https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/issue/feed
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
2024-12-29T23:46:28+07:00
ผศ.ดร.ประภาพรรณ ไชยานนท์
prapaphun_chaiyanont@yahoo.com
Open Journal Systems
<p><strong>"วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย"</strong> <strong>"Graduate School Journal Chiang Rai Rajabhat University"</strong> จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่บทความวิชาการ และบทความวิจัย ทางด้านสาขาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา ศิลปศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง<strong> มีวาระการออกเป็นราย 6 เดือน</strong> โดยออกปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 (ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม) ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงวาระการออก และจัดทำเฉพาะรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วารสารฯ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน 2567) เป็นต้นไป ทั้งนี้ บทความที่ตีพิมพ์ใน<strong><em>วารสารฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จำนวน 3 ท่านแล้ว</em></strong> โดยผู้เขียนบทความและผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ถูกเปิดเผย (Double-blind Peer review) ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</p> <p> </p> <p><strong>ISSN 3027-7884 (Online)</strong></p> <p> </p> <p><strong>ภาษาที่พิมพ์ : ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน</strong></p> <p><strong>กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และกรกฎาคม-ธันวาคม)</strong></p>
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/272613
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดน่าน
2024-03-01T16:05:43+07:00
ญาณิกา หงสนันทน์
patty.ynk@gmail.com
โสภา อำนวยรัตน์
111@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดน่าน 2) ระดับความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดน่าน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดน่าน 4) สร้างสมการพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดน่าน จำนวน 175 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความสำเร็จในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ระดับความสำเร็จ<em><br /></em>ในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา มี 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านกลยุทธ์ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำและปัจจัยด้านเทคโนโลยี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถพยากรณ์ความสำเร็จได้ร้อยละ 87.40 ดังสมการพยากรณ์ต่อไปนี้ สมการรูปคะแนนดิบ คือ <em> </em>= .469 + .498X<sub>7 </sub>+ .249X<sub>5 </sub>+ .148X<sub>3</sub> และสมการรูปคะแนนมาตรฐาน คือ <em> </em><sub>y</sub> = .520<em>Z<sub>X</sub></em><sub>7</sub> + .296Z<em><sub>X5</sub></em> + .162<em><sub>X</sub></em><sub>3</sub></p>
2024-12-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/272805
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร กับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดพะเยา
2024-03-10T16:43:16+07:00
ดวงชีพ กันทะลือ
u57031390115@uru.ac.th
โสภา อำนวยรัตน์
111@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดพะเยา 2) ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดพะเยา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับประสิทธิผล<br />การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดพะเยา <br />กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดพะเยา 9 แห่ง จำนวน 144 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น กำหนดสัดส่วนตามขนาดของประชากรในแต่ละศูนย์และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ จังหวัดพะเยา โดยรวมรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดพะเยา โดยรวมรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ<br />ทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดพะเยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
2025-01-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/272036
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชันเพื่อพัฒนาความรู้ ด้านคำศัพท์และทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
2024-04-26T22:58:36+07:00
นงลักษณ์ ไชยวิชู
kethy1_1982@outlook.co.th
วิไลภรณ์ วิชญาวัฒน์
111@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ด้านคำศัพท์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัด การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค<br />เกมมิฟิเคชัน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนป่ากลางมิตรภาพที่ 166 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 32 คน โดยการสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีการจับสลาก 2 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน 2) แบบทดสอบความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 3) แบบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และ <br />4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t (t-test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ด้านคำศัพท์ของนักเรียน<br />หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชันสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้<br />การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชันสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชันเพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ และทักษะการอ่านภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2025-01-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/272727
ผลการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และทักษะการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2024-03-07T11:49:18+07:00
