TY - JOUR AU - Teerapaopong, Wutthichai Wutthichayo PY - 2020/03/26 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการพัฒนาจิตของกรรมฐาน 5 สายในสังคมไทย JF - ธรรมธารา JA - DhammaJ. of buddh. Stud. VL - 6 IS - 1 SE - บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/235805 SP - 3-50 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาจิตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษารูปแบบการพัฒนาจิตของกรรมฐาน 5 สายในสังคมไทย และ 3) เปรียบเทียบรูปแบบการพัฒนาจิตของกรรมฐาน 5 สายในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงเอกสารจากพระไตรปิฎก คัมภีร์วิสุทธิมรรค และหนังสือด้านการปฏิบัติของ 5 สาย ผลการวิจัยพบว่า <br>ในพระไตรปิฎกมีการอธิบายหลักการพัฒนาจิตในรูปของกระบวนการที่เป็นไปตามระบบศีล สมาธิ ปัญญา มีวิธีการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอนปรากฏอยู่ในอานาปานสติสูตร และสติปัฏฐานสูตร เป็นการปฏิบัติแบบวิถีนักบวช นอกจากนี้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคปรากฏการอธิบายขั้นตอนในการปฏิบัติตามระบบศีล สมาธิ ปัญญา มีวิธีการเจริญสมาธิด้วยกรรมฐาน 40 วิธี ต่อด้วยการเจริญวิปัสสนาตามหลักญาณ 16 ซึ่งเป็นการปฏิบัติแบบเข้มตามแบบแผน การปฏิบัติในพระไตรปิฎกและวิสุทธิมรรคต่างก็มีเป้าหมายเพื่อการบรรลุมรรค ผล และนิพพาน<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จากการศึกษารูปแบบการพัฒนาจิตของกรรมฐาน 5 สายในสังคมไทย พบว่า 1) สายพุทโธ ใช้วิธีการภาวนาในระดับสมถะและพิจารณาธาตุขันธ์ในระดับวิปัสสนา เป็นการปฏิบัติแบบเข้ม 2) สายอานาปานสติใช้หลักอานาปานสติ 16 ขั้น เป็นการปฏิบัติแบบพื้นฐานและแบบเข้ม 3) สายพองหนอ-ยุบหนอ ใช้หลักสติปัฏฐาน เน้นดูอาการพองยุบของท้อง เป็นการปฏิบัติแบบเข้มอย่างมีแบบแผน 4) สายรูปนาม ใช้หลักสติปัฏฐานเน้นอิริยาบถ 4 เป็นการปฏิบัติแบบเข้ม และ 5) สายสัมมาอะระหัง ใช้นิมิตและคำภาวนา เป็นการปฏิบัติแบบทั่วไปและแบบเข้ม<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;รูปแบบการพัฒนาจิตของกรรมฐานทั้ง 5 สายต่างมีต้นกำเนิดในพุทธศตวรรษที่ 25 มีรูปแบบการปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักปฏิบัติในคัมภีร์ และมุ่งเป้าหมายไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพานเช่นเดียวกัน โดยมีความแตกต่างกันเพียงเทคนิควิธีการปฏิบัติ ข้อวัตร วิธีการสอน และวิธีการวัดผล บางประการเท่านั้น</p> ER -