ธรรมธารา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><br /> เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเป็นแหล่งข้อมูลในการเผยแพร่ผลงานวิจัยและบทความวิชาการให้กับคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และผู้สนใจ รวมทั้งเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ที่หลากหลาย ช่วยยกระดับผลงานวิชาการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ทั้งนี้วารสารเปิดรับบทความด้านพระพุทธศาสนา ศาสนาและปรัชญา วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ พุทธบริหารการศึกษา การวิจัยนวัตกรรมเชิงพุทธ รวมทั้งสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านมนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์เชิงพุทธ<br /><br /><strong>ประเภทบทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ <br /></strong>ประกอบไปด้วย <br />(1) บทความวิจัย (2) บทความวิชาการ (3) การแปลบทความภาษาต่างประเทศ และ (4) บทความพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญ<br /> บทความจากผู้เขียนทั้งภายในและภายนอก จะได้รับการตรวจและประเมินในแบบ Double Blinded<br /><br /><strong>วารสารธรรมธารา ตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ<br /></strong>ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน <br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม</p> <p><strong>คำแนะนำสำหรับผู้เขียน </strong><a href="https://www.dhammadhara.org/wp-content/uploads/2019/02/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2.pdf"><br /></a>หลักเกณฑ์การอ้างอิงของวารสารธรรมธารา <a href="https://drive.google.com/file/d/1_yYcg3-2nJoYOFQRLJTQ6tUAvm6y7AeO/view?usp=sharing">คลิกเพื่ออ่าน</a><br />ตัวอย่างแบบฟอร์มการจัดหน้าบทความ [<a href="https://docs.google.com/file/d/1ijCebBaJ872x9UTYq1Kfg8weWH5N_BAE/view">.word</a>] [<a href="https://drive.google.com/file/d/1ew8WI06jszY8upUG1YsyNe0-U8qBN3D5/view">.pdf</a>]<br />ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม [<a href="https://docs.google.com/file/d/119hFkOZHUzJJLyQuu7OtpEbmsDvyCIhv/view">download</a>]</p> <p><strong>ISSN 2408-1892 (Print) <br /></strong><strong>ISSN 2651-2262 (Online)</strong></p> สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย th-TH ธรรมธารา 2408-1892 <p>ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย</p> มหาไวปุลย พุทธาวตังสกสูตร สุวรรณสิงห์ปริเฉท: บทแปลพากย์ไทยเชิงปรัชญา และกรอบใหม่ในการเข้าใจอวตังสกะ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/270832 <p>บทความนี้ (รวมถึงภาคถัด ๆ ไป) มีวัตถุประสงค์ คือ (1) แปล มหาไวปุลย พุทธาวตังสกสูตร สุวรรณสิงห์ปริเฉท (大方廣佛華嚴經金師子章) จากต้นฉบับภาษาจีนโบราณออกมาเป็นภาษาไทย ผ่านการแปลโดยอรรถที่ให้ความสำคัญต่อ 3 ด้านของความหมาย (sense) ได้แก่ (ก) เนื้อหา (content) (ข) ลีลา (style) และ (ค) ผลกระทบ (effect) ผสานกับการแปลโดยพยัญชนะซึ่งใช้วิธีการ “สับรหัส” (code-switching) ระหว่างภาษา (2) ทำอรรถาธิบายต่อต้นฉบับที่ได้ชื่อว่า “อ่านยาก” อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในเชิงลึกต่อไป รวมทั้งพิจารณาปัญหาอันเกิดจากการแปล และทางออกที่ผู้แปลเลือกใช้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า “การแปลคือการตัดสินใจ” (3) วิเคราะห์แนวคิดทางปรัชญาใน มหาไวปุลย