งานวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simple random sampling) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งโดยวิธีการสุ่มเป็นกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน และกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ผู้วิจัยทำการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาระหว่างนักเรียน 2 กลุ่ม โดยกลุ่มควบคุมใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และกลุ่มทดลอง ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (BLC) ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานประกอบด้วย 3 ชั้นเรียนย่อยผสมผสานกัน ได้แก่ 1) การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย 2) ชั้นเรียนเรียนรู้แบบเสมือน และ 3) ชั้นเรียนเรียนรู้แบบเผชิญหน้า ในส่วนของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานนักเรียนทั้งหมดร่วมมือกันในการแก้ปัญหาเป็นกลุ่มภายในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว โดยความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนวิเคราะห์ด้วยเกณฑ์การประเมินความสามารถในการแก้ปัญหา วิเคราะห์จาก ใบกิจกรรม ชิ้นงาน และการนำเสนอ โดยมีการแบ่งหมวดหมู่กระบวนการแก้ปัญหาออกเป็นสี่ระดับ ได้แก่ ดีเยี่ยม ดี พอใช้ และปรับปรุง ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ด้าน 1) การใช้คำอธิบายที่เป็นประโยชน์ 2) การนำแนวคิดฟิสิกส์มาใช้ในการอธิบายปัญหา 3) การใช้แนวคิดฟิสิกส์ในการแก้ปัญหา 4) การใช้คณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา และ 5) การให้เหตุผลในการดำเนินงาน โดยใช้สถิติ Independent t-test เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการใช้สถานการณ์ปัญหาเดียวกันที่เหมาะสมทำให้ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาด้านที่ 4 การใช้คณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ความสามารถในการแก้ปัญหาด้านที่ 4 แตกต่างกันที่ระดับ .05</p> กานต์ชนก สร้อยคำ จิรดาวรรณ หันตุลา Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 8 1 76 90 การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/272320 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้ของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน โดยงานวิจัยได้สืบค้นบทความวิจัยฉบับเต็มจากฐานข้อมูล SCOPUS, ERIC และ TCI ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557-2566 บทความที่คัดเลือกมาเป็นบทความวิจัยประเภทการทดลอง ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย วิเคราะห์อภิมานด้วยโปรแกรม STATA ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยที่สืบค้นและผ่านเกณฑ์การคัดเลือก มีจำนวนทั้งสิ้น 25 เรื่อง โดยได้วิเคราะห์ค่าอิทธิพลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ จำแนกตามวิธีการสอน ระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ เทคนิคในการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ พบว่า กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระยะเวลามากกว่า 15 ชั่วโมงขึ้นไป การใช้คำถามขั้นสูง และแอปพลิเคชัน มีค่าอิทธิพลสูงสุดที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เรียงตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าว จึงทำให้ได้องค์ความรู้ที่สำคัญที่จะนำไปสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น </p> เกษแก้ว เจริญเกตุ กาญจนา ภัทราวิวัฒน์ ชาริน สุวรรณวงศ์ Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 8 1 91 105 การพัฒนาโมเดลการวัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในแขวงเซกอง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: การวิเคราะห์คอมโพสิตเชิงยืนยัน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/272493 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวอย่างการวิจัยเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ถึง ปีที่ 7 ในแขวงเซกอง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 635 คน จาก 7 โรงเรียน ได้จากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 48 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การวิเคราะห์คอมโพสิตเชิงยืนยัน (Confirmatory Composite Analysis: CCA) ชนิดรวมตัว-รวมตัว (Formative-Formative) สองขั้นแบบไม่ต่อเนื่อง (The Disjoint Two-stage Approach) ผลการวิจัย พบว่า โมเดลการวัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง มีทั้งหมด 8 องค์ประกอบ คือ 1) การเปิดโอกาสสู่การเรียนรู้ 2) การรับรู้ตนเองเป็นผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ 3) ความอิสระในการเรียนรู้ 4) ความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง 5) ความรักในการเรียนรู้ 6) ความคิดสร้างสรรค์ 7) การมองอนาคตในแง่ดี และ 