วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb
<p>วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์นำเสนอบทความวิชาการและบทความวิจัยโดยขอบเขตเนื้อหาของบทความจะครอบคลุมสหวิทยาการทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อาทิ สาขาวิชาภาษา จิตวิทยา บริหารธุรกิจ การตลาด การเงิน การจัดการ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ พลศึกษา ศึกษาศาสตร์ เป็นต้น</p>
คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์
th-TH
วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์
2985-0843
<p>1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร</p> <p>2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p>
-
การเข้าใจผู้อื่น: หนทางสู่การประสบความสำเร็จในการทำงานบนฐานวิถีชีวิตใหม่
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/269053
<p>ในยุคของการดำเนินชีวิตบนฐานวิถีชีวิตใหม่ หลายคนอาจยังมีความคุ้นชินอยู่กับการทำงานที่บ้าน การทำงานเพียงลำพัง หรือการทำงานอย่างอิสระ ทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนแปลงตามไปเป็นการทำงานที่ต่างคนต่างรับผิดชอบ พบปะกันเพียงแค่การประชุมหรือกิจกรรมที่สำคัญๆ เท่านั้น อาจทำให้บุคคลเกิดความห่างเหิน ไม่คุ้นเคยกัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือขาดการทำงานเป็นทีมที่ดีได้ ซึ่งการทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ดีหรือผลงานมีประสิทธิภาพที่ดีได้นั้น ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ การเข้าอกเข้าใจกัน การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ของพนักงานที่ทำงานร่วมกัน เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจ ความเมตตา และความพร้อมที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหา จึงนับว่าเป็นทักษะพื้นฐานที่ควรได้รับการตระหนักถึงและควรได้รับการพัฒนา เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน</p>
ณัชชามน เปรมปลื้ม
นนทิมา สิริเกียรติกุล
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-26
2024-06-26
17 1
1
12
10.14416/j.faa.2024.27.007
-
การแสดงออกทางวัฒนธรรมของชาวจีนโพ้นทะเลในอเมริกา จากละครโทรทัศน์เรื่อง “Fresh Off the Boat”
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/272171
<p>ละครโทรทัศน์เรื่อง Fresh Off the Boat ถ่ายทอดวิถีชีวิตของครอบครัวชาวจีนโพ้นทะเลที่อาศัยในประเทศสหรัฐอเมริกาผ่านเรื่องราวชีวิตของครอบครัวหวง เนื้อหาดัดแปลงมาจากอัตชีวประวัติของตัวละครในเรื่อง เป็นการเล่าผ่านประสบการณ์ตรงของผู้เขียน บทความนี้ศึกษาและวิเคราะห์โครงเรื่องและความสัมพันธ์ของตัวละครโดยใช้แนวคิดการแสดงออกทางวัฒนธรรมของ Hofstede เพื่ออธิบายลักษณะการแสดงออกทางวัฒนธรรมของชาวจีนโพ้นทะเลที่มีทั้งการแสดงออกถึงความเป็นจีนและการแสดงออกในการยอมรับวัฒนธรรมอเมริกัน จากการศึกษาแนวคิดดังกล่าว วิเคราะห์ได้ว่าในขั้นสัญลักษณ์เป็นขั้นที่แสดงถึงการยอมรับวัฒนธรรมอเมริกันเด่นชัดที่สุด ส่วนในขั้นบุคคลตัวอย่างและขั้นพิธีกรรม ตัวละครมีการแสดงออกที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจีนและอเมริกัน และในขั้นค่านิยม ตัวละครแสดงออกถึงวัฒนธรรมจีนชัดเจนที่สุด โดยตัวละครรุ่นที่เกิดและเติบโตในประเทศจีนจะยึดถือในวัฒนธรรมจีนอย่างเข้มงวดกว่าคนรุ่นหลัง นอกจากนี้ บทความนี้ยังนำแนวคิดรูปแบบความสัมพันธ์ทั้งห้าหรืออู่หลุน (五伦) ของขงจื๊อซึ่งเป็นความสัมพันธ์ตามสังคมอุดมคติของจีนมาอธิบายความสัมพันธ์ของตัวละครหลักในเรื่อง พบว่าชาวจีนโพ้นทะเลในละครให้ความสำคัญกับครอบครัวซึ่งตรงตามแนวคิดขงจื๊อ แต่ในขณะเดียวกันการแสดงออกของตัวละครก็มีบางสื่งที่แตกต่างไปจากแนวคิดดังกล่าว อันเป็นผลมาจากการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมอเมริกัน</p>
จิดาภา อมรางกูร
กนกพร นุ่มทอง
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-26
2024-06-26
17 1
1
13
10.14416/j.faa.2024.27.002
-
การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ในหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/272082
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งในจังหวักรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ในหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งในจังหวักรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ในหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งในจังหวักรุงเทพมหานคร ตามตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล 4) ศึกษาการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ในหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งในจังหวักรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งในจังหวักรุงเทพมหานคร จำนวน 183 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-Test , One-Way ANOVA และความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนอยู่ในระดับมากที่สุด 2)แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านความรับผิดชอบอยู่ในระดับมากที่สุด มาก 3) บุคลากรเพศชายและเพศหญิงมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกัน 4) ด้านการประสานงาน ด้านการสั่งการ ด้านการวางแผน ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร</p>
ฉัตรชัย บุญแก้ว
ทองฟู ศิริวงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-26
2024-06-26
17 1
1
15
10.14416/j.faa.2024.27.003
-
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ถ้วยอนามัยรักษ์โลกของผู้บริโภคเพศหญิงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/271611
<p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ถ้วยอนามัยรักษ์โลกของผู้บริโภคเพศหญิงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นการศึกษาการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จากการเก็บรวบรวมแบบสอบถามออนไลน์จำนวน 400 คน ที่ผ่านการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความคลาดเคลื่อน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองความตั้งใจซื้อด้วยการวิเคราะห์เส้นทางและทดสอบสมมติฐานด้วยการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการตระหนักด้านสุขภาพ ทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อม คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์สีเขียว ความเต็มใจที่จะจ่าย และการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ถ้วยอนามัยรักษ์โลกของผู้บริโภคเพศหญิงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นแหล่งข้อมูลที่เกิดประโยชน์ทางการศึกษาให้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าในภายภาคหน้า และสะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในการทำการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเกิดกระแสการรับรู้และเข้าถึงถ้วยอนามัยรักษ์โลกมากขึ้น</p>
ธมลวรรณ คชเสน
ปนัดดา บุญเจริญ
ทัศนีพร เชื้อหมอ
ศุภนิดา มุระภา
จารุพร ตั้งพัฒนกิจ
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-26
2024-06-26
17 1
1
16
10.14416/j.faa.2024.27.004
-
การพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค L.T. ร่วมกับผังกราฟิก และบูรณาการโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/271909
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มที่ได้จากการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค L.T. ร่วมกับผังกราฟิก และบูรณาการใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค L.T. ร่วมกับผังกราฟิก และบูรณาการใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/7 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม และ4) แบบประเมินผังกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะกระบวนการกลุ่มมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ( = 2.52) และ2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
ขวัญดาว ปิ่นทองพันธุ์
ธราดล กุมกูล
นงค์นุช ขาวศรี
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-26
2024-06-26
17 1
1
17
10.14416/j.faa.2024.27.005
-
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการใช้ System Flowchart เกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่าย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/271389
<p>การวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการใช้ System Flowchart เกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่าย ตามสำนักงบประมาณสำนักนายกรัฐมนตรี<br>และกรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง 2) สร้าง System Flowchart เพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่าย<br>3) วัดผลสัมฤทธิ์ของเครื่องมือ System Flowchart เพื่อใช้ตัดสินใจเกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่าย 4) ศึกษาระดับ<br>ความพึงพอใจในการใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม จำนวน 15 คน ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ผู้เกี่ยวข้องกับ<br>การจัดซื้อจัดจ้าง และผู้ปฏิบัติการงานพัสดุการศึกษาใช้วิธีเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากผลการวิจัยสามารถจำแนกประเภทรายจ่ายในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างจำแนกได้ดังนี้ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ ค่าใช้สอย และค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง จากการศึกษาทำให้เชื่อมั่นได้ว่า<br>System Flowchart มีความเหมาะสมสำหรับนำมาใช้ตัดสินใจเกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่าย การศึกษาผลสัมฤทธิ์<br>จากการใช้เครื่องมือ System Flowchart ต่อกลุ่มตัวอย่างมีค่าในระดับสูง ทั้ง 3 กลุ่ม โดยสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง<br>ร้อยละ100 และกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มมีความพึงพอใจต่อการใช้งาน System Flowchart ในการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายอยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจมาก</p>
ธัญญ์นภัส นิธิพรภูวรัตน์
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-26
2024-06-26
17 1
1
14
10.14416/j.faa.2024.27.006
-
ค่านิยมในการทำงาน จิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน และความยึดมั่นผูกพันของพนักงาน ระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/270617
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของค่านิยมในการทำงาน จิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน และความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง 2) ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมในการทำงานและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานกับความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง และ 3) ตัวพยากรณ์ระหว่างค่านิยมในการทำงานและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานที่สามารถร่วมกันทำนายความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานระดับบังคับบัญชา ในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งที่ดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ครบวงจร จำนวน 120 คน เก็บข้อมูลพนักงานระดับบังคับบัญชาโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดค่านิยมในการทำงาน แบบวัดจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน และแบบวัดความยึดมั่นผูกพันของพนักงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งมีค่านิยมในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก ส่วนจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานและความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่งอยู่ในระดับสูง 2) ค่านิยมในการทำงานและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานมีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .293 และ .335 ตามลำดับ) 3) ค่านิยมในการทำงานและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับบังคับบัญชาในกลุ่มบริษัทบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง ได้ร้อยละ 7.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
พรรณลดา ลิขิต
รัตติกรณ์ จงวิศาล
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-26
2024-06-26
17 1
1
15
10.14416/j.faa.2024.27.008
-
ความเป็นครูผู้กำหนดตนเอง : การรับรู้อิสระและศักยภาพของครูสอนภาษาอังกฤษ เป็นภาษาต่างชาติในโรงเรียนรัฐบาลไทย
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/270087
<p>งานวิจัยนี้ศึกษาความเป็นครูผู้กำหนดตนเองในด้านการรับรู้อิสระและศักยภาพของครูสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างชาติในโรงเรียนรัฐบาลไทย รูปแบบงานวิจัยคือแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากครูชาวไทยและต่างชาติรวม 29 คนที่สอนในโรงเรียนขนาดใหญ่ ตามด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับครู 6 คน ผลวิจัยแสดงว่าการรับรู้อิสระและศักยภาพของครูอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.18 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55) และพบแก่นสาระ 5 ประการจากการวิเคราะห์สาระ คือ 1) มีอิสระสูงในการจัดการชั้นเรียนและการสนับสนุนการสอน 2) มีความสามารถสูงในการจัดการสอนของตนเอง 3) เป็นครูที่มีความสามารถรับผิดชอบการสอนด้วยตนเองในระดับปานกลางถึงสูง 4) เป็นครูที่เรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และ 5) อุปสรรคของความเป็นครูผู้กำหนดตนเอง สามารถอภิปรายผลการวิจัยได้ว่าเกิดจากการสร้างสมดุลระหว่างอิสระและศักยภาพของความเป็นครูผู้กำหนดตนเองผ่านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาวิชาชีพชึ่งก่อให้เกิดการรับรู้อิสระและศักยภาพของครูในระดับสูงนั่นเอง งานวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะด้านการสอน การบริหารและงานวิจัยในอนาคต</p>
รสสุคนธ์ เสวตเวชากุล
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-26
2024-06-26
17 1
1
17
10.14416/j.faa.2024.27.001
-
ปัจจัยด้านลักษณะการใช้งานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานจากการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของบุคลากรในสำนักงานสรรพากรภาค 1
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/272032
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของบุคลากรในสำนักงานสรรพากรภาค 1 2) ศึกษาประสิทธิภาพในการทำงานด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของบุคลากรในสำนักงานสรรพากรภาค 1 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของประสิทธิภาพในการทำงานด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของบุคลากรในสำนักงานสรรพากรภาค 1 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) ศึกษาปัจจัยด้านลักษณะการใช้งาน ได้แก่ พฤติกรรมการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และความสามารถในการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานจากการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของบุคลากรในสำนักงานสรรพากรภาค 1 ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยด้านลักษณะการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความสามารถในการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด จัดอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการทำงานจากการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมาก โดยที่ด้านความรวดเร็วในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด สำหรับด้านความสะดวก ด้านความประหยัด และด้านการลดขั้นตอนการทำงาน รองลงมาตามลำดับ 3) บุคลากรที่ระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีประสิทธิภาพการทำงานจากการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่เพศ อายุ ตำแหน่งงาน และอายุการทำงานแตกต่างกัน มีประสิทธิภาพการทำงานจากการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ไม่แตกต่างกัน และ 4) ปัจจัยด้านลักษณะการใช้งาน ได้แก่ พฤติกรรมการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และความสามารถในการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลทางบวกต่อประสิทธิภาพการทำงานจากการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของบุคลากรในสำนักงานสรรพากรภาค 1</p>
สิราภร ตรงคำสัตย์
ธัญปวีณ์ รัตน์พงศ์พร
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-26
2024-06-26
17 1
1
15
10.14416/j.faa.2024.27.009
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการคลังสินค้าด้วยระบบ VENDOR MANAGED INVENTORY (VMI) ของธุรกิจ Super Store ในเขตกรุงเทพมหานคร
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/269727
<p>วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการคลังสินค้าด้วยระบบ VENDOR MANAGED INVENTORY (VMI) ของธุรกิจ Super Store ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายคลังสินค้า หรือผู้จัดการทั่วไป ในธุรกิจ Super Store รวม 54 สาขาเฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ตามกรอบแนวคิดการศึกษา โดยแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการคลังสินค้าด้วยระบบ VENDOR MANAGED INVENTORY (VMI) ของธุรกิจ Super Store ในเขตกรุงเทพมหานคร 3 ปัจจัยสูงสุด คือ ด้านต้นทุน ด้านความรวดเร็ว และ ด้านบุคลากร</p>
อนุวัต เจริญสุข
ประทีป หมื่นหาญ
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-26
2024-06-26
17 1
1
15
10.14416/j.faa.2024.27.010