วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ <p>วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา จัดพิมพ์โดยศูนย์การเมือง สังคม เเละอาณาบริเวณศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและกลุ่มประเทศอาเซียน ในยามที่กลุ่มกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น มีหลากหลายมิติในเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ครอบคลุมทางด้านการเมือง ความมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ ปรัชญา สังคม กฎหมาย อัตลักษณ์ด้าน ศาสนา ชาติพันธุ์ การสื่อสาร ภาษา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วรรณกรรม ชุมชน ท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการ และธรรมาภิบาล เป็นต้น ทั้งนี้ การตีพิมพ์กับวารสารเอเชียตะวันออกเเละอาเซียนศึกษาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยรามคำเเหง จึงไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายกับผู้เขียน</p> <p>ISSN : 3056-9567 (Print)</p> <p>ISSN : 3056-9575 (Online)</p> ศูนย์การเมือง สังคมและอาณาบริเวณศึกษา th-TH วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา 1686-378X <p>บทความที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทัศนะและข้อคิดเห็นจาก บทความในวารสารเป็นของผู้เขียน ไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำและศูนย์การเมือง สังคม และอาณาบริเวณศึกษา การนำบทความในวารสารไปตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจาก กองบรรณาธิการ</p> A Lacanian Subjectivity and the Politics of Resistance in Thailand’s Youth-led Protests in 2020-2021: the Hysteric, the Thing, and the Real https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/273937 <p>This article aims to bring the notion of subjectivity articulated by Jacques Lacan, a French critical psychoanalyst, to study Thai politics. It focuses on Lacanian subjectivity, the notion which must be paradigmatically discussed by amalgamating with other relevant notions, notably, the hysteric, the Thing, and the Real, having the scenario of Thailand’s protest in 2020-2021 to be a case study that helps illuminate the relationship between Lacanian subjectivity and politics of resistance. Understanding subjectivity in this route will enable one to avoid reducing subjectivity to the factor of generational division. As Thai politics has hitherto been academically influenced by and discussed via the issues of democratization, a history of political economy, and a consolidation of democracy, all of those non-psychoanalytic perspectives are entwined with the actuality of social movement aims to wither away a political bloc of establishment. Consequently, with such continuity in academic debate, the aspect of subjectivity is unfortunately negated. To bring it back means that addressing subjectivity – a crucial notion in psychoanalysis – with the empirical case study of the Thai youth-led movement in 2020-2021 is committed in this article, which is fueled with a motif in filling in such intellectual lacuna obvious in Thai politics.</p> ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 24 2 1 21 วาทกรรม: การสร้างความได้เปรียบทางการเมือง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/274224 <p>บทความนี้ พยายามชี้ให้เห็นว่า วาทกรรมทางการเมือง มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ และสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการดึงดูดสื่อกระแสหลัก กระแสรอง รวมทั้งชักชวนมวลชน ให้ร่วมในอุดมการณ์ของผู้สร้างทั้งที่เป็นบุคคลหรือพรรคการเมือง หรือแม้กระทั่งในนามองค์การที่เกี่ยวข้องกับการเมือง วาทกรรมทางการเมืองที่นำเสนอแต่ละวาทะ หากมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ เชิงสร้างสรรค์ หรือเชิงรณรงค์เพื่อสร้างกระแสในทิศทางใดก็ตาม วาทกรรมทางการเมืองสามารถครอบงำ ให้เลือกปฏิบัติ เกิดการเลือกฝ่ายเลือกข้าง ฯลฯ ดังนั้น การสร้างวาทกรรมทางการเมืองให้มีอิทธิพลตามกรอบของภาษาศาสตร์สมัยใหม่ และเน้นย้ำคุณลักษณะแนวคิดวาทกรรมทางการเมือง สำหรับใช้เป็นแนวทางการสร้างการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ และประสิทธิผลของวาทกรรมที่เกิดจากวาทะที่นำมาใช้สร้างความได้เปรียบทางการเมือง</p> กิตตินันท์ วงษ์สุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 24 2 22 35 การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/275730 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยใช้กรอบการศึกษาตามแนวคิดการเลือกตั้งในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยประกอบกับการศึกษา การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พบว่า สมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้วุฒิสภาแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา โดยในช่วงเวลาแรกจะเป็นไปตามบทเฉพาะกาลได้กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาประกอบด้วย จำนวน 250 คน ที่มาจากการสรรหา และช่วงที่ 2 ให้วุฒิสภาที่ประกอบไปด้วยสมาชิก จำนวน 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งบุคคลเหล่านี้จำเป็นต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ในลักษณะของสาขาอาชีพ และลักษณะที่หวังผลประโยชน์ หรือทำงานด้านต่าง ๆ ร่วมกันที่มีความหลากหลายในสังคม โดยสมาชิกวุฒิสภาจะมีหน้าที่และอำนาจในการกลั่นกรองกฎหมาย ตรวจสอบรัฐบาลในฐานะรัฐสภา โดยวุฒิสภาจะมีอำนาจในการให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งวุฒิสภาดังกล่าวไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนแต่กลับมีอำนาจเทียบเท่ากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากประชาชน</p> เกรียงไกร ไกรนรา Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 24 2 105 121 ความร่วมมือนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและไทยในยุคลินดอน บี. จอห์นสัน และจอมพลถนอม กิตติขจร ช่วงทศวรรษ 1960 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/277328 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความร่วมมือระหว่างการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและไทยในช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คือ ลินดอน บี. จอห์นสัน (ค.