วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu <p>กองบรรณาธิการวารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต และบุคคลทั่วไป มีการเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะให้กว้างขวางมากขึ้น ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) โดยวารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะอยู่ในฐานข้อมูล TCI (ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย) กลุ่มที่ 2 (ประกาศ มกราคม 2563) กระบวนการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เป็นโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน แบบ Double-Blind Peer Reviewers มีการจัดทำวารสารปีละ 2 ฉบับ และ ตีพิมพ์ 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบตีพิมพ์ เริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2553 (ISSN 1906-8522) และ รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มจัดทำในปี 2558 (ISSN 2630-0028) กำหนดการตีพิมพ์เป็นราย 6 เดือน หรือ ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้</p> <p> 1)เดือน มกราคม-มิถุนายน</p> <p> 2)เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม</p> th-TH <p><strong>สงวนลิขสิทธิ์ © </strong><strong>2553 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</strong></p> <p> คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดพิมพ์วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ เพื่อเผยแพร่บทความวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ นโยบายสารธารณะ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โดยบทความที่ได้รับการตอบรับจะถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p><strong>บรรณาธิการ</strong> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช</p> epjswu@gmail.com (Associate Professor Dr. Peera Tangtammaruk) epjswu@gmail.com (Siriporn Chuaiuppakarn) Wed, 18 Dec 2024 17:35:30 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 The minimum wage change effect to the household saving in Thailand in 2013 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/272222 <p> This study investigates the correlation between an increase in the minimum wage and savings within low-income households. Utilizing data from the 2013 Household Socio-economic Survey (SES) conducted by the National Statistical Office (NSO), the research focuses primarily on the household head. Through econometric analysis, a positive and statistically significant relationship is identified between the difference in minimum wage between 2011 and 2013 and the average monthly per capita income within the region, and household savings. Additionally, the study reveals that changes in minimum wage during the years 2011 and 2013 influenced the 2013 minimum wage change. Notably, positive outcomes are observed for household characteristics such as marital status and location, with married household heads residing in municipal areas exhibiting a favorable impact on savings. Unexpectedly, findings also indicate that households with children are more inclined to save money compared to those without children, and contrary to assumptions, a higher education level of the household head results in a smaller percentage of savings. Given the positive correlation between minimum wage and low-income household savings, policy interventions aimed at assisting low-income households in saving money could be explored by the government.</p> Jirayut Monjagapate Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/272222 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์กลยุทธ์การร่วมลงทุน สำหรับธุรกิจก่อสร้าง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/271727 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศใน สปป. ลาว 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศใน สปป. ลาว ในธุรกิจก่อสร้าง ที่เป็นธุรกิจร่วมลงทุน สปป. ลาว-ไทย ที่ได้รับใบอนุญาต (Licensed Joint Venture) 3) เพื่อเสนอแนะกลยุทธ์การร่วมลงทุนในธุรกิจก่อสร้างใน สปป. ลาว ที่สามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ผลการศึกษาพบว่า 1) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ใน สปป.ลาว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2560 สปป.ลาวได้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เขตเศรษฐกิจพิเศษเหล่านี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการกระตุ้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 2) การทำกิจการร่วมค้าในธุรกิจก่อสร้าง ใน สปป.ลาว ภาครัฐจำเป็นต้องกำหนดกฎหมายที่ชัดเจนสำหรับการร่วมทุนและกิจการร่วมค้า รัฐบาล สปป.ลาวควรให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้กฎหมายส่งเสริมการลงทุน โดยผู้ลงทุนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดว่าการทำกิจการร่วมค้าและการทำกิจการค้าร่วมเป็นสิ่งเดียวกัน รวมทั้งมีการจ่ายภาษีที่ทับซ้อนกัน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมการก่อสร้างใน สปป.