https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/issue/feed
วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม
2024-05-29T12:37:39+07:00
รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ
e-jodil@stou.ac.th
Open Journal Systems
<p> วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning : e-JODIL) จัดทำขึ้นโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผลงานวิชาการ และข้อค้นพบจากการวิจัย และเป็นช่องทางในการสะสมองค์ความรู้ สู่การเป็นสังคมฐานความรู้ ตลอดจนเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2554 โดยเปิดรับและเผยแพร่บทความทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี มีกำหนดการออกวารสารปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม</p> <h1><span style="color: orange;">รู้จักนวัตกรรม</span></h1> <div> <p>คำว่า <strong><span style="color: green;">“การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม”</span></strong> หมายถึง ข้อค้นพบ หรือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ รวมถึงข้อค้นพบ หรือข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณค่า หรือเป็นต้นแบบที่ดี (Best Practice) จากงานวิจัย/วิชาการ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสัมฤทธิ์ผลต่อการพัฒนาองค์ความรู้การผลิต และกระบวนการต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม ที่นำมาเผยแพร่ เพื่อสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบของวารสารอิเล็กทรอนิกส์</p> </div>
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/265525
การเรียนรู้ตลอดชีวิต: แนวทางการส่งเสริมตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา และบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา
2023-03-09T13:10:45+07:00
ดวงเดือน แสงแพร้ว
duangduean.sae@mahidol.ac.th
ภาวิรัช พรหมเพศ
pawirat.pro@mahidol.ac.th
<p>การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองในการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย เป็นเป้าหมายสำคัญด้านการศึกษาที่เน้นพัฒนาคนให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมตามแนวทางของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสำคัญในปัจจุบัน คือ 1) ตลาดแรงงานแบบดิจิทัล และ 2) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้ผู้สูงอายุยังต้องเรียนรู้ พัฒนาทางอาชีพ และฝึกใช้เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มโอกาสการทำงานซึ่งทำให้มีรายได้ สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องปรับบทบาทเป็น <em>สถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิต</em> มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับทุกคนอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมกัน โดยมี <em>การเรียนรู้แบบยืดหยุ่น</em> นอกจากการเรียนในระบบปกติ เพื่อตอบสนองความต้องการเรียนรู้ของคนในทุกช่วงวัยและพัฒนาคนได้ตอบโจทย์ความต้องการ 1) หลักสูตรต้องร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและขยายการมีส่วนร่วมกับสังคมทุกภาคส่วน 2) ใช้เกณฑ์ประกันคุณภาพสร้างความมั่นใจว่าการเรียนรู้มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ 3) จัดหาแหล่งเงินทุนอย่างเพียงพอ 4) พัฒนาบุคลากรที่ช่วยผลักดันให้เป็นสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 5) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างทั่วถึง ในการเรียนรู้ ผู้เรียนควรได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง และทักษะด้านการคิด ซึ่งต้องตัดสินใจและแก้ไขปัญหา กระทั่งเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา ผู้เรียนเริ่มเป็นผู้ใหญ่จะมีประสบการณ์มากขึ้น พร้อมเรียนรู้ โดยตระหนักได้ว่าสิ่งไหนสำคัญต่อตนเอง นำมาสู่การมีส่วนร่วมในทุกมิติของการเรียนรู้ ซึ่งส่งผลดีต่อการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นของสถาบันอุดมศึกษาและการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพที่จะพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนต่อไป</p>
2024-05-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/263827
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการคิดเชิงออกแบบ ของนักเรียนมัธยมศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาภาคตะวันออก
2023-01-04T08:53:55+07:00
วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง
ananxisu163@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนมัธยมศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาภาคตะวันออก 2) เปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนมัธยมศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาภาคตะวันออก และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนมัธยมศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาภาคตะวันออก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 (ชลบุรี-ระยอง) จำนวน 5 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบประเมินสมรรถนะการคิดเชิงออกแบบ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการคิดเชิงออกแบบ ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การทำความเข้าใจ ขั้นที่ 2 การนิยาม ขั้นที่ 3 การสร้างสรรค์ ขั้นที่ 4 การจำลอง และ ขั้นที่ 5 การทดสอบ 2) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการคิดเชิงออกแบบ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 และนักเรียนมีสมรรถนะการคิดเชิงออกแบบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 และ3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการคิดเชิงออกแบบอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62</p>
