@article{Thaimthong_Narot_2018, title={แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำโขง บ้านพร้าวใต้ ตำบลหินโงมอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย: แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำโขง บ้านพร้าวใต้ ตำบลหินโงมอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย}, volume={7}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/163596}, abstractNote={<p>การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการและปัญหา อุปสรรคในการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำโขงบ้านพร้าวใต้ ตำบลหินโงม อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย และเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มความสำเร็จในการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำโขง บ้านพร้าวใต้ ตำบลหินโงม อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มหน่วยงานราชการที่ให้การสนับสนุน 3 คน กลุ่มผู้บริหารและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 4 คน กลุ่มผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน 4 คน และกลุ่มบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิกกลุ่ม 4 คน          ใช้เครื่องมือในการศึกษา เป็นแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง และกรอบการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  ผลการศึกษาพบว่า 1) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำโขงบ้านพร้าวใต้ ตำบลหินโงม อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย มีการบริหารจัดการตามหลักการบริหาร 5 ก ได้แก่ กลุ่ม กรรมการ กฎระเบียบกติกา กองทุน และกิจกรรม มีปัจจัยในการบริหาร หรือ 4 Ms ครบถ้วน ได้แก่ กำลังคน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการที่ดี มีการจัดสรรผลประโยชน์อย่างทั่วถึง ผู้นำกลุ่มมีภาวะผู้นำ โครงสร้างทางสังคม ค่านิยมทางสังคม ช่วยหนุนเสริมให้กลุ่มประสบผลสำเร็จ 2) ปัญหาที่พบในการบริหารจัดการของกรณีศึกษานี้ พบว่า ขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการที่ดี โดยขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาและขยายผลิตภัณฑ์กลุ่ม และอุปสรรค ที่พบ ได้แก่ ผูกขาดการค้าของบริษัทเอกชน ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ผลกระทบจากกิจการท่าเรือดูดทราย และปัญหาจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ 3) แนวโน้มความสำเร็จในการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน โดยใช้ตัวแบบแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์ (Porter’s 5 force model) ในการวิเคราะห์พบว่า (1) แรงกดดันของการเข้ามายังอุตสาหกรรมของคู่แข่งขันรายใหม่ อยู่ในระดับต่ำ (2) แรงกดดันจากคู่แข่งขันรายเดิมอยู่ในระดับต่ำ (3) แรงกดดันของสินค้าทดแทน อยู่ในระดับต่ำ (4) แรงกดดันจากอำนาจการต่อรองของผู้ซื้ออยู่ในระดับสูง (5) แรงกดดันจากอำนาจการต่อรองของผู้จัดหาวัตถุดิบ อยู่ในระดับสูง</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> แนวทางการบริหารจัดการ; วิสาหกิจชุมชน; การพัฒนาที่ยั่งยืน</p>}, number={2}, journal={วารสารการบริหารปกครอง}, author={Thaimthong, Theerachat and Narot, Pennee}, year={2018}, month={ธ.ค.}, pages={245–265} }