TY - JOUR AU - ศิริชาติ, นันทนา AU - มหาคุณ, วิชา PY - 2022/06/25 Y2 - 2024/03/29 TI - การจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิต JF - วารสารการบริหารปกครอง JA - GJL VL - 11 IS - 1 SE - DO - UR - https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/259081 SP - 156-177 AB - <table><tbody><tr><td width="540"><p>         </p><table><tbody><tr><td width="650"><p>            งานวิจัยเรื่อง การจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิต วิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดทำกฎหมายของไทย และศึกษาความความคิดเห็นต่อการจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิตโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้างและเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้เลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1 คน นักกฎหมายและนักวิชาการ 4 คน นักเคลื่อนไหวสิทธิเพื่อบุคคลหลากหลายทางเพศ จำนวน 2 คน และบุคคลหลากหลายทางเพศ จำนวน 3 คน เพื่อหาแนวทางการจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิตที่เหมาะสมและเป็นทางเลือกในการพิจารณาจัดทำร่างกฎหมายต่อไป</p><p>            การวิจัยพบว่า แนวคิดจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิตของประเทศไทยและต่างประเทศมีการพัฒนาเพื่อส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคในการก่อตั้งครอบครัวของบุคคลหลากหลายทางเพศเสมอมา แต่หลักเกณฑ์ของกฎหมายจะแตกต่างกันไปตามความยอมรับของสังคมขณะนั้น โดยปัจจุบันกฎหมายรับรองสิทธิสำหรับบุคคลหลากหลายทางเพศมีทั้งอยู่ในรูปแบบการอยู่ร่วมกันภายใต้ข้อตกลง การจดทะเบียนความสัมพันธ์ และการสมรส ทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมในกฎหมายเดิม เช่น กฎหมายแพ่งของประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศฝรั่งเศส หรือตรากฎหมายใหม่แยกเป็นการเฉพาะ เช่น กฎหมายไต้หวัน เมื่อเปรียบเทียบการจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิตของไทย พบว่า ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต ทั้งฉบับปี 2556 ปี 2561 และปี 2563 รับรองสิทธิและหน้าที่ในความเป็นคู่ชีวิตของบุคคลหลากหลายทางเพศ แต่เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็น การรับรองสิทธิและหน้าที่จะเป็นในลักษณะกว้างๆ โดยนำบทบัญญัติที่ใช้บังคับกับคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัวและมรดกมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ส่วนที่เกี่ยวกับเงื่อนไขทางสรีระวิทยา เช่น ความเป็นบิดามารดาและบุตร ความปกครอง การรับบุตรบุญธรรม การหมั้น และการฟ้องชู้ เนื่องจากกฎหมายที่ตราขึ้นอาจขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่นได้   ส่วนความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่เห็นว่าควรแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อใช้บังคับร่วมกับคู่ชีวิตโดยอนุโลม ซึ่งจะก่อให้เกิดความเท่าเทียมเช่นเดียวกับการแก้ไขกฎหมายสมรสของบุคคลหลากหลายทางเพศในกฎหมายแพ่งประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศฝรั่งเศส และฝ่ายที่เห็นว่า ควรตราบทบัญญัติรับรองสิทธิและหน้าที่เป็นรูปแบบใหม่ต่างหากจากการสมรส โดยสนับสนุนให้จัดทำในรูปแบบของร่างพระราชบัญญัติ แล้วจึงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้สมบูรณ์ในภายหลังการประกาศใช้เช่นเดียวกับกฎหมายไต้หวัน</p><p>            ข้อเสนอแนะการวิจัย (1) เห็นควรจัดทำกฎหมายแยกต่างหากจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นการเฉพาะเพื่อให้สามารถเข้าถึงการสนับสนุนและส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคในการก่อตั้งครอบครัวของบุคคลหลากหลายทางเพศโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่นๆ  (2) ในร่างกฎหมายควรเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในประเด็นเรื่องของสัญญาว่าจะจดทะเบียนคู่ชีวิตเสมือนการทำสัญญาหมั้น และการเรียกค่าทดแทนจากการผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการเลิกคู่ชีวิตซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่เทียบเคียงสิทธิและหน้าที่ของชายกับหญิงในการก่อตั้งครอบครัว แทนการตีความโดยเคร่งครัดซึ่งจะทำให้เกิดข้อจำกัดกับบุคคลหลากหลายทางเพศ (3) ควรแก้ไขกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของคู่ชีวิตอย่างเป็นระบบเพื่อให้การเกิดความเป็นธรรมและเสมอภาคแก่ทุกฝ่ายและเป็นที่ยอมรับของสังคม</p></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table> ER -