วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb <p>วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์นำเสนอบทความวิชาการและบทความวิจัยโดยขอบเขตเนื้อหาของบทความจะครอบคลุมสหวิทยาการทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อาทิ สาขาวิชาภาษา จิตวิทยา บริหารธุรกิจ การตลาด การเงิน การจัดการ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ พลศึกษา ศึกษาศาสตร์ เป็นต้น</p> th-TH <p>1.บทความที่ตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร</p> <p>2.ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากร คณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในวารสารฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> [email protected] (ศาสตราจารย์ ดร.มานพ ชูนิล) [email protected] (นางสาวพรภิรมย์ แก้วมีแสง) Wed, 20 Mar 2024 14:30:11 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวทางการสอนแบบอรรถฐานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงโต้แย้งสำหรับนักศึกษาไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/263680 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> บทความนี้แสดงการใช้การสอนแบบอรรถฐานและลักษณะทางภาษาเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงโต้แย้งได้อย่างมีประสิทธิผล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงโต้แย้งสำหรับนักศึกษาไทยโดยใช้แนวทางการสอนแบบอรรถฐานมุ่งเน้นประเด็นหลักเพื่อการสื่อสารและรูปแบบงานเขียนที่เป็นระบบซึ่งมีรายละเอียดของลักษณะทางภาษาตามรูปแบบของการเขียนเชิงโต้แย้ง ผู้เรียนเป็นนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น การสอนเชิงอรรถฐานเพื่อการเขียนเชิงโต้แย้งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) การนำเสนอรูปแบบ 2) ขั้นการเขียนร่วมกัน 3) การวิเคราะห์ และ 4) ขั้นการเขียนโดยอิสระ การเก็บข้อมูลได้มาจากงานเขียน 120 ชิ้นของนักศึกษาและวิเคราะห์ด้วยแนวทางปริจเฉทวิเคราะห์พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่สามารถพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงโต้แย้งเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นที่ยังเป็นปัญหาได้แก่การจัดการเนื้อความและลักษณะทางภาษาบางประการ </p> งามทิพย์ วิมลเกษม, นิชธาวัลย์ สุทินวงศ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/263680 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาส่งออกยางแผ่นรมควันชั้น 3 ของประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/267080 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาส่งออกยางแผ่นรมควันชั้น 3 ของไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิในช่วงปี พ.ศ. 2550-2664 และใช้การวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ พบว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้แก่ ราคาน้ำยางข้น ณ ตลาดท้องถิ่น มูลค่าการส่งออกน้ำยางข้น มูลค่าการส่งออกยางแผ่นรมควันชั้น 3 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมาเลเซีย มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสหรัฐอเมริกา และราคาตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าของสิงคโปร์ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้แก่ ปริมาณการผลิตยานยนต์ของโลก ซึ่งส่งผลกระทบผ่านมูลค่าการส่งออกน้ำยางข้น ขณะที่ราคาตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าของสิงคโปร์ส่งผลกระทบผ่านมูลค่าการส่งออกน้ำยางข้น มูลค่าการส่งออกยางแผ่นรมควันชั้น 3 และราคาน้ำยางข้น ณ ตลาดท้องถิ่น ปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยรวมต่อทิศทางของราคาส่งออกยางแผ่นรมควันชั้น 3 ของไทยมากที่สุดคือราคาตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าของสิงคโปร์ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยรวมรองลงมาคือมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสหรัฐอเมริกา มูลค่าการส่งออกยางแผ่นรมควันชั้น 3 และมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมาเลเซียตามลำดับ</p> พิชลัณดาห์ สนธิวิฬุรห์, เกวลิน มะลิ, อรษา ตันติยะวงศ์ษา , กมลนัทธ์ มีถาวร Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/267080 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0700 ต้นทุนทางจิตวิทยา ความยึดมั่นผูกพันในงาน และภาวะหมดไฟในการทำงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/266224 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของต้นทุนทางจิตวิทยา ความยึดมั่นผูกพันในงาน และภาวะหมดไฟในการทำงาน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทางจิตวิทยาและความยึดมั่นผูกพันในงาน กับภาวะหมดไฟในการทำงาน และ 3) ตัวพยากรณ์ระหว่างต้นทุนทางจิตวิทยาและความยึดมั่นผูกพันในงานที่มีต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 175 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของต้นทุนทางจิตวิทยาและความยึดมั่นผูกพันในงานอยู่ในระดับสูง และภาวะหมดไฟในการทำงานอยู่ในระดับต่ำ 2) ต้นทุนทางจิตวิทยาและความยึดมั่นผูกพันในงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะหมดไฟในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความยึดมั่นผูกพันในงานสามารถพยากรณ์ภาวะหมดไฟในการทำงานได้ร้อยละ 29.