พิมพ์วรรณ เตจ๊ะเสาร์
pw.ann555@gmail.com
วรรณากร พรประเสริฐ
111@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD 2) ศึกษาทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสันกลางวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 3) แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยสถิติ Nonparametric Test แบบ Wilcoxon signed Rank</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้ แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในภาพรวมมีทักษะการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 3.36, S.D. = 0.54 ) และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค STAD ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.26 )</p>
2025-01-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/270518
การจัดการทางการเงินของธุรกิจร้านกาแฟในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2023-12-08T16:34:46+07:00
พิจิตรา แก้วพิชัย
coachparama05@hotmail.com
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการดำเนินธุรกิจร้านกาแฟ<br />ในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารงานทางการเงินของธุรกิจ<br />ร้านกาแฟในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3) เพื่อศึกษาผลตอบแทนของธุรกิจร้านกาแฟ<br />ในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 33 ร้าน และสร้างประเด็นในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) ผลการวิจัยพบว่า ผลจากการวิเคราะห์รูปแบบการบริหารงานทางการเงินของธุรกิจ<br />ร้านกาแฟในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ธุรกิจร้านกาแฟมีการลงทุนด้วยตัวเอง โดยมีลักษณะเป็นเจ้าของคนเดียว การหาแหล่งเงินทุน โดยขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน และการจัดการทางบัญชี มีการจัดทำระบบบัญชีการจัดการกับระบบรายรับรายจ่าย และเข้าร่วมกับโครงการของภาครัฐฝึกอบรมการทำบัญชี</p> <p>ผลจากการวิเคราะห์ด้านผลตอบแทนของธุรกิจร้านกาแฟในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ผู้ประกอบการร้านกาแฟมีเงินลงทุนเริ่มแรกอยู่ที่ 843,100 บาท โดยเป็นเงินลงทุนส่วนตัวของเจ้าของกิจการทั้งหมด มีการคาดการณ์ยอดขายในปีแรกอยู่ที่ 21,600 แก้ว ราคาแก้วละ 50 บาท และเพิ่มปริมาณ 36,000 แก้ว ราคา 50 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,880,000 บาท โดยมีอัตราผลตอบแทนภายในอยู่ที่ร้อยละ 30 เมื่อดำเนินกิจการได้ 3 ปี และมีระยะเวลาในการคืนทุนอยู่ที่ 2 ปี ซึ่งการวิเคราะห์ และประเมินตามแผนธุรกิจนี้ทำให้ผู้ประกอบการคาดการณ์ได้ว่าแผนธุรกิจนี้มีโอกาสที่จะเติบโตและสามารถสร้างผลกำไรได้ดี</p>
2025-01-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/272776
การโค้ชด้วยเทคนิค GROW Model เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ ในการสร้างโมเดลธุรกิจ
2024-03-08T22:26:29+07:00
วิรัลพัชร อสัมภินพงศ์
viranpatch.a@rmutp.ac.th
ชยพัทธ์ พลบูรณ์
111@gmail.com
ศรีสุดา อินทมาศ
111@gmail.com
รณพร พิทักษ์มวลชน
111@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการโค้ชและการให้คำปรึกษาที่มีผลต่อการพัฒนาโมเดลธุรกิจ และเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการโค้ชและการให้คำปรึกษาผ่านเทคนิค GROW <em> </em>Model ก่อนและหลังของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างได้จากการการสุ่มที่ไม่อาศัยความน่าจะเป็น โดยเลือกวิธีแบบเฉพาะเจาะจง ในขณะที่ วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น <em>4 </em>ขั้นตอน ดังนี้ การเตรียมการ การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความจำเป็น การดำเนินการตามแผน และสุดท้าย การติดตามและประเมินผล โดยเก็บรวมรวบข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสร้างโมเดลธุกิจของผู้ประกอบการ ผลการศึกษา พบว่า การตั้งเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้โค้ชกับผู้ประกอบการ (G) มีความต้องการทำความเข้าใจและพัฒนาโมเดลธุรกิจ รวมทั้ง การพัฒนาการตลาดและแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่ การวิเคราะห์สถานการณ์จริงของธุรกิจ <em>(R) </em>พบว่า ธุรกิจมีสินค้าที่หลากหลายประเภท ต้องการสร้างการรับรู้ตราสินค้า และต้องการขยาย เพิ่มช่องทางการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ แต่เพราะขาดประสบการณ์ในการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า และขาดทักษะ<br />ในการทำตลาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านขั้นตอนการดำเนินการโค้ชและให้คำปรึกษาผ่านเทคนิค GROW Model พบว่า ทางเลือกและกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการจะนำไปสู่เป้าหมายร่วมกัน (O) ประกอบด้วย การพัฒนาช่องทางการตลาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์เพิ่มช่องทางกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ การชะลอการเพิ่มสายการผลิตสินค้าใหม่เพื่อไม่เกิดผลขาดทุน<br />ในภายหลัง รวมถึงการเพิ่มทางเลือกในลักษณะธุรกิจแบบ Business to Business to Customers (B2B2C) และการพัฒนารูปแบบสินค้าเพื่อขยายฐานลูกค้าไปยังพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจน การสร้างเรื่องราวให้เกิดการรับรู้ต่อสินค้าของผู้ประกอบการ เป็นต้น นอกจากนี้ ความตั้งใจที่จะลงมือทำตามโมเดลธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ (W) พบว่า ผู้ประกอบการจะทบทวนกลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของสินค้า ศึกษาการทำเนื้อหาด้านการตลาดให้มากขึ้น เน้นจุดแข็งที่สำคัญของสินค้า <br />เน้นการพัฒนาต่อยอดสินค้าที่สร้างรายได้ให้ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยพัฒนาช่องทางการจำหน่าย<br />ผ่านตัวกลางเพื่อให้สินค้าเข้าถึงผู้บริการได้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ผลลัพธ์จากการพัฒนาโมเดลธุรกิจสามารถทำให้แผนการตลาดของผู้ประกอบการชัดเจนและได้แนวทางการทำการตลาดในรูปแบบใหม่ เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการโค้ชและการให้คำปรึกษาผ่านเทคนิค GROW Model ก่อนและหลัง พบว่า ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์และรู้สึกพึงพอใจกับการเข้าร่วมการโค้ชและการให้คำปรึกษา ในขณะที่ ก่อนการเข้าร่วมผู้ประกอบการขาดความเข้าใจในโมเดลธุรกิจของตนเอง แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านการโค้ชและการให้คำปรึกษาผู้ประกอบการสามารถสร้างโมเดลธุรกิจทีมีความเป็นรูปธรรมได้ และสามารถนำโมเดลธุรกิจที่สร้างขึ้นไปต่อยอดธุรกิจได้จริง เช่น ผู้ประกอบการรายหนึ่งนำโมเดลธุรกิจไปปรับใช้กับการเขียนแผนธุรกิจทำให้ผ่านการอนุมัติให้เข้าร่วมการนำเสนอสินค้า<br />ณ ประเทศฟินแลนด์ ในขณะที่ ผู้ประกอบการอีกรายหนึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดการเขียนแผนธุรกิจ เป็นต้น</p>
