@article{Treepunya_2020, title={Book Review “Lanna Guardian Spirit : From the Ghost Tower to the Statue, Shrine and Monument”}, volume={31}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejChophayom/article/view/242304}, abstractNote={<p>ปรากฏการณ์ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ อาทิ เรื่องผีจิตวิญญาณ ร่างทรงองค์เทพ หรือ การทรงเจ้าเข้าผี ฯลฯ เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านาน ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในโลกสมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนไปด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยก็ตาม แต่ความเชื่อและบทบาทของสิ่งเหล่านี้ที่มีต่อผู้คนกลับมิได้จางหายไป มิหนำซ้ำความเชื่อเหล่านี้กลับได้แพร่กระจายขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางผ่านโลกออนไลน์และสื่อสังคมสมัยใหม่ พร้อมกับมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคมอีกด้วย มีการศึกษาทางวิชาการและให้ความสนใจต่อการดำรงอยู่และบทบาทหน้าที่ของความเชื่อเรื่องผีหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะหนังสือที่โดดเด่นและน่าสนใจเรื่อง “ผีเจ้านาย” ของ ฉลาดชาย รมิตานนท์ (2545) ที่ศึกษาการดำรงอยู่และความสัมพันธ์ของการทรงผีเจ้านายในระบบความเชื่อและศาสนาของล้านนาโดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่นิยม หนังสือเรื่อง “ทรงเจ้าเข้าผี : วาทกรรมของลัทธิพิธีและวิกฤตการณ์ของความทันสมัย ในสังคมไทย” ของสุริยา สมุปคุปติ์ และคณะ (2539) ที่ศึกษาและวิเคราะห์ปรากฏการณ์การทรงเจ้าเข้าผีในสังคมเมืองผ่านกรอบคิดเรื่องอำนาจและวาทกรรมของฟูโกต์ (Michel Foucault) หรือ “เจ้าที่และผีปู่ย่า : พลวัตของความรู้ชาวบ้าน อำนาจและตัวตนของคนท้องถิ่น” ซึ่งเป็นงานรวบรวมข้อเขียนต่าง ๆ ของอานันท์ กาญจนพันธุ์ (2555) เกี่ยวกับระบบความเชื่อเรื่องผีและพิธีกรรมในท้องถิ่นภาคเหนือในฐานะที่เป็นความรู้หรือปฏิบัติการในการต่อสู้ช่วงชิงและผลิตความหมายใหม่ของชาวบ้าน ชุมชนที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม ตลอดจนงานของนักวิชาการทางประวัติศาสตร์อย่าง นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในเรื่อง “ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.5” (2536) เป็นต้น</p>}, number={1}, journal={Chophayom Journal}, author={Treepunya, Isara}, year={2020}, month={Jun.}, pages={124–138} }