วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ ISSN 3057-0719 (Online) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca <p><strong>นโยบายการพิมพ์ </strong></p> <p>วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่บทความวิชาการ และบทความวิจัยที่มีคุณภาพสูงในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Communications) และสื่อศึกษา (Media Studies) ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต สื่อดิจิทัล สื่อสังคม สื่อใหม่ ตลอดจนองค์ความรู้และข้อถกเถียงในประเด็นการสื่อสารการตลาด การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ นวัตกรรมสื่อ และการสื่อสารของมนุษย์ทุกรูปแบบ โดยมีกำหนดตีพิมพ์จำนวน 2 ฉบับต่อปี ได้แก่ ฉบับมกราคม-มิถุนายน (เผยแพร่ในเดือนมิถุนายน) และ ฉบับกรกฎาคม – ธันวาคม (เผยแพร่ในเดือนธันวาคม)</p> <p> </p> <p><strong>วัตถุประสงค์การพิมพ์</strong></p> <p>1. เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ผลงานทางด้านวิชาการของอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์</p> <p>2. เพื่อเป็นสื่อกลางในการนำเสนอนวัตกรรม และความเคลื่อนไหวทางด้านวิชาชีพของผู้เกี่ยวข้องในสายงานนิเทศศาสตร์</p> <p>3. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับบุคคลทั่วไป และผู้สนใจองค์ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์</p> <p>4. เพื่อเป็นการแสดงศักยภาพทางวิชาการของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์</p> Faculty of Communication Arts, Dhurakij Pundit University th-TH วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ ISSN 3057-0719 (Online) 3057-0719 <p>ลิขสิทธิ์เป็นของวารสาร....</p> พลังแห่งการสื่อสารของดิจิทัลเนทีฟและเกมแคสเตอร์ กับตัวตนดิจิทัล ภายใต้วิถีแห่งพลเมืองเน็ต https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/273360 <div><span lang="TH">เกมแคสเตอร์ คือ หนึ่งในกลุ่มดิจิทัลเนทีฟที่ใช้</span><span lang="TH">ทักษะ วาจา บุคลิก ภาษา </span><span lang="TH">และความชอบส่วนตัวในเรื่องของเกม</span><span lang="TH">เป็นตัวช่วยทำให้ผู้ชมสนใจ </span></div> <div><span lang="TH">โดยมีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือเพื่อถ่ายทอดสดไปยังผู้ชมได้ ณ ขณะนั้นได้&nbsp; </span><span lang="TH">นำไปสู่การเป็นอาชีพ โดยมีผู้รับสารซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหรือเป็นหนึ่งในกลุ่มดิจิทัลเนทีฟให้การสนับสนุน </span><span lang="TH">เกมแคสเตอร์เป็นผู้ทรงอิทธิพลต่อความคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรมของผู้รับสาร แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความคล่องในดิจิทัล เพื่อนำเสนอสารที่ให้มีความตื่นเต้น เร้าใจ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ และความพร้อมที่จะส่งสารและรับปฏิกิริยาตอบกลับจากกลุ่มผู้รับสาร ก่อให้เกิดพฤติกรรมทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและระดับกลุ่มภายใต้วิถีแห่งพลเมืองเน็ต และส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบสำหรับตัวตนดิจิทัลด้วยเช่นกัน</span></div> ปัญญรัตน์ วันทอง ปิยณัท วงศ์ยอด Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ ISSN xxxx-xxxx (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-06 2024-12-06 18 2 195 228 วิวัฒน์ การสื่อสารต่อสู้และต่อรองการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในสังคมไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/271863 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิวัฒน์ การสื่อสารต่อสู้และต่อรองการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในสังคมไทย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ บุคคลที่เป็นปัจจัยภายในการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในสังคมไทยหรือกลุ่มผู้ผลิต และกลุ่มบุคคลที่เป็นปัจจัยภายนอกการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในสังคมไทยหรือกลุ่มผู้ชม โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และแบบบอกต่อปากต่อปากจำนวน 24 คน ผลการวิจัยพบว่า การผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในสังคมไทยผ่านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้เกิดพัฒนาการของการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในสังคมไทย 5 ยุคสมัย ได้แก่ ยุคที่ 1 ยุคเริ่มต้นการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ ยุคที่ 2 ยุคการเติบโตการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ ยุคที่ 3 ยุคการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์รูปแบบการปลอมตัว ยุคที่ 4 ยุคการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์รูปแบบภาคต่อ และยุคที่ 5 ยุคการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ของต่างประเทศ ค้นพบรูปแบบใหม่ของการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในสังคมไทย คือ รูปแบบการผลิตซ้ำโครงเรื่องที่คล้ายคลึง นอกจากนี้การสื่อสารต่อสู้และต่อรองการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในสังคมไทยระหว่างสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิต มีการสื่อสารต่อสู้และต่อรอง ได้แก่ ทัศนคติของผู้ผลิต การเล่าเรื่อง และยุทธวิธีการสื่อสารการตลาด ส่วนกลุ่มผู้ชม ได้แก่ ความรู้ การยอมรับ และพฤติกรรมการรับชม โดยการสื่อสารต่อสู้และต่อรองทำให้เกิดพื้นที่วิวัฒน์ การสื่อสารต่อสู้และต่อรองการผลิตซ้ำละครโทรทัศน์ในสังคมไทย ได้แก่&nbsp; พื้นที่ทางด้านความคิดและความรู้สึก พื้นที่ทางด้านสังคม และพื้นที่ทางด้านธุรกิจ</p> เพิ่มพร ณ นคร Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-06 2024-12-06 18 2 12 46 การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของแบรนด์ร้านอาหารชาบูญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/272421 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่แตกต่างกันส่งผลต่อการใช้บริการร้านชาบูญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางเครื่องมือสื่อสารการตลาดที่แตกต่างกันส่งผลต่อความจงรังภักดีร้านชาบูญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของเครื่องมือการสื่อสารการตลาดต่อความจงรักภักดีร้านชาบูญี่ปุ่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจำนวน 400 คน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1)ปัจจัยส่วนบุคคล ทั้งด้านเพศ, ระดับการศึกษา,รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ ความถี่ในการรับประทานที่ต่างกันมีผลต่อความจงรักภักดีของแบรนด์ร้านอาหารชาบูญี่ปุ่น โดยส่วนใหญ่จะเปิดรับสื่อผ่านช่องทางเฟซบุ๊ค และเพื่อน/ครอบครัว 2) เครื่องมือสื่อสารการตลาดทั้ง 4 ด้าน ส่งผลต่อความจงรักภักดี ดังนี้ด้านโฆษณาควรเน้นการสื่อสารด้วยรูปแบบคลิปวิดิโอมากกว่าภาพนิ่ง ด้านประชาสัมพันธ์ ควรมุ่งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง ด้านส่งเสริมการขาย ควรเลือกจัดโปรโมชั่นส่วนลดเงินสด และด้านขายควรมุ่งใช้ความรวดเร็ว ความกระตือรือร้นของพนักงานเพื่อสร้างประสบการณ์เชิงบวกให้กับผู้บริโภค และสามารถส่งผลให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำได้อีก 3) เครื่องมือการสื่อสารการตลาดส่งผลต่อความสัมพันธ์ต่อความจงรักภักดี โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความจงรักภักดีจากด้านการบริการของพนักงาน ส่งผลให้กลับมาทานซ้ำและแนะนำร้านแบบปากต่อปาก (Word of