พุทธาวตังสกสูตร สุวรรณสิงห์ปริเฉท โดยจัดวางปริเฉทดังกล่าวเข้าไปในบริบทของ อวตังสกสูตร ศาสตรา และภาษยะต่าง ๆ ของสำนักอวตังสกะ (4) วิพากษ์ความเข้าใจแบบเหมารวมที่มีต่อ “ศูนยตา” ของอวตังสกะในวงปัญญาชนเถรวาทของประเทศไทย<br /><br />บทแปลเชิงปรัชญาดังกล่าวจะไขปริศนาที่ว่า เหตุใดในสายตาของชาวอวตังสกะจึงเห็นว่า สาวกยานเป็นยานที่ไม่บรรลุ “ศูนยตา” อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ผู้วิจัยเสนอว่า (ก) เราไม่ควรใช้ “อนัตตลักขณะ” (แห่งเบญจขันธ์) ซึ่งเป็นแนวคิด และคำของเถรวาทไปเข้าใจอวตังสกะ เพราะอวตังสกะเข้าถึง “อสภาว/อสวภาวธรรม” (無自性法) ด้วย “ธาตุ” (性) เรียกว่า “ธาตุสมุปบาท” (性起) ใน “เอกธรรมธาตุ” (唯一法界) ในอาการของ “รูปและสาระเป็นอนันตรายะ/แทรกซึมเป็นหนึ่งเดียว” (事理無礙) และ “(ระหว่าง) รูปและรูปเป็นอนันตรายะ/แทรกซึมเป็นหนึ่งเดียว” (事事無礙) (ข) เราไม่ควรทึกทักว่า “อลักษณะธรรม” (無相法) ของนาคารชุนกับอวตังสกะเหมือนกันโดยหลักการ เพราะ “สมุปบาท” (起) ในแบบของนาคารชุนเป็น “โลกธาตุ” ในแนวราบผ่าน “ปัจจยาการ” และไม่เท่ากับ “ปรินิษปันนะ สวภาวะ” ที่ผสานทั้ง “โลกธาตุ” ในแนวดิ่ง (รูปและสาระ) และแนวราบ (ระหว่างรูปและรูป) ผ่าน “ตถาคตปริชาน/ฌาน” (如來智慧) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ภูตตถตา/พุทธตถตา/ตถตา/ตถาคตครรภ์ปฏิจจ-สมุปบาท” (真如/如來藏緣起) และ (ค) ด้วยวิภาษวิธีที่แปลกไปจากปกติ เราควรใช้คำเชิงยืนยันของอวตังสกะเพื่อเข้าใจอวตังสกะ</p> นิพนธ์ ศศิภานุเดช Copyright (c) 2024 ธรรมธารา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-07-31 2024-07-31 10 2 154 193 อิทธิพลอักษรขอมไทยและอักษรไทย ในเอกสารใบลานวัดหนองหลัก จังหวัดอุบลราชธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/273058 <p>บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง การศึกษาอักขรวิทยาและเนื้อหาคำบันทึกของผู้จารในเอกสารใบลานวัดหนองหลัก ตำบลเหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยคณะวิจัยได้ปริวรรตบันทึกท้ายคัมภีร์ จำนวน 59 มัด ซึ่งจารด้วยอักษรธรรมอีสาน 52 มัด และจารด้วยอักษรขอมไทย 7 มัด โดยเลือกนำเสนอประเด็นรูปแบบใบลานอักษรขอมไทยและอักษรไทยที่ส่งอิทธิพลต่อรูปแบบการเขียนใบลานวัดหนองหลัก และประเด็นอักขรวิทยาอักษรขอมไทย อักษรไทย ที่มีอิทธิพลต่ออักขรวิทยาอักษรถิ่นในเอกสารใบลานวัดหนองหลัก</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า อักษรขอมไทยและอักษรไทยส่งอิทธิพลต่อรูปแบบการสร้างใบลานของวัดหนองหลัก โดยพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเขียนใบลานแบบอักษรขอมไทย คือ การเขียนสารบัญที่ปกหน้า การบอกเลขหน้า (Angka) การเขียนศักราชโดยใช้พุทธศักราช และปีนักษัตร</p> <p>ด้านตัวอักษร พบว่า มีสัณฐานของอักษรที่ได้รับอิทธิพลการเขียนจากอักษรไทย คือ พยัญชนะ อ และอิทธิพลการเขียนจากขอมไทย คือ พยัญชนะ ง ส่วนสระที่การเพิ่มองค์ประกอบเข้ามา คือ สระเอีย และมีการใช้ตัวเลขจากอักษรขอมไทยและอักษรไทย</p> <p>ด้านอักขรวิธี พบว่า มีการใช้อักษรขอมไทยและอักษรไทยปะปนในระบบการเขียนอักษรท้องถิ่น และพบว่ามีการใช้อักขรวิธีอักษรขอมไทยปะปนในระบบการเขียนอักษรธรรมอีสาน คือ กรณีสระออ กรณีที่มีสะกด และสระอัว</p> บุญชู ภูศรี ณัชวินนท์ แสงศรีจันทน์ นงลักษณ์ สูงสุมาลย์ Copyright (c) 2024 ธรรมธารา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-07-31 2024-07-31 10 2 2 38 จาตุรงคสันนิบาต (2): วิเคราะห์เหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/272872 <p>เหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตต้นเรื่องมาจากคัมภีร์อรรถกถามัชฌิมนิกาย ทีฆนขสูตร มีข้อมูลในลักษณะเดียวกันในคัมภีร์อรรถกถาทีฆนิกาย มหาปทานสูตร และสามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์กลับไปยังคัมภีร์ชั้นพระไตรปิฎก คือ คัมภีร์ทีฆนิกาย มหาปทานสูตร ซึ่งสามารถใช้อนุมานเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตได้</p> <p>บทความวิจัยฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตให้เห็นถึงที่มาที่ไปของเหตุการณ์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ผ่านการวิจัยเชิงเอกสาร (Document Research) โดยจะศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์จากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท รวมถึงข้อมูลพระสูตรอื่น ๆ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และข้อมูลเชิงวัฒนธรรม เพื่อพิสูจน์ว่า เหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของวันมาฆบูชาเกิดขึ้นจริงในครั้งพุทธกาล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) มีความเป็นไปได้สูงที่เหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตจะเกิดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ คือ พระจันทร์เต็มดวง ศาสนิกของแต่ละศาสนาตั้งแต่ก่อนพระพุทธศาสนากำเนิดขึ้นจะมารวมตัวกันเพื่อประกอบพิธีกรรม ส่วนมาฆนักษัตรหรือเดือน 3 แม้หลักฐานจากคัมภีร์จะไม่ชัดเจน แต่ก็สามารถใช้คำสำคัญด้านสภาพอากาศ คือ ฤดูหนาว หิมะตก ฝนตกนอกฤดูกาล จากเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่กับชฎิล 3 พี่น้องมาประกอบการสันนิษฐานได้ ซึ่งช่วงเวลานี้อาจอยู่ราวเดือน 12 ถึงเดือนอ้าย (เดือน 1) ตามระบบจันทรคติ จึงทำให้มีเวลามากพอสำหรับการเสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ พบอัครสาวกและบริวาร 250 รูป และไปบรรจบที่เหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตในเดือน 3 ได้พอดี (2) พระภิกษุที่มาประชุมในครั้งนี้ไม่มีใครนัดหมายกันมาเพราะเป็นการประชุมธรรมดาของตน สอดคล้องกับธรรมเนียมทางศาสนาที่เหล่านักบวชทุกศาสนาจะใช้สัญญะแห่งพระจันทร์ในการรวมตัวกันในทุกวันขึ้น 15 ค่ำ และที่ไม่มีการนัดหมายก็เนื่องด้วยเป็นความรับผิดชอบของพระภิกษุต้องปฏิบัติธรรมเนียมการรวมตัวเพื่อปฏิบัติศาสนกิจของศาสนานั้น ๆ (3) พระภิกษุที่มาประชุมเป็นพระอรหันต์อภิญญา 6 แม้ในมหาปทานสูตรจะระบุว่าเป็นเพียงพระอรหันต์ขีณาสพ แต่คุณสมบัติเป็นผู้ได้วิโมกข์ 8 เข้าฌานสมาบัติได้ จึงทำให้สามารถน้อมใจไปสู่อภิญญาได้ และยังสอดคล้องกับการฝึกมาตรฐานของพระภิกษุในสามัญญผลสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ให้กับกุลบุตรที่จะต้องได้วิชชา 8 ซึ่งหนึ่งในนั้นมีคุณสมบัติของอภิญญา 6 รวมอยู่ด้วย (4) การอุปสมบทของพระภิกษุจำนวน 1,250 รูป คือ ฝ่ายอดีตชฎิลจำนวน 1,000 รูป และฝ่ายพระอัครสาวกพร้อมบริวาร 250 รูป ในคัมภีร์ระบุว่า ทั้งหมดนี้ล้วนได้รับการอุปสมบทแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา</p> วิไลพร สุจริตธรรมกุล บารมี อริยะเลิศเมตตา พงษ์ศิริ ยอดสา Copyright (c) 2024 ธรรมธารา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-07-31 2024-07-31 10 2 40 77 การสืบทอดพระไตรปิฎกใบลานอักษรธรรม คัมภีร์พระวินัยปิฎก ปาราชิกกัณฑ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/274440 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอข้อมูลร่องรอยการสืบทอดพระพุทธศาสนาและคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอักษรธรรมในอาณาจักรล้านนาและล้านช้าง