https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/issue/feed
วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
2024-07-17T09:17:27+07:00
Assoc.Prof.Dr.Kathanyoo Kaewhanam
governance_journal@ksu.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์<br />Governance Journal, Kalasin University<br /></strong><strong>ISSN: 3027-8589 (Online) <br /><br /></strong>วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นวารสารวิชาการที่ครอบคลุมสาขารัฐประศาสนศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารภาครัฐ โดยยินดีรับบทความจากนักวิชาการและนักวิจัยทั้งชาวไทยและต่างประเทศเพื่อนำเสนอในรูปแบบบทความวิชาการ และบทความวิจัย โดยเป็นสิ่งพิมพ์เผยแพร่ผลงานที่มีกำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ในเดือนมิถุนายน และเดือนธันวาคม ซึ่งบทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ (Peer review) จำนวน 3 ท่าน และข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการบริหารปกครองเล่มนี้เป็นของผู้เขียนบทความ คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบต่อความคิดเห็นของผู้เขียนบทความดังกล่าวแต่ประการใด และกองบรรณาธิการวารสารการบริหารปกครอง ไม่สงวนสิทธิคัดลอกเนื้อหาหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเนื้อหาในบทความต่าง ๆ แต่ให้อ้างอิงที่มาของข้อความที่นำไปกล่าวอ้างในที่ต่าง ๆ อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ</p>
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271306
การวิเคราะห์ปัญหาการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในอำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์
2024-01-23T13:32:41+07:00
ชรินทร์ ทริเพ็ง
sayun.ph@ksu.ac.th
ณัฐพงษ์ ศรีสมุทร
nattapongsri@gmail.com
สายัญ พันธ์สมบูรณ์
sayun.ph@ksu.ac.th
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการส่งเสริมการเกษตร แปลงใหญ่เพื่อผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรที่มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในอำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ มีสัดส่วนที่ผิดพลาดได้ในที่นี้กำหนดไว้ (0.05) จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกร ร้อยละ 62.50 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 37.75 ปี ปลูกมันสำปะหลังเป็นอาชีพหลัก ร้อยละ 70.60 ร้อยละ 56.00 เกษตรกรไม่มีการรวมกลุ่ม ผลผลิตเฉลี่ย 4,265 กิโลกรัมต่อไร่ ร้อยละ 63.5จ ต้องการเทคโนโลยี ใน แน่นอน ร้อยละ 49.75 ต้องการผลิตมันสำปะหลังแบบมีส่วนร่วม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ ด้านการตลาดที่แน่นอน เทคโนโลยีที่ทันสมัย และ การลดต้นทุนการผลิต ปัญหาการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ คือ เงื่อนไขที่เยอะเกินไป ทำให้เกษตรกรเกิดปัญหาในการผลิตมันสำปะหลังในรูปแบบแปลงใหญ่ของอำเภอดอนจาน</p>
2024-07-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/272875
การบริหารจัดการเกษตรแปลงใหญ่มันสำปะหลัง ตำบลดงพยุง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์
2024-03-22T10:52:58+07:00
ดนัย สิทธิ์สำนวน
sayun.ph@ksu.ac.th
ณัฐพงษ์ ศรีสมุทร
nattapongsri@gmail.com
สายัญ พันธ์สมบูรณ์
sayun.ph@ksu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการบริหารจัดการเกษตรแปลงใหญ่มันสำปะหลังในตำบลดงพยุง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลังตำบลดงพยุง จำนวน 54 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการพรรณนาการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 61.11) อายุเฉลี่ย 55.51 ปี และมีประสบการณ์ในการผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 27.7 ปี เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยในภาคการเกษตรและนอกภาค การเกษตร 120,796.29 และ 9,102.49 บาทต่อปี ตามลำดับ การไม่มีสถานที่แปรรูปผลผลิตมันสำปะหลังเป็นของตนเองถือเป็นปัญหาสูงสุดของเกษตรกร นอกจากนี้ช่องทางการรับซื้อมันสำปะหลังมีน้อยไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ อีกทั้งการขาดความรู้และเทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตมันสำปะหลังก็เป็นปัญหาสำคัญ </p>
2024-07-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271411
การครองอำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ในภาคอีสาน : กรณีศึกษา สส.วุฒิพงษ์ นามบุตร จังหวัดอุบลราชธานี
2024-01-09T15:14:27+07:00
ธรรพ์ณธร สีทา
c.patawee@gmail.com
ปฐวี โชติอนันต์
c.patawee@gmail.com
