วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร </strong>เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพของนิสิต นักศึกษาและคณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเน้นด้านการบริหารการศึกษา ที่ครอบคลุมการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยทุกระดับ และทุกประเภทการศึกษา เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และการอุดมศึกษา ทุกบทความจะได้รับการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องในลักษณะพิชญพิจารณ์โดยที่ผู้เขียนไม่ทราบผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบผู้เขียน (double-blind peer review) ทั้งภายในและภายนอกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน </p> Division of Educational Management, Faculty of Education, Chulalongkorn University th-TH วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา 2630-0354 <div>ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใด ๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวโดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิด จากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้ &nbsp;</div> The Priority Needs of Developing Design Thinker Capabilities of the Schools Affiliated with the Church of Christ in Thailand https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/268073 <p>Design thinking has become a source of inspiration in the pursuit of innovation. Dealing with education and innovation in the post-COVID era, the focus in curriculum, teaching, and learning on applying the design thinking process is not enough; teachers must now move forward to mastering the capabilities of design thinkers. This research aims to study the current states, desirable states, and Priority Needs of teachers in the schools affiliated with the Church of Christ in Thailand (CCT) based on the concept of the capabilities of design thinkers. The sample size is randomly selected 274 teachers from 994 secondary teachers in 20 schools that provide secondary education under the provision of CCT. Online questionnaires were used as a research instrument. The findings revealed that a dynamic mindset showed the highest Need (PNI<sub>modified</sub> = 0.620), while the overall need of the design thinking capabilities rated very high (PNI<sub>modified</sub> = 0.527). It would greatly benefit teachers to become design thinkers by understanding and developing the individuals’ sub-dimensions of the capabilities of design thinkers.</p> Kampanart Bhavangganand Dhirapat Kulophas Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-19 2024-12-19 7 3 1 11 A Factor Analysis of Digital Competency to Promote Learning Management for Private School Administrators https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/269319 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ สำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในช่วง 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารโรงเรียนเอกชนจำนวน 500 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชนประกอบด้วย 11 องค์ประกอบ 60 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การพัฒนาทางวิชาชีพ (6 ตัวบ่งชี้) 2) วิสัยทัศน์ (8 ตัวบ่งชี้) 3) การรู้ดิจิทัล (6 ตัวบ่งชี้) 4) ความร่วมมือ (5 ตัวบ่งชี้) 5) การสื่อสาร (5 ตัวบ่งชี้) 6) การสร้างสรรค์ (6 ตัวบ่งชี้) 7) การแก้ปัญหา (5 ตัวบ่งชี้) 8) การจัดการทรัพยากร (5 ตัวบ่งชี้) 9) การสร้างบรรยากาศการทำงาน (4 ตัวบ่งชี้) 10) การจัดการข้อมูล (5 ตัวบ่งชี้) และ<br />11) การเสริมพลังบุคลากร (5 ตัวบ่งชี้) มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่าสถิติ ดังนี้ ค่าสถิติไค-สแควร์สัมพัทธ์ (X<sup>2</sup>/df) = 1.9606 CFI = 0.939, TLI = 0.933, SRMR = 0.038, RMSEA = 0.044 แต่ละองค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในช่วง 0.837-0.921 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> asanee porananond Santi Buranachat Thidawan Unkong Namfon Gunma Gunma Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-19 2024-12-19 7 3 12 28 The Development Model of Teacher’s Competencies in The Digital Age under The Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 2 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/268106 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะของครูผู้สอน 2) ศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอน 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอน 4) ตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 158 คน และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการ<br />แจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และค่าความจำเป็นแบบปรับปรุง PNI<sub>modified</sub> </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบสมรรถนะของครู มี 5 สมรรถนะ คือ 1) ภาวะผู้นำครู 2) การพัฒนาหลักสูตร 3) การจัดการเรียนรู้ 4) ทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลทางการสอน และ 5) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2. ระดับสภาพปัจจุบันและระดับสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะของครู มีค่าเฉลี่ยระดับมาก และระดับมากที่สุด ส่วนระดับความต้องการจำเป็น ในภาพรวมมีค่า PNI<sub>modified</sub> เท่ากับ 