@article{พุดชู_2022, title={ปราสาทนกหัสดีลิงค์: รูปสัญญะแห่งความหมายและแหล่งที่มาจากคัมภีร์และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา}, volume={8}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/256054}, abstractNote={<p class="p1">         การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเป็นมาและอิทธิพลของปราสาทนกหัสดีลิงค์ที่มีต่อสังคมไทย เป็นการศึกษาเชิงเอกสารจากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า นกหัสดีลิงค์ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาหลายเล่ม รวมถึงวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ตำนานมูลศาสนา ปัญญาสชาดกเรื่องสุธนชาดกและไตรภูมิพระร่วง ลักษณะของนกมีขนาดใหญ่และกำลังมากเหมือนช้าง 5 เชือก ถิ่นกำเนิดอยู่ในดินแดนคนมีศีลธรรมที่เรียกว่า อุตตรกุรุทวีป แนวคิดดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการสร้างจิตรกรรมและประติมากรรมของเมรุปราสาทนกหัสดีลิงค์ในปัจจุบัน กระทั่งเป็นวัฒนธรรมไทยให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบทอดกันมา ทั้งทางด้านคติธรรม นิติธรรม วัตถุธรรมและสหธรรม นอกจากนี้ ยังมีปริศนาธรรมเกี่ยวกับการส่งคนตายให้ไปเกิดในสุคติภูมิ องค์ความรู้จากบทความนี้มี 3 ประการ คือ 1) คัมภีร์และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาระบุลักษณะของนกชนิดนี้ไว้เพียงว่า มีขนาดใหญ่และกำลังเท่าช้าง 5 เชือก การที่นกหัสดีลิงค์คาบคนไปเพราะคิดว่า เป็นเหยื่อ แต่ไม่มีเจตนาทำร้าย  2) วรรณกรรมยุคหลังเขียนเป็นเรื่องเล่าให้นกมีบทบาทและคุณลักษณะพิเศษ ซึ่งให้คุณมากกว่าให้โทษต่อประชาชนและมีวัตถุประสงค์ในเชิงบวกบางอย่างเพิ่มเข้ามา และ 3) พัฒนาการของนกกลายเป็นจิตรกรรมและประติมากรรมการสร้างเป็นเมรุปราสาท แต่คงแนวคิดเดิมที่ปรากฏในคัมภีร์และวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาและเพิ่มจินตนาการให้นกมีรูปลักษณ์พิเศษ รวมถึงปริศนาธรรมรำลึกถึงคุณความดีและการส่งผู้ตายให้ไปอุบัติบนสวรรค์</p>}, number={2}, journal={ธรรมธารา}, author={พุดชู สุรชัย}, year={2022}, month={ก.ค.}, pages={175–217} }