https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/issue/feed วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ 2023-12-20T00:00:00+07:00 Associate Professor Dr. Peera Tangtammaruk [email protected] Open Journal Systems <p>กองบรรณาธิการวารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต และบุคคลทั่วไป มีการเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะให้กว้างขวางมากขึ้น ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) โดยวารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะอยู่ในฐานข้อมูล TCI (ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย) กลุ่มที่ 2 (ประกาศ มกราคม 2563) กระบวนการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เป็นโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน แบบ Double-Blind Peer Reviewers มีการจัดทำวารสารปีละ 2 ฉบับ และ ตีพิมพ์ 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบตีพิมพ์ เริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2553 (ISSN 1906-8522) และ รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มจัดทำในปี 2558 (ISSN 2630-0028) กำหนดการตีพิมพ์เป็นราย 6 เดือน หรือ ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้</p> <p> 1)เดือน มกราคม-มิถุนายน</p> <p> 2)เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม</p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/263263 ความเชื่อมโยงของตลาดหลักทรัพย์ไทยกับตลาดหลักทรัพย์สำคัญอื่น 2023-02-27T16:22:23+07:00 อภิญญา วนเศรษฐ [email protected] รัชนี โตอาจ [email protected] <p><strong> </strong>การศึกษาความเชื่อมโยงของตลาดหลักทรัพย์ไทยกับตลาดหลักทรัพย์สำคัญอื่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ไทยกับตลาดหลักทรัพย์สำคัญ 2) ศึกษาดุลยภาพระยะยาวและความสัมพันธ์ของตลาดหลักทรัพย์ไทยกับตลาดหลักทรัพย์สำคัญที่นำมาศึกษา โดยเป็นการศึกษาผ่านการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ 5 ประเทศ ได้แก่ ดัชนีดาวโจนส์ (DJI) ในตลาดนิวยอร์กของสหรัฐอเมริกา ดัชนีนิเกอิ (Nikkei) ในตลาดโตเกียวของญี่ปุ่น ดัชนีฮั่งเส็ง (HSI) ของฮ่องกง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (STI) และดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)โดยใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายวันซึ่งเป็นราคาปิดในแต่ละตลาดช่วง มกราคม พ.ศ. 2561 ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2565 สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย การทดสอบความนิ่งของข้อมูล (unit root test) การหาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวตามวิธี cointegration และการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลตามวิธี causality</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) การเคลื่อนไหวของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ที่นำมาศึกษาในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมามีการเคลื่อนไหวในลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยดัชนีดาวโจนส์และดัชนีนิเกอิสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าดัชนีฮั่งเส็ง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ทั้ง 5 ตลาดมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวและมีความเชื่อมโยงกัน โดยดัชนีดาวโจนส์มีอิทธิพลสูงสุดต่อทุกตลาดหลักทรัพย์ที่นำมาศึกษา รองลงมา คือ ดัชนีนิเกอิ (Nikkei) และดัชนีตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามดัชนีฮั่งเส็งไม่มีอิทธิพลต่อตลาดหลักทรัพย์อื่นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเวลาที่ศึกษา สำหรับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น ได้รับอิทธิพลจาก 3 ตลาด ได้แก่ ดัชนีดาวโจนส์ ดัชนีนิเกอิ และดัชนีตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ตามลำดับ</p> <p> </p> <p> </p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/265457 การทดสอบความเป็นเหตุและผลแบบแกรนเจอร์ระหว่างราคาเนื้อไก่ ราคาเนื้อสุกร และราคาเนื้อโค 2023-03-07T19:01:46+07:00 พิจิตร เอี่ยมโสภณา [email protected] อดิศักดิ์ ลำดวน [email protected] วรัญญา สุขสว่าง [email protected] <p>การศึกษานี้ทดสอบความเป็นเหตุและผลแบบแกรนเจอร์ระหว่างราคาเนื้อไก่ ราคาเนื้อสุกร และราคาเนื้อโค โดยใช้ข้อมูลราคาเนื้อสัตว์มีชีวิตมาเป็นตัวแทน ซึ่งเป็นข้อมูลรายไตรมาสของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เราใช้ Augmented Dickey-Fuller Test&nbsp; และคัดเลือก Vector Autoregression (VAR) มาทดสอบความเป็นเหตุและผลแบบแกรนเจอร์ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ราคาไก่รุ่นพันธุ์เนื้อและราคาโคเนื้อขนาดกลางส่งผลกระทบต่อราคาสุกรมีชีวิตผ่านผลทางการทดแทน ในขณะที่ราคาสุกรมีชีวิตไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อราคาไก่รุ่นพันธุ์เนื้อและราคาโคเนื้อขนาดกลาง นอกจากนี้ เรายังไม่พบว่าราคาไก่รุ่นพันธุ์เนื้อกับราคาโคเนื้อขนาดกลางมีความเป็นเหตุและผลแบบแกรนเจอร์ระหว่างกัน</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/263344 ความเปราะบางในครัวเรือนไทยและความเหลื่อมล้ำของโอกาสการศึกษาของเด็ก: หลักฐานเชิงประจักษ์จากข้อมูลครัวเรือนและผลทดสอบสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา 2023-02-27T15:22:25+07:00 pudtan phanthunane [email protected] Direk Patmasiriwat [email protected] Pichit Ratchatapibhunphob [email protected] Meradee Inon [email protected] Witaya Kamuny [email protected] Darunee Pumkaew [email protected] <p>บทความวิจัยนี้เสนอผลวิเคราะห์สถานการณ์ของความเปราะบางในครอบครัวและความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา โดยใช้สองแหล่งข้อมูล คือ การสำรวจครัวเรือน และผลทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (O-net) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม การลักษณะการกระจาย ผลการศึกษาพบว่าครัวเรือนที่มีสมาชิกที่เป็นเด็กมีแนวโน้มจะมีความเปราะบางในเกือบทุกประเภทสูงกว่าครัวเรือนที่ไม่มีสมาชิกที่เป็นเด็ก รายได้ที่แตกต่างกันของครัวเรือนส่งผลต่อค่าใช้จ่ายหรือการลงทุนในการศึกษาที่แตกต่างกัน ในขณะที่คะแนนสอบ O-net สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำของผลลัพธ์ทางการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสถานศึกษา กล่าวคือโรงเรียนโรงเรียนในสังกัดกระทรวงอุดมศึกษา (โรงเรียนสาธิต) และการศึกษาเอกชน มีผลสอบสูงกว่าโรงเรียนประเภทอื่น ๆ โดยเปรียบเทียบ อย่างไรก็ตาม โรงเรียนในสังกัดกระทรวงอุดมศึกษากระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพปริมณฑลและจังหวัดใหญ่ มิได้กระจายในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ตอนท้ายบทความเสนอข้อคิดเห็นการจัดสรรเงินอุดหนุนที่แตกต่างสำหรับพื้นที่และนักเรียนยากจน มากกว่าการจัดสรรสูตรเดียวเท่ากันทั่วประเทศ อาจจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาอย่างน้อยระดับหนึ่ง</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/263596 การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยงและการรักสุขภาพ 2023-02-27T11:51:56+07:00 Kittikit Kittikamron [email protected] Thanya Somsrikum [email protected] Lapasrada Jaturanon [email protected] Busalin Suthikwanchai [email protected] Pornchita Poolsri [email protected] Sirikorn Luangjariyakul [email protected] Hilmee Doloh [email protected] <p>ภายใต้ความเสี่ยงและการรักสุขภาพ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 81 คน ใช้ทฤษฎีการสะกิด (Nudge) โดยการให้ข้อมูลปริมาณน้ำตาล (กรัม) และพลังงาน (กิโลแคลอรี่) ของน้ำอัดลมและน้ำผลไม้ (Anchoring Effect) รวมไปถึงการให้ Default Option แก่กลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่า จากพฤติกรรมการตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง กลุ่มผู้ทดลองที่ได้หยิบบอลเอง (Control Group) จะเลือกโยนบอลด้วยมือข้างที่ ไม่ถนัด ส่วนกลุ่มผู้ทดลองที่มีการสะกิดโดยการยื่นบอลให้มือข้างที่ถนัดและข้างที่ไม่ถนัด (Treatment Group) ส่วนใหญ่จะเลือกใช้มือข้างที่ถนัดในการโยนบอล แม้ว่าจะมีการยื่นบอลให้มือข้างที่ไม่ถนัดก็ตาม ในส่วนของพฤติกรรมการเลือกเครื่องดื่ม กลุ่มผู้ทดลองที่เลือกลู่น้ำได้เอง (Control Group) ส่วนใหญ่จะเลือกโยนลู่น้ำอัดลม ส่วนกลุ่มผู้ทดลองที่มีการสะกิดด้วยข้อมูลปริมาณน้ำตาลและพลังงานที่ได้รับ (Treatment Group 1) พบว่า ผู้ทดลองส่วนใหญ่เลือกน้ำผลไม้ และกลุ่มที่มีการพาผู้ทดลองไปยืนอยู่หน้าลู่น้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้ (Treatment Group 2 และ 3) พบว่าผู้ทดลองส่วนใหญ่เลือกน้ำผลไม้ แม้ว่าจะมีการพาไปยืนหน้าลู่น้ำอัดลมก็ตาม และผล การทดลองใน1การสังเกตพฤติกรรมความเสี่ยงที่แท้จริงของผู้ทดลอง พบว่าคำตอบในแบบสอบถามและผล การทดลองไม่ได้สอดคล้องกันทั้งหมด กล่าวได้ว่าผู้ทดลองบางคนไม่ได้เป็นคนชื่นชอบความเสี่ยงหรือไม่ชื่นชอบความเสี่ยงตลอดเวลาตาม Standard Economic Model</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/265849 การออกแบบมาตรการจูงใจเพื่อลดการคอร์รัปชัน: แบบจำลองเชิงทฤษฎี 2023-05-15T11:48:32+07:00 Loylom Prasertsri [email protected] <p class="p1">มูลเหตุสำคัญประการหนึ่งของปัญหาการคอร์รัปชันในหน่วยงานราชการเป็นผลมาจากปัญหาคุณธรรม-วิบัติ (moral hazard) เนื่องจากข้อมูลข่าวสารไม่สมมาตร (asymmetric information) ภายหลังจากที่มีการตกลงทำสัญญามอบหมายงาน โดยฝ่ายผู้บังคับบัญชาหรือเจ้านายขาดข้อมูลข่าวสารอย่างเพียงพอในการตรวจตรา<br />การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติงาน เปิดโอกาสให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน (personal gain) ด้วยการทุจริตต่อหน้าที่ สำหรับการออกแบบกลไกเชิงนโยบายเพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันนั้น ในการศึกษานี้ได้ใช้กรอบแนวคิดภายใต้แบบจำลองเจ้านายกับลูกน้อง (Principal-Agent Model) โดยการวิเคราะห์มาตรการแรงจูงใจ (incentive measure) ที่ช่วยลดพฤติกรรมการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติงาน สำหรับผลของการวิเคราะห์แบบจำลองในงานศึกษานี้ พบว่าเจ้าหน้าที่รัฐมิได้มีหลักประกันใด ๆ ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่า จะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าหากปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ดังนั้น แนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหา<br />ดังกล่าวคือการให้หลักประกันขั้นต่ำ (limited liability) เพื่อจูงใจให้ซื่อสัตย์ โดยใช้ดัชนีความซื่อสัตย์เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งของทางราชการ</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/266526 เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมการสะกิด กับ ความคิดพรุ่งนี้ฉันจะรวย 2023-05-10T15:54:56+07:00 Thittita Yommana [email protected] Kamolchnok Voradech [email protected] Yanisa Padde [email protected] Phatpanat Suntornmadcha [email protected] Suthiwat Phadkam [email protected] Onpreeya Jantree [email protected] <p>สลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมรู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี เนื่องจากคนบางกลุ่มคิดว่าการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล คือ การซื้อโอกาสที่ตนเองจะมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ในชั่วพริบตาหรือมองอีกมุมหนึ่งคือการซื้อ ‘ความหวัง’ ที่มีโอกาสเพียง 1 ในล้าน ถึงแม้ว่าผู้เล่นจะทราบดีว่าความน่าจะเป็นในการถูกนั้นจะต่ำมาก