<p>การแพ้ชนะในการเลือกตั้งเป็นเรื่องธรรมดาในทางการเมืองอย่างไรก็ตาม นักการเมืองที่สามารถชนะการเลือกตั้งติดต่อได้หลายครั้งในภูมิภาค หรือ จังหวัดที่กระแสพรรคการเมืองตกต่ำเป็นที่น่าสนใจอย่างมากในการศึกษาในทางการเมือง นายวุฒิพงษ์ นามบุตร สส. พรรคประชาธิปัตย์ เขต 2 จังหวัดอุบลราชธานี ชนะการเลือกตั้งติดต่อกันถึง 5 สมัย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2566 ถึงแม้ว่าพื้นที่เขตเลือกตั้งของเขาจะตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีและภูมิภาคอีสานซึ่งเป็นฐานคะแนนของพรรคเพื่อไทยก็ตาม บทความนี้มีวัตถุประสงค์ต้องการศึกษา คือ การใช้วาทกรรมทางการเมืองหรืออุดมการณ์ทางการเมืองของนายวุฒิพงษ์ นามบุตร ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในเขตพื้นที่เลือกตั้งของตน, ปัจจัยที่ส่งผลให้วาทกรรมทางการเมืองหรืออุดมการณ์ทางการเมืองประสบความสำเร็จ และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อความคิดและอุดมการณ์ประชาชนในเขตการเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี ผลการศึกษาพบว่า นายวุฒิพงษ์ นามบุตร ได้มีการสร้างและผลิตซ้ำวาทกรรมผ่านตนเอง สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และประชาชนที่เชื่อมั่นในตัวเขา วาทกรรมที่พบในพื้นที่ได้แก่ “วุฒิพงษ์ผู้แทนติดดิน” “ผู้แทนนักพัฒนา” และ “สมาชิกของตระกูลนามบุตร”ซึ่งเป็นตระกูลเก่าแก่และทำประโยชน์ในคนในพื้นที่มานาน มากกว่านั้นเขาได้มีการลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนในเขตเลือกตั้งอยู่สม่ำเสมอ เขาสามารถดึงทรัพยากรโดยเฉพาะเรื่องงบประมาณเพื่อพัฒนาพื้นที่ได้มาก ปัจจัยทั้งสองทำให้เกิดความสำเร็จในการใช้วาทกรรมซึ่งส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เชื่อมั่นในตัวเขาในฐานและผู้แทนให้ความสำคัญกับตัวบุคคลมากกว่าอุดมการณ์หรือพรรคการเมือง</p>
2024-07-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271474
กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และนโยบายภาครัฐด้านสาธารณสุขจากภาวะโรคระบาดใหญ่ของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดมหาสารคาม
2024-01-23T09:14:25+07:00
เนตรนภา ชัยชนะ
65011381010@msu.ac.th
ชินวัตร เชื้อสระคู
Chinnawat.c@msu.ac.th
<p>การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และนโยบายภาครัฐด้านสาธารณสุขจากภาวะโรคระบาดใหญ่ของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบของกลยุทธ์การจัดการความขัดแย้ง 5 มิติที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งกับนโยบายรัฐด้านสาธารณสุข 3.เพื่อให้ข้อเสนอแนะที่มีต่อนโยบายภาครัฐด้านสาธารณสุข การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ จังหวีดมหาสารคาม ทำการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 255 คน จากประชากรทั้งหมด 707 คน เครื่องมือการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ ดังนี้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งของพยาบาบาลวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการแข่งขัน มีระดับความคิดเห็นสูงสุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.46, S.D = 0.582) และน้อยที่สุด คือ ด้านการหลีกเลี่ยง (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.43, S.D = 0.613) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.40, S.D = 0.618) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเวลา มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.50, S.D = 0.577) และน้อยที่สุด คือ ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.34, S.D = .611) การรับรู้นโยบายภาครัฐด้านสาธารณสุข โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.23, S.D = 0.717) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านโครงสร้างสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน มีระดับความคิดเห็นสูงสุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.25, S.D = 0.718) และน้อยที่สุด คือ ด้านบุคลากร (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.17, S.D = 0.747) กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งสามารถร่วมพยากรณ์และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดมหาสารคาม 78.5 % (Adj R2 = 0.785)</p>
2024-07-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271475
ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่ง
2024-01-22T11:17:26+07:00
ศรสวรรค์ ทับทิมศรี
65011381014@msu.ac.th
ชินวัตร เชื้อสระคู
chinnawat.c@msu.ac.th
<p>การวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร คุณภาพการบริการ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานภาครัฐ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพการบริการของพนักงานหน่วยงานภาครัฐ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานภาครัฐ และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับวัฒนธรรมองค์กร คุณภาพการบริการ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานภาครัฐ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างของหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่ง ทำการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 238 ราย ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดำเนินการวิเคราะห์ ดังนี้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 9 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) วัฒนธรรมองค์กรของพนักงานหน่วยงานภาครัฐ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.59, S.D = 0.693) คุณภาพการบริการของพนักงานหน่วยงานภาครัฐ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.53, S.D = 0.778) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานภาครัฐ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.89, S.D = 0.695) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปริมาณ มีระดับความคิดเห็นสูงสุด 2) วัฒนธรรมองค์กร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพการบริการของพนักงานหน่วยงานภาครัฐที่เป็นหน่วยศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) วัฒนธรรมองค์กรมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานภาครัฐที่เป็นหน่วยศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และคุณภาพการบริการมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานภาครัฐที่เป็นหน่วยศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2024-07-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271690
การวิเคราะห์ปัญหาและเปรียบเทียบข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขัน ทางการค้าตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560
2024-02-22T11:18:27+07:00
วัชระ ภูกันดาร
2614001093@stou.ac.th
สาธิตา วิมลคุณารักษ์
sathitawimonkunarak@gmail.com
<p>วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมา ปัญหาข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 เปรียบเทียบกับต่างประเทศ และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อเป็นการส่งเสริมเรื่องการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม พบว่า (1) ข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าของแต่ละประเทศ ใช้กับการกระทำของหน่วยงานหรือหน่วยธุรกิจใดนั้น ย่อมเป็นไปตามบริบทของสังคม วัฒนธรรมทางการค้า รวมถึงนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ การมีบทบัญญัติในลักษณะนี้ ก็เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมบางอย่างสามารถดำเนินการได้ตามนโยบายภาครัฐ ป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบ จากผู้ประกอบการที่มีที่ความสามารถในการแข่งขันมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่น และยังเป็นการส่งเสริมการแข่งขัน ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย (2) ข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า ไม่มีมาตรการแนวทางหรือหลักเกณฑ์รองรับที่เหมาะสม ทั้งขาดความเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายอาจก่อให้เกิดปัญหาอันนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายอย่างไร้ประสิทธิภาพ ทำให้การรักษาและส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ไม่สามารถบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมได้ (3) ข้อยกเว้นกฎหมายแข่งขันของประเทศไทยและของต่างประเทศ แม้มีความแตกต่างกันในรายละเอียดตามบริบทของสังคม วัฒนธรรมทางการค้า รวมถึงนโยบายทางเศรษฐกิจ แต่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างและส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมเช่นเดียวกัน โดยประเทศไทยสามารถนำข้อกฎหมายและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศ มาศึกษาและปรับใช้ให้เหมาะสม อันนำไปสู่ประโยชน์สูงสุดแก่สาธารณะชน (4) ข้อยกเว้นกฎหมายแข่งขันของประเทศไทย ต้องมีการวางหลักเกณฑ์การปฏิบัติให้ชัดเจนและเหมาะสม จากหน่วยงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการแข่งขันทางการค้าเป็นการเฉพาะ อย่างแท้จริง และปรับตัวบทกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน</p>
2024-07-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/272392
กระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของประเทศไทย
2024-03-18T15:49:20+07:00
ปิยากร หวังมหาพร
Piyakorn.wh@spu.ac.th
<p>งานวิจัยเรื่องกระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อกระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยและศึกษาผลที่เกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิจัยจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายนอก ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศส่งออกแนวคิดการจัดการที่พักอาศัยมายังประเทศไทย ส่วนปัจจัยภายใน ได้แก่ จำนวนผู้สูงอายุ นโยบายของรัฐบาล กฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นแรงหนุนเสริม กระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของประเทศไทยจึงแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ 1) กระบวนทัศน์ก่อน พ.ศ. 2525: ยุคกำเนิดสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ 2) กระบวนทัศน์ พ.ศ.2525-2539: ยุคสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุเบ่งบาน 3) กระบวนทัศน์ พ.ศ.2540-2554: ยุคก่อเกิดการสร้างสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนหลักสูงวัยในที่เดิม และ 4) กระบวนทัศน์ พ.ศ.2555-ปัจจุบัน: ยุคการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุทุกกลุ่มตามหลักสูงวัยในที่เดิม จากกระบวนทัศน์ทั้ง 4 ช่วง ส่งผลให้นโยบายของรัฐบาลไทยแตกต่างกันออกไปจากเดิมมุ่งสร้างสถานสงเคราะห์เฉพาะผู้ยากไร้มาสู่การจัดที่พักอาศัยภายใต้แนวคิดสูงวัยในที่เดิมโดยให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุทุกกลุ่มมากขึ้น</p>
2024-07-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/272125
ปัญหาความรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรมต่อการรับฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2024-02-16T08:39:09+07:00
ชไมพร ไทยดำรงเดช
chamai.aorn@gmail.com
