TY - JOUR AU - พิทักษ์ธีระธรรม, เมธี PY - 2018/06/12 Y2 - 2024/03/29 TI - Samayabhedoparacanacakra: คำแปลพร้อมเชิงอรรถวิเคราะห์ (3): คำแปลพร้อมเชิงอรรถวิเคราะห์ (3) JF - ธรรมธารา JA - DhammaJ. of buddh. Stud. VL - 4 IS - 1 SE - บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/124230 SP - 95-139 AB - <p class="p1">คัมภีร์ สมยเภโทปรจนจักร รจนาโดยพระวสุมิตรผู้เป็นพระเถระของนิกายสรวาสติวาท ในปัจจุบันไม่พบต้นฉบับภาษาสันสกฤต หลงเหลือเพียงสำนวนแปลทิเบต 1 สำนวน และสำนวนแปลจีนอีก 3 สำนวน เนื้อหาในคัมภีร์จะกล่าวถึง ปีพุทธปรินิพพาน มูลเหตุแห่งการแตกนิกาย มติธรรมของนิกายต่าง ๆ คัมภีร์นี้มักจะถูกอ้างเสมอเมื่อมีการอภิปรายถึงประเด็นดังกล่าวข้างต้น หากมีการอ้างอิงคัมภีร์ ทีปวังสะ คัมภีร์ กถาวัตถุ ที่เป็นคัมภีร์ตัวแทนของเถรวาทฝ่ายทักษิณนิกายเมื่อใด คัมภีร์ สมยเภโทปรจนจักร ก็เป็นคัมภีร์ตัวแทนของเถรวาทฝ่ายอุตตรนิกายเสมอ<span class="Apple-converted-space">&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;</span></p><p class="p1">เนื่องจากแวดวงวิชาการพุทธศาสตร์ในประเทศเรา ยังขาดงานแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่อยู่ในชั้นปฐมภูมิจากภาษาโบราณต่าง ๆ ผู้เขียนจึงเล็งเห็นความสำคัญในการแปลคัมภีร์ สมยเภโทปรจนจักร จากพากย์ทิเบต เป็นภาษาไทยและแสดงเชิงอรรถวิเคราะห์ประกอบ พร้อมเปรียบเทียบกับพากย์จีนอีก 3 สำนวน <span class="Apple-converted-space">&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;</span></p><p class="p1">บทความฉบับนี้เป็นคำแปลและเชิงอรรถวิเคราะห์ต่อจากตอนที่แล้ว โดยยังเป็นหัวข้อธรรมของกิ่งนิกายมหาสางฆิกะ มีรายละเอียดดังนี้ <br>2.1.1.4 หัวข้อธรรมอื่นของนิกาย มหาสางฆิกะ เอกวฺยาวหาริกะ โลโกตตรวาทิน และกุกกุฎิกะ</p><p class="p1">2.1.2 หลักธรรมของนิกายพหุศรุตียะ<br><span class="Apple-converted-space">&nbsp; </span>2.1.3 หลักธรรมของนิกายปรัชญัปติวาท</p><p class="p1">นอกจากนั้นได้เพิ่มเติมหลักธรรมของนิกายปูรฺวไศละ นิกายอปรไศละ ซึ่งไม่มีในต้นฉบับสำนวนทิเบต แต่มีในสำนวนแปลจีนทุกสำนวน โดยดึงข้อมูลส่วนดังกล่าวมาจากคัมภีร์อรรถาธิบายของพระวินีตเทวะในพากย์ทิเบต และได้แนบต้นฉบับปฐมภูมิสำนวนทิเบตเทียบเคียงกับสำนวนแปลจีนทุกสำนวนในภาคผนวก พร้อมทั้งชำระคัมภีร์ทุกพากย์ โดยแบ่งหัวข้อตามคำแปลไทย เพื่อให้สอบทานได้สะดวกยิ่งขึ้น</p> ER -