ลาว และแสดงความสนใจในโอกาสร่วมลงทุนในอนาคต แต่ยังคงระมัดระวัง และหาบริษัทที่เชื่อถือได้เพื่อเป็นพันธมิตรด้วย 3) กลยุทธ์และความสามารถในการแข่งขันของการร่วมทุนธุรกิจรับเหมาก่อสร้างใน สปป.ลาว บริษัทมุ่งเน้นการขยายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับความสะดวกระหว่างประเทศ องค์กรควรกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ เช่น การประมูลโครงการ และใช้รูปแบบการบริการแบบคู่ที่จัดการโดยลาวและบริษัทคู่ค้า ภาครัฐใน สปป.ลาว ควรกำหนดกฎหมายที่ชัดเจนสำหรับกิจการร่วมค้าและกิจการค้าร่วมเพื่อรองรับการร่วมทุนและอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน ที่จะช่วยส่งเสริมการเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งนี้ภาครัฐบาล ประเทศไทย และ สปป.ลาว ควรมีการกำหนดภาษีของกิจการร่วมค้าให้แตกต่างจากกิจการค้าร่วม ควรมีการจัดทำข้อเสนอในรูปแบบเครดิตพิเศษเพื่อให้ประเทศคู่สัญญาให้ความอนุเคราะห์ในการจัดการปัญญาด้านภาษีซ้ำซ้อนที่เกิดจากประเทศผู้ลงทุน ภาคเอกชนควรมีการส่งเสริมทักษะความรู้ ความสามารถของบุคคลากรในบริษัท อีกทั้งควรมีการส่งเสริมทางด้านเทคโนโลยีให้แก่บุคลากร และควรกำหนดข้อกำหนดในสัญญากิจการร่วมค้าถึงการแบ่งปันเทคโนโลยีอย่างชัดเจน</p> เจษฎา ไทยยิ่ง, ธเนศ วัฒนกูล Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/271727 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 Global Value Chains and Poverty: A Random Effects Approach to ASEAN and OECD Comparisons https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/271550 <p>There has been a lot of debate on the effects of participating in GVCs and poverty, the relationship between developed and developing countries. This study endeavors to enhance comprehension regarding the nexus linking GVC involvement and poverty levels, dissecting GVC participation into two components: This is in addition to forward and backward participation. Further, it aims to examine the role of education, with education being disaggregated into literacy levels in the context of the relationship between GVC participation and poverty levels in both OECD and ASEAN regions. Using Random Effects regression of panel data covering 26 countries over the period 1995 to 2018 confirms that forward participation has a mixed effect on poverty depending on the country categories and their education level. On the other hand, backward participation shows a tendency of reducing poverty level in ASEAN countries.</p> Jirayut Monjagapate, Yuwapak Leelasribunjong Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/271550 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์กลยุทธ์การจัดจำหน่ายสลากออมสินธนาคารออมสิน เขตบึงกาฬ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/271544 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาลักษณะการดำเนินงานของการจัดจำหน่ายสลากออมสินของธนาคารออมสินเขตบึงกาฬ (2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การจัดการจำหน่ายสลากออมสินของธนาคารออมสินเขตบึงกาฬ และ (3) เพื่อเสนอแนะนำกลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดจำหน่ายสลากออมสินของธนาคารออมสิน เขตบึงกาฬเพื่อตอบสนองเป้าหมายและ KPI ให้เพิ่มมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาปรากฎการณ์วิทยา โดยการใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง โดยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Kls) ผู้วิเคราะห์ จะเป็นผู้ตีความ (Interpretation) สกัดเนื้อหาสาระ (Content Message) จากการสื่อความหมายของผู้ให้ข้อมูลทั้งทางตรงและทางอ้อม จากบันทึกเอกสาร บทความ การพูด การสอบถาม การสัมภาษณ์ การถอดเทปบันทึกเสียง จนเกิดความอิ่มตัวของข้อมูล (Data Saturation) นั่นคือ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมจากตัวอย่างนั้น เกิดความพ้องกัน (Redundancy) และผู้วิจัยไม่พบแนวคิด รูปแบบหรือข้อค้นพบอื่น ๆ แล้วจึงสรุปผลจากผลการศึกษาพบว่า (1) ลักษณะการดำเนินงานของการจัดจำหน่ายสลากออมสินของธนาคารออมสินเขตบึงกาฬ คือ สาขามีการนำเสนอผลิตภัณฑ์สลากออมสิน ซึ่งมีรูปแบบผลตอบแทนที่เป็นการลุ้นรางวัลและอัตราดอกเบี้ยโดยจะมีการออกรางวัลทุกเดือน (2) กลยุทธ์การจัดการจำหน่ายสลากออมสินของธนาคารออมสินเขตบึงกาฬ คือ ผู้จัดการสาขาวางแผนกับผู้ช่วยผู้จัดการ มอบหมายงานให้พนักงานปฏิบัติตามคำสั่งธนาคาร และจำหน่ายตามข้อมูล Sale sheet ที่หน้าเคาเตอร์ธนาคารออมสิน และประชุมตอนเช้าก่อนเริ่มงานเพื่อให้ด้านเงินฝากนำข้อมูลอัตราดอกเบี้ย มาอัพเดทให้พนักงานในสาขาฟังเพื่อตอบลูกค้าได้ถูกต้องชัดเจน (3) กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดจำหน่ายสลากออมสินของธนาคารออมสินเขตบึงกาฬเพื่อตอบสนองเป้าหมายและ KPI ให้เพิ่มมากขึ้น คือ เสนอโปรโมชั่นต่าง ๆ ที่ดีของธนาคารให้กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มียอดจัดจำหน่ายสลากออมสินให้ได้ตามเป้าหมาย