<p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัญหาหลักกฎหมายลักษณะฝากทรัพย์ตามมาตรา 657 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับ The Hotel Proprietors Act 1956 แห่งสหราชอาณาจักร และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เยอรมัน กรณีคนเดินทางหรือแขกผู้เข้าอาศัยได้เข้ามาพัก โรงแรม โฮเต็ล รีสอร์ท ห้องพัก หรือสถานที่พักเช่นว่านั้นแล้ว คนเดินทางหรือแขกผู้เข้าอาศัยได้ฝากทรัพย์สินไว้ในตู้นิรภัยที่ทางสถานที่พักได้จัดไว้ให้ พบว่าเป็นการฝากทรัพย์ต่อเจ้าสำนักโรงแรมที่หากเกิดความสูญหายหรือเสียหาย เจ้าสำนักโรงแรมยังคงต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน 2. จากการศึกษาปัญหาความรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรมต่อคนเดินทางหรือแขกอาศัยตามมาตรา 675 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พบว่ายังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความรับผิดต่อทรัพย์สินของผู้เดินทางหรือแขกผู้เข้าพักอาศัยโดยไม่คำนึงมูลค่าที่แท้จริง เพื่อให้สอดคล้องและมีสภาพเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน และ 3. จากการศึกษาแนวทางเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของผู้เดินทางหรือแขกผู้เข้าพักอาศัย พบว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลักกฎหมายมาตรา 675 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนของค่าตอบแทนในการฝากทรัพย์ต่อเจ้าสำนักโรงแรมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อเจ้าสำนักโรงแรมและแขกผู้เข้าพักอาศัย</p>
2024-07-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/273016
ความคาดหวังและความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพ ภายในอำเภอเมือง และอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
2024-03-22T15:00:10+07:00
รวิกานต์ จิตจักร
rawikarn.ji@ku.th
ภิรดา ชัยรัตน์
pirada.c@ku.th
<p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน 2) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เข้ารับบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพภายในสถานพยาบาลทุกประเภท ในอำเภอเมือง และอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความคาดหวังต่อบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความพึงพอใจต่อบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพแตกต่างกัน และประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพ ต่างกัน มีความคาดหวังต่อบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ในขณะที่ความคาดหวังของประชาชนมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับความพึงพอใจของประชาชนในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้</p>
2024-07-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/273429
การคุ้มครองลูกจ้างในงานเกษตรกรรมเพาะปลูกตามฤดูกาลตามกฎหมายไทย
2024-05-14T14:24:41+07:00
สุรศักดิ์ มีบัว
surasak.mee@ssru.ac.th
บรรเจิด สิงคะเนติ
Banjerd.s@nida.ac.th
วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม
surasak.mee@ssru.ac.th
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดพื้นฐาน วิวัฒนาการ และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองลูกจ้างในงานเกษตรกรรมเพาะปลูกตามฤดูกาลตามกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย รวมถึงเพื่อวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรมของไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 วิธี อันได้แก่ วิธีแรก การรวบรวมข้อมูลเอกสารจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง วิธีที่สอง การลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ณ สถานที่จริง พร้อมกับการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกจังหวัดที่มีการจ้างลูกจ้างกลุ่มนี้อย่างแพร่หลายในไร่อ้อย สวนผลไม้ และการทำนาข้าว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ อันได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จันทบุรี ลำพูน พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรีและวิธีที่สาม การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างประชากร 3 กลุ่ม ผ่านแบบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ผู้เขียนสร้างขึ้นในลักษณะคำถามปลายเปิด อันได้แก่ กลุ่มแรก ลูกจ้างในงานเกษตรกรรมเพาะปลูกตามฤดูกาล จำนวน 7 คน กลุ่มที่สอง นายจ้างในงานเกษตรกรรมเพาะปลูกตามฤดูกาล จำนวน 7 คน กลุ่มที่สาม เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่องค์กรอิสระช่วยเหลือแรงงาน คือ กระทรวงเเรงงาน และผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ จำนวน 3 คน รวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 17 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและสอดคล้องกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจริงในสังคมเกษตรกรรมไทย ผลการศึกษา ในกรณีแรกพบว่าลูกจ้างในงานเพาะปลูกตามฤดูกาล ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปีและไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วยไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยในบางเรื่องกฎหมายไทยไม่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างที่นายจ้างพึงต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างกลุ่มนี้เอาไว้ จึงเกิดช่องว่างที่ไม่มีกลไกทางกฎหมาย สำหรับนำมาเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมเกษตรกรรม ผู้เขียนเห็นว่าควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายของไทย โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างไว้ตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมเกษตรกรรม จนนำไปสู่การถนอมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงาน ซึ่งเสนอให้ออก (ร่าง) กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองลูกจ้างในงานเกษตรกรรมเพาะปลูก พ.