วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil <p> วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning : e-JODIL) จัดทำขึ้นโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผลงานวิชาการ และข้อค้นพบจากการวิจัย และเป็นช่องทางในการสะสมองค์ความรู้ สู่การเป็นสังคมฐานความรู้ ตลอดจนเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2554 โดยเปิดรับและเผยแพร่บทความทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี มีกำหนดการออกวารสารปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม</p> <h1><span style="color: orange;">รู้จักนวัตกรรม</span></h1> <div> <p>คำว่า <strong><span style="color: green;">“การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม”</span></strong> หมายถึง ข้อค้นพบ หรือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ รวมถึงข้อค้นพบ หรือข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณค่า หรือเป็นต้นแบบที่ดี (Best Practice) จากงานวิจัย/วิชาการ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสัมฤทธิ์ผลต่อการพัฒนาองค์ความรู้การผลิต และกระบวนการต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม ที่นำมาเผยแพร่ เพื่อสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบของวารสารอิเล็กทรอนิกส์</p> </div> th-TH <p>บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด</p> <p>บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น</p> <p>กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร</p> <p>&nbsp;</p> [email protected] (รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ) [email protected] (นายสุรเดช อธิคม) Fri, 08 Dec 2023 15:50:12 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 Students’ Perceptions towards Learning Business Content Through English Medium Instruction: EMI https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/260430 <p>English medium instruction (EMI) is the use of English language to teach academic subjects where the first language of students is not English. This study was conducted by obtaining students ‘perspective of attending business lectures that were conducted in English by foreign guest speakers at a public university. The objective was to study students’ perceptions towards learning business content through EMI. This research is quantitative research using a sample group consisting of 400 students in the EMI-applied business courses. The data collection tool was questionnaire. The results revealed that the majority of the respondents are willing to attend EMI business lecturers. In addition, the students perceived they have gained new knowledge in an international perspective as well as having the opportunity to practice their English. It was found that there was no significant difference between male and female students’ perception. In addition, 94 percent of the students had preference to attend more lectures in English and suggested to continue the activity into the future.</p> Pichayalak Pichayakul, Traci Morachnick Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/260430 Fri, 08 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาการประเมินผลการเรียนรู้และหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในภาพรวมของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/258900 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการเรียนรู้และหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในภาพรวมของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ. 2560 โดยการศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปัจจุบันในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2561 และยังคงมีสถานภาพนักศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 400 ราย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้เป็น สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (X<sub>1</sub>) ข้อกำหนดของหลักสูตร (X<sub>2</sub>) โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร (X<sub>3</sub>) กลยุทธ์การเรียนและการสอน (X<sub>4</sub>) การประเมินผู้เรียน (X<sub>5</sub>) คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน (X<sub>6</sub>) คุณภาพผู้เรียน (X<sub>7</sub>) การสนับสนุนและการให้คําปรึกษาผู้เรียน (X<sub>8</sub>) และสิ่งอํานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน (X<sub>9</sub>) สามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจของนักศึกษาได้ร้อยละ 72.8 โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์เท่ากับ 0.26611 และมีสมการพยากรณ์ดังนี้คือ <img style="font-size: 0.875rem;" title="Z\hat{y}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?Z\hat{y}" /><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.109Z</span><sub>X1</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> + 