ศ. 1963-1969) และนายกรัฐมนตรีของไทย คือ จอมพลถนอม กิตติขจร (ค.ศ. 1963-1973) เป็นช่วงเวลาที่สหรัฐอเมริกานำนโยบายทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า นโยบายการสร้างสังคมที่ยิ่งใหญ่ ส่วนไทยเป็นยุคการพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมขั้นพื้นฐานที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวนมากจากสหรัฐอเมริกา เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอยู่บนพื้นฐานของฉันทามติแห่งเสรีนิยมและการพัฒนา เป็นสำคัญ แม้ว่าในช่วงทศวรรษ 1960 ไทยจะปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหาร ส่วนสหรัฐอเมริกาเป็นตัวแทนของฝ่ายเสรีประชาธิปไตย แต่สหรัฐอเมริกาไม่สนใจว่ารัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร จะมีรูปแบบการปกครองเป็นแบบใด ถ้าสามารถอำนวยความสะดวกให้เข้ามาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานได้ รวมถึงเป็นพันธมิตรในการสกัดกั้นภัยคอมมิวนิสต์ สหรัฐอเมริกาพร้อมยินดีให้การช่วยเหลือและสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาในการแสวงหาพันธมิตรในประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่จำเป็นจะต้องมีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ถ้ามีนโยบายทางเศรษฐกิจที่เปิดเสรีและสกัดกั้นภัยคอมมิวนิสต์แล้วก็สามารถที่จะเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาได้ อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและไทยในช่วงเวลาดังกล่าวต้องลดระดับลง เป็นผลมาจากการที่สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม และภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องลดการสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานแก่ไทย รวมถึงสนับสนุนให้มีการจัดเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1969 เพื่อพัฒนาการเมืองไทยให้เข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยภายหลังที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารมาอย่างยาวนาน</p> ปิยะภพ เอนกทวีกุล Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 24 2 170 191 The Suitable Bureaucracy in Different Societies: Lessons and Solutions for Developing Knowledge Regarding the 21st Century Bureaucracy https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/277966 <p>Societies in the 21<sup>st</sup> century are complex, diverse and dynamic. Therefore, it is impossible to create a bureaucracy that is suitable for all societies, but developing a suitable bureaucracy for various societies will face the problem of fragmented knowledge that makes it challenging to understand and apply such knowledge practically, potentially leading to the decline of the discipline similar to the past. Therefore, this article proposes a solution by using a comparative study approach to create models of relationships between factors and practices in the form of conditions to develop suitable Bureaucracy in different societies without facing the above issues.</p> Sakonrat Jirarungruangwong Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 24 2 192 209 ส่วนหน้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/278226 wannida promnimit Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 24 2 i xvii บทบาทของกลุ่มทุนโทรคมนาคมกับการกำหนดนโยบายของรัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531–2566 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/275190 <p>บทความเรื่อง “บทบาทของกลุ่มทุนโทรคมนาคมกับการกำหนดนโยบายของรัฐบาล ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2531-2566” ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (key-informants) ผลการวิจัย พบว่า (1) พัฒนาการทางการเมืองของกลุ่มธุรกิจทุนโทรคมนาคม ตั้งแต่ พ.ศ. 2531-2566 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1.1) กลุ่มโทรศัพท์พื้นฐาน ภาพรวมพัฒนาการมีจำนวนการใช้ลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป (1.2) กลุ่มดาวเทียม มีผู้ให้บริการเพียงรายเดียว คือ บริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน) (1.3) กลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาพรวมพัฒนาการมีจำนวนการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะคนหันไปใช้โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น (2) รูปแบบ วิธีการ และเครื่องมือของกลุ่มทุนโทรคมนาคมในการกำหนดนโยบาย ตั้งแต่ พ.ศ. 2531-2566 ประกอบด้วย (2.1) การสร้างเครือข่ายพันธมิตรในลักษณะกลุ่มผลประโยชน์ (group interest) (2.2) กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มทุนโทรคมนาคม มีปัจจัยหลัก คือ การเข้ามามีอำนาจในการกำหนดนโยบายของรัฐบาล และผูกขาดสัมปทานโทรคมนาคม (2.3) การล็อบบี้ กลุ่มทุนโทรคมนาคมได้มีการใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อพยายามเข้ามามีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาล (3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทุนและการเมืองที่มีต่อนโยบายสาธารณะในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2531-2566 กลุ่มทุนสร้างสายสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับชนชั้นนำ กลุ่มขุนนาง นักวิชาการ และนักการเมือง จนกลายเป็น “ระบบอุปถัมภ์กึ่งผูกขาด” ภายใต้ผลประโยชน์ต่างตอบแทนกัน</p> อิทธิพล โชตินิสากรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 24 2 36 57 พฤติกรรมการเลือกใช้บริการสถานบันเทิงของนักศึกษาในเขตเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมืองนครพนม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/274413 