ศ. .... โดยเสนอให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายพิเศษในบางเรื่อง อันได้แก่ กำหนดเวลาพักระหว่างการทำงาน กำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณี กำหนดข้อห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงานยามวิกาล กำหนดค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร กำหนดเวลาทำงานปกติและค่าจ้างขั้นต่ำที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องที่หรือจังหวัดที่ใช้บังคับ และห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด ในกรณีที่สอง พบว่าลูกจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายพิเศษที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการทำงานสำหรับงานเกษตรกรรมในบางเรื่อง ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายของไทย โดยเสนอให้มีการกำหนดความคุ้มครองลูกจ้างที่สอดคล้องกับการจ้างระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 90 วัน หรือการจ้างที่เป็นครั้งคราว ซึ่งลูกจ้างเข้าทำงานและออกจากงานของนายจ้างคนเดียวกันบ่อยครั้ง อันได้แก่ การกำหนดวันหยุดพักผ่อน ให้นายจ้างจัดสวัสดิการที่พักอาศัยแยกเป็นสัดส่วนกับสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายทางการเกษตร และจัดสวัสดิการเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการป้องกันสารเคมี ยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีลูกจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทั่วไปที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการทำงานสำหรับงานเกษตรกรรมในบางเรื่อง ผู้เขียนเห็นว่าควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายของไทย โดยเสนอห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงหรือหญิงมีครรภ์ทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายที่ไม่สอดคล้องสำหรับงานเกษตรกรรม และกำหนดมาตรการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอันจำเป็น อันได้แก่ การจัดเครื่องมือและอุปกรณ์ในการป้องกันส่วนบุคคล การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรกล เครื่องมือหรืออุปกรณ์ และการใช้สารเคมีอันตรายทางการเกษตรที่ถูกวิธีให้แก่ลูกจ้าง</p>
2024-07-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/272827
การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง: ศึกษายุทธศาสตร์การหาเสียงของ นายสมศักดิ์ บุญประชม (เสี่ยเซียง) พรรคเพื่อไทรวมพลัง ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2566
2024-03-27T19:46:59+07:00
พงศธร กันทวงค์
c.patawee@gmail.com
กิตติภพ แก้วสุวรรณ์
c.patawee@gmail.com
ศศิประภา หวานอารมณ์
c.patawee@gmail.com
สุรพงษ์ ช่างทำ
c.patawee@gmail.com
อิสริยาภรณ์ คำมะลักษ์
c.patawee@gmail.com
ปฐวี โชติอนันต์
c.patawee@gmail.com
<p>การวิจัยเรื่อง “การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง: ศึกษายุทธศาสตร์การหาเสียงของนายสมศักดิ์ บุญประชม (เสี่ยเซียง) พรรคเพื่อไทรวมพลัง ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2566” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การสร้างฐานเสียงและบทบาทการรณรงค์หาเสียงที่นำมาสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งของ นายสมศักดิ์ บุญประชม (เสี่ยเซียง) พรรคเพื่อไทรวมพลังในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) กำหนดแนวทางเป็นวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Group Interview) และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Information) ผลการวิจัยพบว่า ยุทธศาสตร์การหาเสียงเน้นไปที่ตัวบุคคลของผู้สมัครมากกว่าพรรค เนื่องจาก ระบบการเลือกตั้งแบบระบบคู่ขนานระหว่างเขตกับสัดส่วน (Mixed Member Majoritarian; MMM Representation) ที่ทำให้ประชาชนสามารถเลือกพรรคและตัวบุคคลแยกออกจากกัน นอกจากนี้ นายสมศักดิ์ บุญประชม สร้างฐานเสียงผ่านการอุปถัมภ์และการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ก่อนช่วงการเลือกตั้ง นายสมศักดิ์ให้ความสำคัญกับความเป็นท้องถิ่นนิยมในตัวบุคคลในการรณรงค์หาเสียง มากกว่านโยบายพรรค หรืออุดมการณ์ทางการเมือง สุดท้าย เข้าใช้การรณรงค์หาเสียงผ่านระบบหัวคะแนนระดับชุมชนและระดับคุ้มในการประชาสัมพันธ์ตัวผู้สมัคร ส่วนการปราศรัยไม่มีการโจมตีพรรคคู่แข่งซึ่งต่างจากพรรคการเมืองอื่น</p>
2024-08-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/273307
การเคลื่อนไหวของเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ในช่วง พ.ศ.2563-2564
2024-04-03T10:50:40+07:00
ปฐวี โชติอนันต์
c.patawee@gmail.com
<p>การวิจัยเรื่อง การเคลื่อนไหวของเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ในช่วง พ.ศ.2563-2564 มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ ศึกษาถึงเงื่อนไขการก่อตัวขึ้นของขบวนการเคลื่อนไหวของเยาวชนในภาคอีสานในช่วง พ.ศ.2563-2564 และ ศึกษายุทธวิธีการเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคมดังกล่าวในการต่อต้านรัฐบาล งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยมีการเก็บข้อมูลผ่านการค้นคว้าเอกสารและตำราที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของเยาวชนในสังคมไทย นอกจากนี้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวของเยาวชนในอีสานในช่วง 2 ปีดังกล่าวผ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ การเข้าสังเกตการณ์การชุมนุมอย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation) ในจังหวัดต่างๆ ในอีสาน รวมถึงผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แกนนำของกลุ่มผู้จัดการชุมนุมในจังหวัดต่างๆ ในอีสาน และสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมชุมนุม งานวิจัยชิ้นนี้พบว่า เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดการชุมนุมจำนวนมากในอีสานมีสาเหตุ คือ ความรู้สึกของเยาวชนถึงความไม่ยุติธรรมของฝ่ายตุลาการและความไม่ชอบธรรมในการบริหารประเทศของรัฐบาล โครงสร้างโอกาสทางการเมืองที่เปิดให้มีการชุมนุม การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และ การกระจายการชุมนุมจำนวนมากไปตามพื้นที่ต่างๆ นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวของเยาวชนในอีสานไม่ได้เพียงใช้ยุทธศาสตร์ในการต่อต้านรัฐบาลที่คล้ายกับการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ ในกรุงเทพฯ เช่น การเกิดการชุมนุมแบบแฟลชม็อบ การสร้างเครือข่าย การใช้เทคโนโลยี แต่พวกเขาได้มีการใช้อัตลักษณ์ของความเป็นอีสานในการชุมนุม การพูดถึงประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง และการเรียกร้องให้รัฐแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการจัดสรรทรัพยากรของรัฐในอีสานด้วย</p> <p><strong> </strong></p>
2024-08-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/272919
ปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินกระบวนการ พิจารณาทางปกครองของประชาชน
2024-04-23T09:29:34+07:00
ณัฐวัฒน์ บัวทอง
moomoo.n2424@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินกระบวนการพิจารณาทางปกครองของประชาชน ผลการวิจัยพบปัญหาว่า 1. ความไม่ชัดเจนในเขตอำนาจศาล 2. เงื่อนไขในการฟ้องคดีที่ต้องอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองก่อน 3. การกำหนดมาตรการวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา 4. คำพิพากษาศาลปกครองไม่มีผลบังคับทันที อาจมีผลย้อนหลังหรือในอนาคต 5. การขาดบทบัญญัติเกี่ยวกับการบังคับคดีทางปกครอง ไม่บรรลุผลตามคำพิพากษา และ 6. การขาดมาตรการช่วยเหลือประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ 1. กำหนดหลักเกณฑ์บังคับใช้กฎหมายให้ชัดเจนกรณีคดีมีข้อหาหลายประเด็น เพื่อความชัดเจนในการแบ่งเขตอำนาจของศาล 2. ให้ผู้ฟ้องคดีที่ได้อุทธรณ์ภายในต่อฝ่ายปกครองไปแล้วไม่ต้องรอให้ฝ่ายปกครองวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้สามารถฟ้องคดีปกครองได้ 3. กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ควรใช้หลักตีความควบคู่กับหลักการไต่สวน และมีมาตรการคุ้มครองกรณีฝ่ายปกครองไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติล่าช้า 4. ใช้หลักการตีความนิติกรรมทางปกครองที่ฝ่ายปกครองออกคำสั่งทางปกครอง มีผลย้อนหลังและไปถึงอนาคต 5. ปรับใช้มาตรการทางกฎหมายปัจจุบันกับคดีเกี่ยวกับการบังคับคดีทางปกครอง 6. แก้ไขระเบียบที่ประชุมใหญ่ ให้ฝ่ายปกครองและรัฐช่วยเหลือและสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการแต่งตั้งผู้มีความรู้มาดำเนินคดีแทนประชาชน</p>
2024-08-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/273526
ปัจจัยที่มีผลต่อกระแสความนิยมของพรรคก้าวไกล ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2566 : กรณีศึกษาเขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4
2024-04-18T10:11:50+07:00
ศราวุฒิ วรรณโสภา
na.sisaket20@gmail.com
ฐิติมาพร อินทร์โสม
ืna.sisaket20@gmail.com
ชลธิชา มณีรัตน์
na.sisaket20@gmail.com
สุธิดา จูมครอง
na.sisaket20@gmail.com
ประเทือง ม่วงอ่อน
na.sisaket20@gmail.com
<p>การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกระแสความนิยมของพรรคก้าวไกล ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2566 : กรณีศึกษาเขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4 มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4 ของพรรคก้าวไกล ได้รับความนิยมในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (2) ศึกษามุมมองของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีต่อด้านนโยบายของพรรคก้าวไกล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากสื่อโชเชียลมีเดีย การสัมภาษณ์และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา ค้นพบว่า (1) กระแสความนิยมของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ (1.1) ปัจจัยด้านกระแสความนิยมที่มาจากพรรค กระแสพรรคเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ช่วยหนุนเสริมทำให้ผู้สมัครพรรคก้าวไกลได้รับความนิยมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2566 กระแสพรรครวมถึงกระแสความนิยมในตัวหัวหน้าพรรคก้าวไกล คือ คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กระแสความนิยมจากแนวนโยบายของพรรค และภาพลักษณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับพรรคก้าวไกล (1.2) ปัจจัยด้านตัวบุคคลผู้สมัคร กระแสความนิยมที่เกิดขึ้นจากตัวผู้สมัคร โดยผู้สมัครจะต้องแสดงบทบาท ทำกิจกรรม