@article{วงศ์สถิตย์_2022, title={จารึกรอยพุทธบาทจากอานธรประเทศ: หลักฐานพุทธศาสนานิกายวิภัชชวาท}, volume={8}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/257598}, abstractNote={<p>         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์จารึกรอยพุทธบาทจากอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 9 ด้วยวิธีการทางจารึกศึกษาโดยพิจารณาถึง อักษร ภาษา วัสดุ สถานที่ และสารัตถะ<br />         ผลการศึกษาพบว่า จารึกดังกล่าวจารึกด้วยอักษรพราหมีแบบอินเดียใต้สมัยราชวงศ์วิษณุกุณฑิน เป็นภาษาปรากฤตที่ใกล้เคียงกับภาษาบาลีมาก วัสดุที่จารึกเป็นรอยพุทธบาทคู่ที่แกะสลักจากหินพบที่โบราณสถานที่เป็นมหาวิหารในบริเวณนาครชุนโกณฑะ สารัตถะแสดงถึงหลักฐานพระพุทธศาสนานิกายวิภัชชวาทที่ต่อมาพัฒนาเป็นเถรวาทและแสดงถึงความสัมพันธ์กับสำนักมหาวิหารในประเทศศรีลังกา นอกจากนี้ยังเป็นหลักฐานแสดงถึงเครือข่ายสมณทูตที่ถูกส่งไปในสมัยพระเจ้าอโศก จารึกหลักนี้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงพระพุทธศาสนาในดินแดนประเทศไทยที่ปรากฏรอยพุทธบาทคู่และลวดลายศิลปะอมราวดี ที่อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี และความทรงจำของพระสงฆ์สมัยสุโขทัยที่เดินทางไปไหว้สถูปอมราวดี ประเทศอินเดีย</p>}, number={2}, journal={ธรรมธารา}, author={วงศ์สถิตย์ อุเทน}, year={2022}, month={ก.ค.}, pages={61–90} }