TY - JOUR AU - ศรีเศรษฐวรกุล, สุชาดา PY - 2021/01/27 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษาเปรียบเทียบพระไตรปิฎก ใบลานอักษรขอมคัมภีร์มัชฌิมนิกาย ที่พบในประเทศไทยและกัมพูชา JF - ธรรมธารา JA - DhammaJ. of buddh. Stud. VL - 7 IS - 1 SE - บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/244764 SP - 65-99 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานบาลี มีการจารึกสืบทอดกันมาเป็น 4 สายจารีตใหญ่ คือ สายอักษรสิงหล (ในศรีลังกา) สายอักษรพม่า สายอักษรขอม (ในไทยและกัมพูชา) และสายอักษรธรรม (ในล้านนา ล้านช้างและภาคอีสานของไทย) คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานบาลีในไทย ตั้งแต่โบราณจารึกด้วยอักษรขอมเป็นหลัก เนื่องจากถือกันว่าเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่จะศึกษาคัมภีร์พระไตรปิฎกรวมถึงอรรถกถาฎีกาจึงต้องศึกษาอักษรขอมก่อน จึงเกิดเป็นประเด็นปัญหาขึ้นว่า คัมภีร์ใบลานบาลีอักษรขอมที่พบในประเทศไทยและที่พบในประเทศกัมพูชาสืบมาจากสายเดียวกันหรือแยกสายกันมาเพียงแต่ใช้ตัวอักษรเหมือนกัน และในการสร้างพระไตรปิฎกฉบับวิชาการที่เนื้อหามีความถูกต้องสมบูรณ์ โดยการตรวจชำระด้วยการเปรียบเทียบเนื้อหาจากคัมภีร์ใบลานบาลีทั้ง 4 สายจารีตนั้น ฐานข้อมูลคัมภีร์สายจารีตอักษรขอมจำเป็นต้องใช้คัมภีร์ใบลานจากประเทศกัมพูชาด้วยหรือไม่ หรือใช้คัมภีร์ใบลานอักษรขอมจากประเทศไทยก็เพียงพอ<br>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ดังนั้น บทความวิจัยนี้ จึงได้ศึกษาวิจัยเนื้อหาคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เริ่มตั้งแต่ช่วงท้ายของมหาสีหนาทสูตรจนถึงช่วงท้ายของอนุมานสูตร โดยใช้คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมที่พบในประเทศไทยจากวัดพนัญเชิงและหอสมุดแห่งชาติ จำนวนรวม 5 ฉบับ เปรียบเทียบคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมจากวัดสาลาวอน กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาจำนวน 1 ฉบับ เพื่อสืบหาร่องรอยการสืบทอดของคัมภีร์จากทั้งสองประเทศ <br>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า คัมภีร์ใบลานที่นำมาศึกษาเปรียบเทียบจากประเทศไทยและประเทศกัมพูชานั้น มีร่องรอยการสืบทอดที่ใกล้เคียงกันและแม้ว่าจะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่ความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ ซึ่งผลการศึกษานี้สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้ทำการศึกษาวิจัยจากเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จึงอาจสรุปได้ว่า คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานบาลีของทั้งสองประเทศมีอิทธิพลต่อกันมาอย่างยาวนาน และมีความเป็นไปได้มากว่ามาจากสายสืบทอดเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ดังนั้นการใช้คัมภีร์ใบลานอักษรขอมจากประเทศไทยเป็นหลัก ก็นับว่าเพียงพอแล้วสำหรับการตรวจชำระและจัดสร้างพระไตรปิฎกฉบับวิชาการ</p> ER -