TY - JOUR AU - แหลมม่วง, ชาคริต PY - 2021/01/27 Y2 - 2024/03/29 TI - เอรกปัตตนาคราช (2): ศึกษาคาถาที่สอดคล้องกันในคัมภีร์ต่างฉบับ และวิเคราะห์ภาพสลักหินที่ภารหุต JF - ธรรมธารา JA - DhammaJ. of buddh. Stud. VL - 7 IS - 1 SE - บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/244280 SP - 3-63 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;บทความนี้มีเนื้อหาต่อเนื่องจากภาคที่แล้ว ในภาคนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ประการแรกคือ แปลคาถาที่สอดคล้องกันในเรื่องเอรกปัตตนาคราชจาก 6 คัมภีร์คือ (1) อรรถกถาธรรมบทของเถรวาท (2) มหาวัสตุของโลโกตตรวาท (3) พระวินัยมหิศาสกะ (4) พระวินัยธรรมคุปต์ (5) พระวินัยมูลสรวาสติวาท กษุทรกวัสตุ (6) พุทธจริตสังครหะ (อภินิษกรมณสูตร) ประการต่อมาคือ ศึกษาเปรียบเทียบบางประเด็นในคาถาบาลีกับฉบับอื่นๆ ประการที่สาม ได้แก่ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาในคัมภีร์กับภาพสลักหินที่สถูปภารหุต ประการสุดท้ายคือ พิจารณาความเชื่อมโยงระหว่าง “อุตตรมาณพ” ในเนื้อเรื่องจากอรรถกถาธรรมบทกับ “นาลกมาณพ” ในเนื้อเรื่องจากอีก 5 คัมภีร์ <br>&nbsp; &nbsp; &nbsp;จากการศึกษาพบว่า เนื้อหาของแต่ละคัมภีร์มีคาถาที่สอดคล้องกัน คือ คาถาถามตอบปริศนาจำนวน 4-5 บท โครงสร้างเนื้อหาโดยรวมของคาถาจากอรรถกถาธรรมบทค่อนข้างใกล้เคียงกับคาถาในมหาวัสตุมากกว่าคัมภีร์อื่น ทั้งยังมีคำหนึ่งของคาถาในอรรถกถาธรรมบทปรากฏเป็นคำอ่านที่หลากหลายในฉบับตีพิมพ์และใบลานสายต่าง ๆ แต่ก็มีคำอ่านหนึ่งในจำนวนนั้นที่ถือได้ว่าสัมพันธ์ใกล้ชิดกับในมหาวัสตุมากกว่าคำอ่านอื่น สำหรับภาพสลักหินเรื่องนี้ที่ภารหุต มีรายละเอียดบนภาพหลายส่วนสอดคล้องสัมพันธ์กับเนื้อหาในคัมภีร์พุทธจริตสังครหะและอรรถกถาธรรมบท จากการศึกษาภาพสลักหินซึ่งเป็นหลักฐานทางโบราณคดียังสนับสนุนว่า เนื้อเรื่องนี้มีปรากฏอย่างช้าสุดตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 3 นอกจากนี้ ยังมีโอกาสเป็นไปได้ในระดับหนึ่งที่อุตตรมาณพในคัมภีร์เถรวาทจะเป็นบุคคลเดียวกันกับนาลกมาณพในคัมภีร์ฉบับอื่น</p> ER -