TY - JOUR AU - มั่งมีสุขศิริ, สมบัติ PY - 2018/06/23 Y2 - 2024/03/29 TI - ภาษา ภาษาธรรม ของพระนาคารชุนในคัมภีร์ "มูลมัธยมกการิกา" JF - ธรรมธารา JA - DhammaJ. of buddh. Stud. VL - 2 IS - 1 SE - บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/160732 SP - 35-65 AB - <p>พระนาคารชุน เป็นนักปรัชญาคนสำคัญของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คัมภีร์ชิ้นเอกที่เป็นผลงานของท่านที่นิยมศึกษากันมากที่สุดในหมู่นักปราชญ์ด้านพุทธศาสนามหายาน ก็คือ “คัมภีร์มูลมัธยมกการิกา” ในคัมภีร์ ท่านนาคารชุนได้อธิบายแนวคิดทางปรัชญาฝ่ายมหายานไว้อย่างลึกซึ ้งซึ่งชาวบ้านสามัญชนคนธรรมดาเข้าใจได้ยาก โดยเฉพาะคำสอนเรื่อง ศูนยตา (ภาษาบาลี คือ สุญญตา) และปฏิจจสมุปบาท (ภาษาสันสกฤต คือ ประตีตยะสะมุตปาทะ) เมื่อพิจารณาจากรูปแบบการประพันธ์และวัตถุประสงค์ของคัมภีร์ จะพบว่าคัมภีร์มูลมัธยมกการิกานี้ มุ่งให้เป็นคู่มือสำหรับพระสงฆ์เพื่อการโต้วาทีกับสำนักปรัชญาอื่นทั้งที่เป็นพุทธและฮินดู เน้นที่แนวภาษาธรรม คือ เน้นความลึกซึ่ง ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจทางพุทธศาสนาที่ลึกซึ้ง หลากหลาย แต่หากพิจารณาให้ลึกถึงเป้าหมายที่แท้จริงของพระนาคารชุน จะพบว่าท่านต้องการให้ละทิฐิหรือทฤษฏีทั้งหมดที่เป็นแนวการสอนแบบภาษาธรรม แล้วกลับไปสู่แนวทางภาษาคนคือ การกลับไปสู่แนวทางการปฏิบัติคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้าซึ่งทรงสอนตามการพิจารณาบุคคล สถานที่ สถานการณ์ซึ่งมีเป้าหมายคือ คนส่วนใหญ่หรือชาวบ้านทั่วไปเป็นหลัก บทความนี้มุ่งวิเคราะห์คัมภีร์มูลมัธยมกการิกาของพระนาคารชุนตามกรอบแนวคิดเรื่อง ภาษาคน ภาษาธรรม ที่พุทธทาสภิกขุเป็นผู้เริ่มใช้และทำให้แพร่หลายในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อหามุมมองใหม่ โดยอาศัยกรอบความคิด ทฤษฎี หลากหลายจากนักปราชญ์ นักวิชาการผู้รู้ด้านพุทธศาสนา โดยจะเน้นที่นักปราชญ์ชาวไทยเป็นหลัก เพื่อให้ทราบมุมมองและแนวคิดที่จะเป็นประโยชน์และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตตามแนววิถีพุทธสำหรับคนไทยในปัจจุบัน<br> </p> ER -