0.146Z</span><sub>X2</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> + 0.089Z</span><sub>X3</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> + 0.082Z</span><sub>X4</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> + 0.102Z</span><sub>X5</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> + 0.249Z</span><sub>X6</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> + 0.151Z</span><sub>X7</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> + 0.134Z</span><sub>X8</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> + 0.099Z</span><sub>X9</sub></p> สุรเดช หวังทอง, ณัฐปภัสษ์ จุ้ยเจริญ, จีราภรณ์ สุธัมมสภา Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/258900 Fri, 08 Dec 2023 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยความสำเร็จในการจัดการการศึกษาทางไกล หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/258899 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างตัวแบบโครงสร้างองค์ประกอบปัจจัยความสำเร็จในการจัดการการศึกษาทางไกล หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปัจจุบันในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2561 และยังคงมีสถานภาพนักศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 400 คน วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของปัจจัยความสำเร็จในการจัดการการศึกษาทางไกล หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองพบว่า ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการการศึกษาทางไกลประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ มีความสำคัญเท่ากัน โดยมีน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.945, 0.926, 0.923, 0.918, 0.914, 0.827, 0,808, 0.712 และ 0.686</p> <p>ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบเชิงประจักษ์พบว่า ค่าสถิติไคสแควร์ (X<sup>2</sup>) เท่ากับ 444.466 ที่องศาอิสระ 442 มีความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.458 ค่าสถิติไคสแควร์สัมพัทธ์ (X<sup>2</sup>/df) เท่ากับ 1.006 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (Goodness of Fit Index: GFI) เท่ากับ 0.936 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (Adjusted Goodness of Fit Index: AGFI) เท่ากับ 0.909 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืนเปรียบเทียบ (Comparative Fit Index: CFI) เท่ากับ 1.000 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของเศษเหลือ (Root Mean square Residual: RMR) เท่ากับ 0.014 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (Root Mean Square Error of Approximation: RMSEA) เท่ากับ 0.004 แสดงว่า โมเดลองค์ประกอบปัจจัยความสำเร็จในการจัดการการศึกษาทางไกล หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แสดงว่า ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการการศึกษาทางไกล หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ข้อกำหนดของหลักสูตร โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร กลยุทธ์การเรียนและการสอน การประเมินผู้เรียน คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน คุณภาพผู้เรียน การสนับสนุนและการให้คําปรึกษาผู้เรียน และสิ่งอํานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน</p> วราภรณ์ สุขแสนชนานันท์, วุฒิภาค พูลบัว, กัลย์ ปิ่นเกษร Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/258899 Fri, 08 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับสื่อดิจิทัลที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ด้านจำนวนและการดำเนินการของเด็กปฐมวัย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/258296 <p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์ด้านจำนวนและการดำเนินการของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับสื่อดิจิทัล กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กชาย – หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนชุมชนบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์การโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่อดิจิทัล 2) แบบประเมินความสามารถทางคณิตศาสตร์ด้านจำนวนและการดำเนินการของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่อดิจิทัล มีความสามารถทางคณิตศาสตร์ด้านจำนวนและการดำเนินการของเด็กปฐมวัย โดยรวมและรายด้านประกอบด้วยด้านการนับปากเปล่า การนับอย่างรู้ค่าจำนวน การเปรียบเทียบจำนวน การเรียงลำดับ การรวมกลุ่ม การแยกกลุ่ม หลังการทดลองสูงขึ้น กว่าก่อนการทดลอง และผลจากการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมในขณะทำกิจกรรมพบ ว่า เด็กนับปากเปล่า 1-20 นับปากเปล่าถอยหลัง 10-1 นับสิ่งของตามจำนวน 1-20 เรียงลำดับสิ่งของได้ 5 ลำดับ รวมกลุ่มสิ่งต่างๆ และพูดบอกผลรวมไม่เกิน 10 ได้ แยกกลุ่มและพูดบอกผลคงเหลือได้อย่างถูกต้อง</p> อภัสรา ประชาโรจน์, อรพรรณ บุตรกตัญญู, เพ็ญศรี แสวงเจริญ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/258296 Fri, 08 Dec 2023 00:00:00 +0700 การรู้ดิจิทัลและพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/256074 <p>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรู้ดิจิทัลและพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อศึกษาความแตกต่างการรู้ดิจิทัล พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์จำแนกตามเพศและคณะ และเพื่อหาความสัมพันธ์การรู้ดิจิทัล และพฤติกรรมในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการรู้ดิจิทัล และพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ Google Forms สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติทดสอบ t-test independent การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การรู้ดิจิทัลทั้ง 5 ด้านนั้น ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการจัดการความเป็นส่วนตัว รองลงมา คือ ด้านการสื่อสารและการมีจริยธรรมในโลกออนไลน์ การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ การรู้เท่าทันสื่อ และการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ตามลำดับ การรู้ดิจิทัลส่งผลทางบวกต่อพฤติกรรมในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศิลปศาสตร์มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ สูงกว่าคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ การรู้ดิจิทัลในด้านการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลของนักศึกษาหญิงและชายแตกต่างกัน</p> สุพัชรี ภู่อาวรณ์, ศิรินทร มีขอบทอง, ชิตพล ดีขุนทด Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/256074 Fri, 08 Dec 2023 00:00:00 +0700 การติดตามและประเมินผลนโยบายการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/257961 <p>การศึกษาวิจัยเพื่อติดตามและประเมินผลนโยบายการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาค พื้นดินในระบบดิจิตอล** ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา ติดตามและประเมินผลนโยบาย กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ในช่วงปีระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2562- ปัจจุบัน) เรื่อง “นโยบายการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลเพื่อการศึกษา” และ 2) เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะต่อกสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ กลุ่มตัวอย่าง และผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ 1) ประชาชนทั่วไป นักเรียน บุคลากรการ ศึกษา โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,000 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนของประชากรที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาคๆ ละ 400 คนคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นตัวแทนจากกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยการประชุมกลุ่มย่อยจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กลุ่มย่อย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา สถิติเชิงอ้างอิง และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเห็น ความต้องการและความคาดหวังเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากคลื่นฯโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มที่พบว่ามีการใช้ประโยชน์มากที่สุดคือ กลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มครู กลุ่มบุคลากรการศึกษา และกลุ่มนักเรียนตามลำดับ โดยพบว่าสามารถใช้คลื่นเพื่อประโยชน์ในการเรียนได้จริง สามารถเรียนรู้ต่อได้ด้วยตนเอง ส่วนประเด็นปัญหาที่พบมากที่สุดคือ อุปกรณ์ เครื่องมือ สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่มีและราคาสูง กล่องรับสัญญาณคลื่น ตามด้วยการไม่ทราบเกี่ยวกับช่องทางการเข้าถึง และการออกแบบ การสร้างสรรค์รายการที่น่าสนใจ และ 2) ข้อเสนอการขับเคลื่อนต่อเรียงตามลำดับคือ การขับเคลื่อนเชิงนโยบายและแนวทางกำกับดูแล การพัฒนาและออกแบบแพลตฟอร์มระดับชาติเพื่อการศึกษากลางที่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน ด้วยการจัดสรรงบประมาณที่ชัดเจนและนำไปสู่การสนับสนุนและพัฒนาอุปกรณ์ เครื่องมือ สัญญาณอินเทอร์เน็ต การพัฒนาเนื้อหา หลักสูตร การพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องทุกระดับ การพัฒนาการออกแบบสร้างสรรค์รายการและวิธีการเรียนการสอนที่เข้าสมัย การสร้าง สรรค์สื่อ การใช้กลไกทางการตลาด และการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้ทั่วถึงมากขึ้นกับทุกกลุ่มเป้าหมายและประชาชนทุกคนในสังคมไทย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการสนับสนุนและการส่งเสริมเชิงนโยบายที่ชัดเจนคือพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ฯลฯ</p> กมลรัฐ อินทรทัศน์ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/257961 Fri, 08 Dec 2023 00:00:00 +0700 การออกแบบสารในการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/261331 <p>งานวิจัยเรื่อง “การออกแบบสารในการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ไทย” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการออกแบบสารในการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ไทย (2) เพื่อศึกษาการรับรู้ความหมายที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ไทย (3) เพื่อศึกษาการออกแบบสารในการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของผู้ผลิต และการรับรู้ความหมายของผู้ซื้อ มีความสอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไร ในสถานการณ์ตลาดปัจจุบัน ในตรรกะการบริโภคสินค้าบ้านที่อยู่อาศัยของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ไทย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดของฌอง โบดริยารด์ (Jean Baudrillard) เรื่องตรรกะการบริโภค อีกทั้งมีแนวคิดสัญวิทยา,แนวคิดรสนิยมของปิแอร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Bourdieu) และแนวคิด การสื่อสารตลาดแบบบูรณาการมาเป็นแนวทางในการศึกษา ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในโฆษณาที่ปรากฏบนเครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ไทย ผนวกกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 18 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) การออกแบบสารบนเนื้อหาในงานโฆษณาที่ปรากฏทางเครื่องมือสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ในการสร้างความหมายให้แก่บ้านที่อยู่อาศัย คือ ตรรกะการบริโภคค่าแลกเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์มากที่สุด รองลงมาคือตรรกะการบริโภคเชิงสัญญะ ลำดับถัดมาคือตรรกะการบริโภคค่าแลกเปลี่ยนเชิงเศรษฐศาสตร์ และสุดท้ายคือตรรกะการบริโภคเชิงประโยชน์ใช้สอย ตามลำดับ (2) ผู้ซื้อรับรู้ความหมายตรรกะการบริโภคค่าแลกเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์มากที่สุด โดยให้ความสำคัญกับการบริโภคภาพลักษณ์ของสินค้าจากผู้ประกอบการ รองลงมาคือตรรกะการบริโภคเชิงสัญญะ เพื่อแสดงความแตกต่างและตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตเฉพาะตัว ลำดับถัดมาคือตรรกะการบริโภค ค่าแลกเปลี่ยนเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยจะพิจารณา ด้านราคา และความคุ้มค่า และเกณฑ์พิจารณาของธนาคารในการกู้สินเชื่อบ้าน และผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นสำคัญ และลำดับสุดท้ายคือตรรกะการบริโภคเชิงประโยชน์ใช้สอย เนื่องจากผู้ซื้อมิได้รับรู้บ้านเป็นเพียงวัตถุสินค้าใช้งาน นอกจากนี้ยังพบอีกตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อ คือ รสนิยม (3) พบความสอดคล้องระหว่าง การออกแบบสารเพื่อสร้างตรรกะการบริโภคของผู้ประกอบการ และการรับรู้ความหมายของผู้ซื้อในตรรกะการบริโภคสินค้าบ้านของบริษัทอสังหาริมทรัพย์</p> <p>โดยภาพรวม บ้านถูกรับรู้ในความหมายทางสัญลักษณ์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและผู้อยู่อาศัย และแสดงออกถึงสถานะทางสังคมของผู้ซื้อ ดังนั้นผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จึงสร้างความหมายบางอย่าง นอกเหนือจากการเป็นสินค้าหนึ่งในตลาดให้แก่ผู้ซื้อ ทำให้เกิดชุดความหมายมากมาย ขึ้นกับผู้ซื้อจะเชื่อมโยงตนเองและแสดงออกว่าบ้านที่อยู่อาศัยนั้นมีความหมายต่อตนอย่างไร ทั้งนี้ยังพบว่าผู้ซื้อใช้เหตุผลทางอารมณ์ และความรู้สึกมากกว่าเหตุผลของความจำเป็นพื้นฐาน</p> อาจารีย์ เมฆศิริ, อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/261331 Fri, 08 Dec 2023 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อลดความรุนแรงในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุของรัฐบาลไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/259879 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหามาตรการทางกฎหมาย แผน นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อลดความรุนแรงในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุของรัฐบาลไทยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาวิธีการสื่อสาร 2. เพื่อศึกษาประเภทสื่อ 3. เพื่อศึกษาเนื้อหาสาร 4. เพื่อศึกษาช่องทางการสื่อสารเพื่อลดความรุนแรงในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุของรัฐบาลไทย</p> <p>แหล่งข้อมูลเชิงเอกสาร ได้แก่ 1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2) นโยบาย ของกรมกิจการผู้สูงอายุ 3) แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ 4) ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 5) มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมผู้สูงอายุ มติสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ ปี 2564 6) ประมวล กฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 7) พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546, 2560 8) ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง การคุ้มครอง การส่งเสริม และสนับสนุนการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบความเดือดร้อน 9) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 19 เล่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป</p> <p>ผลการวิจัย พบว่ากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อลดความรุนแรงในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุของรัฐบาลไทย มี ดังนี้ 1. วิธี การสื่อสาร ได้แก่ 1) การกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ 2) การผลักดันนโยบาย มาตรการ กลไก 3) การปรับเปลี่ยนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อบังคับ ให้เอื้อต่อการทำงานด้านผู้สูงอายุ 4 ) พัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมประชากรรองรับผู้สูงอายุ 5) พัฒนาระบบการดูแล คุ้มครองพิทักษ์สิทธิสำหรับผู้สูงอายุ 2. ประเภทสื่อ ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกิจกรรม สื่อมวลชน 3. เนื้อหาสาร ได้แก่ การสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับหลักประกันยามชราภาพ กำหนดเนื้อหาสารเกี่ยวกับมาตรการเพื่อกระตุ้นสังคมกตัญญูพัฒนากำลังคนภาครัฐให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและทัศนคติ เพื่อการเป็นประชาชนสูงอายุที่มีศักยภาพ 4. ช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ 1) การสร้างเครือข่ายสถานศึกษา ชุมชน 2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หุ้นส่วน ภาคี หน่วยงานภาครัฐ</p> ปิยฉัตร ล้อมชวการ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/259879 Fri, 08 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมและแรงจูงใจต่อการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/258751 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ดำเนินการโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและทดสอบหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เรื่องเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และ2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เรื่องเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อพัฒนาแรงจูงใจต่อการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งมาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และแบบประเมินแรงจูงใจต่อการเป็นผู้ประกอบการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกันและทดสอบค่าทีแบบกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหลังเรียนด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) แรงจูงใจต่อการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหลังเรียนด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบสูงกว่าก่อนเรียนและอยู่ในเกณฑ์ระดับดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ณัฏฐพร ผาแก้ว, สุรีย์พร สว่างเมฆ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/258751 Fri, 08 Dec 2023 00:00:00 +0700 การจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย: การศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/259694 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบ/วิธีการในการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์ 2) ศึกษาปัจจัยสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ 3) ศึกษาผลลัพธ์ของการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ 4) ปัญหา อุปสรรคและแนวทางในการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์</p> <p>การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารระดับสูงของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลสหกรณ์ออมทรัพย์ดีเด่นด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม ประจำปี 2560 จำนวน 13 สหกรณ์ โดยการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการแปลความและตีความข้อมูล เพื่อหาข้อสรุปในประเด็นต่างๆ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบ/วิธีการในการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์ สหกรณ์จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรในการให้มีความคิดใหม่ๆ ที่แตกต่างออกไปจากเดิมในการที่จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ได้ โดยสหกรณ์จะต้องดำเนินการ คือ (1) การบ่มเพาะความคิด สร้างจิตสำนึก และสร้างแรงจูงใจ (2) การไปอบรมศึกษาดูงาน (3) การให้ความรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และ (4) การติดตามและประเมินผล 2) ปัจจัยสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์ โดยผู้บริหารของสหกรณ์ต้องมีภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์เข้ามาบริหารการจัดการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งใหม่ๆ สร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากร และเป็นบรรทัดฐานในการทำงานเพื่อก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การสร้างวัฒนธรรมองค์การเป็นการส่งเสริมและสร้างค่านิยมร่วมกันให้เกิดขึ้นในสหกรณ์ โดยให้บุคลากรสร้างพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งหวังก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และเป็นนวัตกรรมได้ โดยมีกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้บุคลากรพัฒนาทักษะ ความรู้ และความสามารถเพื่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการจัดการทรัพยากรในองค์การในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านกายภาพ ด้านการเงิน และด้านการจัดการทรัพยากรทางปัญญา 3) ผลลัพธ์ของการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์ การดำเนินงานของสหกรณ์มีเป้าหมายมุ่งที่จะพัฒนาสหกรณ์ให้มีศักยภาพสามารถที่จะแข่งขันกับองค์การธุรกิจภาคเอกชนได้ การนำข้อมูลสารสนเทศประกอบการตัดสินใจ เน้นการวัดผลการดำเนินงานทางการเงิน สิ่งสำคัญสหกรณ์ต้องมุ่งเน้นกระบวนการให้บุคลากร องค์การ ได้พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะอื่นๆ เพื่อผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 4) ปัญหาอุปสรรค พบว่า สหกรณ์ออมทรัพย์บางแห่งไม่มีการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง ลักษณะการทำงานเป็นแบบเดิมๆ กรรมการสหกรณ์และเจ้าหน้าที่ไม่สนใจที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ยึดติดกับสิ่งเดิมๆ ไม่คิดนอกกรอบ ไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่เกิดประโยชน์ต่อสหกรณ์ โดยแนวทางในการจัดการความคิดสร้างสรรค์ทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นนวัตกรรมและส่งผลต่อการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้ โดยกำหนดเป็นเชิงนโยบายหรือกลยุทธ์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่วงการสหกรณ์ต่อไปในอนาคต</p> วรชัย สิงหฤกษ์, ศิริลักษณ์ นามวงศ์ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/259694 Fri, 08 Dec 2023 00:00:00 +0700 แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการการเกษตรในเขตจัดรูปที่ดินและ เขตระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/259724 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการการเกษตร 2) ปัญหาการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการการเกษตร และ 3) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการการเกษตรในเขตจัดรูปที่ดินและเขตระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม</p> <p>ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจัดรูปที่ดินและเขตระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม จังหวัดชัยนาท กาฬสินธุ์ และพัทลุง จำนวน 348, 595 และ 567 คน ตามลำดับ กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.1 ได้กลุ่มตัวอย่าง 78, 86 และ 85 คน ตามลำดับ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัจจัยการมีส่วนร่วมและปัญหาการมีส่วนร่วมของเกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ 2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ได้แก่ เกษตรกร ผู้ประกอบการ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร และนักวิชาการทางการเกษตรในมหาวิทยาลัย จำนวน 50 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของเกษตรกร จำนวน 13 ตัวแปร ผลปรากฏว่ามี 12 ตัวแปรทุกตัวถูกจัดเข้าองค์ประกอบ โดยสรุปได้เป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยภายใน มีจำนวน 8 ตัวแปร และปัจจัยภายนอก มีจำนวน 4 ตัวแปร 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของปัญหาการมีส่วนร่วมของเกษตรกรจำนวน 22 ตัวแปร ผลปรากฏว่า ตัวแปรทุกตัวถูกจัดเข้าองค์ประกอบ โดยสรุปได้เป็น 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัญหาด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดระบบการเกษตรและวางแผนการผลิต มีจำนวน 7 ตัวแปร ปัญหาด้านสมาชิกและผู้นำในการมีส่วนร่วมในการจัดระบบการเกษตร มีจำนวน 6 ตัวแปร ปัญหาด้านภูมิปัญญา/เทคโนโลยีทางการผลิตและกติกา/ข้อตกลงทางการผลิต มีจำนวน 4 ตัวแปร ปัญหาด้านทุนและทรัพยากร มีจำนวน 3 ตัวแปร และปัญหาด้านสิ่งจูงใจในการได้รับผลตอบแทน มีจำนวน 2 ตัวแปร 3) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมประกอบไปด้วย 6 แนวทาง ได้แก่ (1) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนของกระบวนการทำงาน (2) การส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (3) การออกแบบวิธีการ/กิจกรรมที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน (4) การสร้างกิจกรรมให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง (5) การสร้างกลไกขับเคลื่อนกระบวนการมีส่วนร่วมในระดับต่างๆ และ (6) การเชื่อมโยงหน่วยงานภาคีเครือข่าย</p> พลสราญ สราญรมย์, สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, ศิรส ทองเชื้อ, วรรธนัย อ้นสำราญ, สัจจา บรรจงศิริ, บำเพ็ญ เขียวหวาน, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/259724 Fri, 08 Dec 2023 00:00:00 +0700 ภาพสะท้อนของผู้มีส่วนได้เสียทางการศึกษาต่อการปรับกระบวนทัศน์ทางรัฐศาสตร์ ภายหลังสถานการณ์โควิด 19: กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/258479 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนของผู้มีส่วนได้เสียทางการศึกษาต่อการปรับกระบวนทัศน์ทางรัฐศาสตร์ภายหลังสถานการณ์โควิด 19 กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 62 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจภาคสนามโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตลอดจนการระดมสมองจากคณาจารย์ ผู้บริหาร ตัวแทนเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาและตัวแทนนักศึกษา จำนวน 10 คน สำหรับเสนอแนวทางจัดการเรียนการสอนที่สอดรับกับบริบทร่วมสมัย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อแนวทางดำเนินงานหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิตภายใต้สถานการณ์โควิด 19 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\small \bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\dpi{100}&amp;space;\fn_phv&amp;space;\small&amp;space;\bar{x}" /> = 4.12, S.D. = 