mouth) ด้วยปัจจัยการได้รับประสบการณ์ที่ดี จนนำไปสู่การบอกต่อร้านชาบูญี่ปุ่นกับคนอื่นๆ</p> ธัญญ์นภัส นิรัตน์มงคลพร กัญญรัตน์ หงส์วรนันท์ Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-06 2024-12-06 18 2 47 70 ผลกระทบของเทคโนโลยีแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งกับการทำงานของผู้กำกับภาพยนตร์ไทยในยุคดิจิทัล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/272922 <p style="font-weight: 400;">การศึกษาเรื่อง “ผลกระทบของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งกับการทำงานของผู้กำกับภาพยนตร์ไทยในยุคดิจิทัล” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งทำความเข้าใจ 3 ส่วน ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานของผู้กำกับภาพยนตร์ ได้แก่ กระบวนการพัฒนาโครงสร้างภาพยนตร์ (Film Development) กระบวนการผลิตภาพยนตร์ (Film Production) กระบวนการจัดฉายภาพยนตร์ (Film Exhibition) และแนวทางการปรับตัวของผู้กำกับภาพยนตร์ไทยในยุคดิจิทัล จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ของผู้กำกับภาพยนตร์ไทยจำนวน 9 คน ครอบคลุมทุกช่วงอายุ เพศสภาพ แนวทางการผลิตภาพยนตร์ และช่วงเวลาที่ผลงานออกสู่สายตาของผู้ชม ในระหว่างปี 2540-2566</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาโครงสร้างภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยสามารถนำเสนอมุมมองและความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงตีแผ่แง่มุมที่เป็นบริบทในสังคมในช่วงเวลานั้นๆได้มากขึ้นกว่าในอดีต เนื่องจากจำนวนงบประมาณในการลงทุนที่ได้จากแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งมีมากขึ้นกว่าเดิม และยังมีอิสระในการนำเสนอเรื่องราวที่หลากหลายผ่านช่องทางแอปพลิเคชั่นต่างๆในระบบสตรีมมิ่งที่มีการจัดหมวดหมู่ของภาพยนตร์แต่ละเรื่องไว้อย่างชัดเจน 2) กระบวนการผลิตภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยยังมีอิสระในการทำงานและอำนาจในการตัดสินใจเหมือนเดิมในขั้นตอนก่อนการถ่ายทำภาพยนตร์ (Pre-Production) ขั้นตอนการถ่ายทำภาพยนตร์ (Production) ซึ่งอาจจะมีการใช้ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งมาเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจในบางกรณียกเว้น ขั้นตอนหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ (Post Production) เนื่องจากการเข้ามาของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อขั้นตอนการทำงานในส่วนนี้ของผู้กำกับภาพยนตร์ เนื่องจากช่องทางและอุปกรณ์ในการรับชมภาพยนตร์ผ่านระบบสตรีมมิ่งของผู้ชมแต่ละบุคคลมีความแตกต่างและหลากหลาย จนไม่สามารถควบคุมคุณภาพให้มีความเป็นมาตรฐานการรับชมผ่านทางภาพและเสียง ให้มีความเท่าเทียมกัน 3) กระบวนการจัดฉายภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยถูกผลกระทบของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งโดยตรง เนื่องจากการทำงานของผู้กำกับภาพยนตร์ในระบบสตรีมมิ่งเสร็จสิ้นตั้งแต่จบกระบวนการผลิตภาพยนตร์ หลังจากนั้น หน้าที่การประชาสัมพันธ์ข้อมูล เนื้อหาของภาพยนตร์ รวมถึงการจัดฉาย เป็นหน้าที่โดยตรงของทางแอปพลิเคชั่น เจ้าของผลงานภาพยนตร์ในระบบแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง เป็นผู้ดำเนินการ 4) แนวทางการปรับตัวของผู้กำกับภาพยนตร์ไทยในยุคดิจิทัล พบว่า ผู้กำกับภาพยนตร์ไทยรุ่นก่อนและรุ่นกลาง สามารถปรับตัวได้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสารได้มากกว่าผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นใหม่ ที่ทำงานอยู่ในช่วงเวลาที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเฟื่องฟู เนื่องจากผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นก่อนและรุ่นกลางมีประสบการณ์ในการทำงานและผ่านการแก้ปัญหาในช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีการสื่อสารมาก่อน