KPI และให้ได้เพิ่มขึ้นในปีต่อไป</p> จรรยาภรณ์ ชัยเดช, ธเนศ วัฒนกูล, มานิตย์ ผิวขาว Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/271544 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานโมบายแบงก์กิ้งในจังหวัดอุบลราชธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/274407 <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง ในจังหวัดอุบลราชธานี (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง ในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ที่มีสัญชาติไทยเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีที่ใช้ อินเทอร์เน็ตในโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดจำนวน 374,090 เลขหมาย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโอกาสรับรู้และเข้าถึงการใช้งานระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด โดยมีระยะเวลาของการสำรวจตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 ถึงเดือนธันวาคม 2565 จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุในช่วง 31 – 40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ พบว่า ความคาดหวังในประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.58, SD = 0.68) และความรู้สึกไม่สบายใจในการใช้เทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 2.43, SD = 0.98) สำหรับผลการทดสอบ สมมติฐาน พบว่า การมองเทคโนโลยีในแง่ดี สภาพสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน ความคาดหวังในความพยายาม การสร้างนวัตกรรมส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งาน โมบายแบงก์กิ้ง ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยี ความเคยชิน แรงจูงใจด้านความชอบ อิทธิพลทางสังคม และความรู้สึกไม่สบายใจในการใช้เทคโนโลยีไม่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี ทั้งนี้ การให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีได้นั้น ควรมีการสื่อสารไปยังผู้ใช้งาน สร้างความเข้าใจ รวมถึงสร้างทัศนคติที่ดีแก่ผู้ใช้งานให้มีความสนใจ และมีความเข้าใจ เพื่อเกิดการยอมรับเทคโนโลยี ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของตัวผู้ใช้งานรวมถึงการก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดของประเทศไทยที่ภาครัฐและเอกชนพยายามผลักดันให้เกิดขึ้น เนื่องจากสามารถลดต้นทุนในการผลิตและจัดเก็บธนบัตร อีกทั้งยังสะดวกต่อการใช้เงินและการทำธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงความปลอดภัยที่อาจมีความเสี่ยงในการใช้เงินสด</p> ธรรมวิมล สุขเสริม, ณัฏฐกิตติ์ โรจนโภคินเดชะกุล, นภดล พัฒนะศิษอุบล, ดุสิต ศรีสร้อย, ดุสิต จักรศิลป์ Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/274407 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ต้นทุนและอัตรากําไรของธุรกิจผลิตขนมเปี๊ยะจังหวัดเพชรบุรีในช่วงเทศกาลสำคัญ: กรณีศึกษาร้านขนมเปี๊ยะตาลกง อำเภอบ้านลาด https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/275421 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและอัตรากำไรของธุรกิจร้านขนมเปี๊ยะตาลกง จังหวัดเพชรบุรี และเพื่อประเมินความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงเพื่อศึกษาต้นทุนที่อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจผลิตขนมเปี๊ยะ โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าของธุรกิจหรือผู้ที่สามารถให้ข้อมูลได้ของธุรกิจขนมเปี๊ยะตาลกง จังหวัดเพชรบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนและรายได้ในช่วงเทศกาลต่าง ๆ และข้อมูลความเสี่ยงในการดำเนินงานของธุรกิจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า ธุรกิจขนมเปี๊ยะตาลกงจังหวัดเพชรบุรีมีต้นทุนต่อหน่วยเฉลี่ย 55.56 บาท และอัตรากำไรร้อยละ 30 ต้นทุนและอัตรากำไรในแต่ละเทศกาลมีจำนวนใกล้เคียงกัน โดยรายละเอียดต้นทุน พบว่า มีสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 72.95 จากต้นทุนการผลิตรวม ส่วนการประเมินความเสี่ยของการดำเนินงานของธุรกิจ พบว่า มีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ</p> รัญชิดา เบริล, พิมพิศา เขียวเข้ม, สายใจ สาวะรักษ์, อรพรรณ เกตุกร, ลัลลลินณ์ อรัญพันธุ์, กฤตพณ เพชรจ้อย, ภานุพงศ์ แช่มช้อย Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/275421 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 สถานการณ์แรงงานกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและจังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษาแนวทางบูรณาการเพื่อพัฒนาแรงงานนอกระบบพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/274375 <p> บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานการณ์กำลังแรงงานตามลักษณะกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและจังหวัดนครศรีธรรมราช และเสนอรูปแบบความร่วมมือแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงานของนอกระบบการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า พื้นที่ภาคใต้ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย และจังหวัดนครศรีธรรมราชมีมูลค่าและอัตราการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมในภาคการค้าและบริการมากที่สุด ในขณะเดียวกันจำนวนแรงงานอยู่ในภาคการเกษตรกรรมมากที่สุดแต่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนน้อยที่สุด โดยที่ภาคการค้าและบริการมีอัตราการเปลี่ยนแปลงจำนวนแรงงานในทิศทางที่เพิ่มขึ้น ค่าความชำนาญของสาขากิจกรรมทางเศรษฐกิจ (LQ) ของจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าภาคอุตสาหกรรมและภาคการค้าและบริการมีความสามารถในการผลิตและเป็นฐานทางกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับจังหวัดที่มีต่อระดับกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ในขณะที่กลุ่มภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยค่า LQ ของภาคการเกษตรมีความสามารถแรงงานสาขากิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวมของกลุ่มจังหวัดมากกว่าระดับภาคใต้ </p> <p>กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งมีจำนวนแรงงานในภาคการเกษตรกรรมมากที่สุดแต่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด โดยมีจำนวนแรงงานในภาคการค้าและบริการลำดับรองลงมา อีกทั้งแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ ดังนั้นทิศทางการพัฒนาแรงงานต้องพิจารณาการยกระดับศักยภาพแรงงานในภาคการเกษตรและภาคการค้าและบริการเพิ่มขึ้น สำหรับข้อเสนอรูปแบบความร่วมมือแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงานของนอกระบบ มีองค์ประกอบ คือ (1) ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (2) ทีมงานในพื้นที่ และ (3) กระบวนการการทำงานร่วมกัน ทั้งนี้ทีมงานระดับพื้นที่จะมีการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างกันในคณะทำงาน และมีแนวทางการดำเนินงานเชื่อมโยงตั้งแต่ระดับพื้นที่ ส่งต่อไปยังระดับอำเภอ และระดับจังหวัดในภาพรวมต่อไป</p> เกียรติขจร ไชยรัตน์, อรัญญา จินาชาญ, พัชรี พระสงฆ์ Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/274375 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 บทวิเคราะห์นโยบายส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า กรณีศึกษาประเทศจีนและประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/275249 <p> ในปัจจุบัน รัฐบาลแต่ละประเทศให้ความสนใจกับปัญหาด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ซึ่งมีสาเหตุจากการปล่อยมลพิษจากยานยนต์สันดาปภายใน และด้วยสาเหตุนี้ ทำให้ภาครัฐในหลายประเทศ รวมถึง ประเทศจีนและประเทศไทย ได้สนับสนุนและออกนโยบายส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และจีนเป็นประเทศที่ภาครัฐได้มีนโยบายสนับสนุนด้านยานยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง จึงทำให้กลายเป็นผู้ผลิตและขายยานยนต์ไฟฟ้า (New Energy Vehicles: NEVs) อันดับ 1 ของโลก 9 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2558-2566 ที่ครอบคลุมถึง ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles: EVs) และยานยนต์พลังงานทางเลือกใหม่ ทั้งนี้ การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นโยบายส่งเสริมด้านการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า กรณีศึกษาประเทศจีนและประเทศไทย และการศึกษานี้มีระเบียบวิธีวิจัยด้วยการทบทวนเอกสารต่าง ๆ รวมทั้ง แนวคิด ทฤษฎี นโยบาย/มาตรการภาครัฐ วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายภาครัฐระหว่างประเทศจีนที่ประสบความสำเร็จด้านการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และประเทศไทย</p> <p> โดยจากผลการศึกษาพบว่า นโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจากภาครัฐจะมีส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนและผู้บริโภคของทั้ง 2 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศจีน ภาครัฐมีการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ปี 2549 โดยออกนโยบายและมาตรการภาครัฐสนับสนุน ทั้งที่เป็นรูปแบบของสิ่งจูงใจที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน รวมถึง การกำหนดกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีในระยะยาวอย่างชัดเจน เช่น<br />แผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ “Made in China 2025” โดยสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงและยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งทำให้ประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้ากันอย่างแพร่หลาย แต่ในขณะที่ ภาครัฐของประเทศไทย มีนโยบายสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่ยังไม่ชัดเจนเมื่อเทียบกับประเทศจีน โดยเริ่มมีนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี 2558 เช่น มาตรการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมผ่านการส่งเสริมการลงทุน (BOI), การขยายสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น อีกทั้ง ประเทศจีนถือเป็นประเทศต้นแบบที่ดีให้กับภาครัฐของประเทศไทยเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี</p> สุทัศน์ วงศ์สกุลชัย, สุทธิรัชต์ สุสุทธิ Copyright (c) 2024 วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/econswu/article/view/275249 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700