@article{พิทักษ์ธีระธรรม_2018, title={Samayabhedoparacanacakra คำแปลพร้อมเชิงอรรถวิเคราะห์ (1)}, volume={2}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/160735}, abstractNote={<p>คัมภีร์ “สมยเภโทปรจนจักร” ได้รับการรจนาโดยพระวสุมิตรผู้เป็นพระเถระในนิกายสรวาสติวาทิน ในปัจจุบันไม่พบต้นฉบับภาษาสันสกฤต หลงเหลือเพียงฉบับแปลภาษาทิเบต และฉบับแปลภาษาจีนอีกสามฉบับ ทางด้านเนื ้อหาในคัมภีร์จะกล่าวถึงปีแห่งพุทธปรินิพพาน มูลเหตุแห่งการแตกนิกาย และมติธรรมของนิกายต่าง ๆ คัมภีร์นี้ มักจะถูกอ้างเสมอเมื่อมีการถกถึงประเด็นดังกล่าวข้างต้น หากมีการอ้างอิงคัมภีร์ทีปวงศ์ คัมภีร์กถาวัตถุอรรถกถา ที่เป็นคัมภีร์ตัวแทนของฝ่ายทักษิณนิกายเมื่อใด คัมภีร์ “สมยเภโทปรจนจักร” ก็เป็นคัมภีร์ตัวแทนของฝ่ายอุตตรนิกายเสมอ<br> เนื่องจากแวดวงวิชาการพุทธศาสตร์ในประเทศเรายังขาดงานแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่อยู่ในชั ้นปฐมภูมิจากภาษาโบราณต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเล็งเห็นความสำคัญในการแปลคัมภีร์ “สมยเภโทปรจนจักร” จากต้นฉบับภาษาทิเบต เป็นภาษาไทยและแสดงเชิงอรรถวิเคราะห์ประกอบ พร้ อมเปรียบเทียบกับฉบับแปลจีนอีกสามฉบับเพื่อให้แวดวงวิชาการพุทธศาสตร์ของบ้านเราได้นำข้อมูลจากฝ่ ายอื่นมาค้นคว้าวิจัยอย่างรอบด้าน และพิจารณาเปรียบเทียบอย่างรอบคอบในประเด็นต่างๆ เพื่อพัฒนาการค้นคว้าวิจัย และยกระดับวงการพุทธศาสตร์ของบ้านเราสู่ระดับสากล<br> สำหรับบทความฉบับนี้ ผู้เขียนแปลถึง “มูลเหตุแห่งการแตกนิกาย” กล่าวคือสาเหตุในการแตกเป็น นิกายสถวีระ และนิกายมหาสังฆิกะ สำหรับหัวข้ออื่นที่เหลือนั้นจะนำเสนอในโอกาสถัดไป<br> <br> <br><br></p>}, number={1}, journal={ธรรมธารา}, author={พิทักษ์ธีระธรรม เมธี}, year={2018}, month={มิ.ย.}, pages={67–103} }