ทำให้สามารถปรับตัวและยอมรับในการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นใหม่ ที่ยังไม่เคยอยู่ในช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ อีกทั้ง พวกเขายังต้องแสวงหาอัตลักษณ์ในการผลิตผลงาน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้ชมในระบบแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งที่มีความหลากหลาย ทำให้ต้องใช้เวลาในการปรับตัวและพัฒนาการผลิตภาพยนตร์มากกว่าผู้กำกับภาพยนตร์ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น</p> ปัญจพงศ์ คงคาน้อย สมสุข หินวิมาน Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ ISSN xxxx-xxxx (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-06 2024-12-06 18 2 71 94 ทรรศนะของประชาชนในท้องถิ่นที่มีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในจังหวัดเชียงใหม่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/273033 <p>บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “การสร้างแนวคิดใหม่ให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองภาพยนตร์ดิจิทัล : การใช้วิถีนิเวศวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การเป็นเมืองภาพยนตร์ที่ยั่งยืน” โดยเป็นการนำเสนอผลเชิงปริมาณจากการใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ในฐานะผู้คนในท้องถิ่นเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งแสดงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างนโยบายการพัฒนาเมือง ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจทรรศนะของประชาชนในท้องถิ่นจำนวน 1,000 คน เพื่อทราบถึงมุมมองและระบุคุณลักษณะเฉพาะของจังหวัดเชียงใหม่ที่แสดงถึงศักยภาพในการเป็นเมืองภาพยนตร์ อันนำไปสู่การหาแนวทางในการร่างข้อเสนอแผนยุทธศาสตร์จากภาคประชาชนที่เสนอต่อภาครัฐเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในจังหวัดเชียงใหม่ต่อไป ผลการศึกษาพบว่าประชาชนในท้องถิ่นส่วนใหญ่มีทรรศนะว่าโดยรวมแล้วจังหวัดเชียงใหม่มีศักยภาพสูงสำหรับการเป็นเมืองภาพยนตร์ อีกทั้งสนับสนุนแนวคิดการพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นเมืองภาพยนตร์ และแนวคิดการสร้างแผนพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์จังหวัดเชียงใหม่ด้วย โดยรายละเอียดของผลการสำรวจทั้งหมดนี้จะถูกนำไปใช้พิจารณาร่วมกับข้อมูลส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาเป็นแผนยุทธศาสตร์ฉบับสมบูรณ์ในขั้นตอนต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ประชาชนในท้องถิ่น / อุตสาหกรรมภาพยนตร์ / จังหวัดเชียงใหม่</p> เทพฤทธิ์ มณีกุล พรรัตน์ ดำรุง Lowell Skar Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ ISSN xxxx-xxxx (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-06 2024-12-06 18 2 95 126 การสร้างสรรค์สื่อเพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณค่าทางเศรษฐกิจของวัฒนธรรมชาติพันธุ์ภาคเหนือตอนบน 2 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/273227 <p>บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย “นวัตกรรมการเล่าเรื่องข้ามสื่อเพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณค่าทางเศรษฐกิจของวัฒนธรรมชาติพันธุ์”มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของวัฒนธรรมชาติพันธุ์ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 และปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ 2) เพื่อสร้างสรรค์สื่อคลิปวิดีโอผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การสัมภาษณ์ (interview) แบบสอบถาม (questionnaire) และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (participation