2024-05-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/263898
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการเรียนการสอน แบบโครงงานเป็นฐานของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา
2023-01-05T10:55:18+07:00
สุไม บิลไบ
sumai.b@psu.ac.th
<p>การพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาวิชาชีพครูให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นหน้าที่ที่สำคัญของสถาบันผลิตบัณฑิตวิชาชีพครู โดยทักษะสำคัญของครูในศตวรรษที่ 21 ที่จะนำพาครูไปสู่การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ คือการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ และทักษะการทำโครงงาน ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมายในการพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครู ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาการสอนอิสลามศึกษาก่อนและหลังจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน 2) เพื่อประเมินทักษะการทำโครงงานสื่อสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครูหลังจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน 3) เพื่อประเมินผลผลิตโครงงานสื่อสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยได้ดำเนินการวิจัยตามหลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เก็บข้อมูลด้วยการทดลองกับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 762-318 การผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานจำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบทักษะการคิดสร้างสรรค์ 3) แบบประเมินทักษะการทำโครงงาน และ 4) แบบประเมินผลผลิตสื่อสร้างสรรค์ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที</p> <p>ผลการวิจัยสรุปได้ว่า <br />1. นักศึกษามีทักษะการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาทักษะรายด้านจากการทดสอบการวาดภาพและต่อเติมภาพให้สมบูรณ์ นักศึกษามีทักษะการคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดละเอียดลออสูงที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.00 ส่วนการทดสอบชุดที่ 2 การวาดภาพและเขียนเล่าเรื่องสั้นๆ ประกอบภาพ นักศึกษามีทักษะการคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดยืดหยุ่นสูงที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.03 <br />2. กระบวนการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานสามารถพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะการทำโครงงานอยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านผลผลิตของโครงงาน รองลงมาคือด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านการเขียนรายงานตามลำดับ <br />3. นักศึกษาสามารถผลิตสื่อสร้างสรรค์ได้ในระดับดี และมีทักษะการคิดสร้างสร้างสรรค์อยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.50-3.81 </p>
2024-05-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/264017
ความคิดเห็นของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่มีต่อการใช้สื่อสังคมในการนิเทศการจัดการเรียนรู้
2023-01-18T11:05:05+07:00
จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์
drjareeluk@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต แขนงหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่มีต่อการใช้สื่อสังคมในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต หลักสูตรและการสอนที่ลงทะเบียนชุดวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ปีการศึกษา 2564 จำนวน 123 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่ มอร์แกน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการใช้สื่อสังคมในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อยพบว่าด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการนิเทศผ่านสื่อสังคมมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการให้คำปรึกษาและการสื่อสาร และด้านการสอนงานเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูและการนิเทศ 2) นักศึกษาที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้สื่อสังคมในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน</p>
2024-05-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/265170
การส่งเสริมบทบาทของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในการเป็นกลไกการพัฒนา จังหวัดนนทบุรีเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้
2023-04-18T08:54:14+07:00
วลัยวรรณ มธุรสปรีชากุล
walaiwan16169@gmail.com
เกวลิน ต่อปัญญาชาญ