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสถานบันเทิง ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสถานบันเทิงของผู้บริโภค 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมที่ส่งผลต่อแรงจูงใจการใช้บริการสถานบันเทิง เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเพื่ออธิบายปัจจัยพฤติกรรมการใช้บริการสถานบันเทิงต่อแรงจูงใจในการเข้าใช้บริการสถานบันเทิงของนักศึกษาในจังหวัดนครพนม ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ด้านพฤติกรรมพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความถี่ในการใช้บริการ 4-5 ครั้ง/เดือน (ร้อยละ 42, ค่าเฉลี่ย=4.16) เข้าใช้บริการในวันศุกร์-อาทิตย์ (ร้อยละ 80) มีผู้ร่วมไป 4-5 คน (ร้อยละ 49.5, ค่าเฉลี่ย=4.02) ระยะทางจากที่พัก 4-6 กม. (ร้อยละ 32.5, ค่าเฉลี่ย=4.95) เดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ (ร้อยละ 77.8) แต่งกายสไตล์แฟชั่นสายฝอ (ร้อยละ 28.5) โดยมีผู้ร่วมใช้บริการเป็นเพื่อนในมหาวิทยาลัย (ร้อยละ 75.8) ด้านแรงจูงใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.86) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ แรงจูงใจด้าน Promotion (ค่าเฉลี่ย=4.15) ด้านเพลง/ดนตรี (ค่าเฉลี่ย=4.07) ด้านบรรยากาศ (ค่าเฉลี่ย=4.03) ด้านศิลปิน (ค่าเฉลี่ย=3.92) ด้านอาหาร (ค่าเฉลี่ย=3.88) และด้านวัตถุประสงค์ (ค่าเฉลี่ย=3.85) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้บริการในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.91) โดยพึงพอใจด้านเครื่องดื่ม (ค่าเฉลี่ย=4.24) พนักงาน (ค่าเฉลี่ย=4.02) และอาหาร (ค่าเฉลี่ย=3.48) สรุปได้ว่า แรงจูงใจหลักที่สำคัญในการใช้บริการสถานบันเทิง คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด เพลง/ดนตรี บรรยากาศ</p> บุญธรรม ข่าขันมะณี ธิดารัตน์ สุขจิต ชนาธิป เกดา Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 24 2 58 83 ทัศนคติของประชาชนต่อการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/274997 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของประชาชนต่อการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บทบาทหน้าที่เทศบาลในการพัฒนาท้องถิ่นกับทัศนคติของประชาชนต่อการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลสวนหลวง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จาก 400 กลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ประชากรตำบลสวนหลวง มีทัศนคติต่อการจัดเก็บภาษีของเทศบาลมีภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ อยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านกระบวนการ / ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และด้านสภาพแวดล้อม ลำดับสุดท้ายคือ ด้านสถานที่การให้บริการ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีทัศนคติของประชาชนต่อการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลสวนหลวง แตกต่างกัน ด้านการรับรู้บทบาทหน้าที่เทศบาลในการพัฒนาท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของประชาชนต่อการจัดเก็บภาษี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้</p> เพ็ญนภา ครุฑสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 24 2 84 104 ความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงานสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/275211 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงานสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงานสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงานสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยศึกษาจากความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงานสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา ขอบเขตตามเนื้อหา ได้แก่ ความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงานสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงานสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยรวม อยู่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง</p> ธีรธร ตันยะกุล Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 24 2 122 136 นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหรัฐอเมริกาในรัฐบาลบารัค โอบามา (ค.ศ. 2009 - 2017) : ความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/275980 <p>บทความนี้อภิปรายความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหรัฐอเมริกาในรัฐบาลบารัค โอบามา โดยอาศัยกรอบการศึกษาการเมืองเกี่ยวพัน (Linkage Politics) วิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยจากการเมืองระหว่างประเทศกับการเมืองภายในของสหรัฐอเมริกา ปัจจัยภายในประเทศที่นำมาวิเคราะห์ประกอบด้วยบทบาทของผู้นำและผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ สภาพเศรษฐกิจและบทบาทของกลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์ กอปรกับปัจจัยภายนอก ที่ประกอบด้วย เหตุการณ์ทางการเมืองในระบบระหว่างประเทศ บรรยากาศทางการเมืองระหว่างประเทศและนโยบายต่างประเทศของประเทศต่างๆซึ่งส่งผลต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา บทความนี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการดำเนินนโยบายของวอชิงตันและช่วยคาดการณ์แนวโน้มในการดำเนินนโยบายและบทบาทด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในอนาคต นอกจากนี้ยังสามารถอธิบายกระบวนการและสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายดังกล่าวของสหรัฐอเมริกาต่อประเด็นสภาพภูมิอากาศโลก</p> วรวรรณ ท้วมแสง Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 24 2 137 169 แนวทางการพิจารณาและการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารเอเชียตะวันออก เเละอาเซียนศึกษาของศูนย์การเมือง สังคมและอาณาบริเวณศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/278227 wannida promnimit Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-27 2024-12-27 24 2 210 225