observation)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าการเพิ่มมูลค่าจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำที่มีความเชื่อมโยงกันของวัฒนธรรมชาติพันธุ์ ประกอบด้วยวัฒนธรรมด้านการแต่งกาย พิธีกรรม อาหาร งานฝีมือ วิถีเกษตรกรรม และภูมิปัญญาการรักษาด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน การสร้างสรรค์สื่อคลิปวิดีโอในการเพิ่มมูลค่าโดยใช้แนวคิดการเล่าเรื่องข้ามสื่อ และมีกระบวนการผลิต 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1.ขั้นตอนก่อนการผลิต 2.ขั้นตอนการผลิต 3.ขั้นตอนหลังการผลิต 4.ขั้นตอนการทดสอบและประเมินผล โดยผลจากการสำรวจความคิดเห็นต่อคลิปวิดีโอของผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 675 คน พบว่า คลิปช่วยทำให้เห็นภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x= 4.17, S.D.=0.83) รองลงมา เนื้อหาในคลิปความเข้าใจง่าย/ชัดเจนของเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x= 4.15, S.D.=0.84) และคลิปทำให้เห็นคุณค่าของสินค้า และบริการของกลุ่มชาติพันธุ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (&nbsp; x= 4.15, S.D.=0.84)</p> กฤศ โตธนายานนท์ กรกนก นิลดำ จิราพร ขุนศรี เสริมศิริ นิลดำ พีรญา ชื่นวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ ISSN xxxx-xxxx (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-06 2024-12-06 18 2 127 160 การสร้างสรรค์เรียงความภาพถ่ายเพื่อสื่อสารเรื่องชีวิตและความตายจากวรรณกรรมเรื่องทิวส์เดส์วิทมอร์รี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/273246 <p style="font-weight: 400;">งานวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสรรค์เรียงความภาพถ่ายเพื่อสื่อสารเรื่องชีวิตและความตายจากวรรณกรรมเรื่องทิวส์เดส์วิทมอร์รี 2) เพื่อสำรวจทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อเรียงความภาพถ่ายจากวรรณกรรมเรื่องทิวส์เดส์วิทมอร์รี โดยมีเครื่องมือในการวิจัยดังต่อไปนี้ 1) วรรณกรรมทิวส์เดส์วิทมอร์รีต้นฉบับภาษาอังกฤษและฉบับแปลไทย 2) แบบบันทึกการสร้างสรรค์ 3) การทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ 4) การสนทนากลุ่ม 5) แบบสอบถามกลุ่มผู้ชมทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า 1) ขั้นตอนก่อนการสร้างสรรค์ ต้องศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องของวรรณกรรมฯ เพื่อทำความเข้าใจและศึกษาเรื่องชีวิตและความตาย และงานดัดแปลงที่ผ่านมา 2) ขั้นตอนการสร้างสรรค์ ได้แก่ 1) การคัดเลือกและสังเคราะห์วรรณกรรมฯ บทที่แสดงถึงเรื่องชีวิตและความตายเพื่อสร้างสรรค์บทกลอนและตัวละคร 2) การสร้างฉาก 3) การถ่ายและตกแต่งภาพ 4) การจัดทำรูปเล่ม 5) การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) ​ขั้นตอนหลังการสร้างสรรค์ การเผยแพร่ผลงานและสำรวจทัศคติผู้ชม 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มการสนทนากลุ่ม 2) กลุ่มการตอบแบบสอบถาม แบ่งออกเป็นกลุ่มผู้ที่เคยและไม่เคยอ่านวรรณกรรมฯ ผลการสำรวจผู้ที่เคยอ่านวรรณกรรมฯ สามารถเข้าใจเนื้อหาและแนวคิดเรื่องชีวิตและความตายได้ราบรื่นกว่าอีกกลุ่ม ทั้ง 2 กลุ่มนั้นชื่นชอบองค์ประกอบด้านภาพถ่ายมากที่สุด ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าภาพถ่ายและกลอนนั้นส่งเสริมกัน การประเมินด้านการรับรู้เรื่องชีวิตและความตายมีเกณฑ์ในแต่ละองค์ประกอบส่วนใหญ่คือ มาก</p> ภัทรพร มะณู ปอรรัชม์ ยอดเณร Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ ISSN xxxx-xxxx (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-06 2024-12-06 18 2 161 194 จริยธรรมการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/273469 <p>การวิจัยเรื่อง “จริยธรรมการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์”&nbsp; เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนากรอบจริยธรรมในการนำเสนอกราฟิกจำลองเหตุการณ์ที่เหมาะสม ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน จาก 4 กลุ่มตัวอย่างและสนทนากลุ่ม ประชาชนผู้รับสื่อ จำนวน 10 คน แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.