โดยการศึกษาภาพรวมของพระไตรปิฎกใบลานอักษรธรรม คัมภีร์พระวินัยปิฎก ปาราชิกกัณฑ์ ที่สำรวจและถ่ายภาพโดยโครงการพระไตรปิฎกฉบับวิชาการ จำนวน 79 มัด แล้วคัดเลือกคัมภีร์ใบลานที่มีเนื้อหาค่อนข้างสมบูรณ์ จำนวน 29 มัด เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเนื้อความในข้อความขึ้นต้นของเนื้อหาแต่ละบท ข้อความขึ้นต้นและข้อความลงท้ายคัมภีร์ใบลานแต่ละมัด ตลอดจนข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลจากบันทึกท้ายคัมภีร์ใบลาน จำนวนผูก เพื่อจัดสายการสืบทอดคัมภีร์ใบลานทั้ง 29 มัด</p> <p>จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าชุดคัมภีร์ใบลานมีเนื้อหาในข้อความขึ้นต้นของเนื้อหาแต่ละบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อความขึ้นต้นและข้อความลงท้ายคัมภีร์ใบลานที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน และสามารถจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มเมืองจำปาสัก กลุ่มเมืองเชียงใหม่ (สายเมืองเชียงใหม่ A) และกลุ่มหัวเมืองฝ่ายเหนือ (สายเมืองแพร่ สายเมืองลำพูน และสายเมืองเชียงใหม่ B) ทำให้เห็นร่องรอยการสืบทอดพระพุทธศาสนาและคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอักษรธรรมในอาณาจักรล้านนาและล้านช้างได้ชัดเจนยิ่งขึ้น</p> สุชาดา ศรีเศรษฐวรกุล Copyright (c) 2024 ธรรมธารา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-07-31 2024-07-31 10 2 78 123 เสียง: เครื่องมือสู่สติและสมาธิ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/272768 <p>สติและสมาธิ คือ หนึ่งในเป้าหมายในการปฏิบัติธรรมที่ชาวพุทธคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยส่วนใหญ่จะนำกรรมฐาน 40 จากคัมภีร์วิสุทธิมรรคมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ รวมถึงมีการนำมาอธิบายกันอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี ผู้วิจัยสังเกตว่า คำสอนเรื่องการปฏิบัติต่าง ๆ กลับไม่ค่อยพบเห็นการนำเสียงมาใช้เป็นแนวทางมากนัก แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สามารถพบเห็นการใช้เสียงได้เสมอ เช่น การสวดมนต์ ผู้สวดจะต้องกล่าวคำสวดมนต์ไม่ว่าจะกล่าวออกเสียงหรือกล่าวในใจ การบริกรรมภาวนา ผู้เจริญภาวนาอาจมีการบริกรรมโดยนึกคำหนึ่ง ๆ ไว้ในใจ การกระทำเหล่านี้ย่อมใช้เสียงเป็นตัวชักจูงเหนี่ยวนำทั้งสิ้น ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาว่า เสียงสามารถเป็นเครื่องมือนำไปสู่สติและสมาธิได้หรือไม่ และถ้าสามารถสำเร็จผลเป็นสมาธิได้ จะได้ผลถึงฌานขั้นใด ผลการวิจัยพบว่า คำตอบนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของเสียงที่ผู้ปฏิบัตินำมาใช้ โดยเสียงที่ไม่ดี หรือที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็นเสียงที่ไม่พึงเสพ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความสงบ จึงไม่สามารถทำให้เกิดสติหรือสมาธิได้ แต่หากเป็นเสียงที่ดีหรือเสียงที่พึงเสพแล้ว ย่อมทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดสติหรือสมาธิได้ โดยฌานขั้นสูงสุดที่สามารถทำได้นั้น หากวิเคราะห์ด้วยมุมมองขององค์ฌาน ผู้ปฏิบัติอาจได้ระดับสติหรือสมาธิขั้นปฐมฌาน แต่หากวิเคราะห์ด้วยมุมมองของนิมิต ผู้ปฏิบัติจะได้เพียงสติเท่านั้น ไม่ถึงสมาธิขั้นปฐมฌาน</p> ศุภร บุญญลาภา วิไลพร สุจริตธรรมกุล Copyright (c) 2024 ธรรมธารา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0 2024-07-31 2024-07-31 10 2 124 152