วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu <p>กองบรรณาธิการวารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต และบุคคลทั่วไป มีการเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะให้กว้างขวางมากขึ้น ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) โดยวารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะอยู่ในฐานข้อมูล TCI (ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย) กลุ่มที่ 2 (ประกาศ มกราคม 2563) กระบวนการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เป็นโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน แบบ Double-Blind Peer Reviewers มีการจัดทำวารสารปีละ 2 ฉบับ และ ตีพิมพ์ 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบตีพิมพ์ เริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2553 (ISSN 1906-8522) และ รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มจัดทำในปี 2558 (ISSN 2630-0028) กำหนดการตีพิมพ์เป็นราย 6 เดือน หรือ ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้</p> <p> 1)เดือน มกราคม-มิถุนายน</p> <p> 2)เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม</p> คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Faculty of Economics, Srinakharinwirot University th-TH วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ 1906-8522 <p><strong>สงวนลิขสิทธิ์ © </strong><strong>2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</strong></p> <p> คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p><strong>บรรณาธิการ</strong> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช</p> หลักนิติธรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/266151 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักนิติธรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์การนำหลักนิติธรรมมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย วิธีการวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากหนังสือ บทความวิจัย บทความทางวิชาการ รายงานการประชุม ข้อมูลทางสถิติ ข่าวประจำวัน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ</p> <p>การวิจัยพบว่าหลักนิติธรรมมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยการพัฒนาเศรษฐกิจจำต้องอาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือที่จะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจสำเร็จลุล่วง หลักนิติธรรมช่วยทำให้กฎหมายมีการใช้บังคับอย่างถูกต้อง เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าหลักนิติธรรมไม่สามารถส่งผลการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้โดยตรงหรือทั้งหมด แต่หลักนิติธรรมอาจนำมาใช้ในการสร้างโอกาสและความเท่าเทียมกันในทางเศรษฐกิจ แก้ไขหรือระงับข้อพิพาทในทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนั้น รัฐบาลจึงควรใช้หลักนิติธรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ </p> กิตสุรณ สังขสุวรรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-14 2024-06-14 15 29 150 171 Thai Elder Policy Reception Across Generations https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/271513 <p> This study investigates how varying age groups perceive information regarding elder policies. Data was gathered from 1,000 residents of Bangkok, Thailand, segmented into age brackets: 21-30, 31-40, 41-50, and 51-60 years old. The research aims to discern if age disparities contribute to distinct attitudes towards elder policies. Findings reveal a trend where younger individuals exhibit lower interest in elder policies compared to older cohorts. Notably, a crucial observation highlights a lack of awareness among soon-to-retire individuals regarding elder policies, signaling a significant concern. Analysis indicates that the primary information source for elder policies across all age groups is television, superseding other mediums like the internet. However, when evaluating comprehension channels, the ratio between television and internet use changes. Additionally, employing an econometric model, the study examines variables impacting post-retirement worries, with factors such as income, education, interest in elder policies, time allocation for policy understanding, marital status, having children, and gender demonstrating statistical significance across all age groups. These findings underscore the significance of these variables in influencing concerns about life after retirement among the Thai population.