ปัญหาทางจริยธรรมที่พบในกราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์และ 2.กรอบจริยธรรมที่เหมาะสมเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ &nbsp;</p> <p>โดยผลการศึกษาพบว่า ปัญหาทางจริยธรรมที่พบในกราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์ ที่ผู้เชี่ยวชาญและประชาชนผู้รับสื่อมีความเห็นสอดคล้องกัน พบว่า มี 5 ข้อ ประกอบด้วย ความถูกต้อง, แหล่งข้อมูล, ความเที่ยงธรรม, สิทธิมนุษยชน และสิทธิส่วนบุคคล โดยปัญหาที่ผู้เชี่ยวชาญและประชาชนผู้รับสื่อมีความเห็นสอดคล้องกันมากที่สุดคือ สิทธิมนุษยชน ส่วนปัญหาทางจริยธรรมที่ไม่พบในช่วงของการสัมภาษณ์คือ ลิขสิทธิ์ และ ผลประโยชน์&nbsp; ส่วนกรอบจริยธรรมที่เหมาะสมเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ &nbsp;จะประกอบด้วยแนวทาง 6 ด้านคือ สิทธิมนุษยชน, สิทธิส่วนบุคคล, ความถูกต้อง, แหล่งข้อมูล, ความเที่ยงธรรม และสาธารณประโยชน์ &nbsp;ซึ่งจากแนวทางทั้ง 6 ด้าน ผู้วิจัยได้เกิดข้อค้นพบและพัฒนาเป็น “แบบจำลองข้อแนะนำแนวทางปฎิบัติจริยธรรมสำหรับการทำกราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์”&nbsp; โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. ขั้นตอนการคัดเลือกประเด็นข่าว&nbsp; โดยมีหลักจริยธรรมคือ ประโยชน์สาธารณะ, ความน่าเชื่อถือแหล่งข้อมูล &nbsp;2. ขั้นตอนการผลิตกราฟิกจำลองเหตุการณ์ โดยมีหลักจริยธรรมคือ ความถูกต้องรอบด้าน, ความเที่ยงธรรม, เคารพสิทธิมนุษยชนและการเคารพสิทธิส่วนบุคคล และ 3.ขั้นตอนการนำเสนอในรายการโทรทัศน์&nbsp; โดยมีหลักจริยธรรมคือ การเคารพสิทธิมนุษยชน การกำหนดแนวทางจริยธรรมใน&nbsp; การใช้กราฟิกจำลองเหตุการณ์ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์ ที่ได้จากงานวิจัยนี้ ถือเป็นส่วนที่สำคัญของพื้นฐานด้านจริยธรรม&nbsp; สามารถนำไปต่อยอดเพื่อให้เป็นหลักปฎิบัติสำหรับการทำกราฟิกจำลองเหตุการณ์ที่เหมาะสมต่อไป</p> <p>&nbsp;</p> หทัยชนก สมมิตร นรินทร์ นำเจริญ Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ ISSN xxxx-xxxx (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-06 2024-12-06 18 2 229 258 อิทธิพลของปัจจัยพื้นอารมณ์ต่อความคาดหวังสไตล์รายการคุณภาพและการเปิดรับสื่อโทรทัศน์มัลติแพลตฟอร์ม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/274616 <p>This research seeks to study an approach for developing an exposure measurement system on television platforms tailored to the diverse preferences of Thai audiences in the digital age. Drawing upon David Keirsey's temperament theory, classifying into four distinct groups: 1) Rationalists, 2) Artisans, 3) Guardians, and 4) Idealists.</p> <p>The research aims to explore how temperamental factors influence both both expectation for quality program styles and viewership patterns across multi-platform television in Thailand. The study employed a survey method, utilizing a questionnaire to gather data, yielding a total of 532 sample sets.