วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ <p>วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา จัดพิมพ์โดยศูนย์การเมือง สังคม เเละอาณาบริเวณศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและกลุ่มประเทศอาเซียน ในยามที่กลุ่มกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น มีหลากหลายมิติในเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ครอบคลุมทางด้านการเมือง ความมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ ปรัชญา สังคม กฎหมาย อัตลักษณ์ด้าน ศาสนา ชาติพันธุ์ การสื่อสาร ภาษา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วรรณกรรม ชุมชน ท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการ และธรรมาภิบาล เป็นต้น ทั้งนี้ การตีพิมพ์กับวารสารเอเชียตะวันออกเเละอาเซียนศึกษาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยรามคำเเหง จึงไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายกับผู้เขียน</p> <p>ISSN : 3056-9567 (Print)</p> <p>ISSN : 3056-9575 (Online)</p> th-TH <p>บทความที่ตีพิมพ์ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทัศนะและข้อคิดเห็นจาก บทความในวารสารเป็นของผู้เขียน ไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำและศูนย์การเมือง สังคม และอาณาบริเวณศึกษา การนำบทความในวารสารไปตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจาก กองบรรณาธิการ</p> eascram@gmail.com (Assist. Prof. Kan Boonyakanchana, Ph.D) eascram@gmail.com (Ms.Wannida Promnimit) Fri, 28 Jun 2024 17:06:28 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 โลกาภิบาลการส่งคืนศิลปวัตถุกลับคืนสู่แหล่งกำเนิด: ระเบียบกติกา ตัวแสดงและกลไกการทำงาน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/272826 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโลกาภิบาลแห่งการเรียกร้องและส่งคืนศิลปวัตถุกลับคืนสู่แหล่งกำเนิด ในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ 1) ระเบียบและกติการะหว่างประเทศที่เป็นแนวทางในการเรียกร้องและขอคืนศิลปวัตถุกลับคืนสู่ประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิด 2) ตัวแสดงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และ 3) การทำงานของของกลไกและตัวแสดงในกระบวนการโลกาภิบาล ผลการศึกษาพบว่าโลกาภิบาลการส่งคืนศิลปวัตถุกลับคืนสู่แหล่งกำเนิด มีลักษณะกระจายตัวเป็นส่วนย่อย (fragmentation) ส่งผลให้กฎหมาย ข้อตกระหว่างประเทศ ตัวแสดง รวมถึงกระบวนการในการโลกาภิบาลด้านนี้มีความแตกต่างและหลากหลาย ปราศจากระเบียบและกฎเกณฑ์ รวมถึงตัวแสดงอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีสิทธิอำนาจเด็ดขาดในการกำหนดระเบียบและขั้นตอนของการเรียกร้องขอคืนศิลปวัตถุ ด้วยเหตุนี้รัฐจึงยังคงเป็นตัวแสดงหลักที่ยังคงมีบทบาทมากที่สุดในกระบวนการของโลกาภิบาลด้านนี้ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนได้แก่ 1) การสร้างความตระหนักรู้และระดมการสนับสนุนจากสาธารณชน 2) การสร้างความเป็นสถาบันให้แก่บรรทัดฐานและกฎเกณฑ์ในการส่งมอบคืนศิลปวัตถุ และ 3) การบังคับใช้กลไกของโลกาภิบาลที่ถูกทำให้เป็นสถาบันแล้ว โดยนอกเหนือจากรัฐ ยังมีตัวแสดงอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการดังกล่าวนี้ อาทิ องค์กรระหว่างประเทศ พิพิธภัณฑ์ ภาคประชาสังคม นักวิชาการ ผู้ค้าและประมูลงานศิลปะ เป็นต้น <br /><strong>คำสำคัญ</strong>: โลกาภิบาล; ศิลปวัตถุ; การส่งกลับคืนสู่แหล่งกำเนิด</p> พงษ์พันธ์ ยอมิน, เอกลักษณ์ ไชยภูมี Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/272826 Mon, 01 Jul 2024 00:00:00 +0700 จากผู้เล่นสู่ผู้ประกอบการ: กระบวนการกลายเป็น “เอเย่นต์” ในธุรกิจพนันออนไลน์ของกลุ่มเยาวชน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/271759 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัย กระบวนการ กลายเป็น “เอเย่นต์” และสร้างข้อเสนอแนะป้องกัน แก้ไข ปัญหาการเข้าสู่ธุรกิจพนันออนไลน์ของกลุ่มเยาวชน โดยใช้ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำเป็นเครื่องมือ วิธีดำเนินการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร สัมภาษณ์และเสวนากลุ่มย่อย ส่วนการตรวจสอบข้อมูลใช้หลักการสามเส้าและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลายเป็นเอเย่นต์เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยผลักในฐานะมูลเหตุหรือแรงขับภายใน และปัจจัยดึงซึ่งเป็นเงื่อนไขภายนอกที่สร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมหรือสนับสนุน ส่วนกระบวนการกลายเป็นเอเย่นต์ของกลุ่มเยาวชนเกิดขึ้น 3 รูปแบบ คือ สมัครตามเว็บไซต์พนันออนไลน์ ถูกกลืนกลายจากเว็บไซต์พนันออนไลน์และการกระชับเครือข่าย ข้อเสนอแนะในการป้องกัน แก้ไขปัญหาการเข้าสู่ธุรกิจพนันออนไลน์ของกลุ่มเยาวชน คือ เสริมสร้างศักยภาพกลไกด้านอุดมการณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้ผู้กระทำการที่เกี่ยวกับข้องกับการพนันออนไลน์มีต้นทุนหรือแบกรับต้นทุนสูงขึ้น ใช้มาตรการทางการเงินควบคุมการเล่นและประกอบธุรกิจพนันออนไลน์ในกลุ่มเยาวชน</p> ชัยณรงค์ เครือนวน, พิมพ์ประไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/271759 Mon, 01 Jul 2024 00:00:00 +0700 พัฒนาการของเมืองและคนจนเมืองในจังหวัดชลบุรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/271916 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของเมืองและการเกิดขึ้นของคนจนเมือง ในจังหวัดชลบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า สถานะของเมืองมีลักษณะเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าชายทะเลที่เชื่อมโยงอยู่กับเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณตอนในพื้นที่ราบลุ่มทำการผลิตทางด้านเกษตรกรรม การพัฒนาทางด้านโครงสร้างโดยเฉพาะถนนสุขุมวิท และการนโยบายการพัฒนาจากรัฐ ทำให้เมืองเกิดการขยายตัว อย่างรวดเร็วพร้อมกับการเคลื่อนย้ายของผู้คนเข้ามาจากต่างถิ่นเพื่อเข้ามาแสวงหาโอกาสทางด้านเศรษฐกิจในเมืองหรือเรียกว่า “คนจนเมือง” มีรายได้ที่ไม่สูงมากพักอาศัยอยู่ใกล้แหล่งงานที่มีราคาถูกชุมชนแออัด หรือพื้นที่ที่นายจ้างจัดสรรให้ มีคุณภาพชีวิตที่ค่อนข้างต่ำ โอกาสที่จะปลดปล่อยตัวเองออกสู่ความยากจนเป็นได้ค่อนข้างยาก</p> ธนิต โตอดิเทพย์ Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/271916 Mon, 01 Jul 2024 00:00:00 +0700 สู่ชีวิตที่ดีกว่า?: เยาวชนชาวแอฟริกากับความฝันอยากเป็นนักฟุตบอล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/274062 <p>ปัจจุบัน ปรากฏความกังวลต่อการเพิ่มขึ้นของปัญหาการค้ามนุษย์ในกลุ่มนักกีฬาฟุตบอลจากภูมิภาคแอฟริกา โดยองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติจำนวนหนึ่งแสวงประโยชน์จากเยาวชนที่ต้องการเป็นนักฟุตบอลเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยล่อลวงให้เยาวชนเหล่านี้ย้ายถิ่นฐานออกจากภูมิลำเนาของตน เพื่อไป“ค้าแข้ง” ในสโมสรระดับสูง แต่แท้จริงแล้ว เยาวชนเหล่านี้กลับถูกนำไปขายแรงงานหรือขายบริการทางเพศ การเพิ่มขึ้นนี้นำมาสู่คำถามที่น่าสนใจ ว่าเหตุใดเยาวชนชาวแอฟริกาจำนวนมากจึงมีความต้องการเป็นนักฟุตบอลอาชีพ ทั้งที่มีหลายอาชีพที่สามารถนำมาซึ่งความมั่งคั่งและสามารถยกระดับชีวิตของตนเองได้เช่นเดียวกับกีฬาฟุตบอล</p> <p>โดยการศึกษาพบว่า พลวัตของโลกาภิวัตน์สร้างความผูกพันอย่างแนบแน่นระหว่างกีฬาฟุตบอลกับเยาวชนชาวแอฟริกา นำมาซึ่งมายาคติว่าอาชีพนักกีฬาฟุตบอลจะช่วยเสริมสร้างฐานะของตน ทั้งยังเป็นสิ่งที่ช่วยตอกย้ำความเป็นชายและการปฏิบัติตามเพศสภาพ ด้วยสังคมแอฟริกาคาดหวังว่าผู้ชายต้องเป็นเสาหลักของครอบครัว อีกด้านหนึ่ง ปัญหาระดับโครงสร้างของระบบการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคทำให้เยาวชนเห็นว่าการมีวิทยาฐานะไม่สามารถทำให้ชีวิตพวกเขามั่งคั่ง ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงเลือกที่จะออกจากระบบการศึกษาและผันตัวเป็นนักกีฬาฟุตบอล กลายเป็นช่องว่างให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถแสวงประโยชน์ได้</p> พสิษฐ์ วจนะดิษยาวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/274062 Mon, 01 Jul 2024 00:00:00 +0700 The State of the Chinese Communist Youth League under Xi Jinping https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/274035 <p>This article argues that under Xi Jinping’s leadership, Youth League faction (Qingniántuán: 青年团), Chinese Communist Party (CCP) members who came from Communist Youth League (CYL), has been tremendously intervened and restricted by Shanghai faction (Shànghăituán: 上海团), CCP members who came from local politics. These two factions have taken place in the CCP since Deng’s campaign of reform and opening-up. CYL is the Party organinzation dealing with youth affairs and CCP member recruitment. However, the growing numbers of CYL members and its increasing roles in youth affairs also caused other CCP members, especially those who come from locality to perceive CYL as their threat that the growing CYL would permanently dominate the Party. As Xi Jinping has been supported by Shanghai faction, the current status of CYL has been almost fully controlled by the Party, and the number of CYL member has been forced to reduce. As a result, CCP can still maintain its conservative way of the Party member recruitment and its governance for overall Chinese according to the CCP Constitution.