0.130 3. ผลการสร้างรูปแบบ พบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู มี 3 ส่วน 1) ส่วนนำ ประกอบด้วย หลักการ และวัตถุประสงค์และเป้าหมายของรูปแบบ 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครู ประกอบด้วย องค์ประกอบสมรรถนะของครู และกระบวนการพัฒนาสมรรถนะตามองค์ประกอบ 3) เงื่อนไข ประกอบด้วย เงื่อนไขสู่ความสำเร็จ และผลลัพธ์และความสำเร็จ 4. ผลการตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอน พบว่า มีความเหมาะสม และเป็นไปได้ทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสม 4.59 และมีความเป็นไปได้ 4.56</p> Jomkwan Nakhonthaisong Akara Thammathikul Achara Niyamabha Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-19 2024-12-19 7 3 29 42 Teaching Strategies to Create Innovators: A Systematic Literature Review https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/268627 <p><strong> </strong>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์กลยุทธ์การสอนเพื่อสร้างนวัตกร โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จากฐานข้อมูล TCI SCOPUS และ ERIC ที่ตีพิมพ์ในช่วง พ.ศ. 2564-2566 (ค.ศ. 2021-2023) เครื่องมือที่ใช้มี 3 ส่วน 1) แบบคัดกรองงานวิจัย 2) แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย 3) แบบบันทึกผลการสกัดข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สรุปเชิงเนื้อหา คัดเลือกงานวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้วิจัย มีงานวิจัย 13 เรื่องที่ผ่านการพิจารณา จากการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า บุคลากรทางการศึกษาหรือผู้สร้างนวัตกรควรมีกลยุทธ์การสอนเพื่อสร้างนวัตกรที่สำคัญ 3 กลยุทธ์ 1) กลยุทธ์การเตรียมความพร้อม 2) กลยุทธ์การวางแผนและเตรียมการสอน 3) กลยุทธ์การประเมินและรายงานผล นอกจากนี้ ผู้สร้างนวัตกรควรมีกลยุทธ์ในการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนมีสมรรถนะความเป็นนวัตกร คือ 1) รู้จักตั้งคำถาม แสวงหาความรู้ 2) รู้จักสังเกต เห็นปัญหา เห็นความเชื่อมโยง 3) เป็นนักทดสอบ ทดลอง ให้ได้องค์ความรู้ใหม่ 4) เป็นนักบันทึกข้อมูล 5) รับผิดชอบต่อความยั่งยืนทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม <br />6) แสวงหาทางเลือกที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา ค้นหาคำตอบ 7) สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ เครือข่ายความคิด <br />8) เป็นผู้นำผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม เป็นผู้นำในการวางแผน มีวิสัยทัศน์ กล้าเสี่ยง มั่นใจในตนเอง 9) เข้าใจปัญหา กำหนดปัญหาได้ 10) ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์ม เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ 11) คิดริเริ่มสร้างสรรค์ 12) มีแรงบันดาลใจ ต้องการความสำเร็จ 13) เป็นนักปฏิบัติ มุ่งมั่น ยืดหยุ่น อดทน และ 14) ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้</p> thawat ratyotha Pattarawat Jeerapattanatorn Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-19 2024-12-19 7 3 43 57 Relationship between Success and Failure Attributions and Self-Efficacy of Chinese ELF Junior High School Students with Different English Proficiency Levels https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/269223 <p>This study aimed at 1) comparing the levels of students’ success and failure attributions and <br />self-efficacy in English language learning among the students with different levels of English language proficiency and 2) investigating the relationship between success and failure attributions, and <br />self-efficacy among Chinese junior high school students. The success and failure attributions were categorized into two aspects: The internal attributions associated with ability and effort and the external attributions associated with luck and context. One hundred and ten junior high school students at a school in Shizong, China were voluntarily recruited for the research. The study was a correlational study and supported by a qualitative study based on a semi-structured interview. The results revealed that 1) high and medium English proficiency students showed high internal attributions while Low English proficiency students displayed moderate internal attributions ( = 4.35, 3.69 and 2.82 SD = 1.19, 1.18 and 1.24, respectively) and self-efficacy of high and medium English proficiency students showed high level of self-efficacy while low English proficiency students displayed low self-efficacy ( = 3.90, 3.56 and 2.44 SD = 0.84, 1.01 and 1.02, respectively). External attributions were moderate across all English proficiency levels. 2) The correlation between success and failure attributions and self-efficacy varied among students with different levels of English proficiency. The data from the semi-interviews provided some evidence to support the results of the questionnaire.