ลงพื้นที่ให้ประชาชนรับรู้อย่างต่อเนื่องด้วย จึงจะทำให้ผู้สมัครจากพรรคก้าวไกลบุคคลนั้นมีโอกาสชนะการเลือกตั้ง (1.3) ปัจจัยด้านความต้องการของประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ชนะการเลือกตั้งมาหลายสมัย (1.4) ปัจจัยด้านกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม ความสิ้นหวังกับระบบการเมืองและสังคมแบบเดิมๆ รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของกลุ่มคนรุ่นใหม่ เป็นต้น (2) มุมมองของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตเลือกตั้งที่ 4 ที่มีต่อด้านนโยบายของพรรคก้าวไกล จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ประชาชนมีความหวังในตัวนโยบายของพรรคก้าวไกล และมองว่านโยบายที่นำเสนอจะสามารถแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศได้ ข้อเสนอแนะ กระแสพรรคเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้ผู้สมัครพรรคก้าวไกลได้รับความนิยม แต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้สมัครคนนั้นได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ตัวผู้สมัครจะต้องลงพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน โฆษณาประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ เพื่อให้เกิดความนิยมในตัวผู้สมัครเองด้วย แล้วอาศัยกระแสพรรคเป็นตัวหนุนเสริม สนับสนุน เพื่อต่อสู้กับกระแสการใช้เงินซื้อเสียง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่สังคมชนบท หรือเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล <strong><br /><br /></strong></p>
2024-08-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/273520
รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในเทศบาลตำบลนาป่า อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
2024-04-30T22:25:11+07:00
พระชลญาณมุนี
Saokum.sai@mcu.ac.th.com
เสาร์คำ ใส่แก้ว
saokum.sai@mcu.ac.th
<p class="5175" style="text-indent: 0cm;"><span lang="TH" style="font-size: 14.0pt;">ปัญหาที่สะสมมานานของเทศบาลตำบลนาป่า ในฐานะเทศบาลที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ในยุคอุตสาหกรรมที่ประชาชนให้ความสำคัญกับการทำงานมากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กันในสังคม มีการเคลื่อนย้ายของประชากรแผงและมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมสูง ทำให้เกิดช่องว่างและความไม่เข้มแข็งของชุมชน การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเทศบาลตำบลนาป่า อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในเทศบาลตำบลนาป่า จำนวน 400 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญและการสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและความจำเป็น ของการเสริมพลังอำนาจ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเทศบาลตำบลนาป่า มีค่าเฉลี่ยของสภาพที่พึงประสงค์มากกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้านและทุกประเด็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความต้องการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจมากที่สุด ได้แก่ ด้านการให้การยอมรับ รองลงมาด้านการมอบหมายอำนาจหน้าที่ และน้อยที่สุด คือ ด้านการฝึกอบรมและการพัฒนา 2) การจัดทำรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ได้องค์ประกอบของกลยุทธ์ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์ 5 พันธกิจ 10 เป้าประสงค์ และ 36 กลยุทธ์ 3) การประเมินรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสามารถนำไปใช้ได้จริง</span></p> <p class="5175" style="text-indent: 0cm;"><span style="font-size: 14.0pt; color: red;"> </span></p>
2024-08-22T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/273668
การเปลี่ยนแปลงของขั้วอำนาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง เปรียบเทียบผลการเลือกตั้ง ปี 2566 และ 2562
2024-04-21T18:13:50+07:00
ประเทือง ม่วงอ่อน
na.sisaket20@gmail.com
<p>การเปลี่ยนแปลงของขั้วอำนาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ค้นพบว่า การเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 มีผู้สมัครที่ย้ายพรรคการเมือง หรือเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจทางการเมืองจากพรรคต่างๆ สามารถประสบความสำเร็จชนะการเลือกตั้งถึง 4 เขตเลือกตั้ง จากทั้งหมด 11 เขตเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 36.36 ได้แก่ (1) นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย พรรคภูมิใจไทย (ย้ายจากพรรคประชาธิปัตย์) เขตเลือกตั้งที่ 8 อ.พิบูลมังสาหาร (ยกเว้น ต.ระเว และ ต.ทรายมูล) อ.สว่างวีระวงศ์ อ.นาเยีย นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย พรรคภูมิใจไทย ได้คะแนน 31,773 คะแนน อันดับสอง นายเอกพล ญาวงค์ (ตุ๊) (สจ.ตุ๊เอกพล ญาวงค์) พรรคเพื่อไทย ได้คะแนน 27,893 คะแนน (2) นายสุทธิชัย จรูญเนตร พรรคภูมิใจไทย (เดิมพรรคพลังประชารัฐ) อดีต สส.พรรคเพื่อไทย ปี 2554 ก่อนจะย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และพรรคภูมิใจไทยตามลำดับ เขตเลือกตั้งที่ 5 อ.ตระการพืชผล อ.กุดข้าวปุ้น นายสุทธิชัย จรูญเนตร พรรคภูมิใจไทย ได้คะแนน 44,121 คะแนน อันดับสอง นายรัฐกิตติ์ ผาลีพัฒน์ พรรคเพื่อไทย ได้คะแนน 30,596 คะแนน อันดับสาม นายเพทาย ศรีสวัสดิ์ พรรคก้าวไกล ได้คะแนน 12,050 คะแนน (3) นางสาวตวงทิพย์ จินตะเวช พรรคภูมิใจไทย (เดิมพรรคพลังประชารัฐ) เขตเลือกตั้งที่ 11 อ.