Journal of Inclusive and Innovative Education https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu <p><strong> Journal of Inclusive and Innovative Education</strong> ISSN online: 2985-0266 <em>(โดยมีชื่อเดิมคือ ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ CMU Journal of Education Print ISSN เดิม : 2586-9043 Online ISSNเดิม : 2586-825X)</em> เป็นวารสารวิชาการระดับชาติ ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิมพ์เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงานวิจัย นวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่อันเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการด้านศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ในยุคสมัยแห่งการปฏิรูปการเรียนรู้ของนักวิชาการ อาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยรับพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการ โดยเปิดรับบทความเฉพาะภาษาไทย และมีสาระเกี่ยวกับการศึกษา ปรัชญาการศึกษา การบริหารการศึกษา หลักสูตรและการเรียนการสอน จิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา การวัดและการประเมินผลทางการศึกษา วิจัยและสถิติการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา การศึกษาพิเศษ การพัฒนาวิชาชีพครู พหุวัฒนธรรมศึกษา แหล่งวิทยาการการเรียนรู้และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา บทความทุกบทความของ <strong>Journal of Inclusive and Innovative Education</strong> จะต้องผ่านพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน เพื่ออ่านประเมินคุณภาพบทความต้นฉบับดังกล่าว ในรูปแบบที่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งบทความต้นฉบับ ไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blinded Review) โดยตีพิมพ์เผยแพร่ 3 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน, ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และ ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม </p> <p> <strong> Online ISSN : 2985-0266</strong></p> th-TH <p> หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่</p> [email protected] (Assoc. Prof.Kreetha Kaewkhong (รศ.ดร.กรีฑา แก้วคง)) [email protected] (หน่วยบริหารงานวิจัย ศึกษาศาสตร์ มช.) Thu, 28 Dec 2023 15:59:57 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ: การสร้างห้องเรียนคณิตศาสตร์ที่เสมอภาค https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/270337 <p>การสร้างห้องเรียนเสมอภาคเป็นเรื่องท้าทายสำหรับครูโดยเฉพาะสำหรับห้องเรียนคณิตศาสตร์ที่มีสัดส่วนนักเรียนที่มีปัญหาติด 0 หรือ ร ในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับรายวิชาอื่น สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่าการจัดการเรียนรู้ยังไม่สามารถเชื่อมต่อกับความต้องการของผู้เรียนทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนที่เรียนรู้ช้า มีอุปสรรคในการเรียนรู้ หรือ มีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอมักจะถูกละเลย แม้ว่านักการศึกษาพยายามส่งเสริมการสร้างห้องเรียนที่เสมอภาคและมีข้อเสนอแนะสำหรับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน แต่ข้อเสนอแนะมักจะเป็นหลักการทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงกับรายวิชา ส่งผลให้ครูคณิตศาสตร์ในฐานะผู้ปฏิบัติไม่มีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของห้องเรียนคณิตศาสตร์ที่เสมอภาคและมองไม่เห็นความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ทำให้เป็นอุปสรรคในการผลักดันแนวคิดไปสู่การปฏิบัติจริงในห้องเรียน บทความนี้มีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอแนวคิดและแนวปฏิบัติในการสร้างห้องเรียนคณิตศาสตร์ที่เสมอภาคอย่างเป็นรูปธรรม โดยการผสานแนวคิดห้องเรียนเสมอภาคที่ตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียนแบบเรียนร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ โดยข้อเสนอแนะและบทสรุปในการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างห้องเรียนคณิตศาสตร์ที่เสมอภาคนี้เป็นผลจากการสกัดแนวปฏิบัติจากห้องเรียนกรณีศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แผนการเรียนรู้ศิลป์สร้างสรรค์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในภาคเหนือ ซึ่งแสดงให้เห็นมุมมองของผู้สอนต่อห้องเรียนเสมอภาคและกระบวนการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่มาจากแนวคิดห้องเรียนคณิตศาสตร์ที่เสมอภาค</p> อาทร นกแก้ว, สุภารัตน์ เชื้อโชติ Copyright (c) 2023 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/270337 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การดูแลเสริมสร้างพัฒนาทักษะความมั่นคงทางอารมณ์และสังคมของผู้มีความฉลาดเป็นเลิศทางปัญญา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/270746 <p>การเปลี่ยนแปลงในยุค Digital Transformation การดูแลเสริมสร้างพัฒนาทักษะความมั่นคงทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนกลุ่มพิเศษผู้มีความฉลาดเป็นเลิศทางปัญญา ประกอบด้วย แนวคิดการดูแลเสริมสร้างพัฒนาทักษะความมั่นคงทางอารมณ์และสังคม สามารถแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้ 1) การตระหนักรู้ตนเอง (Self-Awareness) 2) การจัดการตนเอง (Self-Management) 3) การตระหนักรู้ทางสังคม (Social Awareness) 4) การสร้างสัมพันธภาพ (Relationship Skills) 5) การตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Decision Making) โดยการจำแนกนักเรียนกลุ่มพิเศษผู้มีความฉลาดเป็นเลิศทางปัญญาคือมีระดับ IQ สูงกว่า 130 มีขั้นตอนการคัดแยกและวินิจฉัยนักเรียนกลุ่มพิเศษผู้มีความฉลาดเป็นเลิศทางปัญญา 3 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเสนอชื่อ 2) ขั้นการคัดแยกอย่างเป็นทางการ และ 3) ขั้นวินิจฉัย (Diagnosis Stage) แนวทางการดูแลเสริมสร้างพัฒนาทักษะความมั่นคงทางอารมณ์และสังคมของผู้มีความฉลาดเป็นเลิศทางปัญญามีทั้งสิ้น 5 แนวทางประกอบด้วย แนวทางที่ 1) การสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนและเอื้อต่อการสร้างเสริมพัฒนาทักษะ 2) การส่งเสริมทักษะการจัดการอารมณ์ 3) การส่งเสริมทักษะการสื่อสาร 4) การสนับสนุนการเรียนรู้แบบหลากหลายรูปแบบ และ 5) สร้างโอกาสในการเล่นและความสนุกเพื่อเติบโตและพัฒนาเต็มศักยภาพในด้านที่ตนเองเป็นอยู่ในปัจจุบันและอนาคต การให้ความสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน การส่งเสริมทักษะการจัดการอารมณ์ การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และการสร้างความเป็นอยู่ร่วมกันที่ดี จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาทักษะความมั่นคงทางอารมณ์และสังคมที่สำคัญในชีวิตของนักเรียนกลุ่มพิเศษผู้มีความฉลาดเป็นเลิศทางปัญญาได้ดี</p> พิภัทร์อนันต์ เทพพิทักษ์, พณสรรค์ งามศิริจิตร Copyright (c) 2023 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/270746 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาความสัมพันธ์และการตรวจสอบความตรงของโมเดลสมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/268506 <p>สมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาที่สำคัญในการเตรียมพลเมืองในการรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ งานวิจัยที่ผ่านมาพบว่านักวิจัยหลายคนได้เสนอองค์ประกอบของสมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่พบงานวิจัยที่ทำการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ รวมทั้งงานวิจัยที่ทดสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลสมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อศึกษาในเรื่องดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 191 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมโดยใช้แบบวัดสมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ ครอบคลุม 6 องค์ประกอบของสมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อม แบบวัดมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของสมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก และโมเดลสมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (p-value = 0.074, X<sup>2</sup>/df=1.743, CFI=0.987, TLI=0.978, RMSEA=0.062) นอกจากนี้พบว่าทักษะการคิดที่นำไปสู่การปฏิบัติเป็นองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักมากที่สุด คือ 0.81 งานวิจัยนี้จึงเสนอแนะว่าการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะการคิดที่นำไปสู่การปฏิบัติ ในที่นี้คือการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการสะท้อนความคิด ในระหว่างที่นักเรียนลงมือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม</p> สุริยะ คุณวันดี, จีระวรรณ เกษสิงห์ Copyright (c) 2023 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/268506 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ความรู้สึกจากข้อความบนทวิตเตอร์เกี่ยวกับระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/269445 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความรู้สึกจากข้อความบนทวิตเตอร์ของข้อความของผู้ใช้งานทวิตเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2561-2566) โดยใช้เทคนิคการจำแนกความรู้สึกผ่านการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ในกลุ่มของการเรียนรู้แบบมีการชี้แนะ (supervised learning) สำหรับกระบวนการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) รวบรวมข้อมูลจากทวิตเตอร์ด้วยเทคนิคการดึงข้อมูล (data scraping) ผ่านแพลตฟอร์ม Apify โดยระบุและไม่ระบุแฮชแท็ก # (hashtag) 2) เตรียมข้อมูล โดยใช้กระบวนการตัดคำออกจากข้อความ กรองข้อมูล และการลบคำหยุด เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลเหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ในขั้นต่อไป 3) สร้างแบบจำลองโดยการสร้างโมเดลการเรียนรู้ของเครื่องโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความรู้สึก โดยใช้แนวทางการเรียนรู้แบบมีผู้สอน 