@article{แสงเงิน_วงศ์สถิตย์_2020, title={นรกภูมิในไตรภูมิ-พระมาลัย: ความสัมพันธ์กับคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา}, volume={6}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/238089}, abstractNote={<p>     บทความนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ด้านเนื้อหาเรื่องนรกภูมิในไตรภูมิ-พระมาลัยซึ่งเป็นวรรณกรรมโลกศาสตร์สมัยอยุธยากับคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏเนื้อหาเรื่องนรกภูมิ คือ พระไตรปิฎกฉบับต่างๆ คัมภีร์โลกทีปกสาร คัมภีร์โลกบัญญัติและคัมภีร์จักรวาลทีปนี ผลการศึกษาพบว่า ไตรภูมิ-พระมาลัยมีลักษณะของเนื้อหาหลักร่วมกับคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ 1) การพรรณนาถึงสภาพของมหานรกและชื่อของมหานรกขุมต่างๆ มีลักษณะของเนื้อหาร่วมกับพระไตรปิฎก เทวทูตสูตร สังกิจจชาดกและคัมภีร์โลกทีปกสาร 2) มหานรกขุมต่างๆ บุพกรรมและการเสวยทุกขเวทนาของสัตว์นรก มีลักษณะของเนื้อหาร่วมกับคัมภีร์โลกทีปกสารและโลกบัญญัติ 3) อุสุทนรก (นรกบ่าว) มีลักษณะของเนื้อหาร่วมกับพระไตรปิฎก เทวทูตสูตร สังกิจจชาดกและคัมภีร์โลกบัญญัติ 4) ยมโลก มีลักษณะของเนื้อหาร่วมกับพระไตรปิฎก เนมิราชชาดก 5) การเปรียบเทียบอายุของสวรรค์ มนุษย์และมหานรก มีลักษณะของเนื้อหาร่วมกับพระไตรปิฎก วิตถตุโปสถสูตร คัมภีร์โลกทีปกสารและจักรวาลทีปนีลักษณะร่วมสำคัญ คือ ชื่อนรก      <br>     ลักษณะทางกายภาพของนรก บุพกรรมเมื่อเป็นมนุษย์ของสัตว์นรก ทุกขเวทนาของสัตว์นรก ตลอดจนการเปรียบเทียบอายุของสวรรค์ฉกามาพจร มนุษย์และนรก แต่ต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อย ดังนั้นไตรภูมิ-พระมาลัย จึงเป็นวรรณกรรมโลกศาสตร์ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงคติทางพระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยาเป็นอย่างยิ่ง</p>}, number={2}, journal={ธรรมธารา}, author={แสงเงิน ภัครพล and วงศ์สถิตย์ อุเทน}, year={2020}, month={ก.ค.}, pages={61–104} }