https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/issue/feed e-Journal of Education Studies, Burapha University 2024-09-30T23:59:43+07:00 อาจารย์ ดร.คงรัฐ นวลแปง kongrat@go.buu.ac.th Open Journal Systems <p>วารสาร e-Journal of Education Studies, Burapha University ISSN: 2697-3863 (Online)<span lang="TH"> จะพิจารณาเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัย ที่มีสาระเกี่ยวเนื่องกับการศึกษา การบริหารการศึกษา นวัตกรรมหลักสูตร นวัตกรรมการเรียนรู้ การศึกษาปฐมวัย การวิจัยการศึกษา นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา และการวัดและประเมินผลการศึกษา</span></p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/276627 ส่วนนำ 2024-09-30T23:23:30+07:00 คงรัฐ นวลแปง kongrat@buu.ac.th 2024-09-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/276632 สารบัญ 2024-09-30T23:59:43+07:00 คงรัฐ นวลแปง kongrat@buu.ac.th 2024-10-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/273703 โปรแกรมทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมร่วมกับการพับกระดาษโอริกามิเพื่อเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2024-06-12T14:22:31+07:00 จิรวิทย์ วงศ์เอกบุตร jirawit.w@gmail.com วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ warakorn13@gmail.com จุฑามาศ แหนจอน juthamas@go.buu.ac.th <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการควบคุมยับยั้งของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้ทางสังคมร่วมกับการพับกระดาษโอริกามิเพื่อเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามผล 2) เพื่อเปรียบเทียบการควบคุมยับยั้งของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง อายุ 12-17 ปี จำนวน 36 คน ไม่มีความบกพร่องการมองเห็นและการได้ยิน สมัครใจเข้าร่วมและได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองรับการประเมินด้วยแบบทดสอบโกโนโกทาสค์จากนั้นเรียงคะแนนจากมากสุดไปน้อยสุด จับคู่คะแนนกลุ่มละ 18 คน สุ่มอย่างง่ายโดยหยิบสลากเลือกกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมฯ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 6 ครั้ง 50 นาทีต่อครั้ง ดำเนินการ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 2 สัปดาห์ ประเมินผลเป็น 3 ระยะ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตาม 3 สัปดาห์ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มและเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนการควบคุมยับยั้งหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (<em>p</em>&lt;0.05) สรุปได้ว่าโปรแกรมฯ อาจช่วยเสริมสร้างการควบคุมยับยั้งได้</p> 2024-09-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/273903 ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิด อย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2024-06-24T11:16:39+07:00 ธัชกร สุวรรณจรัส touch.su@hotmail.com วิชัย ตรีเล้ก wtrilek@gmail.com นฤมล นวลผกา narumon.nualpaka@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและ หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดช่องลม) จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน มีความเหมาะสมโดยรวมระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.04 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42 2) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีค่า IOC 0.60-1.00 ค่าความยากง่าย 0.23-0.88 ค่าอำนาจจำแนก 0.15-0.62 ค่าความเชื่อมั่น 0.63 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่าย 0.40-0.75 ค่าอำนาจจำแนก 0.30-0.80 ค่าความเชื่อมั่น 0.89 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีค่า IOC 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (<em>t</em>-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยการจัด การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.14 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.17</p> 2024-09-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/273883 การประเมินหลักสูตรและอนาคตภาพของหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2024-07-26T15:36:22+07:00 นพมณี เชื้อวัชรินทร์ nopmanee@go.buu.ac.th สมศิริ สิงห์ลพ nopmanee@go.buu.ac.th ศาณิตา ต่ายเมือง sanitataimuang@gmail.com ภาสกร ภักดิ์ศรีแพง paskorn@buu.ac.th รุ่งทิพย์ ทิพย์เนตร r.rung.nu@gmail.com มันทนา เมฆิยานนท์ nopmanee@go.buu.ac.th <p>งานวิจัยนี้เป็นการประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาชีววิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้แบบจำลอง CIPP ควบคู่ไปกับกรอบคุณวุฒิการศึกษาไทย และมาตรฐาน AUN-QA (Version 4.0) ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด พร้อมกับใช้เทคนิค EFR เพื่อทำนายอนาคตภาพในการปรับปรุงหลักสูตร รวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าร่วม 144 คน ผ่านแบบสอบถาม แบบสำรวจ และการสัมภาษณ์ ประกอบด้วยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นิสิตและบัณฑิตที่จบการศึกษา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ และผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยเผยให้เห็นถึงการรับรู้โดยรวมเชิงบวกเกี่ยวกับประสิทธิผลของหลักสูตรในมิติต่าง ๆ ตามรูปแบบซิปป์ (CIPP model) พบว่า ความคิดเห็นที่มีคะแนนสูงสุดคือ ด้านกระบวนการ (μ = 4.71, σ = 0.50) ตามด้วย ด้านบริบท (μ = 4.55, σ = 0.34), ด้านผลผลิต (μ = 4.48, σ = 0.57) และ ด้านปัจจัยนำเข้า (μ = 4.47, σ = 0.49) ผู้สำเร็จการศึกษาถึง 85.30 % มีเกรดเฉลี่ยสะสม ≥ 3.50 แสดงถึงประสิทธิภาพของหลักสูตรที่ประสบความสำเร็จตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ของหลักสูตร นอกจากนี้ ความคิดเห็นโดยรวมของผู้สำเร็จการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการหลักสูตรภายใต้ เกณฑ์ AUN-QA (Version 4.0) อยู่ในระดับสูง (ระดับ 4: μ = 4.39, σ = 0.54) อนาคตภาพหลักสูตรที่ใช้เทคนิค EFR นั้นสามารถแบ่งภาพในอนาคตเป็น 3 ส่วน คือ ทางดี ทางร้าย และทางที่เป็นไปได้ที่สุด โดยข้อมูลทั้ง 3 ส่วนสามารถสรุปนำเสนอภาพอนาคตในประเด็นต่าง ๆ เป็น 4 ประเด็น ดังนี้ 1) การดำเนินงานหลักสูตรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และการผลิตบัณฑิตซึ่งควรคงสภาพไว้ 2) ปรับหลักสูตรให้มีความกระชับ สอดคล้องกับมาตรฐานแห่งชาติ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ จัดประสบการณ์จริงและบูรณาการเนื้อหาความรู้ศึกษาศาสตร์กับเทคโนโลยี 3) การจัดการหลักสูตรควรเน้นเพิ่มประสบการณ์การทำงาน แลกเปลี่ยนความรู้ เสริมสร้างการจัดการหลักสูตรแบบโมดูล ระบบธนาคารหน่วยกิต และระบบออนไลน์ ส่งเสริมโอกาสในการพัฒนาวิชาชีพและการวางแผนการวิจัยสำหรับนิสิต 4) กิจกรรมหลังสำเร็จการศึกษา ควรมีการติดตามผลเพิ่มเติมสร้างเครือข่ายระหว่างนิสิต อาจารย์ และศิษย์เก่า ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของหลักสูตร</p> 2024-09-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/274230 แนวทางการบริหารจัดการเรียนรวมของสถานศึกษาโดยใช้โครงสร้าง SEAT สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 2024-08-05T13:17:56+07:00 รัตนาพรรณ อายุยืน rattanaphanaryuyuen@gmail.com หยกแก้ว กมลวรเดช yokkaew.kam@uru.ac.th ทินกฤตพัชร์ รุ่งเมือง tinnakrittapatrun@pim.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการบริหารจัดการเรียนรวมของสถานศึกษา เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการเรียนรวมของสถานศึกษา และเพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ แนวทางการบริหารจัดการเรียนรวมของสถานศึกษาโดยใช้โครงสร้าง SEAT สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) โดยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 369 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา/รักษาการในตำแหน่ง จำนวน 120 คน ครูวิชาการ จำนวน 119 คน และครู/พี่เลี้ยงเด็กพิการจำนวน 130 คน สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับทางการบริหารจัดการเรียนรวมจำนวน 10 คน และสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า สภาพปัญหาในการบริหารจัดการเรียนรวมของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก แนวทางการบริหารจัดการเรียนรวมของสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านเครื่องมือ สำหรับผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารจัดการเรียนรวมของสถานศึกษาโดยใช้โครงสร้าง SEAT สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และรายข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด</p> 2024-09-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/275168 การพัฒนาผลิตสื่อดิจิทัลอินโฟกราฟิกสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ ในยุค New Normal ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตยะลา 2024-09-24T19:53:40+07:00 วินัย แก้วน้อย winai.k103@gmail.com ณัฐวิภา หงส์เจริญกุล natthawipha.H@gmail.com ว่าที่ร้อยตรีหญิงศิรินันท์ ทาหมอก tamok.sirinan@gmail.com <p style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของสื่ออินโฟกราฟิกในการพัฒนาการผลิตสื่อดิจิทัลอินโฟกราฟิกเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ในยุค New Normal สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ในการพัฒนาการผลิตสื่อดิจิทัลอินโฟกราฟิกเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ในยุค New Normal สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาในการเรียนรู้ในการพัฒนาการผลิตสื่อดิจิทัลอินโฟกราฟิกเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ในยุค New Normal สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) สื่อการพัฒนาการผลิตสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ในยุค new Normal 2) แบบทดสอบความรู้ เรื่อง การผลิตสื่อดิจิทัลอินโฟกราฟิก และ 3) แบบประเมินสื่อดิจิทัลอินโฟกราฟิกเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ในยุค New Normal รูปแบบ Rubric Score วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired Sample t-test และหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการกับผลลัพธ์ (E1/E2) ซึ่งกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่ออินโฟกราฟิกในการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ในยุค New Normal มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ (81.17/83.67) 2) ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.07 และ 16.73 คะแนน ตามลำดับ และคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อสื่ออินโฟกราฟิกในการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\chi\bar{}" alt="equation" />= 4.32, S.D. = 0.66)</p> 2024-09-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/275171 ทิศทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ 2024-09-26T14:28:20+07:00 เกศณิชชา อาษา ketnitcha_999@hotmail.com ก้องเกียรติ เชยชม Kongipe@gmail.com ภานุ ศรีวิสุทธิ์ Panusriwisut@gmail.com กุลนิดา สายนุ้ย jubby132@gmail.com วรยุทร ชัยเจริญสมบัติ airipeyala@gmail.com ธัญญารัตน์ แสงสว่าง yingtanyarat1234@gmail.com นูรอาซีกีน สาและ nu-r_272@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทิศทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นักเรียนมัธยมศึกษา ครูผู้สอน พลศึกษา และผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 478 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 18 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านโดยเรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านครูผู้สอนพลศึกษา ด้านผู้เรียน ด้านการวัดและการประเมินผล ด้านหลักสูตร ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านผู้บริหารและการบริหาร เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับทิศทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่มีความสอดคล้องกัน ดังนี้ (1) ด้านหลักสูตร ได้แก่ วิชาพลศึกษามีการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และความมีระเบียบวินัยให้กับนักเรียน (2) ด้านผู้บริหารและการบริหาร ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจในการจัดการเรียนการสอนของครูพลศึกษาด้วยวิธีการที่หลากหลาย (3) ด้านครูผู้สอนพลศึกษา ได้แก่ มีบุคลิกภาพที่ดี การแต่งกายเหมาะสมกับการสอน (4) ด้านผู้เรียน ได้แก่ ให้ความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนโดยการให้ร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ (5) ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ มีสนามกีฬาในร่มและกลางแจ้งที่เหมาะกับการจัดการเรียนรู้พลศึกษา และ (6) ด้านการวัดและการประเมินผล ได้แก่ มีเกณฑ์การประเมินผลที่ถูกต้องและเหมาะสม เป็นต้น</p> 2024-09-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/274471 การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา 2024-09-24T17:48:18+07:00 เมธี ธรรมวัฒนา maydon2014@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะงานวิจัยบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา 2) เพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลของบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา ซึ่งประชากรและตัวอย่างเป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่เกี่ยวข้องกับการใช้บอร์ดเกมเพื่อการศึกษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สืบค้นได้จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย (ThaiLIS) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551-2566 ซึ่งตัวอย่างงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกมีจำนวน 23 เล่ม ด้วยวิธีการวิเคราะห์อภิมานเพื่อหาค่าขนาดอิทธิพลงานวิจัยบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา โดยมีการใช้แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบบันทึกข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลการวิเคราะห์อิทธิพลสุ่ม (Random effect model) ผลการวิจัยพบว่า 1) งานวิจัยส่วนใหญ่ระดับคุณภาพงานวิจัยอยู่ในระดับพอใช้ วิธีการเลือกตัวอย่างใช้แบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น ได้แก่ เลือกแบบเจาะจงมากที่สุด ส่วนรูปแบบการทดลองจะเป็นการทดลองกับ 1 กลุ่มที่ไม่อิสระ และใช้ตัวอย่างจำนวน 30 คน ลงไป โดยใช้การทดลองบอร์ดเกม จำนวน 1-6 ครั้ง และใช้เวลาในการทดลองบอร์ดเกมมากกว่า 9 ชั่วโมงขึ้นไป 2) การศึกษาขนาดอิทธิพลงานวิจัยบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา ซึ่งตัววิธีการเลือกตัวอย่าง รูปแบบการทดลอง จำนวนการทดลอง และระยะเวลาการทดลอง ให้ขนาดอิทธิพลไม่แตกต่างกัน ยกเว้นจำนวนตัวอย่าง ให้ขนาดอิทธิพลแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 โดยสรุปการวิจัยบอร์ดเกมเพื่อการศึกษาส่วนใหญ่มีประสิทธิผลในระดับมากที่สุด และถ้ามีการทำวิจัยเกี่ยวกับบอร์ดเกมควรให้กำหนดจำนวนตัวอย่างไม่เกิน 30 คน มีแนวโน้มจะให้ขนาดอิทธิพลสูงกว่า</p> 2024-09-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University