</p> Jirayut Monjagapate Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-14 2024-06-14 15 29 1 19 ผลกระทบและการปรับตัวจากการทดแทนแรงงานมนุษย์ด้วยหุ่นยนต์: กรณีศูนย์กระจายสินค้าบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/268483 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้หุ่นยนต์แทนแรงงานมนุษย์ในกระบวนการจัดสินค้า และศึกษาแนวทางการปรับตัวของแรงงานจากการทดแทนด้วยหุ่นยนต์ของศูนย์กระจายสินค้า โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มพนักงานประจำแผนกจัดสินค้าในศูนย์กระจายสินค้าจำนวน 140 ราย ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานโดยการวิเคราะห์องประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ จากการศึกษาพบว่าผลกระทบของการใช้หุ่นยนต์ทดแทนแรงงานมนุษย์ในกระบวนการจัดสินค้าที่มีอิทธิพลสูงที่สุด คือ ผลกระทบทางด้านรายได้ ซึ่งส่งผลทำให้รายได้และสภาพคล่องทางการเงินของครัวเรือนลดลง รองลงมาคือผลกระทบด้านสังคมโดยทำให้มีการว่างงานที่เพิ่มขึ้น สำหรับการปรับตัวของแรงงานมีการสะท้อนพฤติกรรมใน 2 ลักษณะ คือ 1) การปรับตัวให้สามารถทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ โดยการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการทำงานกับหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพร่วมกับการหารายได้เสริมเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดไป 2) การปรับตัวโดยเปลี่ยนอาชีพไปยังอาชีพที่หุ่นยนต์ไม่สามารถทดแทนได้ โดยการหาโอกาสและช่องทางไปทำงานในต่างประเทศ</p> เมย์ ชีพอุบัติ ภูดินันท์ อดิทิพยางกูร พัชรี ผาสุข Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-14 2024-06-14 15 29 20 36 ความสุขทางเศรษฐศาสตร์ในการทำงานของเจเนอเรชันเอ็กซ์และเจเนอเรชันวาย กรณีบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/269003 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสุขทางเศรษฐศาสตร์จากการทำงานระหว่างบุคลากรสายวิชาการ เจเนอเรชันเอ็กซ์ และเจเนอเรชันวาย ในสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ในลักษณะโครงสร้างเชิงเดี่ยว (Single Structure) เก็บสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaires)จากบุคลากรสายวิชาการเฉพาะอาจารย์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีตัวอย่าง 45 ราย ซึ่งเป็นขนาดที่เพียงพอสำหรับการอนุมาณถึงประชากรในขั้นต้น ในการวิจัยครั้งนี้ได้ทำการแบ่งกลุ่มศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในเจนเนอเรชันเอ็กซ์ และ เจนเนอเรชันวาย เพื่อสะท้อนผลลัพธ์ทางการวิจัยร่วมกับมิติทางประชากร ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมความสุขจากการทำงานทั้งกลุ่มเจเนอเรชันเอ็กซ์ และ เจเนอเรชันวาย ผันเปลี่ยนตาม สวัสดิการและค่าตอบแทน ภาระงานและการประเมินผล การยอมรับทางสังคม การพัฒนาตนเองและการพัฒนาในงาน อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตเด่นชัดปรากฎกับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำงานร่วมกัน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่พบว่ากลุ่มเจเนอเรชันวายให้ความสำคัญมากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มเจเนอเรชันเอ็กซ์ จากการทดสอบทางสถิติชี้ให้เห็นว่า ภาระงานและการประเมินผล การยอมรับทางสังคม การพัฒนาตนเองและการพัฒนาในงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีผลสัมพันธ์ต่อความสุขทางเศรษฐศาสตร์จากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> พัชรี ผาสุข ภูดินันท์ อดิทิพยางกูร Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-14 2024-06-14 15 29 37 64 ปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคที่มีผลต่อหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/269096 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคที่มีผลต่อหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร วิธีการศึกษาประกอบด้วยการศึกษาเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ตัวแปรตาม ได้แก่ ปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และตัวแปรอิสระ ได้แก่ ปริมาณเงินให้สินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ภาคเกษตร ดัชนีราคาสินค้าเกษตร และ ดัชนีผู้บริโภค โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลารายไตรมาส รวมทั้งหมด 36 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2556 – ไตรมาส 4 ปี2564 ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์ของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีในช่วงที่ศึกษา 2) อิทธิพลของปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคที่มีผลต่อหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารเพื่อการเกษตรการเกษตร พบว่า 3 ปัจจัยที่ส่งผลคือ ปริมาณเงินให้สินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ภาคเกษตร มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ณ ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วน ดัชนีราคาผู้บริโภค มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ณ ระดับนัยสำคัญ 0.10</p> จิรนันท์ ชูชาติ อภิญญา วนเศรฐ วสุ สุวรรณวิหค Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-14 2024-06-14 15 29 65 91 เศรษฐศาสตร์กับการสะกิดพฤติกรรม สะกิดความคิด ใกล้สอบนี้ฉันจะไม่ไปดื่ม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/270943 <p>การดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อด้านสุขภาพ การดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงาน และรวมไปถึงด้านการเรียน อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มตัดสินใจเลือกดื่มแอลกอฮอล์แม้ว่าจะทราบถึงโทษของการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมที่มนุษย์มักตัดสินใจโดยคำนึงถึงความพึงพอใจในปัจจุบันและไม่คำนึงถึงผลกระทบเชิงลบในอนาคต งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาผลกระทบของการดื่มแอลกอฮอล์ต่อผลการเรียนและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 250 คน นอกจากนี้ยังศึกษาแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ ผู้ทดลองให้ไม่ไปดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงใกล้สอบ จำนวน 29 คน จากผลการศึกษาพบว่าวิธีการสะกิดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การกระตุ้นด้วยความกลัวการสูญเสีย (Loss Aversion) และจากการลงพื้นที่เก็บแบบสอบถาม พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิต ได้แก่ สถานภาพ ความถี่ ในการดื่ม ความรู้สึกหลังดื่ม และปริมาณการดื่ม ในส่วนของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลการเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้แก่ อายุและทัศนคติต่อการดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นประจำไม่ส่งผลกระทบต่อผลการเรียนของนิสิต อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลการเรียนของนิสิต ที่ดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ รายได้และทัศนคติต่อการดื่มแอลกอฮอล์</p> ภัคจิรา ธรรมสารวรกิจ บุณยาพร ทรงอินทร์ สุกฤตา ธีราโมกข์ หทัยลักขณ์ พูลเพียร ชฎาการณ์ รุ่งสว่าง ชุติกาญจน์ แสงมณี สุทัตตา แซ่อึ้ง อากิโกะ ยามาดะ Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-14 2024-06-14 15 29 92 111 การศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นภายในประเทศเปรียบเทียบกับการซื้อสินค้าแฟชั่นแบบพรีออเดอร์จากต่างประเทศ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/270959 <p> ในปัจจุบันธุรกิจซื้อขายออนไลน์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะธุรกิจซื้อขายสินค้าแฟชั่นที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของCovid-19 ส่งผลให้พฤติกรรมและรูปแบบการใชีชีวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้บริโภคหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกสบาย รวดเร็ว และเข้าถึงง่าย ส่งผลให้จำนวนผู้บริโภคและผู้ขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกลุ่มอุปสงค์ที่มีต่อการซื้อสินค้าภายในประเทศและการพรีออเดอร์สินค้าจากต่างประเทศของคนไทย โดยนำข้อมูลจากแบบสอบถามมาสร้างแบบจำลองด้วยโปรแกรมทางเศรษฐมิติ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อกลุ่มอุปสงค์สินค้าแฟชั่น ได้แก่ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านคุณภาพสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านกายภาพ ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจบริโภคของผู้บริโภคสินค้าแฟชั่นออนไลน์ และอีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจคือ ภาพรวมในการดำเนินธุรกิจของผู้ทำอาชีพรับพรีออเดอร์สินค้าจากต่างประเทศ ตั้งแต่ช่วงก่อนเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 จนถึงปัจจุบันที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว</p> <p style="font-weight: 400;"> ผลการศึกษาพบว่า ด้านอุปสงค์มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56.1 มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นในประเทศและการพรีออเดอร์สินค้าแฟชั่นจากต่างประเทศ ร้อยละ 43.9 มีพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นในประเทศอย่างเดียว และด้านอุปทาน จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า การทำธุรกิจนี้ต้องเจอกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆมากมาย เนื่องจากมีการแข่งขันในตลาดสูง อีกทั้งยังพบปัญหาจากปัญหาด้านการขนส่ง และปัญหาสินค้าคงค้างอยู่ในคลัง เพราะสินค้าที่จำหน่ายเป็นสินค้านิยมตามกระแส (Fast Fashion) เมื่อกระแสของสินค้าหมดไป ส่งผลให้ความนิยมลดลง เนื่องจากสินค้าแฟชั่นเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury goods)</p> รัฐภูมิ รักมิตรอานนท์ ธวัลรัตน์ พันธ์ไสว ขวัญจิรา ครองยั่งยืน ชุติกาญจน์ ศรีลา เบญจาภา เมฆเบญจาภิวัฒน์ ณัฐกานต์ มูลมอญ สหรัฐ พรทิพย์ Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-14 2024-06-14 15 29 112 130 ปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกบริโภครถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/270951 <p> ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นที่นิยมในประเทศไทย โดยมีแนวโน้มความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่เป็นกลไกขับเคลื่อนนวัตกรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคต สู่การใช้ยานยนต์ไร้มลพิษ วิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์ ในการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการตัดใจสินใจบริโภครถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในประเทศไทย ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูล จากการสัมภาษณ์และเก็บแบบสอบถามทางออนไลน์ ผ่านรูปแบบการกรอกข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีความสนใจการบริโภครถยนต์ไฟฟ้าจํานวน 200 คน และวิเคราะห์ข้อมูลผ่านแบบจําลองการถดถอยแบบสองทางเลือก และความสอดคล้องของ Generation ต่างๆ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความสนใจบริโภครถยนต์ไฟฟ้าส่วนมากถึงร้อยละ 63.5 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยปัจจัย อายุ และเทคโนโลยีใหม่ มีผลต่อการตัดสินใจบริโภครถยนต์ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่เพศ อาชีพ รายได้ จำนวนสมากชิกในครอบครัว สถานภาพ สัตว์เลี้ยง ระดับการศึกษา ราคารถยนต์ไฟฟ้า ระยะทางที่ขับเคลื่อนได้ การทำการตลาด ราคาเชื้อเพลิง ราคาต่อคุณภาพรถยนต์ไฟฟ้า แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้า และนโยบายภาครัฐให้ผลลัพธ์ในทางกลับกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p> </p> นิธิวัต พรประสิทธิ์ นนทกร วิจิตรสงวน ศุกร์ ภิญญธนาบัตร อภิมุข เข้มแข็งปรีชานนท์ ณัฐวุฒิ วสุธาทิพ Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-14 2024-06-14 15 29 131 149