</p> <p>The research result revealed that the temperamental factors of viewers could partially predict the expectations of quality program styles and multi-platform television viewing. Specifically, the findings are as follows: <br><br>1) Temperamental Factors predict Program Style Expectations: Viewers with a temperament characterized by wisdom seekers (combining the characteristics of rationalists and artisans) can predict expectations for learning and socially conscious program styles, as well as artistic value program styles. Ideologists predict popular entertainment program styles and learning and socially conscious program styles. All predictions are positive. <br><br>(2) Temperamental Factors predict Multi-Platform Television Viewership: Wisdom seekers negatively predict the viewership of broadcast television. Ideologists positively predict the viewership of live streaming on online television platforms, while Guardians negatively predict the viewership of live streaming on online television platforms.</p> สุวัฒนา นริศรานุกูล อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ ISSN xxxx-xxxx (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-06 2024-12-06 18 2 259 289 ทัศนคติและการยอมรับต่ออัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดของข้าราชการฝ่ายอัยการ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/275209 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาเรื่อง “ทัศนคติและการยอมรับต่ออัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดของข้าราชการฝ่ายอัยการ” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาว่าปัจจัยส่วนบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการที่แตกต่างกันส่งผลต่อทัศนคติที่มีต่ออัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือไม่ 2) เพื่อศึกษาว่าปัจจัยส่วนบุคคลของข้าราชการฝ่ายอัยการที่แตกต่างกันส่งผลต่อการยอมรับที่มีต่ออัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือไม่ และ 3) เพื่อศึกษาว่าทัศนคติที่มีต่ออัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดที่แตกต่างกันส่งผลต่อการยอมรับอัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดของข้าราชการฝ่ายอัยการหรือไม่ โดยเก็บข้อมูลจากข้าราชการฝ่ายอัยการทั่วประเทศ ประกอบด้วย ข้าราชการอัยการ และข้าราชการธุรการ จำนวน 400 คน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ประเภทข้าราชการ และความถี่ในการเห็นตราสัญลักษณ์ OAG ที่แตกต่างกันของข้าราชการฝ่ายอัยการทำให้มีทัศนคติต่ออัตลักษณ์องค์กรแตกต่างกัน โดยเฉพาะข้าราชการฝ่ายอัยการที่มีความถี่ในการเห็นตราสัญลักษณ์ OAG 5 วันต่อสัปดาห์หรือมากกว่าจะมีทัศนคติเชิงบวกต่ออัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดทุกด้านมากกว่าข้าราชการฝ่ายอัยการที่มีความถี่ในการเห็นตราสัญลักษณ์ OAG จำนวนวันที่น้อยกว่า แต่ยกเว้นสีอัตลักษณ์ “ส้ม-ขาว”</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ประเภทข้าราชการ และความถี่ในการเห็นตราสัญลักษณ์ OAG ที่แตกต่างกันของข้าราชการฝ่ายอัยการทำให้มีการยอมรับอัตลักษณ์องค์กรแตกต่างกัน โดยเฉพาะข้าราชการฝ่ายอัยการที่มีความถี่ในการเห็นตราสัญลักษณ์ OAG 5 วันต่อสัปดาห์หรือมากกว่าจะมีทัศนคติเชิงบวกต่ออัตลักษณ์องค์กรของสำนักงานอัยการสูงสุดทุกด้านมากกว่าข้าราชการฝ่ายอัยการที่มีความถี่ในการเห็นตราสัญลักษณ์ OAG จำนวนวันที่น้อยกว่า แต่ยกเว้นค่านิยมร่วม “PUBLIC”</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. การมีทัศนคติเชิงบวกต่อค่านิยมร่วม “PUBLIC” จะทำให้มีการยอมรับอัตลักษณ์องค์กรทุกด้าน</p> ภัททจารี โพธิ์แดง กัญญรัตน์ หงส์วรนันท์ Copyright (c) 2024 วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์ ISSN xxxx-xxxx (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-06 2024-12-06 18 2 290 320