4) ประเมินโดยการนำผลการทำนายเข้ากระบวนการประเมินโมเดลเพื่อวัดความแม่นยำ (accuracy) และพิจารณาค่าสัดส่วนระหว่าง ความแม่นยำ และค่าความระลึก (recall) ผลการวิเคราะห์พบว่า โมเดลมีความสามารถในทำนายที่ดี F1 score มีค่าสูง มีค่าอยู่ระหว่าง .60 – .98 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความรู้สึกจากข้อความบนทวิตเตอร์ของนักเรียนเกี่ยวกับระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2561-2566) พบว่าข้อความที่วิเคราะห์ทั้งหมด 2,145 ข้อความ แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกทางลบ จำนวน 2,098 ข้อความ (ร้อยละ 97.80) ในขณะที่ข้อความที่แสดงถึงความรู้สึกทางบวกมีจำนวน 47 ข้อความ (ร้อยละ 2.20)</p> ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ, ภัทรพร เล้าวงค์, พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ, วรรณี สุจจิตร์จูล, สุธิดา ชาญวารินทร์ Copyright (c) 2023 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/269445 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อทดแทนห้องเรียนแบบเดิมของอาจารย์ระดับอุดมศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/269765 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อวิเคราะห์สภาพ ปัญหา และความต้องการจำเป็นของอาจารย์ในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (4) เพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จในการพัฒนาระบบผู้ช่วยอาจารย์ในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อาจารย์ระดับอุดมศึกษา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และนักศึกษาเครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามสภาพ ปัญหา และความต้องการจำเป็น รูปแบบการพัฒนา แบบประเมินคุณภาพรูปแบบ แบบประเมินสมรรถนะ แบบประเมินนวัตกรรมและแบบบันทึกการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการปฏิบัติจริงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ของอาจารย์กลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับมากและระดับความคาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด เจ้าหน้าที่กลุ่มเป้าหมายปฏิบัติการสนับสนุนพัฒนาการจัดการเรียนรู้ออนไลน์อยู่ในระดับมากและระดับความคาดหวังอยู่ในระดับมาก นักศึกษาใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาในการเรียนออนไลน์มากที่สุด ต้องการซิมเน็ต/สัญญาณอินเทอร์เน็ตมากที่สุด และมีปัญหาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุด (2) รูปแบบการพัฒนา ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขอบเขตของการพัฒนา 4) ลักษณะรูปแบบ 5) กระบวนการพัฒนา 6) บทบาทผู้ที่เกี่ยวข้อง 7) การวัดและประเมินผล และ 8) ผลลัพธ์ คุณภาพรูปแบบอยู่ในระดับมาก (3) ผลการใช้รูปแบบพบว่าสมรรถนะของอาจารย์กลุ่มเป้าหมายมีพัฒนาการเพิ่มขึ้น นักศึกษามีความคิดเห็นต่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์อยู่ในระดับมาก (4) บทเรียนความสำเร็จของระบบผู้ช่วยอาจารย์ ประกอบด้วย1) วิเคราะห์ต้นทุนเดิม 2) ใช้ทีมพัฒนา 3) สร้างความเข้าใจร่วมกัน 4) ทำงานร่วมกัน 5) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ6) สะท้อนผล</p> สุระศักดิ์ เมาเทือก, สุนันชัย ออนตะไคร้, ประกรณ์ ตุ้ยศรี Copyright (c) 2023 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/269765 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาสภาวการณ์การให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมสุขภาวะเด็กปฐมวัยอายุแรกเกิดถึง 3 ปี ในอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/269861 <p>การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาสภาวการณ์การให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมสุขภาวะเด็กปฐมวัยอายุแรกเกิดถึง <br />3 ปี ในอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส” ดำเนินการในพื้นที่วิจัยภายใต้บริบทของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีอัตลักษณ์ความเป็นสังคมพหุภาษาพหุวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาองค์ประกอบของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาวะ และเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมสุขภาวะเด็กปฐมวัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาใช้เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ตัวอย่างประชากรในการตอบแบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการเป็นผู้ปกครอง จำนวน 394 คน กลุ่มเป้าหมายในการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่รัฐด้านสาธารณสุข จำนวน 8 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 12 คน และผู้ปกครองเด็กทั่วไป 13 คน ผู้ปกครองเด็กแคระแกร็น 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ชนิด คือ แบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการ และแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาวะ ประกอบด้วย7 องค์ประกอบ คือ 1) พฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูในชีวิตประจำวัน 2) การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ 3) อายุของบิดา มารดาที่เหมาะสม 4) ความสามารถด้านภาษาของบิดา มารดา 5) การอบรมเลี้ยงดูเด็กเชิงบวก 6) สุขภาพของเด็กปฐมวัย และ 7) ผู้ให้การอบรมเลี้ยงดูหลัก ปัญหาหลักของการส่งเสริมการให้ความรู้ผู้ปกครอง คือ ปัญหารายได้ของครอบครัว และแนวทางหลักของการส่งเสริมการให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมสุขภาวะให้กับเด็กปฐมวัย คือ การสร้างอาชีพในชุมชนซึ่งผลการวิจัยนำไปสู่การออกแบบวิธีการ กระบวนการ หรือหลักสูตรในการพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เพื่อการส่งเสริมสุขภาวะเด็กปฐมวัยต่อไป</p> เกสรี ลัดเลีย Copyright (c) 2023 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/269861 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การสร้างแบบคัดกรองการระรานทางไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/270526 <p>การระรานทางไซเบอร์เป็นสิ่งสำคัญที่โรงเรียนควรให้ความสนใจเพราะสามารถส่งผลกระทบวงกว้างในโรงเรียนได้อย่างรวดเร็ว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาแบบคัดกรองการระรานทางไซเบอร์เพื่อจำแนกนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ระราน กลุ่มผู้ถูกระราน และกลุ่มผู้เห็นเหตุการณ์การระราน เพื่อนำผลการคัดกรองที่ได้ไปใช้ในการดูแลป้องกันนักเรียนจากการระรานทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบคัดกรองการระรานทางไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และเพื่อหาค่าเกณฑ์ปกติของแบบคัดกรองการระรานทางไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างแบบคัดกรองการระรานทางไซเบอร์ของเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 2,126 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบคัดกรองการระรานทางไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 60 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความเชื่อมั่น ค่าอำนาจจำแนก และเกณฑ์ปกติ ผลการวิจัยพบว่า แบบคัดกรองการระรานทางไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 โดยจำแนกเป็นแบบคัดกรองการระรานทางไซเบอร์ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.29 – 0.53 เกณฑ์ปกติของแบบคัดกรองมีคะแนนอยู่ในช่วง 20 ถึง 55 ตำแหน่งเปอร์เซนไทล์ อยู่ในช่วง 50.52 ถึง 100.00 ค่าคะแนนทีปกติอยู่ในช่วง T 48.62 ถึง T 70.12 แบบคัดกรองการถูกระรานทางไซเบอร์ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.44 – 0.65 เกณฑ์ปกติของแบบคัดกรอง มีคะแนนอยู่ในช่วง 20 ถึง 64 ตำแหน่งเปอร์เซนไทล์อยู่ในช่วง 67.17 ถึง 100.00 ค่าคะแนนทีปกติอยู่ในช่วง T 49.05 ถึง T 74.40 และแบบคัดกรองการเห็นเหตุการณ์การระรานทางไซเบอร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.72 – 0.85 เกณฑ์ปกติของแบบคัดกรองมีคะแนนอยู่ในช่วง 20 ถึง 80 ตำแหน่งเปอร์เซนไทล์อยู่ในช่วง 47.13 ถึง 100.00 ค่าคะแนนทีปกติอยู่ในช่วง T 49.50 ถึง T 52.95 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด</p> ชนชม ดิตถ์โภคินสกุล, สกล วรเจริญศรี, พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์ Copyright (c) 2023 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/270526 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาปัจจัยและแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กรุงเทพมหานคร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/270310 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และเสนอแนวทางให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้ส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนได้อย่างเหมาะสม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) คือ ใช้การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกต ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) จำนวนทั้งสิ้น 92 คน จากจำนวนครูทั้งหมด 120 คน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เพื่อดำเนินการสัมภาษณ์และสังเกตการจัดการเรียนการสอน โดยคัดเลือกจากโรงเรียนที่มีระดับการปฏิบัติการส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนสูงที่สุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แบบอุปนัย (Analytic Induction) ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีการส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองด้านเจตคติในการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ ด้านแรงจูงใจในการเรียนรู้ ด้านความพร้อมของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ และด้านความพร้อมในการเรียนรู้ตามลำดับ</p> ชัญญา องอาจ, ภาวิณี โสธายะเพ็ชร Copyright (c) 2023 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/270310 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การสังเคราะห์วิธีวิทยาการวิจัยในงานวิจัยที่มุ่งพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/270387 <p>การสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะด้านวิธีวิทยาการวิจัยในงานวิจัยที่มุ่งพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน ศึกษาวิธีสอนและวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการพัฒนาแผนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน และวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือการวิจัยในงานวิจัยที่มุ่งพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน รวบรวมงานวิจัยฉบับเต็มที่มุ่งพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนจากฐานข้อมูลออนไลน์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแหล่งรวมวิทยานิพนธ์และงานวิจัย (TDC) จำนวนทั้งสิ้น 68 เรื่อง คำค้นที่ใช้ คือ “การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษนักเรียน” เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ จำนวน 3 ฉบับ ผลการวิจัยจากประชากรทั้งหมด พบว่า มีการผลิตงานวิจัยอย่างต่อเนื่องทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2565 แต่มีแนวโน้มลดลง โดยประชากรส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching) ซึ่งเป็นการวัดทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษร่วมกัน มีกระบวนการสร้างแผนการสอนค่อนข้างครบถ้วน ยกเว้นการนำแผนการสอนไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง ในการแก้ปัญหาสภาพจริงส่วนใหญ่ดำเนินการใช้วิธีการสอนโดยผู้วิจัยและไม่นิยมติดตามผลหลังจบการใช้แผนการสอน โดยเครื่องมือทั้งหมดที่พบในประชากร มีทั้งหมด 4 ประเภท จำนวนที่พบตามลำดับมากไปน้อย ได้แก่ แบบทดสอบ/แบบวัดความรู้ แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูล/แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ ด้านขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ พบว่าการสร้างแบบบันทึกข้อมูล/แบบสังเกตถูกสร้างได้ตรงตามหลักวิชาการสร้างเครื่องมือทั้งหมด ส่วนเครื่องมือประเภทที่เหลือยังขาดขั้นตอนสำคัญอยู่ 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการนำเครื่องมือไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย และขั้นตอนการวิเคราะห์ผลการทดลองใช้ ในด้านการหาคุณภาพเครื่องมือ มีการหาค่าความเที่ยงตรง (Validity) และการหาความเป็นปรนัย (Objectivity) ได้ครบถ้วนทุกเครื่องมือ และประชากรงานวิจัยทั้งหมดมีการหาคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) เพียงลักษณะเดียว</p> <p> </p> อังสุมารินทร์ นาคบำรุง, เกียรติสุดา ศรีสุข Copyright (c) 2023 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/270387 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาความตระหนักในสถานการณ์การพัฒนาทรัพยากรทางวัฒนธรรมและปัจจัยในการขับเคลื่อนระบบนิเวศการเรียนรู้ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม Satun UNESCO Global Geopark https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/270503 <p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์การพัฒนาทรัพยากรทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ และปัจจัยขับเคลื่อนระบบนิเวศการเรียนรู้ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ Satun UNESCO Global Geopark โดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มขับเคลื่อนนโยบาย จำนวน 6 กลุ่มตัวอย่าง และกลุ่มผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวจำนวน 7 กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย การสำรวจและสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และ Co-Creation Workshop และวิเคราะห์ข้อมูลผ่านเครื่องมือ Design Thinking และ Case Development กับผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่อย่างเป็นระบบ ผสานการทำ Scenario Development โดยมีผลการวิจัยคือ แบบจำลองสถานการณ์บทบาทของทรัพยากรทางวัฒนธรรมในการพัฒนานิเวศการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์งานวิจัย และปัจจัยในการขับเคลื่อนระบบนิเวศการเรียนรู้ คือ 1) เนื้อหาด้านวัฒนธรรม 2) รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ รวมถึงนำเสนอแนวทางการใช้ประโยชน์งานวิจัยใน 3 ระดับ คือ 1) แนวทางคัดกรองทรัพยากรทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บริการนักท่องเที่ยว 2) การพัฒนา Theme ท่องเที่ยวของพื้นที่ Satun UNESCO Global Geopark เพื่อการสร้างโอกาสทางธุรกิจการท่องเที่ยวแบบกลุ่ม และ 3) แนวนโยบายการพัฒนาพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบต่าง ๆ ซึ่งผลลัพธ์ของงานวิจัยสามารถสร้างความตระหนักอย่างมากกับผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาทรัพยากรทางวัฒนธรรมในการขับเคลื่อน Satun UNESCO Global Geopark Learning Ecology นอกเหนือจากการพึ่งพาทรัพยากรทางธรณีวิทยาเพียงอย่างเดียว</p> พรยศ ฉัตรธารากุล, กรุณา เคลือบมงคล, ณัฐพล วงศ์เยาว์ Copyright (c) 2023 Journal of Inclusive and Innovative Education https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/270503 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700