ผู้เล่นยังคงมีพฤติกรรมการซื้ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งขัดกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เชื่อว่ามนุษย์จะตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและเลือกสิ่งที่มีประโยชน์มากที่สุดให้แก่ตนเอง งานวิจัยฉบับนี้จึงเริ่มต้นศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นอาสาสมัครที่มีพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งเป็นประจำ จำนวน 170 คน นอกจากการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลแล้ว งานวิจัยชิ้นนี้ได้มีการนำหลักการสะกิด (Nudges) จากวิชาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม มาใช้เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ลดลงโดยปราศจากการบังคับด้วยการทดลองแบบติดตามผล เป็นระยะเวลา 90 วัน ในการทดลองผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิด Loss Aversion โดยการให้ข้อมูลข่าวสารด้านลบเกี่ยวกับสลากกินแบ่งรัฐบาล (Bad news) แก่กลุ่มทดลองแรก และแจ้งเตือนทุนสะสมในการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลแก่กลุ่มทดลองที่สอง ส่วนกลุ่มสุดท้ายเป็นการสะกิดด้วยการให้ข้อมูลชีวิตที่ดีหลังเกษียณอายุ ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มคนที่ซื้อมาก การให้ข้อมูลข่าวสารด้านลบเกี่ยวกับสลากกินแบ่งรัฐบาลจะกระตุ้นให้กลุ่มทดลองมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดีที่สุด ส่วนในกลุ่มคนซื้อน้อย การให้ข้อมูลการแจ้งเตือนต้นทุนสะสม จะกระตุ้นให้กลุ่มทดลองมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดีที่สุด</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/265460 ปัญหาและพฤติกรรมการใช้บริการขนส่งสินค้าและพัสดุระหว่างประเทศไทย กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2023-03-07T18:36:38+07:00 วรรณสิทธิ์ สุวรรณ์ [email protected] Thanet Wattanakul [email protected] Manit Phiukhao [email protected] John Murphy [email protected] <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อทราบพฤติกรรมการใช้บริการขนส่งสินค้าและพัสดุระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อทราบปัญหาในการใช้บริการ 3) ศึกษาความ สัมพันธ์ระหว่างปัญหาในการใช้บริการ ของผู้ใช้บริการที่เป็นลักษณะ B2B B2C และ C2C วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ ไคสแคว์ (Chi-Square Test: ) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 ตัวอย่าง</p> <p>ผลการศึกษาความแตกต่างของปัญหาระหว่างกลุ่มผู้ใช้บริการ พบว่า ปัญหาการไม่สามารถติดตามสถานะสินค้าและพัสดุที่อยู่ระหว่างขนส่ง ปัญหาสินค้าและพัสดุชำรุดเสียหายปัญหาการไม่สามารถชำระเงินด้วยสกุลเงินที่ถือครอง และปัญหาการได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน แตกต่างกัน ข้อเสนอแน่ะจากผลการวิจัย ผู้ใช้บริการต้องการให้ผู้ประกอบการขนส่งเพิ่มกระบวนการให้บริการ คือ 1) เพิ่มเติมและปรับปรุงระบบติดตาม การจัดส่งแบบเรียลไทม์แก่ผู้ใช้บริการ 2) เสนอตัวเลือกการสั่งซื้อโดยตรงผ่านหลายแพลตฟอร์มเพื่อให้กระบวน การสั่งซื้อและจัดส่งสะดวกยิ่งขึ้น 3) ใช้กลยุทธ์การกำหนดราคาที่ยืดหยุ่นซึ่งตอบสนองต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อลดผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ 4 ) ปรับปรุงคุณภาพของบริการเพื่อลดความเสียหายและการสูญเสียของสินค้าและพัสดุ 5) เพิ่มช่องทางและรูปแบบการชำระเงินเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถชำระเงินได้ง่ายขึ้น และ ลดผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน 6) เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของกลุ่มผู้ใช้ ที่แตกต่างกัน (B2B, B2C และ C2C) ผู้ประกอบการควรมีกระบวนการให้บริการแตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม</p> 2023-12-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