</p> Tingyuan Shi Sumalee Chinokul Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-19 2024-12-19 7 3 58 72 Developing a Conceptual Framework or Private Primary School Academic Management to Enhance Students’ Design Thinking Skills https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/269624 <p><strong> </strong>This study aims to develop conceptual frameworks of private school academic management and design thinking skills in primary students. The investigation began with a review of related concepts from literature and research, followed by a synthesis of concepts to form conceptual frameworks for design thinking skills and academic management. The conceptual framework was drafted and then evaluated to confirm suitability by five purposively selected experts, using the Conceptual Framework Suitability Evaluation Form. The data was collected and analyzed using descriptive statistics and content analysis.</p> <p>The findings indicated that the conceptual framework for private primary schools' academic management to enhance students’ design thinking skills consists of two parts that work together: 1) design thinking has five main stages consisting of empathy, defining problem, ideation, prototyping, and testing and thirteen skills as follows: research skill, observation skill, questioning skill, active listening skill, analyzing skill, synthesizing skill, reasoning skill, imaginative thinking skill, brainstorming skill, visualization/illustration skill, construction skill, experimenting skill, and reflection skill; and 2) academic management has four main works including curriculum development, teaching and learning, assessment and evaluation, and educational resources and learning environment development with ten sub-works in total.</p> Supawaree Patravanich Chayapim Usaho Penvara Xupravati Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-19 2024-12-19 7 3 73 90 The Study of Levels of Professional Early Childhood Educator Competencies of School Administrators under the Office of Primary Educational Service Area in Thailand https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/269748 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในประเทศไทยที่มีการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย จำนวน 330 โรงเรียน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากประชากรทั้งหมด 25,893 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามระดับสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียนที่มีค่าความเที่ยงทุกด้านมากกว่า 0.800 โดยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในประเทศไทยมีระดับสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดได้ดังนี้ 1) ความสามารถด้านการส่งเสริมด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย 2) ความสามารด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ปฏิสัมพันธ์ และการแนะแนวเด็กปฐมวัยและครอบครัว 3) ความสามารถด้านการสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการพัฒนาเด็กปฐมวัย 4) ความสามารถด้านการบริหารจัดการและการนิเทศด้านปฐมวัย 5) ความสามารถด้านการพัฒนาทางวิชาชีพปฐมวัย 6) ความสามารถด้านการมีภาวะผู้นำทางการศึกษาปฐมวัย <br />7) ความสามารถด้านการพัฒนาหลักสูตรและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 8) ความสามารถด้าน<br />การจัดการระบบการสังเกต คัดกรอง การวัดและประเมินผล และการจัดทำสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย และ <br />9) ความสามารถด้านการส่งเสริมการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย</p> Rungthip Manakit Penvara Xupravati Apiradee Jariyarangsiroge Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-19 2024-12-19 7 3 91 103 Enhancement of The Powerful SBM Effectiveness Based on The Blue Ocean Strategy and High Performance Organization Framework https://so01.tci-thaijo.org/index.php/emi/article/view/272473 <p>บทความนี้มุ่งนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการบริหารโรงเรียนของรัฐ ซึ่งเป็นส่วนราชการในบริบทของระบบราชการการศึกษาที่ถูกยกฐานะให้เป็นนิติบุคคล โดยประยุกต์ใช้กรอบบริหารโรงเรียนบนฐานคิดของ<br />กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean Strategy) รวมกับแนวคิดการบริหารองค์การที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization) มีแนวคิดสำคัญ คือ แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และแนวคิดการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Approach) โดยเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ 2 รูปแบบ คือ ประยุกต์ใช้โดยตรงกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ มุ่งเน้นการนำแนวคิดและแนวทางของกลยุทธ์น่านน้ำสีครามเป็นเครื่องมือหลัก ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ขั้นตอนการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ และขั้นตอนการประเมินกลยุทธ์ และประยุกต์ใช้เชิงบูรณาการแบบองค์รวมทั้งระบบโรงเรียน มุ่งเน้นการนำแนวคิดการบริหารโรงเรียนยุคร่วมสมัย มาประยุกต์และใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญ เช่น การคิดเชิงระบบ ผืนผ้าใบกลยุทธ์ และกรอบปฏิบัติ 4 ประการ ซึ่งแนวคิดและเครื่องมือเหล่านี้ทำให้ผู้บริหารสามารถบริหารโรงเรียนเป็นฐานอย่างมีพลัง (Powerful School-Based Management) ช่วยเสริมความเข้มแข็งให้โรงเรียนและยกระดับการพึ่งพาตนเอง จนกลายเป็นโรงเรียนพัฒนาตนเอง ทำให้ตอบโจทย์บริบทขององค์การที่แตกต่างหลากหลาย ในสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงพลิกผัน</p> <p><strong> </strong></p> Sarun Premsuk Anucha Kornpuang Pakorn Prachanban Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-19 2024-12-19 7 3 104 120