keovalin.t@gmail.com
<p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเมืองแห่งการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาบทบาทของมหาวิทยาลัยประเทศไทยและต่างประเทศในการเป็นกลไกการพัฒนาการเรียนรู้ของคนในเมือง 3) เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) และหลักการตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต พ.ศ. .... และบทบาทมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในยุทธศาสตร์ กฎหมาย ข้อบังคับ และองค์ความรู้ด้านเนื้อหาของสาขาวิชาต่างๆ เพื่อการเป็นกลไกการพัฒนาจังหวัดนนทบุรีเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ 4) เพื่อวิเคราะห์และเสนอแนะการส่งเสริมบทบาทของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในการเป็นกลไกการพัฒนาจังหวัดนนทบุรีเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ วิธีการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ศึกษาวิจัยเอกสาร ประกอบกับการอภิปรายกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 กลุ่ม รวมจำนวน 22 คน ได้แก่ กลุ่มตัวแทนของภาครัฐ กลุ่มตัวแทนของผู้ปฏิบัติงาน และกลุ่มตัวแทนของนักวิชาการ</p> <p>ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเมืองแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ หลักการของเมืองแห่งการเรียนรู้ แนวคิดพันธกิจของรัฐกับการส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้ แนวคิดการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้ แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) มหาวิทยาลัยประเทศไทยและต่างประเทศต่างมีบทบาทสำคัญในการเป็นกลไกการพัฒนาการเรียนรู้ของคนในเมือง เช่นการมียุทธศาสตร์ กฎ ระเบียบ นโยบายและกิจกรรมที่หลากหลาย 3) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) และหลักการตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต พ.ศ. ...ซึ่งสามารถสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้ นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่าบทบาทของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมียุทธศาสตร์ กฎหมาย ข้อบังคับ และองค์ความรู้ด้านเนื้อหาของสาขาวิชาต่างๆ ในการเป็นกลไกหนึ่งของการพัฒนาจังหวัดนนทบุรีเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตามคุณลักษณะ 6 ประการของการเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ 4) แม้บทบาทของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจะมีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมจังหวัดนนทบุรีเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ได้ จากการศึกษาพบว่า อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชยังมีข้อจำกัดบางประการอันจะนำไปสู่การส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้ให้มีความยั่งยืนและส่งเสริมเมืองให้มีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ได้แก่ การส่งเสริมการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม การส่งเสริมการเรียนรู้ในครอบครัวและชุมชน การส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในที่ทำงาน การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย การส่งเสริมคุณภาพและความเป็นเลิศในการเรียนรู้ การสนับสนุนวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างเข้มแข็ง</p>
2024-05-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/263807
ปรากฏการณ์ สควิด เกม: รูปแบบและการนำเสนอวัฒนธรรมในการสื่อสาร ผ่านสื่อบันเทิงคดีที่ส่งผลในระดับอำนาจอ่อน
2022-12-26T15:36:46+07:00
ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์
thyjey@gmail.com
<p>สืบเนื่องมาจากปรากฏการณ์ที่ภาพยนตร์ชุด Squid Game ได้รับความนิยมสูงสุดในการรับชม จนกระทั่งทำให้เกิดกระแสที่เกี่ยวข้องตามมาในหลายประเทศทั่วโลก งานวิจัยเรื่อง <em>ปรากฏการณ์ สควิด เกม: รูปแบบและการนำเสนอวัฒนธรรมในการสื่อสารผ่านสื่อบันเทิงคดีที่ส่งผลในระดับอำนาจอ่อน</em> จึงจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบวัฒนธรรมของประเทศเกาหลีใต้ที่ปรากฎในสื่อบันเทิงคดี ภาพยนตร์ชุด Squid Game และ (2) ศึกษาวิธีการนำเสนอวัฒนธรรมในสื่อบันเทิงคดี ภาพยนตร์ชุด Squid Game เพื่อสามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อบันเทิงของประเทศไทย ในการสื่อสารวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดผลกระทบในระดับอำนาจอ่อนได้ต่อไป โดยงานวิจัยชิ้นนี้มีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากภาพยนตร์ชุด Squid Game ทั้ง 9 ตอน และการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Document Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบวัฒนธรรมที่ปรากฏในสื่อภาพยนตร์ชุด Squid Game มีทั้งรูปแบบวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ ได้แก่ อาหารและการรับประทานอาหารที่มีปรากฏอยู่ในทั้ง 9 ตอน ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ที่อยู่อาศัยและสถานที่ทั้งที่มองเห็นได้และมีการกล่าวถึงในเรื่อง เครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนการสร้างเครื่องแบบและสัญลักษณ์ของตัวละคร และการค้าและเศรษฐกิจที่นำเสนอผ่านเงินวอนเกาหลีที่ปรากฎในทุกตอน นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมที่ไม่เป็นวัตถุ ทั้งในระดับอัตวิสัย และระดับสังคม ได้แก่ ภาษา ศาสนาความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิต ปรัชญา กฎและระเบียบ โครงสร้างทางสังคม และพิธีกรรม ซึ่งวัฒนธรรมในทั้ง 2 ลักษณะ มีการนำเสนอผ่านองค์ประกอบของสื่อบันเทิงคดีทั้ง 6 ส่วน วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ มีการนำเสนอผ่านโครงเรื่อง ฉาก และบรรยากาศเป็นหลัก ส่วนวัฒนธรรมที่ไม่เป็นวัตถุ มีการนำเสนอผ่านบทสนทนา และตัวละครเป็นหลัก นอกจากนี้ แก่นของเรื่องยังนำเสนอวิถีชีวิต และค่านิยม ของผู้คนภายใต้ระบบทุนนิยม โดยมีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ และเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลัก อันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่กับผู้คนทั่วโลก ซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความสอดคล้องกับทัศนคติและประสบการณ์ รวมถึงอารมณ์ของผู้รับสารโดยไม่ขึ้นกับพื้นที่ ช่วงวัย หรือลักษณะทางประชากร จึงเป็นปัจจัยเสริมแรงตามหลักจิตวิทยามนุษย์ที่ทำให้ภาพยนตร์ชุด Squid Game ได้รับความนิยมแพร่หลาย และเกิดการผลิตซ้ำจนเกิดเป็นผลในระดับอำนาจอ่อนในระดับโลก</p>
2024-05-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/247813
Social Causal Factors and Online Media Discrimination that Affect Narcotics-related Offenses of the Children and Juveniles
2021-07-07T10:50:42+07:00
Pisit Sophonphongphat
pisit2353915@gmail.com
Kasemsri Asawasripongtorn
kasemyui.a@gmail.com
Kwanjai Jariyatatkone
kwanjai_jar@dusit.ac.th
Nutcha Patananukit
bua4747@gmail.com
<p>This research aims to study causal social factors, online media discrimination factors, and narcotics-related offenses of children and juveniles and to analyse factors that affect narcotics-related offenses for children and juveniles. The samples were 329 children and juveniles selected by an accidental sampling technique. Research instruments were a set of questionnaires on Causal Social Factors that had their reliability indexes between 0.866 and 0.933 and another set of questionnaires on online media discrimination factors that had their reliability between 0.866 and 0.933. Multiple Regression analysis with the Stepwise Technique was used for data analysis. The findings were as follows: 1) The practices on causal social factors and online media discrimination factors were high. The practices on narcotics-related offenses for children and juveniles were at moderate levels. 2)Factors affecting narcotics-related offenses of the children and juveniles were family relationships and parental upbringing. Both could share their effects to predict narcotics-related offenses for children and juveniles by 3.9% (R<sup>2</sup> = 0. 039) and were statistically significant at 0.01. They could be shown in the following formula:</p> <p>Narcotics-related offenses of the children and juveniles = 0.1.748 + 0.560 (Family Relationship) -0.361 (Parental Upbringing)</p>
2024-05-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/267744
การพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
2023-07-03T08:38:34+07:00
ปิยฉัตร ล้อมชวการ
ningpiyachat@yahoo.com
<p>การวิจัยเรื่องการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา 1. ปัจจยัที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการสื่อสารสุขภาพ 2. ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เทศบาลเมืองทุ่งสง</p> <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึก การสัมภาษณ์กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. แผนพัฒนาท้องถิ่น 2. เว็บไซต์เทศบาลเมืองทุ่งสง 3. วารสารเทศบาลเมืองทุ่งสง ทั้งหมด 19 รายการ ฉบับที่ 1/2566 ถึง ฉบับที่ 19/2566 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก ได้แก่ นายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสง รองนายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสง จำนวน 2 คน การสัมภาษณ์กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน รวม 36 คน </p> <p>ผลการวิจัย พบว่าการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มี ดังนี้ 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการสื่อสารสุขภาพ ได้แก่ 1.1 ความสมดุลในการนำเสนอเนื้อหาข้อมูล ความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสารและความต่อเนื่องของเนื้อหาข้อมูล 1.2 การปฏิบัติตามมาตรฐานสมรรถนะการปฏิบัติงานในชุมชน 1.3 สมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพ 2. ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานด้านการสื่อสารสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เทศบาลเมืองทุ่งสง มีดังนี้ คือ ขาดความรู้และทักษะ ขาดแนวทางการทำงาน อุปกรณ์ไม่เพียงพอ</p>
2024-05-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/264070
พฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยของประชาชนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2022-12-23T14:05:58+07:00
ทิพยาภรณ์ รัตนลาโภ
buakaa001@gmail.com
สังวรณ์ งัดกระโทก
sungworn@hotmail.com
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยของประชาชนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ 2) ศึกษาแบบแผนของพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยของประชาชนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เก็บข้อมูลจากการสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไทย 395 คน และกลุ่มตัวอย่างจากเวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว สิงคโปร์ เมียนมา และบรูไนดารุสลาม จำนวน 232 คน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงบรรยาย การทำสเกลหลายมิติ การวิเคราะห์กลุ่มแฝง และไคสแควร์</p> <p>ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับรู้ว่าอาหารไทยมีความเหมือนกับต่างชาติในสองมิติ คือ ความใกล้ชิดของพื้นที่และส่วนประกอบของอาหาร 2) ผลการวิเคราะห์แบบแผนของพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยของประชาชนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถจำแนกกลุ่มผู้ชอบอาหารไทยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ชอบผัดไทย กลุ่มผู้ชอบต้มยำกุ้ง และกลุ่มผู้ชอบส้มตำ แกงเขียวหวาน และข้าวเหนียวมะม่วง โดยแบบแผนของพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยมีความสัมพันธ์กับอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) โดยผู้มีอายุ ≤ 20 ปีและ 21-40 ปี เป็นกลุ่มผู้ชอบส้มตำ แกงเขียวหวาน และข้าวเหนียวมะม่วง ส่วนผู้มีอายุ 21-40 ปี และ 41-60 ปี จะเป็นกลุ่มผู้ชอบต้มยำกุ้ง และกลุ่มผู้ชอบผัดไทย ตามลำดับ แต่ความสัมพันธ์ของแบบแผนของพฤติกรรมการบริโภคอาหารไทยกับตัวแปรภูมิหลังอื่นๆ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ</p>
2024-05-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/262086
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรใน อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา
2022-10-28T11:25:34+07:00
เพชร ทวีวงษ์
taveevong@hotmail.com
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
agashben@stou.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกร 2) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการผลิตมันสำปะหลัง 3) คุณลักษณะของเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถนำไปปรับใช้ในการผลิต และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้เพื่อการผลิต เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังของกรมส่งเสริมการเกษตรในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 200 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane (1967) ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 102 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีประสบการณ์ในการผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 17.13 ปี และมีรายได้จากการทำการเกษตรเฉลี่ย 167,134.80 บาทต่อปี 2) เกษตรกรมีวิธีการหาความรู้ด้านการเกษตรจากการค้นคว้าด้วยตนเองและเข้ารับการอบรม จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร จากการประชุม และจากนิตยสาร 3) วัตถุประสงค์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เพิ่มพูนความรู้และทราบข้อมูลข่าวสาร ผ่านวิทยุ โทรทัศน์ และโทรศัพท์มือถือ มีความเป็นประโยชน์ในระดับมาก ทำให้รับข่าวสารได้รวดเร็ว และเรียนรู้ง่ายขึ้น ในประเด็นการปลูกและการเลือกพันธุ์ 4) มีการยอมรับในระดับมากต่อคุณลักษณะของเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ การใช้งานได้ง่ายขึ้น การเรียนรู้แล้วนำมาฝึกทำเองได้ การนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการผลิต และเนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการ 5) มีปัญหาด้านความเข้าใจและการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการผลิตในระดับมาก และต้องการให้จัดอบรมการใช้สื่อบนเครื่องมือที่ทันสมัย</p>
2024-05-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/266593
Contract Farming for The Chicken Farming Business in Thailand
2023-05-11T13:43:30+07:00
Apinya Wanaset
khunapinya@yahoo.com
<p>The objectives of this study were to 1) study the situation and role of contract farming in Thailand. 2) analyze SWOT of the chicken farming business in Thailand. Methodologies are both descriptive research using secondary data and field surveys by in-depth interviews with the relevant parties including farmers, private companies and academics through specific sampling.</p> <p>The results of this study showed that 1) the contract farming situation in Thailand tends to expand continuously and plays an important role in the production of agricultural products for export and employment. In addition, the development of contract farming is largely driven by big corporation investments such as Charoen Pokphand Foods, and Betagro Group. Most of the contract farming value is concentrated in a few large private companies. In the past, contract farming has often been in conflict between contract parties and small farmers were often at a disadvantage because of their low bargaining power. However, when the government issued the Contract Farming Promotion and Development Act (2017), it resulted in more fair protection for contract parties as well as being more transparent and being overseen by the government, thus allowing the problems to decline. 2) SWOT analysis revealed that its strength is the parties have a long experience in raising chickens. In addition, private companies have modern technology and transfer it to farmers. Therefore, the production in the contract system is efficient and meets acceptable standards. The weaknesses, there are still some unfair contracts. Especially small chicken farmers who do not have much choice. For the opportunity, it is found that the export market for chicken and its products continued to expand. It has a positive impact on chicken farming business while the main obstacle is the rising cost of chicken feed due to inflationary pressure.</p>
2024-05-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/264641
การศึกษาคุณภาพบริการโลจิสติกส์ในธุรกิจค้าปลีกออมนิแชนเนล ในประเทศไทย: มุมมองของผู้ประกอบการ
2023-05-01T10:09:46+07:00
ธนัตถ์ภัทร ถิรธนัชดิลก
tanutpats.dh@gmail.com
ประสพชัย พสุนนท์
prasopchai@ms.su.ac.th
เกตุวดี สมบูรณ์ทวี
kedwadee@tbs.tu.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและองค์ประกอบของคุณภาพบริการโลจิสติกส์จากมุมมองผู้ประกอบการในบริบทธุรกิจค้าปลีกออมนิแชนเนลในประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 16 คนด้วยการเลือกแบบเจาะจงผสมผสานกับการอ้างอิงต่อเนื่องแบบปากต่อปากและการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบมีเกณฑ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิเคราะห์แก่นสาระตามแนวคิดของ Braun and Clarke (2006)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ความหมายของคุณภาพบริการโลจิสติกส์ในบริบทธุรกิจค้าปลีกออมนิแชเนเนลในประเทศไทย หมายถึง คุณภาพบริการที่มาจาก 2 ประเด็นหลักคือ คุณภาพบริการโลจิสติกส์ด้านการดำเนินการและคุณภาพบริการโลจิสติกส์ด้านความสัมพันธ์ 2) องค์ประกอบของคุณภาพบริการโลจิสติกส์ในบริบทธุรกิจค้าปลีกออมนิแชนเนลในประเทศไทยประกอบด้วย 2 ประเด็นหลักเช่นกัน คือ คุณภาพบริการโลจิสติกส์ด้านการดำเนินการประกอบด้วย 8 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1) การบริการลูกค้า 2) การคืนสินค้า 3) การบริหารสินค้าคงคลัง 4) คุณภาพของคำสั่งซื้อ 5) ความพร้อมในการให้บริการ 6) การตรงต่อเวลา 7) บุคลากร และ 8) ข้อมูลและเทคโนโลยี สำหรับคุณภาพบริการโลจิสติกส์ด้านความสัมพันธ์ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1) การสื่อสารระหว่างกัน 2) ความไว้วางใจระหว่างกัน 3) การสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้า และ 4) การตอบสนองต่อลูกค้า อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษานี้ ผู้ประกอบการสามารถนำไปเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมและพัฒนากลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันสำหรับธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ต่อไป</p>
2024-05-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/262308
การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุจังหวัดอุบลราชธานี: การศึกษาด้านการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และการตลาดภายในองค์การ
2022-12-01T08:59:08+07:00
อัญชลี โกกะนุช
anchalee.kok@lru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อศึกษาแนวทางการตลาดภายในองค์การเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ผู้บริหารในพื้นที่ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นก และบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การสนทนากลุ่มเฉพาะ การฝึกปฏิบัติการ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาโดยการตีความหมายปรากฏการณ์ที่เป็นข้อค้นพบ และอภิปรายผล</p> <p>ผลการวิจัยปรากฏว่า แนวทางการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุประกอบด้วยการใช้หลักการวงจรคุณภาพ PDCA ประกอบด้วย (1) การวางแผนโดยการค้นหาสภาพที่เป็นปัญหา การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการ และปัจจัยสนับสนุนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ (2) การลงมือปฏิบัติ (3) การตรวจเช็ค และ (4) การดำเนินการอย่างเหมาะสม สำหรับแนวทางการตลาดภายในองค์การเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า การมอบหมายงานที่เหมาะสมกับความสามารถ การส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน และการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์การ เป็นปัจจัยส่งเสริมให้บุคลากรในองค์การตระหนักถึงความสำคัญและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคต่อไป</p>
