https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/issue/feed วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ 2024-12-17T14:39:18+07:00 ศาสตราจารย์ ดร.มานพ ชูนิล faa.journal@arts.kmutnb.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์นำเสนอบทความวิชาการและบทความวิจัยโดยขอบเขตเนื้อหาของบทความจะครอบคลุมสหวิทยาการทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อาทิ สาขาวิชาภาษา จิตวิทยา บริหารธุรกิจ การตลาด การเงิน การจัดการ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ พลศึกษา ศึกษาศาสตร์ เป็นต้น</p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/272063 การศึกษาการบริโภคผลิตภัณฑ์ Plant based Food ของจีน เพื่อแสวงหาแนวทาง การส่งออกผลิตภัณฑ์ Plant based Food ของไทยในตลาดจีน 2024-02-09T13:05:35+07:00 กอบบุญ วิริยยิ่งยง kobboon.vir@mfu.ac.th บัณฑิตา ภัทรวิชญ์กุล banthita.pat@mfu.ac.th <p>อาหารจากพืช เป็นเทคโนโลยีทางอาหารที่กระแสความนิยมกำลังเพิ่มขึ้นในตลาดโลก โดยเฉพาะในประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดที่สำคัญและมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในหลายด้าน ส่งผลให้จีนมีมูลค่าการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ Plant based Food มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้ผู้บริโภคจีนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ Plant based Food เป็นที่นิยมมากขึ้น จึงเป็นโอกาสที่จะผลักดันผลิตภัณฑ์ Plant based Food ของไทยไปจำหน่ายในตลาดจีน ผลการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์ Plant based Food ของไทย มีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบการผลิตที่มีจำนวนมากและหลากหลายชนิด ราคามีความเหมาะสม และผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายมีช่องทางการเข้าสู่ตลาดจีน อาทิ การขายผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ การใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในการไลฟ์สดขายสินค้า รวมถึงการโปรโมตและขายสินค้าผ่านบัญชีทางการ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การส่งออก Plant based Food ของไทย ยังมีอุปสรรคทางด้านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การแข่งขันในตลาดจีน และความปลอดภัยในอาหาร ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ มีความแตกต่าง รักษามาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และพร้อมแข่งขันทั้งในตลาดจีนและตลาดโลก</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/271881 กิจกรรมนำความรู้ วิธีสอนแบบโสเครติส และภาพต่อ (Jigsaw) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ในรายวิชาขอบข่ายและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ 2024-01-30T09:53:27+07:00 วีระ เลิศสมพร veera.le@up.ac.th <p>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมนำความรู้และวิธีสอนแบบโสเครติส 2) สร้างภาพต่อ (Jigsaw) เป็นสิ่งประดิษฐ์ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยดำเนินกระบวนการกับผู้เรียนในชั้นเรียนระดับปริญญาโททั้งหมด 10 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Research) ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาขอบข่ายและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เน้นแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ภายใต้เทคนิควิธีสอนซึ่งเน้น (1) กิจกรรมนำความรู้ (2) การสอนแบบโสเครติส และ (3) การสร้างภาพต่อ ทำให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวและสนุกในการเรียนเมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนแบบจด Lecture เพียงรูปแบบเดียว ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและผู้เรียนด้วยกันในการขบคิด ถกเถียงแลกเปลี่ยน วิพากษ์ และให้ข้อเสนอแนะ 2) ผู้เรียนสร้างภาพต่อ (Jigsaw) เป็นสิ่งประดิษฐ์ช่วยหนุนเสริมการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับรายวิชา (Course Learning Outcomes: CLOs) เพิ่มมากยิ่งขึ้น</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/272747 ผลการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ที่มีต่อความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ในจังหวัดเชียงราย 2024-03-13T11:05:51+07:00 กรรณิการ์ เบแซ 638866001@crru.ac.th อาภิสรา พลนรัตน์ thaicmu@gmail.com สุทัศน์ คล้ายสุวรรณ์ 638866001@crru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อสร้างและหาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ของนักเรียนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองในจังหวัดเชียงราย เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ของนักเรียนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองในจังหวัดเชียงราย โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้&nbsp; คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านป่ากว๋าว-ดอนชัย อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย&nbsp; ปีการศึกษา 2565 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบ&nbsp; CIRC เรื่องคำที่มีสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป จำนวน 6 แผน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ของการอ่านและเขียนสะกดคำภาษาไทย จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC การอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย มีประสิทธิภาพ 81.31/80.18 เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบ CIRC มีประสิทธิภาพสูงกว่า 80/80 &nbsp;&nbsp;&nbsp;ที่กำหนดไว้ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนกับหลังการพัฒนาการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้&nbsp;&nbsp; การจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ของนักเรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองในจังหวัดเชียงราย ผลก่อนและหลังการทดลองพบว่า ทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIRC มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ&nbsp; 19.07 คะแนน และ 24.20 คะแนน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/272599 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามอัตลักษณ์และวิถีชุมชน ในพื้นที่ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 2024-03-27T08:29:34+07:00 ศิริขวัญ ปัญญาเรียน rosegarden7305@gmail.com เพียงกานต์ นามวงศ์ phiengkan@rmutl.ac.th ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ phiengkan@rmutl.ac.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามอัตลักษณ์และวิถีชุมชน ในพื้นที่ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง และเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามอัตลักษณ์และวิถีชุมชน ในพื้นที่ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง การวิจัยครั้งนี้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) โดยใช้เครื่องมือ ประกอบด้วย แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงการ และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อให้ได้ข้อสรุปในการนำเสนอให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามอัตลักษณ์และวิถีชุมชน บนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลสถิติพื้นฐาน และจำแนกตามกลุ่มข้อมูล (Content Analysis) ที่ได้จากการการสนทนากลุ่ม (Focus Group)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามอัตลักษณ์และวิถีชุมชนในพื้นที่ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร&nbsp; จังหวัดลำปาง พื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ มีสถานที่ที่เป็นจุดบ่งชี้ประวัติศาสตร์ที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนาน อาทิ ในโบราณสถาน ศาสนสถานและปัจจุบันยังไม่มีผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชน ในส่วนของการศึกษาแนวทางการพัฒนาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตามอัตลักษณ์และวิถีชุมชนในพื้นที่ตำบลเวียงตาล พบว่า สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่อยู่ในพื้นที่ตำบลเวียงตาลมีการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวและมีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวมีการบริหารจัดการสถานที่โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในระดับดีเยี่ยมยังขาดการมีส่วนร่วมในพื้นที่ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคประชาชน</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/273653 การพัฒนาแบบฝึกทักษะเพื่อการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านป่าซาง (ซางดรุณานุสาสน์) อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 2024-05-03T09:07:27+07:00 พิชชาพร อุดมปาละ theframemiiz@gmail.com สุกัญญา ขลิบเงิน theframemiiz@gmail.com อนันตา สุขวัฒน์ theframemiiz@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะที่ใช้ในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านป่าซาง (ซางดรุณานุสาสน์) จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบฝึกทักษะเรื่องคำควบกล้ำ และแบบวัดความสามารถการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการหาร้อยละความก้าวหน้าของคะแนนเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะเพื่อการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำเท่ากับ 93.32/93.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำของนักเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 28.17 คิดเป็นร้อยละ 93.90 และมีคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ 19.69 คิดเป็นร้อยละ 65.63 ที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำดีขึ้นเท่ากับ 8.48 คิดเป็นร้อยละ 28.27</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/272312 การวิเคราะห์เนื้อหาการเรียนการสอนวัฒนธรรมไทยในมหาวิทยาลัย เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีน 2024-02-22T16:09:13+07:00 YU WEI 411051601@qq.com พัชรินทร์ บูรณะกร patcharintara@yahoo.com <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาวัฒนธรรมไทยที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีนโดยใช้ทฤษฎีการประเมินเนื้อหาวัฒนธรรมในตำราภาษาต่างประเทศของ Michael Byram ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research) นำเสนอการศึกษาวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า มีหลักสูตรรายวิชาจำนวน 9 วิชาที่สอนวัฒนธรรมไทยโดยทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ รายวิชา สภาพโดยรวมของประเทศไทย ภาษาและวัฒนธรรมไทย สำนวนสุภาษิตไทย วรรณกรรมไทย การเปรียบเทียบวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมจีน สังคมและวัฒนธรรมไทย คติชนวิทยาไทย ภาษาไทยพื้นฐาน และการอ่านภาษาไทย เนื้อหาวัฒนธรรมใน 9 วิชานั้น วิเคราะห์ด้วยทฤษฎีการวิเคราะห์ และประเมินเนื้อหาทางวัฒนธรรมในตำราเรียนภาษาต่างประเทศของ Michael Byram พบจุดเด่นเนื้อหาวัฒนธรรมไทยในทั้ง 9 วิชา ได้แก่ 1) ครอบคลุมหัวข้อทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย 2) เนื้อหามีความใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันของนักศึกษา 3) มีเนื้อหาเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมจีน ส่วนจุดด้อยเนื้อหาวัฒนธรรมไทยในทั้ง 9 วิชา ได้แก่ 1) การกระจายประเภททางวัฒนธรรมไม่เท่ากัน 2) เนื้อหาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมน้อยเกินไป หลังจากวิเคราะห์วัฒนธรรมไทยในทั้ง 9 วิชาที่เปิดสอนในเมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีนทั้ง 7 แห่งแล้ว ผู้วิจัยได้เสนอข้อเสนอแนะสำหรับผู้สอนในการใช้ตำราเรียนอย่างมีประสิทธิภาพจากทั้งด้านอุดมคติ การสอนในชั้นเรียนและกิจกรรมนอกหลักสูตร ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสื่อการสอนจาก 2 ด้าน คือ การคัดเลือกและจัดเนื้อหา และข้อเสนอแนะในด้านการให้ความสำคัญกับเนื้อหาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/272824 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่เคลื่อนไหวเร็ว (FMCG) ผ่านช่องทางไลฟ์สด (Live) ของ Generation Z กรณีศึกษา TikTok Shop 2024-03-22T11:14:52+07:00 ฐานิดา เฉียงเหนือ tanidaresearch@gmail.com เบญจมาภรณ์ คงเดช tanidaresearch@gmail.com วนิดา สุดหาญ tanidaresearch@gmail.com สุพัชรี ศรีกล่ำ tanidaresearch@gmail.com บุศยรินทร์ กองแก้ว tanidaresearch@gmail.com <p style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความไว้วางใจ (Trust Theory) &nbsp;2) ศึกษาการรับรู้ความเสี่ยง (Perceived Risk)&nbsp; 3) ศึกษาอิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) 4) ศึกษาการมีส่วนร่วมของลูกค้า (Customer Engagement) และ 5) ศึกษาความสามารถของธุรกิจ (Business Competency) ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่เคลื่อนไหวเร็ว (FMCG) ผ่านช่องทางไลฟ์สด (Live) : กรณีศึกษาTikTok Shop การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ และกลุ่มตัวอย่างคือกลุ่ม GenerationZ ที่มีความสนใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทาง Live ในแอพพลิเคชั่นTikTok ทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านความไว้วางใจ ปัจจัยด้านการรับรู้ความเสี่ยง ปัจจัยด้านอินฟลูเอนเซอร์ ปัจจัยการมีส่วนร่วมของลูกค้า และปัจจัยด้านความสามารถธุรกิจ ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่เคลื่อนไหวเร็ว (FMCG) ผ่านช่องทางไลฟ์สด (Live) : กรณีศึกษา TikTok Shop</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/272223 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บนอัตลักษณ์วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นนครลำปาง 2024-03-22T10:40:37+07:00 ศิริขวัญ ปัญญาเรียน rosegarden7305@gmail.com เพียงกานต์ นามวงศ์ phiengkan@rmutl.ac.th <p>การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนอัตลักษณ์วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นนครลำปางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหาร ท้องถิ่นนครลำปาง และพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารบนอัตลักษณ์วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นนครลำปาง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องที่ใช่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสนทนากลุ่ม ซึ่งศึกษาในพื้นที่เมืองเก่านครลำปาง 9 ชุมชน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า อาหารท้องถิ่นนครลำปางมีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เนื่องจากมีส่วนผสมจากสมุนไพรหลากหลายชนิด ที่นิยมรับประทานกันเฉพาะในจังหวัดลำปาง และภาคเหนือ ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีรสชาติที่แตกต่างกันออกไป แม้วัตถุดิบในการประกอบอาหารจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่มีการสืบทอด