วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal
<p><strong>"วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย"</strong> <strong>"Graduate School Journal Chiang Rai Rajabhat University"</strong> จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่บทความวิชาการ และบทความวิจัย ทางด้านสาขาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา ศิลปศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง<strong> มีวาระการออกเป็นราย 6 เดือน</strong> โดยออกปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 (ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม) ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงวาระการออก และจัดทำเฉพาะรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วารสารฯ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน 2567) เป็นต้นไป ทั้งนี้ บทความที่ตีพิมพ์ใน<strong><em>วารสารฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จำนวน 3 ท่านแล้ว</em></strong> โดยผู้เขียนบทความและผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ถูกเปิดเผย (Double-blind Peer review) ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</p> <p> </p> <p><strong>ISSN 3027-7884 (Online)</strong></p> <p> </p> <p><strong>ภาษาที่พิมพ์ : ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน</strong></p> <p><strong>กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และกรกฎาคม-ธันวาคม)</strong></p>
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
th-TH
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
3027-7884
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p>
-
การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/270604
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายใน 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน และ 3) ประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 มี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายใน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 313 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ขั้นที่ 2 พัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน ตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและความเป็นไปได้ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น ขั้นที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาทดลองใช้ 3 แห่ง โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะการนิเทศ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ขั้นการวางแผน สร้างค่านิยมร่วมกัน 2) รูปแบบ C-PORIR Model ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กลไกการดำเนินงาน และ (4) เงื่อนไขความสำเร็จ รูปแบบมีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบความรู้หลังพัฒนามากกว่าก่อนพัฒนา ทักษะการนิเทศตามรูปแบบหลังพัฒนามากกว่าก่อนพัฒนา และความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
จันทราภรณ์ สุขสวัสดิ์
ญาณิศา บุญจิตร์
จิรศักดิ์ แซ่โค้ว
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-03-26
2024-03-26
17 1
1
16
-
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ของผู้เรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/270602
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่คาดหวังของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู และ 3) ตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านของผู้เรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ การดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 329 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู ตรวจสอบความเหมาะสมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน โดยใช้แบบตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ระยะที่ 3 ตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ ด้านการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่คาดหวังของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) ปัจจัยนำเข้า (4) วิธีการดำเนินการ (5) ผลผลิต และ (6) เงื่อนไขความสำเร็จ 3) ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู ได้แก่ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า ประสิทธิภาพของรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากและประสิทธิภาพของคู่มือการใช้รูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
ณัฏฐภัทร เตี้ยซี้
จิรศักดิ์ แซ่โค้ว
ญาณิศา บุญจิตร์
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-03-26
2024-03-26
17 1
17
29
-
ผลกระทบของการปฏิบัติงานด้านการบัญชีสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ในการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/270568
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการปฏิบัติงานด้านการบัญชีสิ่งแวดล้อมในด้านกลยุทธ์ทางการบัญชีสิ่งแวดล้อม กิจกรรมด้านการบัญชีสิ่งแวดล้อม การรายงานผลทาง <br />การบัญชีสิ่งแวดล้อม และการวัดและประเมินผลทางการบัญชีสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 817 ราย แบบสอบถามตอบกลับจำนวน 166 ราย ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี และผู้จัดการฝ่ายบัญชี</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติงานด้านการบัญชีสิ่งแวดล้อมในด้านกลยุทธ์ทางการบัญชีสิ่งแวดล้อม กิจกรรมด้านการบัญชีสิ่งแวดล้อม และการวัดและประเมินผลทางการบัญชีสิ่งแวดล้อมส่งผลเชิงบวกต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์<br />แห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ด้านการรายงานผลทางการบัญชีสิ่งแวดล้อมล้อมไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนา และต่อยอดการบัญชีสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ และสร้างความสำเร็จในการดำเนินงาน</p>
พิมพารัตน์ ใจหมั้น
ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์
สุขเกษม ลางคุลเสน
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-03-26
2024-03-26
17 1
30
47
-
ทัศนคติและการสื่อสารการตลาดเชิงเนื้อหาบนออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจ ซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/270555
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง และศึกษาการสื่อสารการตลาดเชิงเนื้อหาบนออนไลน์<br />ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง ศึกษากลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง ได้แก่ ด้านการตอบสนอง ด้านความเชื่อส่วนบุคคล<br />ด้านแนวโน้มพฤติกรรม ด้านประสบการณ์ ส่วนด้านการรับรู้ ไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์<br />ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 <br />ผลการศึกษาการสื่อสารการตลาดเชิงเนื้อหาบนออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง ได้แก่ คอนเทนต์ประเภทเพื่อชักจูง คอนเทนต์ประเภทเพื่อความบันเทิง คอนเทนต์ประเภทให้แรงบันดาลใจ ส่วนคอนเทนต์ประเภทเพื่อให้ความรู้ไม่มีผล ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงควรให้ความสำคัญกับทัศนคติด้านการตอบสนองและการสื่อสารการตลาดเชิงเนื้อหาบนออนไลน์ รูปแบบคอนเทนต์ประเภทเพื่อความบันเทิง เพราะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด</p>
ขวัญภิรมย์ บุญภู
ฑัตษภร ศรีสุข
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-03-26
2024-03-26
17 1
48
65
-
ภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/270546