2025-02-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/274682
การพัฒนาคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลมทองเหลือง สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย
2024-07-13T12:09:14+07:00
กันต์ฤทธิ์ สวัสดิสุข
kanrit.s@ku.th
ศรัณย์ นักรบ
fhumsrn@ku.ac.th
<p> การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลม ทองเหลืองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย 2) ประเมินคุณภาพคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลมทองเหลืองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย และ 3) วิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลมทองเหลืองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลมทองเหลืองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย ประกอบไปด้วย เนื้อหา 6 บท ได้แก่ บทที่ 1 กลุ่มและประเภทของเครื่องลมทองเหลือง บทที่ 2 ระบบนิ้วและการทดเสียง บทที่ 3 การควบคุมลม ท่าทาง และการวางรูปปาก บทที่ 4 แบบฝึกหัดพัฒนาพื้นฐานด้านคุณภาพเสียง บทที่ 5 แบบฝึกหัดเทคนิคของเครื่องลมทองเหลือง และบทที่ 6 บันไดเสียง 2) การประเมินคุณภาพคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลมทองเหลืองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย ประกอบไปด้วย 3 ด้าน คือ ด้านความเหมาะสมด้านรูปเล่ม ด้านความเหมาะสมด้านเนื้อหาและภาพประกอบ และด้านความเหมาะสมด้านการนำไปใช้ <br />3) การวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลมทองเหลืองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย พบว่า มีค่าเฉลี่ยประเมินคุณภาพด้านความเหมาะสมด้านรูปเล่มมีระดับคุณภาพมากที่สุด (<strong> </strong>= 4.95, SD.= 0.22) ด้านความเหมาะสมด้านเนื้อหาและภาพประกอบ มีระดับคุณภาพมากที่สุด (<strong> </strong>= 4.90, SD.= 0.24) และด้านความเหมาะสมด้านการนำไปใช้มีระดับคุณภาพมากที่สุด (<strong> </strong>= 5, SD.= 0) เฉลี่ยรวมทั้ง 3 ด้านมีระดับคุณภาพมากที่สุด (<strong> </strong>= 4.95, SD.= 0.22) <br />จึงถือได้ว่าคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลมทองเหลืองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย <br />มีคุณภาพ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่งานวิจัยได้กำหนดไว้</p>
2025-02-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/271725
การประเมินความเชื่อมโยงขององค์ประกอบในรายวิชาในหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา ผ่านมุมมองการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์
2024-04-26T22:43:19+07:00
สมเกียรติ อินทสิงห์
somkiart.int@cmu.ac.th
ไชยรัตน์ นิติกาญจนโภคิน
111@gmail.com
อำนาจ เลิศปัญญาธิกุล
111@gmail.com
พงษ์ศธร สุยะมูล
111@gmail.com
ประพล รัตนไตร
111@gmail.com
จันทิมา บุศยารัศมี
111@gmail.com
หริพล ธรรมนารักษ์
111@gmail.com
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเชื่อมโยงขององค์ประกอบในรายวิชาในหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้านเนื้อหาสาระ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรและการประเมินผลการเรียนรู้ จำนวน 5 คน ทำการประเมินรายวิชา<br />ในหมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเอกด้านการสอนของหลักสูตรนี้ จำนวน 5 รายวิชา ที่จัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2565 โดยใช้แบบประเมินความเชื่อมโยงขององค์ประกอบในรายวิชา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อมโยงขององค์ประกอบในรายวิชาในหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้านเนื้อหาสาระ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p>
2025-02-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/276239
ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
2024-10-24T13:34:26+07:00
ยุทธวี สุภาแก้ว
yutthawi64@gmail.com
วราดวง สมณาศักดิ์
em_waraduang_s@crru.ac.th
<p> การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่าย<br />พลเรือน ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และเพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับปัจจัยประชากรศาสตร์</p> <p> ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้าง จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) โดยใช้ค่า T-test และ F-test (One-Way ANOVA) ในกรณีพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ใช้การทดสอบรายคู่ด้วยวิธี LSD</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 51 – 60 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษา มีสถานภาพสมรส การประกอบอาชีพเกษตรกร<br />มีรายได้ต่อเดือน 5,001 – 10,000 บาท และส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานระหว่าง 5 – 10 ปี <br />มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสัมพันธ์<br />ต่อเพื่อนร่วมงาน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสถานภาพทางอาชีพ ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนที่มีระยะเวลาแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ การประกอบอาชีพและมีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีแรงจูงใจ<br />ในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2025-02-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย