ประกาศเปิดรับบทความเพื่อเผยแพร่
2022-01-31
วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL) เปิดรับบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่
ผู้สนใจสามารถส่งบทความเพื่อพิจารณาได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป
ISSN: 2985-1149 (Online)
วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning : e-JODIL) จัดทำขึ้นโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผลงานวิชาการ และข้อค้นพบจากการวิจัย และเป็นช่องทางในการสะสมองค์ความรู้ สู่การเป็นสังคมฐานความรู้ ตลอดจนเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2554 โดยเปิดรับและเผยแพร่บทความทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี มีกำหนดการออกวารสารปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม
2022-01-31
วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL) เปิดรับบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่
ผู้สนใจสามารถส่งบทความเพื่อพิจารณาได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป
2022-01-31
วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL) ได้พิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบายการพิจารณาบทความ
โดยกำหนดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินบทความ (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน
สำหรับอัตราค่าส่งบทความเพื่อพิจารณา มีรายละเอียดดังนี้
- บทความภาษาไทย บทความละ 4,000 บาท
- บทความภาษาอังกฤษ บทความละ 7,000 บาท
- สำหรับบุคลากร มสธ. ไม่เสียค่าใช้จ่าย
(ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป)
2020-01-22
วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรมได้ย้ายเว็บไซต์จากเดิม (https://e-jodil.stou.ac.th/) มาใช้ระบบ ThaiJO
ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (2023): มกราคม - มิถุนายน 2566
สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านทุกท่าน
วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นวารสารคุณภาพที่เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการเป็นปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2566) แล้ว ได้รับการรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นวารสารกลุ่มที่ 1 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563-2567 จากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ที่มีนโยบายในการจัดการวารสารคุณภาพเพื่อยกระดับจากวารสารระดับชาติสู่วารสารระดับนานาชาติ ทำให้ได้รับความสนใจจากนักวิจัยและนักวิชาการจำนวนมาก กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายสถาบันมาร่วมเป็นทีมงานที่ช่วยคัดกรอง คัดสรรบทความที่มีคุณภาพเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่สังคม นโยบายในการบริหารจัดการวารสารยังคงเน้นกระบวนการประเมินคุณภาพบทความที่เข้มข้น จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณวุฒิ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญตรงตามเนื้อหาในบทความ เพื่อให้วารสารได้เผยแพร่บทความที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
บทความในวารสารฉบับนี้มีจำนวน 15 บทความ เป็นบทความพิเศษสำหรับผู้อ่านที่มีความสนใจด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับสองทศวรรษแห่งการสะสมทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อความมั่นคงทางการเงินของประเทศไทย และบทความวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจเช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อหนี้สินของครัวเรือนในประเทศไทย ปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของโรงแรมในประเทศไทย ผ่านความสามารถเชิงพลวัตในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์และความสำเร็จในการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ และมาตรฐานตราสำหรับเครื่องประดับอัญมณีไทยในระดับโลก ส่วนบทความวิชาการเช่นเรื่องการผสานศาสตร์ละครกับวัฒนธรรมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2516-2519 นอกจากนี้ยังมีบทความวิจัยหลายบทความเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารและการใช้สื่อได้แก่ นวัตกรรมการสื่อสารสุขภาพเพื่อการป้องกันและเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อการสร้างทีมกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยสู่ความเป็นเลิศ สังคมผู้สูงอายุไทยกับการสื่อสารนโยบายการเตรียมความพร้อมเข้าสู่เศรษฐกิจผู้สูงวัย การใช้สื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิ์ออกเสียง กรณีศึกษา: การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2565 การติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาบุคลากรในหลักสูตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ การพัฒนารูปแบบแพลตฟอร์ม “STOU Media for all” สำหรับการศึกษาทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ส่วนบทความที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับการพัฒนาทักษะการออกแบบสื่อตามทฤษฎีการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบหลักสูตรโรงเรียนนวัตกรรมการศึกษา 4.0 พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
จากสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในสังคมปัจจุบัน การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการยังคงทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจผ่านกระบวนการวิจัย ขอขอบคุณกองบรรณาธิการวารสาร ผู้จัดการวารสารและทีมงานสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ปฏิบัติงานด้วยความเข้มแข็งและยึดมั่นในคุณภาพทุกขั้นตอนของจัดทำวารสารนี้ในสถานการณ์ที่ต้องยกระดับคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์สูงสุด และขอบพระคุณผู้อ่านทุกท่านที่สนับสนุนการผลิตและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้ในวารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
รองศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน
บรรณาธิการ
เผยแพร่แล้ว: 26-05-2023
Online ISSN: 2985-1149