<p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหาร <br />2) ระดับภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหาร และระดับประสิทธิผลของโรงเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน 4) อำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน และ 5) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหาร 2) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร</p> <p> จากการศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหาร พบว่า มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีความมุ่งมั่นที่เป็นอิสระ 2) การรู้จักตนเอง 3) การมีจินตนาการ 4) การมีวิจารณญาณ และ 5) การวางแผนการทำงาน ระดับภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยรวม อยู่ในระดับมาก ส่วนระดับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนนั้น มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง และอำนาจพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ การมีจินตนาการ และการมีวิจารณญาณ ส่วนการรู้จักตนเอง สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร <br />ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 77.10</p> <p> แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงรุกของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร มีจำนวน 3 ด้าน คือ ด้านการมีจินตนาการ ด้านการมีวิจารณญาณ และด้านการรู้จักตนเอง</p>
ณัฐฏิกานต์ ศรีโภคา
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-03-26
2024-03-26
17 1
66
84
-
ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารกับการพัฒนาบุคลากรครูในโรงเรียนอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/270610
<p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารกับการพัฒนาบุคลากรครู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารกับการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและบุคลากรครูในโรงเรียนเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จำนวน <br />12 โรงเรียน วิธีการสุ่มแบบสัดส่วน จำนวน 242 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์<br />ข้อมูลค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ภาวะผู้นำของผู้บริหารแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 อยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารกับการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 พบว่า มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางบวกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารกับการพัฒนาบุคลากรครู พบว่า บุคลากรครูโรงเรียนในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 อยู่ในระดับมาก ทุกรายด้าน ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการสอน ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล</p>
ดารารัศมี ขจรกิจดำรงค์
ศิริพร เสริตานนท์
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-22
2024-05-22
17 1
85
97
-
ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรและปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมของเกษตรกรในอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/270643
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ<strong>ศึกษา</strong>ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมของเกษตรกรในอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน <strong>และศึกษา</strong>ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมของเกษตรกรในอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับเกษตรกรที่เป็นประชากรทั้งหมด 349 คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 41-50 ปี การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3-5 คน อาชีพหลักเกษตรกร ประสบการณ์อาชีพเกษตรกร 10 ปีขึ้นไป ถือครองพื้นที่เพาะปลูก 6-10 ไร่ ระยะเวลาถือครอง 11 ปีขึ้นไป และต้องการพัฒนา ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมมีค่าอิทธิพลรวมร้อยละ 12.10 (R<sup>2</sup> = .121) ข้อมูลที่มีผลมากที่สุด คือ ระดับการศึกษา รองลงมา คือ ระยะเวลาถือครองพื้นที่เพาะปลูก ส่วนข้อมูลที่ไม่มีผล คือ เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน อาชีพหลัก/อาชีพเสริม ประสบการณ์อาชีพเกษตรกร การถือครองพื้นที่เพาะปลูก และความต้องการพัฒนา ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมของเกษตรกรในอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน พบว่า มีค่าอิทธิพลรวมร้อยละ 54.40 (R<sup>2</sup> = .544) ปัจจัยด้านที่มีผลมากที่สุดคือ คือ ทักษะของเกษตรกร รองลงมา คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการความรู้ของเกษตรกร ตามลำดับ ดังนั้นจึงควรมุ่งพัฒนาทักษะเกษตรกรโดยเฉพาะการวางแผนเพาะปลูก การผลิตตามหลักและกระบวนการเกษตร การเลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ และความผิดพลาดการผลิต ตามลำดับ</p>
สายชล ทาจี้
ฑัตษภร ศรีสุข
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-23
2024-05-23
17 1
98
117
-
การใช้หนังสือภาพเพื่อฝึกทักษะช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สำหรับนักเรียนที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/270753
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกทักษะช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันสำหรับนักเรียนที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองแบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest Designกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ นักเรียนที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายการศึกษาพิเศษ และศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น จำนวน 4 คน อายุระหว่าง 4 - 6 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) หนังสือภาพการฝึกปฏิบัติทักษะการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน จำนวน 5 เรื่อง 2) แบบสังเกตทักษะการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันก่อนและหลังการใช้หนังสือภาพฝึกทักษะช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 3) แผนการฝึกกิจวัตรประจำวันโดยการประเมินก่อนและหลังการใช้หนังสือภาพของนักเรียนทั้ง 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ และการพรรณาอย่างละเอียดพบว่า มีคะแนนรวมสูงขึ้นทุกคนในทุกทักษะ ซึ่งหมายความว่าหนังสือภาพฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติสามารถนำไปพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในกิจกรรมประจำวันของนักเรียนที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมได้</p>
เจริญขวัญ ศรีพันธ์ชาติ
อนงค์ คะเซ็นแก้ว
อลิสา อุปัญญ์
ธัญธรัตน์ จันทร์แสง
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-23
2024-05-23
17 1
118
129
-
การพัฒนาทักษะภาษาจีน โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/270442
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะภาษาจีนก่อนและหลังใช้วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา กลุ่มตัวอย่าง<br />ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 จำนวน 32 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือ<br />ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา แบบทดสอบวัดทักษะภาษาจีน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา มีประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub> / E<sub>2</sub>) เท่ากับ 87.30/92.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และผลการเปรียบเทียบทักษะภาษาจีนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
ณาตยา สิงห์สุตีน
ดนุพงศ์ ชีวินวิไลพร
ปราโมทย์ กุดนอก
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-05-23
2024-05-23
17 1
130
142