https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/issue/feed วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา 2024-08-20T22:55:47+07:00 Assoc.Prof.Dr.Sukanya Chaemchoy sukanya.chae@chula.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร </strong>เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพของนิสิต นักศึกษาและคณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเน้นด้านการบริหารการศึกษา ที่ครอบคลุมการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยทุกระดับ และทุกประเภทการศึกษา เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และการอุดมศึกษา ทุกบทความจะได้รับการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องในลักษณะพิชญพิจารณ์โดยที่ผู้เขียนไม่ทราบผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบผู้เขียน (double-blind peer review) ทั้งภายในและภายนอกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน </p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/275909 Editorial 2024-08-20T22:38:24+07:00 Pruet Siribanpitak pruet.s@chula.ac.th 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/263990 Guidelines for Managing IoT Systems to Develop Innovation Management of Teaching and Learning of Private Higher Education Institutions in Thailand 2023-02-08T07:36:30+07:00 Ntapat Worapongpat dr.thiwat@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานระบบไอโอที 2) สร้างรูปแบบการบริหาร งานระบบไอโอที และ 3) นำเสนอแนวทางการบริหารงานระบบไอโอทีที่เหมาะสม การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.936 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ คณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิด้านระบบไอโอทีเพื่อการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ และร้อยละ ส่วนเชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการบริหารงานระบบไอโอทีเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยที่เหมาะสมมีประเด็นสำคัญก็คือ การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา 5 ด้าน ได้แก่ (1) หลักสูตร (2) วิธีการเรียนการสอน (3) สื่อการสอน (4) การวัดและการประเมินผล และ (5) การบริหารจัดการ แนวทางการพัฒนาระบบไอโอทีเพื่อการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพจะประกอบด้วย 1) การออกแบบและใช้งานระบบไอโอทีควรให้ตอบสนองต่อการทำงานทุกฟังก์ชัน 2) การใช้วิธีการมาตรฐานในการพัฒนาระบบเพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ 3) การสร้างสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีทั้งในส่วนของผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา และ 4) การวางแผนและกำหนดเป้าหมายของผู้ใช้งานระบบไอโอทีที่ชัดเจนและต้องตอบสนองต่อการใช้งานเป็นสำคัญ โดยจะทำให้การจัดการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยมีคุณภาพดีขึ้นได้ในอนาคต</p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/267359 The Needs of Developing a Private Secondary School Management According to The Concept of Student Voice 2023-06-12T15:42:37+07:00 Kittiphan Mitcharoen kittiphan.fee@gmail.com Dhirapat Kulophas dhirapat.k@chula.ac.th Pruet Siribanpitak pruet.s@chula.ac.th <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมที่มีคุณค่าของนักเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลจาก 259 โรงเรียน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 777 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมที่มีคุณค่าของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยการบริหารโรงเรียนที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การดำเนินงานสภานักเรียน รองลงมาคือ การจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การวัดผลประเมินผล และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดการเรียนการสอน และการดำเนินงานสภานักเรียน รองลงมาคือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ส่วนการวัดผลประเมินผล และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ทั้งนี้ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนที่มีลำดับความต้องการจำเป็นในภาพรวมคือ .266 สูงสุด คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมาคือ การวัดผลประเมินผล การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดการเรียน<br />การสอน และการดำเนินงานสภานักเรียน ตามลำดับ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นฐานในการพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่มีคุณค่าของนักเรียนในสถานศึกษาต่อไป</p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/267185 Needs Assessment for Academic Management of Secondary Schools Based on the Concept of Intercultural Competence 2023-05-18T08:03:07+07:00 Muanfan Korattana pang@engenius.co.th Penvara Xupravati Penvara.x@chula.ac.th Pruet Siribanpitak Pruet.S@chula.ac.th <p>This study aimed to assess the needs of academic management of secondary schools based on the concept of intercultural competence (IC). This study used a population of 19 public secondary schools implementing international program (IP) under the Educational Hub Project. Respondents included school administrators and teachers, accounting for 307 respondents. A five-point Likert scale survey questionnaire was used to collect data. Data were analyzed using frequencies, percentages, mean, standard deviation, and modified priority needs index (PNI<sub>modified</sub>). Results showed that measurement and evaluation had the highest need compared to the other three functions, and teaching and learning had the lowest need. Among the ten components of IC, the top three highest needs included intercultural team effectiveness, interpersonal communication, and intercultural empathy, and the top three lowest needs included respect for otherness, intercultural goal orientation, and nonjudgmentalness.</p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/266481 Analysis of The Component of Professional School Administrators in Digital Age of School Administrators under Phrae Primary Educational Service Area Office 2 2023-04-21T21:02:17+07:00 Pannisa Kunpet pannisa1994@gmail.com Sathiraporn Chaowachai pannisak64@nu.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของความเป็นผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยใช้<br />การวิเคราะห์ด้วยวิธีสกัดองค์ประกอบหลัก หลังหมุนแกนแบบมุมฉาก ด้วยวิธีแวริแมกซ์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบความเป็นผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา<br />ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม <br />การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการบริหาร และผู้นำการใช้เทคโนโลยี</p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/267870 Academic Administration Strategies to Develop Innovators’ Characteristics of Students in Vocational Institutes under OVEC 2023-06-14T14:34:52+07:00 Sutee Thaikerd Thaisutee@gmail.com Ackara Thammathikul Thaisutee@gmail.com Wisut Wijitphatcharaporn Thaisutee@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะการเป็นนวัตกรของผู้เรียนวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะการเป็นนวัตกรของผู้เรียนวิทยาลัยในสังกัด สอศ. และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะการเป็นนวัตกรของผู้เรียนวิทยาลัยในสังกัด สอศ. ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัยในสังกัด สอศ. ทั่วประเทศ จำนวน 822 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน แบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการมี 3 กรอบแนวคิด 1.1) กรอบการบริหารวิชาการ <br />1.2) กรอบคุณลักษณะการเป็นนวัตกรของผู้เรียน และ 1.3) กรอบการพัฒนาและประเมินกลยุทธ์ 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะการเป็นนวัตกรของผู้เรียนวิทยาลัยในสังกัด สอศ. <br />จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) การพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะการเป็นนวัตกรของผู้เรียนวิทยาลัยในสังกัด สอศ. ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 12 กลยุทธ์รอง และ 39 แนวทางพัฒนา</p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/266656 Development of Neuroleadership Indicators for Private School Administrators under The Office of The Private Education Commission 2023-05-02T07:54:07+07:00 Pannaree Piromkraipak pannareech@gmail.com Wisut Wichitputcharaporn feduwsw@ku.ac.th Achara Niyamabha a.niyamabha@gmail.com Suphot Koedsuwan supod123@hotmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดภาวะผู้นำเชิงประสาทวิทยาศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน 2) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงประสาทวิทยาศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน 3) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงประสาทวิทยาศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชน ใช้การสุ่มอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดภาวะผู้นำเชิงประสาทวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ สถานะ ความแน่นอน ความมีอิสระ ความเกี่ยวพัน และความเป็นธรรม 2) องค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงประสาทวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 16 ตัวชี้วัด ดังนี้ (1) ด้านสถานะ ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด (2) ด้านความแน่นอน ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด (3) ด้านความมีอิสระ ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด (4) ด้านความเกี่ยวพัน ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด (5) ด้านความเป็นธรรม ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด 3) ผลการตรวจสอบเชิงยืนยัน พบว่า ตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงประสาทวิทยาศาสตร์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความกลมกลืน คือค่า X<sup>2</sup> = 74.06, df = 65, p-value 0.21; Relative X<sup>2 </sup>= 1.14; GFI = .98; AGFI = .95, RMR = .01; SRMR = .01, RMSEA = .02</p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/267204 The Factor Analysis of Digital Competency of School Administrator in Phitsanulok Province Secondary Schools 2023-05-18T08:05:54+07:00 Sunantana Kusolprasert sunantanak64@nu.ac.th Sathiraporn Chaowachai sunantanak64@nu.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา 2565 จำนวน 345 คน โดยจำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 88 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และครู จำนวน 257 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของครูในแต่ละสหวิทยาเขตของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยวิธีสกัดองค์ประกอบหลักหลังหมุนแกนแบบมุมฉากด้วยวิธี<br />แวริแมกซ์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิษณุโลกพบว่า ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.559-0.847 2) การสื่อสารและสร้างเครือข่ายดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.651-0.810 <br />3) การรู้ดิจิทัลอย่างมีวิจารณญาณ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.711-0.859 4) การพัฒนาสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเป็นองค์กรดิจิทัล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.503-0.809 5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.547-0.770 และ 6) จรรยาบรรณและความปลอดภัยในการใช้ดิจิทัล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.534-0.832 สามารถอธิบายองค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ได้ร้อยละ 72.60</p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/270145 The Challenge and Pedagogical Approach in Entrepreneurial Education in Thai Universities Group 1 and Group 2 2023-11-18T10:01:58+07:00 Mullika Sungsanit mullika@g.sut.ac.th Sukumarl Koednok sukumarl_koe@vu.ac.th Bongse Varavuddhi Muenyuddhi bongse@g.sut.ac.th Pattarapong Jaiboonlue pattarapong.j@g.sut.ac.th <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัตถุประสงค์และรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนด้านผู้ประกอบการ และ 2) ศึกษาปัญหาและความท้าทายของการจัดการเรียนการสอนด้านผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษา ในบริบทของการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 โดยการศึกษาในครั้งนี้มีอาจารย์ผู้สอนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนด้านผู้ประกอบการที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 28 ท่าน จากมหาวิทยาลัยในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 จำนวนกลุ่มละ 14 ท่าน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50 ของมหาวิทยาลัยในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 โดยจากผลการศึกษาพบว่า อาจารย์ผู้สอนด้านผู้ประกอบการ ร้อยละ 71.43 <br />มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนนำทักษะของผู้ประกอบการไปประยุกต์ใช้ (Education through entrepreneurship) ซึ่งพบว่ารูปแบบและแนวทางการเรียนการสอน (Pedagogical approach) เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้วิธีการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้อื่นและนำทักษะของผู้ประกอบการไปประยุกต์ใช้ ซึ่งรูปแบบและแนวทางการเรียนการสอนดังกล่าวสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน และจากการศึกษาความเห็นของอาจารย์ผู้สอนถึงปัญหา อุปสรรค และความท้าทายของการจัดการเรียนการสอนด้านผู้ประกอบการพบว่าผู้สอนยังคงมีปัญหา อุปสรรค และความท้าทายในมิติต่าง ๆ เช่น นโยบายระดับมหาวิทยาลัย มิติของตัวอาจารย์ผู้สอน มิติการสร้างความเข้าใจและความสำคัญของทักษะความเป็นผู้ประกอบการ และมิติด้านความท้าทายสำหรับการออกแบบหลักสูตรการสอนความเป็นผู้ประกอบการ</p> 2024-08-20T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา