TY - JOUR AU - แหลมม่วง, ชาคริต PY - 2019/10/10 Y2 - 2024/03/28 TI - คาถาชาดกพากย์จีนที่มีความสอดคล้องกับชาดกบาลี: ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ: Their Correspondence with Stanzas in the Jātakapāli JF - ธรรมธารา JA - DhammaJ. of buddh. Stud. VL - 5 IS - 2 SE - บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/192213 SP - 101-172 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสำรวจ แปล รวมทั้งศึกษาคาถาชาดกที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาทั้งในพระไตรปิฎกบาลีและคัมภีร์หินยานพากย์จีน โดยกำหนดขอบเขตเฉพาะคาถาที่สอดคล้องกัน ซึ่งใช้ประกอบในชาดกเรื่องเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน<br><br>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ในบทความนี้ ได้นำเสนอความสอดคล้องกันของชาดกบาลี 37 คาถากับคาถาชาดกพากย์จีน 58 คาถา คาถาพากย์จีนนี้มีปรากฏในพระวินัยของนิกาย(มูล)สรวาสติวาท มหาสังฆิกะ มหิศาสกะ ธรรมคุปต์ และในพระสูตร คือ ทีรฆาคม มัธยมาคม สังยุกตาคม เอโกตตราคม ธรรมบทอวทาน อุทานวรรค ชาตกะ พุทธจริตสังคหะ นับเป็นคาถาที่มีข้อมูลสนับสนุนว่ามีปรากฏอย่างช้าสุดในยุคแตกนิกาย(หินยาน) และได้รับสืบทอดต่อกันมาอย่างแพร่หลายใน 2 นิกายขึ้นไป <br><br>&nbsp; &nbsp; &nbsp;จากการศึกษาคาถาที่สอดคล้องกัน พบประเด็นเพิ่มเติม คือ (1) ชาดกบาลี 2 คาถาเอื้อประโยชน์ต่อการสืบค้นความหมายคำแปล<br>ทับศัพท์ 2 คำในพากย์จีน (2) คาถาพากย์จีน 2 คาถา สามารถใช้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการตรวจชำระชาดกบาลี 2 คาถา ซึ่งมีจุดที่ต่างกันอยู่ในฉบับต่างๆ ได้ (3) คาถาสันสกฤตบางคาถามีความสอดคล้องกับคาถาพากย์จีน แต่มีใช้บางคำแตกต่างจากในคาถาบาลี อย่างไรก็ตามความหมายของคำทั้งสองนั้นยังคงมีความใกล้เคียงหรือเกี่ยวเนื่องกันอย่างมาก (4) คาถาสันสกฤตที่มีความสอดคล้องกับคาถาพากย์จีน บางคาถามีความหมายเหมือนกับคาถาบาลี แต่บางคำในพากย์จีนนั้นอาจจะแปลโดยใจความ (มิได้แปลตรงตัวตามอักษร) หรือใช้ต้นฉบับที่ค่อนข้างแตกต่างจากฉบับสันสกฤตที่มีอยู่ในปัจจุบัน</p> ER -