@article{Kirdmalai_Vaseenonta_Romye_Udomkijmongkol_2018, title={สภาพการบริหารการพัฒนาและปัญหาการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ครามในจังหวัดสกลนคร: สภาพการบริหารการพัฒนาและปัญหาการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ครามในจังหวัดสกลนคร}, volume={7}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/163601}, abstractNote={<p>การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพการบริหารพัฒนาและปัญหาของการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ครามในจังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารการพัฒนา 2) ศึกษาปัญหาการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ครามในจังหวัดสกลนคร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การศึกษาเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามและการศึกษาเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการครามที่มาร่วมงานซิ่นโลก มหกรรมมูนมังอีสาน เพื่อพัฒนาบ้านสู่สากล สืบสานผ้าพื้นบ้าน สายงานประณีตศิลป์รณรงค์นุ่งซิ่นร่วมงานมูนมังอีสาน ปีพ.ศ.2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กลุ่มประชากรเป็นผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์ดาวเด่น มีคุณภาพ  จำนวน 58 คน ศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยสภาพการบริหารการพัฒนา พบว่า ระดับนโยบายมีการกำหนดยุทธศาสตร์ระดับประเทศจนถึงระดับจังหวัด และมีการสนับสนุนการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่การปฏิบัติด้วยการยกระดับภูมิปัญญาสกลนครให้เป็นเมืองแห่งผ้าย้อมครามธรรมชาติ (City of indigo dye) และเมืองสมุนไพร (Herbal valley) ส่งเสริมการท่องเที่ยว "ย่านเมืองเก่าสกล ถนนผ้าคราม” ส่งเสริมผู้ประกอบการในการจัดช่องทางการจำหน่ายสินค้าทั้งภายใน ภายนอกจังหวัด และในต่างประเทศ จัดกิจกรรมแสดงสินค้าครามสัญจรทั่วประเทศ จับคู่ธุรกิจ (Matching) ผู้ซื้อพบผู้ขาย และส่งเสริมการจัดส่งสินค้าครามสู่ผู้บริโภคด้วยความสะดวก รวดเร็วและรักษาคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐาน</p> <p>ผลการจัดเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มาจากอำเภออากาศอำนวย ใช้ชื่อกลุ่มเป็นตราชื่อผลิตภัณฑ์ ลักษณะการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มผู้ประกอบการชุมชนมากที่สุด ผลิตภัณฑ์หลัก คือ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าผืน ผ้าซิ่น การจัดส่งผลิตภัณฑ์สู่ลูกค้าใช้การจัดส่งสินค้าด้วยไปรษณีย์ ส่งทางรถยนต์มากที่สุด ต้นทุนเฉลี่ยต่อเดือนเป็นค่าวัตถุดิบ ค่าเส้นฝ้าย ค่าเนื้อคราม ค่าย้อม ค่าทอ ค่ามัดหมี่  ค่าเดินทาง ประมาณ 25,000 บาทต่อเดือน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 45,000 บาท ตลาดหลักเป็นตลาดในประเทศมากที่สุด และจำหน่ายในตลาดต่างประเทศร่วมด้วย ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฝรั่งเศส อินเดีย และลูกค้าส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน ซื้อไปใช้เอง ของฝากมากที่สุด รองลงมาซื้อเพื่อการจำหน่าย มีที่เปลี่ยนตราเป็นยี่ห้อของผู้จำหน่าย และใช้ตราผู้ผลิต พบปัญหามากที่สุดด้านคู่แข่งที่มีมากขึ้น จากการส่งเสริมและรณรงค์ใช้ผ้าครามทุกวันอังคารและวันศุกร์ กระตุ้นให้เกิดกำลังซื้อ ส่งผลให้เกิดกลุ่มผู้ประกอบการครามในจังหวัดสกลนครมากยิ่งขึ้น ปัญหารองลงมา คือการกระจายสินค้า การตัดสินใจซื้อจากสื่อโซเชียลมากขึ้น ทำให้เข้าถึงลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้มากขึ้น ปัญหาด้านนวัตกรรม พบว่า มีการผลิตสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดอยู่เสมอกลายเป็นปัญหาของผู้ประกอบการรุ่นเก่า ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจผ้าครามควรตระหนักและศึกษาถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของตนเองเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน สร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อเกิดความพึงพอใจต่อผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง</p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>:  </strong>สภาพการบริหารการพัฒนา;  ปัญหาการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์คราม  </p>}, number={2}, journal={วารสารการบริหารปกครอง}, author={Kirdmalai, Nuntakan and Vaseenonta, Chanin and Romye, Lamai and Udomkijmongkol, Chardchai}, year={2018}, month={ธ.ค.}, pages={291–313} }