2024-05-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/261369
คุณค่าของตราสินค้าทางการท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่าราชบุรี โดยวิธีวิทยา: ชาติพันธุ์วรรณาทางอินเทอร์เน็ต
2022-11-21T09:04:05+07:00
ระชานนท์ ทวีผล
mr.bozo@msn.com
ภฤศญา ปิยนุสรณ์
phrutsaya@ms.su.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บริบทและอัตลักษณ์ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่าราชบุรี และ (2) องค์ประกอบคุณค่าของตราสินค้าทางการท่องเที่ยวเพื่อบูรณาการเข้ากับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่าราชบุรี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิทยาชาติพันธุ์วรรณาทางอินเทอร์เน็ต เก็บรวบข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ปรากฎข้อมูลเกี่ยวกับเมืองเก่าราชบุรี ฐานข้อมูลวารสารวิชาการออนไลน์กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และบริหารธุรกิจ ที่เผยแพร่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องคุณค่าตราสินค้นทางการท่องเที่ยวระหว่าง 5<strong> - </strong>10 ปี พร้อมกับการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นนักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยว</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า <strong>(</strong>1<strong>) </strong>โอ่งมังกร เป็นสินค้าหัตถกรรมส่งออกของราชบุรีที่กลายเป็นสัญลักษณ์ในการรับรู้ของทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ อาทิ อำเภอสวนผึ้งและอำเภอดำเนินสะดวกเป็นที่ได้รับความนิยมและเป็นจุดหมายปลายทางทางการท่องเที่ยว ในขณะที่ข้อมูลจากกลุ่มเว็บไซต์ได้นำเสนอลักษณะของเมืองเก่าจากรากฐานความเป็นพหุทางวัฒนธรรมจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาในราชบุรีตั้งแต่สมัยอดีต<strong> (</strong>2<strong>) </strong>องค์ประกอบคุณค่าของตราสินค้าทางการท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 8 ด้าน ได้แก่ (2.1) การเชื่อมโยงกับตราสินค้า (2.2) ความโดดเด่นของตราสินค้า (2.3) ความภักดีต่อตราสินค้า (2.4) บุคลิกภาพตราสินค้า (2.5) การรับรู้ตราสินค้า (2.6) ความเหนือชั้นของตราสินค้า (2.7) การสร้างเสน่ห์ให้กับตราสินค้า และ (2.8) ความเชื่อถือในตราสินค้า</p>
2024-05-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/266703
คุณประโยชน์ของการอาบป่าเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
2023-05-26T10:03:34+07:00
ราณี อิสิชัยกุล
esichai@gmail.com
ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์
chatchapons5@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณประโยชน์ของการอาบป่าสำหรับนักท่องเที่ยวไทยในป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ศึกษาโดยวิธีการลงพื้นที่สำรวจ สังเกตภาคสนาม สอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก และร่วมกิจกรรมอาบป่าในป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี เพื่อวิเคราะห์ผลการตอบสนองต่อสรีรวิทยาและจิตวิทยาภายหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมอาบป่าของคนวัยทำงานจำนวน 19 คน ที่คัดเลือกโดยอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยการทดสอบทางสรีรวิทยาที่วัดค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic Blood Pressure: SYS) และค่าความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic Blood Pressure: DIA) และอัตราการเต้นของหัวใจ แบบทดสอบทางจิตวิทยา ได้แก่ แบบทดสอบสภาวะอารมณ์ (Profile of Mood States Test: POMS Test) แบบทดสอบความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ (The State Trait Anxiety Inventory: STAI form Y-1) โดยทำการทดสอบก่อนและหลังการอาบป่า และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการทดสอบทางสรีรวิทยาพบว่า ค่าความดันโลหิตตัวบนและค่าความดันโลหิตตัวล่างลดลงภายหลังการอาบป่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 แต่อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นภายหลังการอาบป่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับผลการทดสอบทางจิตวิทยา พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีสภาวะอารมณ์ความกระวนกระวาย ซึมเศร้า สับสนลดลงหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมอาบป่า โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความกระตือรือร้นสูงขึ้นหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมอาบป่า โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับผลการทดสอบความวิตกังวลพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้สึกต่อสถานการณ์เชิงบวกหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กล่าวโดยสรุปการอาบป่าในชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี มีคุณประโยชน์ต่อคนวัยทำงานในด้านความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง อารมณ์และความวิตกกังวล ป่าชุมชนควรได้รับการส่งเสริมกิจกรรมการอาบป่าสำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจสุขภาพ</p>
2024-05-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช