TY - JOUR AU - วังพยนต์, กนกวรรณ AU - สมผล, กัณตภณ AU - ไชยะวง, นุสบา AU - กาเผือก, ฤทธิเดช AU - ชุบขุนทด, สัญญา AU - ม่วงอ่อน, ประเทือง PY - 2022/05/12 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษาศักยภาพและธุรกิจแอบแฝงในตลาดนัดโค-กระบือบ้านยาง ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี JF - วารสารการบริหารปกครอง JA - GJL VL - 11 IS - 1 SE - DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/251426 SP - 143-155 AB - <table width="626"><tbody><tr><td width="626"><p>การศึกษาศักยภาพและธุรกิจแอบแฝงในตลาดนัดโค-กระบือบ้านยาง ตำบลบุ่งไหม อำเภอ     วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี  มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาศักยภาพของกิจการตลาดนัดโค-กระบือบ้านยาง ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และ (2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และธุรกิจแอบแฝงอื่นๆ ของตลาดนัดโค-กระบือ การวิจัยเรื่องนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  อ้างอิงข้อมูลจากการสำรวจและสังเกตการณ์ในสถานที่จริง เอกสาร และการสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้อง  ผลการวิจัยค้นพบว่า</p><p>(1) ศักยภาพของกิจการตลาดนัดโค-กระบือ บ้านยาง ตำบลบุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี  พบว่า ตลาดนัดโค-กระบือบ้านยาง เป็นตลาดนัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี  หากไม่มีปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสถานการณ์โรคระบาดลัมปี สกิน (Lumpy Skim Disease) ตลาดนัดจะเปิดทำการสัปดาห์ละ 2 ครั้ง คือ วันพุธ และวันอาทิตย์ เป็นแหล่งพบปะของกลุ่มประชาชนที่สนใจซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือทำธุรกิจต่อยอดที่เกี่ยวข้องกับโค-กระบือ จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2563 สรุปว่า ตลาดแห่งนี้มีการค้าวัว (โค) จำนวน 1,200 ตัว/สัปดาห์ ควาย (กระบือ) ประมาณ 400 ตัว/สัปดาห์ รวมเป็นมูลค่าของสัตว์ในตลาดประมาณ 48,400,000 บาท มาตรการและข้อตกลงของตลาด อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของปศุสัตว์จังหวัด และปศุสัตว์อำเภอ</p><p>(2) ปัญหา อุปสรรค และธุรกิจแอบแฝงอื่นๆ ของตลาดนัดโค-กระบือ พบว่า ตลาดนัดโค-กระบือ มีการแอบแฝงเล่นการพนัน การติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้การเคลื่อนย้ายสัตว์เป็นอย่างราบรื่น ทั้งการติดสินบนเจ้าหน้าที่ด้วยผู้ค้ารายย่อย หรือการติดสินบนแบบกลุ่มเครือข่ายหรือตัวแทนผ่านผู้มีอิทธิพลทางการเมืองในพื้นที่ หรือกลุ่มนักธุรกิจผู้ค้าสัตว์รายใหญ่ รวมทั้ง อาจจะมีการค้าประเวณี เป็นธุรกิจแอบแฝง เป็นต้น</p><p>ข้อเสนอแนะสำคัญที่ค้นพบจากการวิจัย เสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายให้ การบริหารจัดการปศุสัตว์ รวมทั้งการดูแลตลาดนัดโค-กระบือ ควรอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่นในเขตพื้นที่ มิใช่ปศุสัตว์จังหวัด และปศุสัตว์อำเภอ หรือควรโอนปศุสัตว์จังหวัด และปศุสัตว์อำเภอ ให้ขึ้นตรงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อบริหารจัดการตลาดนัดโค-กระบือมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการจัดเก็บรายได้ หรือภาษีให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น</p></td></tr></tbody></table> ER -