จนกลายเป็นวัฒนธรรมการกินของท้องถิ่นอันเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของทั้ง 9 ชุมชน ทั้งนี้ อาหารที่ได้รับความนิยมและรับประทานกันในชีวิตประจำวัน คือ ลาบ เข้าหนมเส้น (ขนมจีน) แกงผักเชียงดา ข้าวซอย แกงฮังเล แกงแค แกงโฮะ แกงอ่อม แกงบอน แกงตูน แกงบ่าค้อนก้อม (มะรุม) แกงหน่อไม้ ยำไก่ใส่ปลี แกงผักหวาน แกงสะแล แกงผักปลัง แกงหางหวาย แกงเห็ดโคน แกงขนุน ตำขนุน แกงกระด้าง ไส้อั่ว จอผักกาด น้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู แกงหยวก แกงผักขี้เหล็ก เป็นต้น ส่วนการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารนั้น พบว่า ผู้ประกอบการประกอบอาหารให้รสชาติของอาหารที่ได้มาตรฐาน ร้านอาหารท้องถิ่นควรคำนึงถึงความเหมาะสมของอาหารและราคา ยกระดับมาตรฐานร้านอาหารท้องถิ่นให้เป็นร้านอาหารปลอดภัยได้มาตรฐานพัฒนาในเรื่องของช่องทางการจัดจำหน่าย จัดกิจกรรมเทศกาลอาหารท้องถิ่นการนำอาหารท้องถิ่นมาจำหน่ายในถนนคนเดินเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวได้เห็นได้รับรู้ และได้มีโอกาสลิ้มลอง จัดทำแผนที่หรือป้ายบอกที่ตั้งร้านอาหารให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงร้านอาหารท้องถิ่นของนักท่องเที่ยว สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่น แนะนำอาหารท้องถิ่นแก่นักท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้อง และต้องมีความสามารถในการทำงานให้บริการได้รวดเร็ว รวมทั้ง การสร้างภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร เช่น การสร้างองค์ความรู้และการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารรูปแบบ Street food และการถ่ายทอดแทรกเรื่องราวของอาหารพื้นบ้านในสื่อต่าง ๆ ในสังคมออนไลน์</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/272134 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและทัศนคติสำหรับผู้จัดงานวิ่งถนนในประเทศไทยหลังสถานการณ์ระบาดโควิด-19 2024-03-08T09:08:43+07:00 ภัทรวดี อ่อนเอกสิทธิ์ tai872254@gmail.com อนุชา แซ่เจียม tai872254@gmail.com ณิชานันท์ วงษ์วิวัฒน์ tai872254@gmail.com กัญฐิณัฐฎิ์ ผ้อล้วน tai872254@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสำหรับผู้จัดงานวิ่งถนนในประเทศไทยหลังสถานการณ์ระบาดโควิด-19 และเพื่อศึกษาทัศนคติสำหรับผู้จัดงานวิ่งถนนหลังสถานการณ์ระบาดโควิด-19 พบว่า ทางผู้จัดงานวิ่งถนนได้มีการเปลี่ยนแปลงการปรับตัว ทั้งปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ การจัดหาเตรียมอุปกรณ์และเส้นทางในการแข่งขันให้มีมาตราฐาน สวยงาม ราคา&nbsp; มองถึงความคุ้มค่าในการสมัครเข้าร่วมงานวิ่งถนน&nbsp; สถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่าย มีการจัดวิ่งได้ตามความสะดวกของผู้วิ่ง การส่งเสริมการตลาด มีการเปิดรับสมัครและข่าวสาร ผ่านทางออนไลน์ บุคคล การจัดเตรียมความพร้อมอบรมเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานวิ่งถนนอย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะทางกายภาพ การวางแผนการเตรียมงานและเส้นทางของการแข่งขัน กระบวนการ การจัดงานวิ่งถนนมีคุณภาพและมาตรฐาน และทัศนคติ การระบาดโควิด-19 ทำให้การจัดงานวิ่งนั้นหยุดไป ทำให้ผู้จัดมีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัว โดยใช้วิธีการจัดงานในรูปแบบใหม่ เช่น การจัดงานวิ่งออนไลน์ การวัดงานวิ่งแบบมีการเว้นระยะห่าง ทำให้งานวิ่งถนนมีคุณภาพและมีมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น และมองไปถึงรูปแบบการจัดงานที่เฉพาะเจาะจงเพิ่มขึ้น ให้เข้ากับผู้เข้าร่วมงานวิ่งถนนเพิ่มขึ้น เพื่อให้ตอบรับทั้งทางผู้จัดและผู้เข้าร่วมงานวิ่งถนนทั้งสองฝ่าย&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/272815 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันซีจากการรับชมโฆษณาแฝง ผ่านวิดีโอบนยูทูป : กรณีศึกษาช่องโคตรคูล ในจังหวัดชลบุรี 2024-04-29T14:16:02+07:00 อภิชยา เวชวิทยาขลัง apichaya13122544@gmail.com นุจรี ทองแดง apichaya.we@ku.th บัญชา เนตรสุวรรณ์ apichaya.we@ku.th นริศรา ภาควิธี apichaya.we@ku.th กนกพร พร้อมเพรียง apichaya.we@ku.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการเปิดรับสื่อ ปัจจัยการรับรู้ตราสินค้า ปัจจัยทัศนคติต่อโฆษณาแฝง และปัจจัยความน่าเชื่อถือของโฆษณาแฝง จากโฆษณาของยูทูปที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชันซี ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันซี อายุ 18-25 ปี เพศชายและหญิงที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี และเคยรับชมยูทูป ช่องโคตรคูล ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์เชิงอนุมานได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยการเปิดรับสื่อ ปัจจัยการรับรู้ตราสินค้า ปัจจัยทัศนคติต่อโฆษณาแฝง และปัจจัยความน่าเชื่อถือของโฆษณาแฝง ส่งผลเชิงบวกต่อการตั้งใจซื้อของผู้บริโภคเจเนอเรชันซี ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี</p> 2024-12-17T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์