8) ความสามาดในการใช้ทักษะขั้นพื้นฐานและทักษะการแก้ไขปัญหาโดยแต่ละองค์ประกอบมี 2 ตัวแปรสังเกตได้ รวม 16 ตัวแปรสังเกตได้ โดยโมเดลดังกล่าวมีความตรงกับข้อมูลเชิงประจักษ์</p> หนูใหม่ สุลิยะวง สุนทรพจน์ ดำรงค์พานิช Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 8 1 106 119 การพัฒนาตัวแบบทำนายทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้เทคนิคแมชชีนเลิร์นนิง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/272244 <p>ผลการเรียนจัดเป็นข้อมูลขนาดใหญ่และงานวิจัยด้านการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาต้อนต้นยังมีไม่มาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบทำนายทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนโดยใช้เทคนิคแมชชีนเลิร์นนิง และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบทำนายทักษะการคิดเชิงคำนวณ การพัฒนาตัวแบบทำนายใช้ชุดข้อมูลฝึกตัวแบบ จำนวน 143 ระเบียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ข้อมูลผลการเรียนรายวิชาพื้นฐาน จำนวน 10 รายวิชาเป็นตัวแปรต้นและระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณเป็นตัวแปรทำนาย งานวิจัยนี้เลือกประยุกต์ใช้กรอบร่างการทำเหมืองข้อมูลแบบคริสป์-ดีเอ็มเพื่อพัฒนาตัวแบบทำนายโดยใช้เทคนิคแมชชีนเลิร์นนิง 3 รูปแบบคือ เทคนิคนาอีฟเบย์ เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจและเทคนิคเพื่อนบ้านใกล้สุด และตรวจสอบความสมเหตุสมผลของตัวแบบโดยใช้วิธีการตรวจสอบแบบไขว้ ผลการพัฒนาตัวแบบทำนายทักษะการคิดเชิงคำนวณพบว่า ตัวแบบทำนายที่พัฒนาจากเทคนิคนาอีฟเบย์ เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ เทคนิคเพื่อนบ้านใกล้สุดมีค่าความถูกต้อง เท่ากับ 60.05% 74.95% และ 68.48% ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวแบบทำนายทักษะการคิดเชิงคำนวณพบว่า ตัวแบบทำนายที่พัฒนาจากเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจสามารถทำนายผลระดับทักษะการคิดเชิงคำนวณได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุดจาก 3 ตัวแบบ</p> ชลิตา ชีววิริยะนนท์ นนทศักดิ์ จันทร์ชุม Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 8 1 120 134 การพัฒนานวัตกรรมห้องเรียนเสมือนจริงเมตาเวิร์สตามแนวคิดพหุวิทยการโดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา สาขาการประถมศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/273168 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน สภาพความต้องการ และความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ในการพัฒนานวัตกรรมห้องเรียนเสมือนจริงเมตาเวิร์สตามแนวคิดพหุวิทยาการด้วยการเรียนรู้โดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐานช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาสาขาการประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมห้องเรียนเสมือนจริงเมตาเวิร์สตามแนวคิดพหุวิทยาการด้วยการเรียนรู้โดยใช้ฉากสถานการณ์เป็นฐานช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาสาขาการประถมศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบนวัตกรรมห้องเรียนเสมือนจริงเมตาเวิร์ส ฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาสาขาการประถมศึกษา ผู้บริหารหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรการประถมศึกษา ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการประถมศึกษา และอาจารย์ผู้สอนในระดับอุดมศึกษา เครื่องมือ ได้แก่ แบบสำรวจความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม แบบประเมินคุณภาพรูปแบบนวัตกรรม ฯ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษา แบบทดสอบความรู้ด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ และแบบทดสอบการปฏิบัติการทางภาษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบของวิลคอกซัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าห้องเรียนเสมือนจริงควรมีการสื่อสารเชิงโต้ตอบ และเป็นสถานการณ์ในชีวิตจริง มีเทคโนโลยีภาพและเสียงโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ การออกแบบควรมีลักษณะคล้ายกับเกม มีความน่าดึงดูดและสนุกสนานสำหรับผู้เรียน รูปแบบนวัตกรรมห้องเรียนเสมือนจริง ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม 2) หลักการของนวัตกรรม 3) สาระการเรียนรู้ของนวัตกรรม 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 6) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินคุณภาพรูปแบบนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก คะแนนความรู้เชิงทฤษฎีในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผลการประเมินการปฏิบัติทางภาษาสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 70 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง</p> รัตนา กลิ่นจุ้ย วาสนา จักร์แก้ว Copyright (c) 2024 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 8 1 135 149