</p> Kittipos Phuttivanich Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/274035 Mon, 01 Jul 2024 00:00:00 +0700 การทำให้เป็นท้องถิ่นของบรรทัดฐานในประเด็นสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงของญี่ปุ่น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/271218 <p>การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเป็นปัญหาระดับนานาชาติที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดความตระหนักถึงเรื่องนี้คือบทบาทขององค์การระหว่างประเทศ อย่าง สหประชาชาติ ในการผลักดันและสร้างบรรทัดฐานความเข้าใจลักษณะที่เป็นสากลในประเด็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ญี่ปุ่นเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากบรรทัดฐานที่แพร่ขยายในสังคมระหว่างประเทศจนนำไปสู่การดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นจุดยืนของญี่ปุ่นที่มักจะสนับสนุนนโยบายที่เกี่ยวข้องในสหประชาชาติ การเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญทั้งใน พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) หรือข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) การดำเนินนโยบายภายในหลายต่อหลายนโยบายโดยมีเป้าหมายในการจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามนอกจากที่เราจะเห็นค่านิยมหรือบรรทัดฐานภายนอกที่เข้ามาเป็นปัจจัยในการกำหนดนโยบายของญี่ปุ่นแล้ว การสื่อสารจากผู้นำของประเทศไปสู่ประชาชนในลักษณะที่มีการนำเอาแนวคิดความเชื่อ หรือสิ่งที่เป็นค่านิยมที่มีอยู่แล้วภายในสังคมญี่ปุ่นไปผูกกับบรรทัดฐานภายนอกที่รับเข้ามา หรือเรียกว่า การทำให้เป็นท้องถิ่น (Localization) เพื่อให้เกิดความเข้าใจและยอมรับบรรทัดฐานเหล่านั้นได้ง่าย รวดเร็ว และปราศจากแรงต่อต้านในการดำเนินนโยบาย</p> นนทิยุต ชัยพงศ์พณิชย์ Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/271218 Mon, 01 Jul 2024 00:00:00 +0700 บทบาทรัฐกับการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ค.ศ. 1976 – 2020: บทวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/271966 <p>บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของเวียดนามตั้งแต่ ค.ศ. 1976 จนถึง ค.ศ. 2020 รวมทั้งวิเคราะห์ให้เห็นถึงบทบาทของรัฐสังคมนิยมที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมภายใต้ระบบเศรษฐกิจต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลา โดยพบว่า รัฐบาลเวียดนามได้ปรับเปลี่ยนการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมให้เหมาะสมตามบริบทเงื่อนไขภายในประเทศและบริบทโลกเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ การปรับเปลี่ยนดังกล่าวส่งผลให้รัฐได้ปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้มีบทบาทหลักในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและจัดการระบบเศรษฐกิจภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนโดยส่วนกลางภายหลังการรวมประเทศไปสู่บทบาทการเป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกภายใต้การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตแบบตลาดในช่วงหลังการปฏิรูปโด่ยเหมย นอกจากนี้ ยังได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหรรมจากการทำให้เป็นอุตสาหกรรมสังคมนิยมไปสู่การทำให้เป็นอุตสาหกรรมและทันสมัยอีกด้วย</p> จิรายุทธ์ สีม่วง Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/271966 Mon, 01 Jul 2024 00:00:00 +0700 ส่วนหน้า https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/275116 wannida promnimit Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/275116 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพิจารณาและการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารเอเชียตะวันออก เเละอาเซียนศึกษาของศูนย์การเมือง สังคมและอาณาบริเวณศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/275120 wannida promnimit Copyright (c) 2024 วารสารเอเชียตะวันออกและอาเซียนศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/eascramJ/article/view/275120 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700