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</p> ฐิติรัตน์ ตันไพศาล , รัตติกรณ์ จงวิศาล Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/266224 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0700 เส้นทางชีวิตของผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/264036 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจวิถีชีวิตของผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบเล่าเรื่องและใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลผ่านผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 แหล่ง ได้แก่ ผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา จำนวน 3 ราย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังที่กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรา 6 ราย และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผู้กระทำผิดในคดีข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง จำนวน 15 ราย จากนั้นจึงใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นสาระจากเรื่องเล่าโดยใช้โปรแกรมช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ATLAS.ti version 22 ผลการวิจัยพบว่าวิถีชีวิตของผู้กระทำผิดต่อเนื่องในคดีข่มขืนกระทำชำเรามีลักษณะที่เป็นปัจเจก และผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเปราะบางทางบุคลิกภาพ ได้แก่ การเผชิญกับเหตุการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก การหลุดออกจากระบบการศึกษา ข้อจำกัดด้านทางเลือกในการประกอบอาชีพ ปัญหาการสร้างสัมพันธภาพทางสังคม และผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมจนเกิดพฤติกรรมการข่มขืนต่อเนื่อง</p> ปิยพงศ์ แซ่ตั้ง, ฐิติยา เพชรมุนี Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/264036 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำ 6 องค์ประกอบ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานของผู้บริหารระดับต้นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/267022 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของภาวะผู้นำ 6 องค์ประกอบ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานของผู้บริหารระดับต้นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ 6 องค์ประกอบและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ กับจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานของผู้บริหารระดับต้นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร และ 3) ตัวพยากรณ์ระหว่างภาวะผู้นำ 6 องค์ประกอบและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีต่อจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานของผู้บริหารระดับต้นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารระดับต้นของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน &nbsp;ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารระดับต้นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครมีภาวะผู้นำ 6 องค์ประกอบอยู่ในระดับสูงมาก การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานอยู่ในระดับสูง 2) ภาวะผู้นำ 6 องค์ประกอบและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานของผู้บริหารระดับต้นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .613 และ .563 ตามลำดับ) และ 3) ภาวะผู้นำ 6 องค์ประกอบและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การสามารถร่วมกันพยากรณ์จิตวิญญาณในสถานที่ทำงานของผู้บริหารระดับต้นธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 76.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</p> พรฤดี ถกลเศวต , รัตติกรณ์ จงวิศาล Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/267022 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0700 ต้นทุนทางจิตวิทยา จิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน และความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน ของพนักงานในบริษัทพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การแห่งหนึ่ง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/266218 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับต้นทุนทางจิตวิทยา จิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน และความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานของพนักงานในบริษัทพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การแห่งหนึ่ง 2) ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทางจิตวิทยาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน กับความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานของพนักงานในบริษัทพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การแห่งหนึ่ง 3) ตัวพยากรณ์ร่วมระหว่างต้นทุนทางจิตวิทยาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานที่สามารถทำนายความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานของพนักงานในบริษัทพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานในบริษัทพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การแห่งหนึ่ง จำนวน 117 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดต้นทุนทางจิตวิทยา แบบวัดจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน และแบบวัดความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบนำตัวแปรเข้าทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่า 1) พนักงานในบริษัทพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การแห่งหนึ่งมีต้นทุนทางจิตวิทยา จิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน และความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานอยู่ในระดับสูง 2) ต้นทุนทางจิตวิทยาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานของพนักงานในบริษัทพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การแห่งหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r =.577 และ .705 ตามลำดับ) 3) ต้นทุนทางจิตวิทยาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานสามารถร่วมกันพยากรณ์ความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงานของพนักงานในบริษัทพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การแห่งหนึ่งได้ร้อยละ 57.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</p> สุกัญญา รัตนะ, รัตติกรณ์ จงวิศาล Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/266218 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0700 อิทธิพลของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่มีต่อ ความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/266411 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน และความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง 2) อิทธิพลของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่มีต่อความยึดมั่นผูกพันของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานระดับปฏิบัติการที่ทำงานอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 203 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง มีบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบด้านการมีสติ ด้านอ่อนน้อม ด้านแสดงออก และด้านเปิดรับประสบการณ์อยู่ในระดับสูง ส่วนด้านหวั่นไหวอยู่ในระดับปานกลาง 2) พนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งมีสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง 3) พนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งมีความยึดมั่นผูกพันของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง 4) บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบด้านอ่อนน้อม สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานด้านความพึงพอใจ และด้านเวลาสามารถร่วมกันพยากรณ์ความยึดมั่นผูกพันของพนักงานโดยรวมของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งได้ร้อยละ 61.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</p> สุวเพ็ญ เลิศวณิชโรจน์ , ถวัลย์ เนียมทรัพย์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/266411 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม และนโยบายภาครัฐที่ส่งผลต่อการเลือกใช้รถยนต์พลังงานไฮโดรเจน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/266421 <p><span class="s10"><span class="bumpedFont15">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">อ </span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">1</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">)</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">ศึกษาปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี</span></span> <span class="s11"><span class="bumpedFont15">2</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">)</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">โครงสร้างพื้นฐาน 3)</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">ความกังวลทางด้านสิ่งแวดล้อม</span></span> <span class="s11"><span class="bumpedFont15">4</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">)</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">นโยบายภาครัฐบาล ที่ส่งผลต่อ</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">การเลือก</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">ใช้รถยนต์พลังงานไฮโดรเจน</span></span> <span class="s11"><span class="bumpedFont15">การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจั</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">ยเชิงปริมาณ</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15"> และกลุ่มตัวอย่าง</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15"> คือ </span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">กลุ่</span></span><span class="s13"><span class="bumpedFont15">ม</span></span><span class="s13"><span class="bumpedFont15">ผู้ที่</span></span><span class="s13"><span class="bumpedFont15">มีการใช้รถหรือมีความตั้งใจใช้รถยนต์ประหยัดพลังงา</span></span><span class="s13"><span class="bumpedFont15">น จำนวน 400 คน</span></span><span class="s13"><span class="bumpedFont15"> เครื่องมือการวิจัย</span></span> <span class="s13"><span class="bumpedFont15">ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์</span></span><span class="s13"><span class="bumpedFont15"> วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้</span></span><span class="s13"><span class="bumpedFont15">สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ </span></span><span class="s13"><span class="bumpedFont15">ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</span></span><span class="s13"><span class="bumpedFont15"> และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงอนุมาน ได้แก่ </span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">การวิเคราะห์</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">Stepwise multiple regression analysis)</span></span> <span class="s13"><span class="bumpedFont15">และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย (</span></span><span class="s13"><span class="bumpedFont15">Simple Regression</span></span><span class="s13"><span class="bumpedFont15">)</span></span><span class="s13"><span class="bumpedFont15"> ผลการวิจัยพบว่า</span></span><span class="s13"><span class="bumpedFont15"> ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">ด้าน</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ</span></span> <span class="s13"><span class="bumpedFont15">ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยด้านความกังวลทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านนโยบายภาครัฐบาล</span></span> <span class="s11"><span class="bumpedFont15">ส่งผลต่อ</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">การเลือก</span></span><span class="s11"><span class="bumpedFont15">ใช้รถยนต์พลังงานไฮโดรเจน</span></span></p> อัจฉราพร พงศ์วัฒนะเควิน, ภีรยา สุนทรสำราญ, นิษฐเนตร์ กองชนะ, สมัชญ์ สุพงษ์วิบูลพันธ์, นิภา นิรุตติกุล Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/266421 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0700 เปรียบเทียบพัฒนาการการเล่าเรื่องภาษาไทยในฐานะเป็นภาษาที่สองของเด็กกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าและกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/265799 <p>ผู้วิจัยศึกษาพัฒนาการของการรับภาษาไทยในฐานะภาษาที่สองของกลุ่มเด็กชาติพันธุ์ลาหู่ เลือกวิเคราะห์พัฒนาการทางด้านวากยสัมพันธ์จากเรื่องเล่าของเด็กในกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ กรณีศึกษาของนักเรียนโรงเรียนบ้านสันกอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 5&nbsp; กลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มอายุ 4 ปี&nbsp; 6 ปี&nbsp; 8 ปี 10 ปี และ 12 ปี กลุ่มอายุละ 6 คน รวมทั้งหมด 30 คน โดยตั้งสมมุติฐานการเล่าเรื่องจากภาพ 10 ภาพ แสดงให้เห็นพัฒนาการความซับซ้อนของโครงสร้างประโยค และการใช้จำนวนของหน่วยถ้อย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสื่อสารที่เหมาะสมที่จะใช้วิเคราะห์พัฒนาการทางวากยสัมพันธ์ ผลการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณในแง่จำนวนของหน่วยถ้อยสรุปได้ว่า ค่าเฉลี่ยของจำนวนของหน่วยถ้อยมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามอายุตามลำดับน้อยสุดไปถึงมากสุด&nbsp; ผลการวิเคราะห์พัฒนาการทางวากยสัมพันธ์ในแง่ขนาดของหน่วยถ้อย สรุปได้ว่าจำนวนของหน่วยถ้อยที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 คำ และเล็กกว่า 5 คำ มีจำนวนมากในทุกกลุ่มอายุ และผลการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณในแง่โครงสร้างของหน่วยถ้อย สรุปได้ว่ากลุ่มอายุ 4 ปี 6 ปี ใช้อนุประโยคเชื่อมในการเล่าเรื่องมากที่สุด ส่วนกลุ่มอายุ 8 ปี 10 ปีและ 12 ปี ใช้ประโยคความเดียวในการเล่าเรื่องมากที่สุด&nbsp; ประโยคความรวมและอนุประโยคเชื่อม (แสดงความต่อเนื่องของเหตุการณ์) มีจำนวนเพิ่มขึ้นตามลำดับของอายุ&nbsp;</p> อาภิสรา พลนรัตน์, อนันตา สุขวัฒน์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/265799 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0700 แนวคิดการออกแบบทดสอบการอ่านภาษาที่สองเพื่อความเข้าใจ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/265708 <p>บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำแนวทางการออกแบบการประเมินความสามารถในการอ่านภาษาที่สอง มีการสืบค้นและทบทวนบทความวิจัยและวรรณกรรมเพื่อให้ภูมิหลังเกี่ยวกับการสอนการอ่านภาษาที่สองและการประเมินความสามารถในการอ่าน จากการอภิปราย พบว่า การอ่านภาษาที่สองควรเน้นย้ำตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับทักษะการประมวลผลข้อมูลของผู้อ่านภาษาที่สองและแหล่งข้อมูลทางภาษาต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านเพื่อควาเข้าใจให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ แบบการประเมินความสามารถในการอ่านภาษาที่สองที่มีอยู่ทั่วไปยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ถึงอย่างไรก็ตาม ควรปรับให้สอดคล้องกับตัวแปรที่กล่าวไปข้างต้น ในบทความวิชาการนี้ ได้นำเสนอแนวทางการออกแบบการประเมินความสามารถในการอ่านภาษาที่สองซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนภาษาทั่วไป</p> วัฒนศักดิ์ เฟื่องบางหลวง Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/265708 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0700 การปรับตัวชีวิตในมหาวิทยาลัย : แนวทางและกลยุทธ์สำหรับนักศึกษาปีแรก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/266726 <p>&nbsp; &nbsp; การปรับตัวชีวิตในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาปีแรกหรือชั้นปีที่ 1 นับว่ามีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างมากต่อการใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัย เนื่องจากการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยค่อนข้างที่จะมีความเป็นอิสระสูง จึงต้องรู้จักและเข้าใจที่จะวางแผนทางการเรียน การปฏิบัติตามกฎระเบียบ การพบปะเพื่อนใหม่ การเข้าร่วมกิจกรรม การควบคุมตนเอง และการบริหารจัดการเรื่องเวลา การปรับตัวของนักศึกษาย่อมมีผลต่อการใช้ชีวิตและการประสบความสำเร็จทางการเรียนในระดับอุดมศึกษาอย่างมาก อย่างไรก็ตาม นักศึกษาที่มีการปรับตัวที่ดีจะสามารถเข้าใจและยอมรับกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี รู้จักหาวิธีการปรับเปลี่ยนตนเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม การปรับตัวที่ดีจึงเปรียบเสมือนการมีเกราะกำบังหรือการภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจที่ช่วยป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางและกลยุทธ์ที่สำคัญในการช่วยให้นักศึกษาปรับตัวในมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี ได้แก่ การยอมรับการเปลี่ยนแปลง การสานความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง รู้จักลำดับความสำคัญ ดูแลสุขภาพของตนเอง และพบปะพูดคุยกับอาจารย์ เป็นต้น ดังนั้นแนวทางและกลยุทธ์เหล่านี้ช่วยให้นักศึกษาสามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างสมดุลและเป็นปกติสุข ตลอดจนสามารถที่จะประสบความสำเร็จทางการเรียนและการประกอบอาชีพในอนาคต</p> รัตนวัชร์ เพ็ญรัตนหิรัญ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/faakmutnb/article/view/266726 Thu, 14 Dec 2023 00:00:00 +0700