0.99) เรียงตามลำดับเป็นรายด้านดังนี้ ด้านการวางแผนนโยบายการบริหาร ด้านการพัฒนาผู้สอน/บุคลากร ด้านการประเมินผลการสอนและด้านการจัดการเรียนการสอน ขณะที่ข้อเสนอแนวทางการปรับกระบวนทัศน์การจัดการศึกษาทางรัฐศาสตร์จากภาพสะท้อนของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ภายหลังสถานการณ์โควิด 19 หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิตควรสร้างองค์ความรู้เชิงอำนาจซึ่งอยู่ภายใต้ขอบข่ายที่สัมพันธ์กับจุดยืนทางญาณวิทยาว่าด้วยกระแสและอิทธิพลของสื่อ สารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลทางรัฐศาสตร์ รวมทั้งปรับวิธีวิทยาวิเคราะห์ขอบข่ายเชิงเนื้อหาตามภูมิทัศน์การเมืองแบบใหม่ที่หลากหลายมากขึ้น</p> อัศว์ศิริ ลาปีอี, ฐากร สิทธิโชค, อาหมาด อาดตันตรา Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/258479 Fri, 08 Dec 2023 00:00:00 +0700 โมเดลแบบผสมรูปแบบการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดในประเทศไทยกับการประยุกต์ใช้จากการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดนานาชาติในช่วงสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/260175 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์รูปแบบการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดในประเทศไทย (Occupational Therapy Services in Thailand: OTST) กับการประยุกต์ใช้จากการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดนานาชาติ (Applications from International Occupational Therapy Practices: IOTP) ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยโมเดลแบบผสม และ ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์ ประกอบด้วย ตัวแปรรูปแบบการให้บริการที่พัฒนาขึ้น กับ ตัวแปรการประยุกต์ใช้จากการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดนานาชาติมาใช้ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักกิจกรรมบำบัดที่ให้บริการในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 153 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม LISREL 8.8 Student ผลการวิจัย ความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์รูปแบบการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดในประเทศไทย กับการประยุกต์ใช้จากการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดนานาชาติ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า χ<sup>2</sup> = 3.71, <em>df</em> = 5, <em>p</em> = 0.59, χ<sup>2</sup>/<em>df</em> = 0.97; RMSEA =0.00; SRMR= 0.05; GFI= 0.97; AGFI=0.94 รวมทั้ง ตัวแปรรูปแบบการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดในประเทศไทย ยังส่งผลต่อการประยุกต์ใช้จากการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดนานาชาติ เท่ากับ 0.24 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งทั้งสองผลลัพธ์นี้สะท้อนกลยุทธ์การเรียนรู้และการพัฒนาสำหรับเทคโนโลยีระดับต้น-กลาง-สูง การประยุกต์ที่ยั่งยืนจากแนวทางนานาชาติให้โอกาสการบริการสาธารณสุขทางไกลและการอบรมออนไลน์สำหรับกิจกรรมบำบัดในประเทศไทย อันมีความหมายสู่การทดสอบประสิทธิผลของการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดอิงกิจกรรมรูปแบบการดำเนินชีวิตบนฐานวิถีชีวิตใหม่</p> วัฒนารี อัมมวรรธน์, ศุภลักษณ์ เข็มทอง, มะลิวัลย์ เรือนคำ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/260175 Fri, 08 Dec 2023 00:00:00 +0700 การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน และการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน: ความรู้เบื้องต้นสำหรับการนำไปใช้จัดการเรียนรู้ออฟไลน์ และออนไลน์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/261380 <p>การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน และการเรียนรู้โดยการใช้วิจัยเป็นฐาน เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และมีความคล้ายคลึงกันหลายประการโดยเฉพาะกระบวนการการจัดการเรียนรู้ แต่มีความแตกต่างกันที่จุดเน้นของแต่ละรูปแบบการเรียนรู้ โดยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีจุดเน้นที่การใช้ปัญหาจริงที่เกิดขึ้นมาเป็นตัวตั้งในการเรียนรู้ ส่วนการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานจะเน้นที่การผลิตโครงการ หรือการนำเสนอตัวผลผลิต และการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานเน้นที่การใช้งานวิจัย ผลการวิจัย หรือกระบวนการวิจัยเป็นตัวตั้งในการจัดการเรียนรู้ การเรียนรู้ทั้งสามรูปแบบช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะที่สำคัญต่างๆ เช่น การแก้ไขปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเรียนรู้แบบร่วมมือ ทั้งสามรูปแบบมีความเหมาะสมกับการประเมินผลตามสภาพจริง และยังสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และผสมผสานได้อีกด้วย นอกเหนือจากข้อดีของการจัดการเรียนรู้ทั้งสามรูปแบบยังมีข้อเสียและข้อพึงระวังในการนำไปใช้ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ผู้เรียน บทเรียน และสภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนรู้</p> สุรไกร นันทบุรมย์ Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/261380 Fri, 08 Dec 2023 00:00:00 +0700