@article{Seehajan_Chaimadan_2018, title={การดำเนินงานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี: การดำเนินงานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี}, volume={7}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/163724}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอศรีราชาระหว่างปี พ.ศ.2558-2560 และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอศรีราชา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและ วิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นเนื้อหา</p> <p>            ผลการศึกษา พบว่า การดำเนินงานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอศรีราชาระหว่างปี พ.ศ.2558-2560 พบว่า (1) ด้านปัจจัยนำเข้า  มีการจัดการที่ยังไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินงาน มีข้อจำกัดในการดำเนินงานที่เกิดจาก บุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ยังไม่ทันสมัย มีไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (2) ด้านกระบวนการดำเนินงานไกล่เกลี่ยพิพาท บทบาท หน้าที่ โครงสร้าง อำนาจ ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอในปัจจุบันนั้นมีความเหมาะสม โดยขั้นตอนการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทของศูนย์ดำรงธรรมมีทั้งสิ้น 5 ขั้นตอน และ (3) ผลการดำเนินงานระหว่างปี พ.ศ.2558 – 2560 พบว่ามีเรื่องเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง จำนวน 754 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 738 คิดเป็นร้อยละ 97.88 ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ดำรงธรรม พบว่า (1) บุคลากรไม่เพียงพอ (2) วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ และเทคโนโลยีไม่ทันสมัย (3) บุคลากรยังขาดความรู้และทักษะทางด้านของกฎหมาย (4) ข้อจำกัดด้านอำนาจของศูนย์ดำรงธรรมนั้นยังไม่สามารถจัดการปัญหาได้จนถึงที่สุด ยังมีข้อจำกัดในด้านกฎหมายในบางกรณี และ (5) คู่พิพาทไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย</p> <p> </p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> การไกล่เกลี่ย; ข้อพิพาท; ศูนย์ดำรงธรรม</p> <p> </p>}, number={2}, journal={วารสารการบริหารปกครอง}, author={Seehajan, Tamakorn and Chaimadan, Chittapol}, year={2018}, month={ธ.ค.}, pages={406–420} }