e-Journal of Education Studies, Burapha University https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes <p>วารสาร e-Journal of Education Studies, Burapha University ISSN: 2697-3863 (Online)<span lang="TH"> จะพิจารณาเผยแพร่บทความวิชาการ บทความวิจัย ที่มีสาระเกี่ยวเนื่องกับการศึกษา การบริหารการศึกษา นวัตกรรมหลักสูตร นวัตกรรมการเรียนรู้ การศึกษาปฐมวัย การวิจัยการศึกษา นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา และการวัดและประเมินผลการศึกษา</span></p> th-TH <p>อ้างอิงแหล่งที่มา</p> kongrat@go.buu.ac.th (อาจารย์ ดร.คงรัฐ นวลแปง) wattanaporn@go.buu.ac.th (อาจารย์วัฒนพร จตุรานนท์) Sun, 30 Jun 2024 23:19:06 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 สารบัญ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/275148 คงรัฐ นวลแปง Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/275148 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 The Use of Augmented Reality Direct Vocabulary Instruction Based on Cognitive Theory of Multimedia Learning to Enhance Vocabulary Knowledge of Thai University Students https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/272395 <p>The potential of augmented reality to merge the real and computer-generated world together can revolutionize the vocabulary field. This study aimed to 1) investigate the effectiveness of the use of augmented reality direct vocabulary instruction based on cognitive theory of multimedia learning to enhance vocabulary knowledge of Thai university students and 2) explore the perceptions of Thai university students towards the instruction. This study employed a one group pre-posttest research design. Twenty Thai university students from the second to fourth year at a public university in Bangkok participated in this study for 10 weeks. The instruments were lesson plans with AR flashcards, pre-posttest, questionnaire and interview. The data was analyzed using paired-sample t-test, mean, SD and thematic analysis. The results showed that 1) there was a significant improvement of students’ vocabulary knowledge at p 0.001. and 2) students had positive perceptions towards the instruction as they found it interesting and useful, agreeing to apply it outside classrooms. The augmented reality direct vocabulary instruction based on cognitive theory of multimedia learning enhances vocabulary knowledge systematically with an overlay of sound, pictures and real situations. It can also become part of students’ future self-learning.</p> Premkamon Hiranrakpattana, Assist. Prof. Dr. Pornpimol Sukavatee Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/272395 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 สาระการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ เรื่องความหลากหลายทางเพศ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/272214 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่มีบทบาทในการจัดสาระการเรียนรู้ ที่มีประสบการณ์ด้านการจัดสาระการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือการจัดสาระการเรียนรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศอย่างน้อย 5 ปี เครื่องมือที่ใช้ คือ การสังเคราะห์เอกสารโดยการประเมินความตรงเชิงเนื้อหา และพิจารณาแบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมในองค์ประกอบของเนื้อหาที่ต้องการวัด ผลการวิจัยพบว่า สาระการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ รับรู้ และยอมรับเกี่ยวกับเพศสภาวะของตนเอง ทั้งจากภายในตนเอง และภายนอกคือ มุมมองของบุคคลอื่น จนสามารถระบุอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง นำไปสู่การพัฒนาตนเอง ผ่านการแสดงออกทางการกระทำ วิถีทางเพศ และพฤติกรรมทางเพศที่สอดคล้องกับวิถีของชุมชนและสังคม และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างเหมาะสม โดยปราศจากภาพเหมารวมทางเพศ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ความตระหนักรู้ทางอารมณ์ในความหลากหลายทางเพศ 2) การประเมินตนเองตามเพศวิถี 3) ความเชื่อมั่นในตนเองและการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและครอบครัว</p> ญาณิพัชญ์ อาภรณ์แสงวิจิตร, ยศวีร์ สายฟ้า Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/272214 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุขของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/271993 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุขของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ และ 2) ตรวจสอบโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุขของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 850 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วนใช้หลักการทางสถิติ วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Factor Analysis ในรูปแบบของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scale) โดยค่าความสอดคล้องทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 และวิเคราะห์ความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.99 ผลการศึกษาพบว่า 1) ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุข มี 5 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย 100 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ความสบายกาย มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ 2) ความสบายใจ มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ 3) ความสุข มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ 4) ความสงบ มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ และ 5) ความยุติธรรม มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ และ 2) โครงสร้างตัวบ่งชี้ของภาวะผู้นำสันติสุข มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (X<sup>2</sup>) เท่ากับ 9.77 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 5 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value) เท่ากับ 0.08 โดยค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก มีค่าเป็นบวกตั้งแต่ 0.82 – 0.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบหลัก และค่าองค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้ มีค่าเป็นบวกตั้งแต่ 0.47 – 1.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกตัว (ยุทธ ไกยวรรณ์, 2557) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า</p> ศรินทิพย์ ทะสะระ, ทิพมาศ เศวตวรโชติ, สันติ อุนจะนำ Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/271993 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/272295 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา” จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในกาวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการอ่าน จับใจความ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (<img title="\chi \bar{}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\chi&amp;space;\bar{}" />) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (<em>SD</em>) และทดสอบค่าที แบบ t-test for dependent sample และ แบบ t-test for one Samples ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.18/82.5 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> ธนันชนก นิชเปี่ยม, รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์, สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/272295 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมนิทานดนตรีตามทฤษฎีเกสตอลท์ต่อความสนใจจดจ่อ ของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาตอนต้น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/273401 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสนใจจดจ่อของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมนิทานดนตรีตามทฤษฎีเกสตอลท์ ระหว่างก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามผล 2) เปรียบเทียบความสนใจจดจ่อของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมในระยะหลังทดลองและติดตามผล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง อายุ 6-9 ปี จำนวน 36 คน ที่มีคะแนนจากแบบทดสอบความสนใจจดจ่อ เรียงคะแนนจากมากสุดไปน้อยสุด จับคู่คะแนนจัดเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 18 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมนิทานดนตรีตามทฤษฎีเกสตอลท์ จำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอนปกติ ทดสอบผลการทดลอง 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล 3 สัปดาห์ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม และหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอร์โรนี</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนความถูกต้องในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าระยะหลังทดลอง และติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนเวลาปฏิกิริยา ระยะติดตามผลต่ำกว่าหลังทดลอง และต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ทั้งระยะหลังทดลอง และติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมนิทานดนตรีตามทฤษฎีเกสตอลท์สามารถเพิ่มความสนใจจดจ่อของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาได้</p> พรรณผกา ใจแก้ว, วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์, จุฑามาศ แหนจอน Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/273401 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/274124 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL กับเกณฑ์ ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/12 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคKWDL จำนวน 7 โดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.75 และ 0.56 2) แบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.60 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.69 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.75 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.67 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ธนาดุล สุทธิรัตน์, อาพันธ์ชนิต เจนจิต, เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร, พาวา พงษ์พันธ์ Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/274124 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนไวยากรณ์ประโยค“把”(bǎ) ของผู้เรียนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/273260 <p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนไวยากรณ์ประโยค “把” (bǎ) ในภาษาจีนกลางผ่านสื่อการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแก่ผู้เรียนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในเขตพื้นที่ EEC โดยมีการพัฒนาชุดสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ) ในภาษาจีนกลางระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดสื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ) ในภาษาจีนกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem; font-family: 'Noto Sans', 'Noto Kufi Arabic', -apple-system, BlinkMacSystemFont, 'Segoe UI', Roboto, Oxygen-Sans, Ubuntu, Cantarell, 'Helvetica Neue', sans-serif;">1. ประสิทธิภาพของสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ) ในภาษาจีนกลางที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าเท่ากับ 78.37/73.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 75/75</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem; font-family: 'Noto Sans', 'Noto Kufi Arabic', -apple-system, BlinkMacSystemFont, 'Segoe UI', Roboto, Oxygen-Sans, Ubuntu, Cantarell, 'Helvetica Neue', sans-serif;">2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ) ของผู้เรียนหลังเรียนด้วยสื่อการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem; font-family: 'Noto Sans', 'Noto Kufi Arabic', -apple-system, BlinkMacSystemFont, 'Segoe UI', Roboto, Oxygen-Sans, Ubuntu, Cantarell, 'Helvetica Neue', sans-serif;">3. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ) ในภาษาจีนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอยู่ในระดับดี</span></p> รัฐพร ปานมณี Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/273260 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 สภาพ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน สำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/273682 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ การเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน สำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) ประเมินความต้องการจำเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติ การสอน สำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 95 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน ได้มาจากสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มีจำนวน 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .58 - .90 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .53 - .83 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น โดยใช้สูตร Modified Priority Needs Index (PNI<sub>Modified</sub>)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน โดยรวมและรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านจิตวิจัย ด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียน ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการเข้าใจผู้เรียน ตามลำดับ</p> ณฐมนต์ คมขำ, ลีลาวดี ชนะมาร Copyright (c) 2024 e-Journal of Education Studies, Burapha University https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/273682 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 ส่วนนำ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/275146 คงรัฐ นวลแปง Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/275146 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700