เดชอุดม (ยกเว้น ต.ทุ่งเทิง) นางสาวตวงทิพย์ จินตะเวช พรรคภูมิใจไทย (เดิมพรรคพลังประชารัฐ) ได้คะแนน 43,797 คะแนน อันดับสอง นายเอกชัย ทรงอำนาจเจริญ พรรคเพื่อไทย ได้คะแนน 24,288 คะแนน อันดับสาม นายพิทักษ์ชัย จิตจันทร์ พรรคก้าวไกล ได้คะแนน 13,063 คะแนน และอับดับสี่ นายสุริยา ขันอาสา พรรคไทยสร้างไทย ได้คะแนน 4,833 คะแนน (4) นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ พรรคไทยสร้างไทย (เดิมพรรคพลังประชารัฐ) เขตเลือกตั้งที่ 9 อ.บุณฑริก อ.นาจะหลวย อ.สิรินธร (เฉพาะ ต.โนนก่อ) นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ พรรคไทยสร้างไทย ได้คะแนน 31,311 คะแนน อันดับสอง นายประภูศักดิ์ จินตะเวช พรรคเพื่อไทย ได้คะแนน 30,851 คะแนน อันดับสาม พันจ่าอากาศเอก บรรจง อินทร์ขาว พรรคก้าวไกล ได้คะแนน 12,105 คะแนน และอันดับสี่ นางสาวน้ำตาล พวงลาภ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้คะแนน 1,613 คะแนน ซึ่งแตกต่างจากการเลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ที่พบว่าการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง จากพรรคเพื่อไทยไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐประสบความล้มเหลวทั้งหมด ไม่ได้รับการเลือกตั้งแม้แต่รายเดียว ไม่ว่าจะเป็น นางสาวโยธากาญจน์ ฟองงาม พรรคพลังประชารัฐ (บุตรสาวนายสุพล ฟองงาม อดีต สส.อุบลราชธานี และอดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย) นายเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ บุตรชายของนายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ (อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย) หรือนายสุทธิชัย จรูญเนตร อดีต สส.พรรคเพื่อไทย ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้น</p>
2024-08-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/274125
ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎร ของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลลำไทร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
2024-05-12T10:22:44+07:00
พิชเญศ ศรีแจ้ง
sunlive03@gmail.com
จุฑาทิพ คล้ายทับทิม
fsocjtk@ku.ac.th
<table> <tbody> <tr> <td> <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลตำบลลำไทร เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลลำไทรของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลลำไทรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร กับ ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลลำไทรใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบในระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2566 – 26 มกราคม 2567 โดยทำการสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนผู้มาใช้บริการจากสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลลำไทร ตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 น. ถึงเวลา 16.30 น. จำนวน 346 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญโดยควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่องานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลตำบลลำไทร อยู่ในระดับมาก และมีความรู้เกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎรของประชาชนผู้มารับบริการ อยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐานประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความพึงพอใจ ต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎรต่างกันพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน มีความพึงพอใจแตกต่างกันเป็นไปตามสมมติฐาน ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ และประเภทงานที่เข้ารับบริการ ต่างกันมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐาน ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร กับความพึงพอใจต่อการให้บริการ เป็นไปตามสมมติฐาน โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง</p> </td> </tr> </tbody> </table>
2024-09-11T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271371
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2565
2024-01-02T09:32:21+07:00
ฐิติกรณ์รัศมิ์ ภัททสิริภูวดล
titikornrasmi.s@ubu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ของนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2565 ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่รายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา จำนวน 516 คน กลุ่มตัวอย่างใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 438 คน คิดเป็นร้อยละ 84.89 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่น (Reliability Analysis) อยู่ที่ 0.81 – 1.00 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.91 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ที่เลือกศึกษาต่อคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นนักศึกษาที่เลือกยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในระบบ TCAS รอบที่ 1 โควตาค่ายเยาวชนนักรัฐศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 37.90 (166 คน) รองลงมาคือ TCAS รอบที่ 1 โควตา Portfolio ร้อยละ 29.00 (127 คน) เป็นนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 71.70 (314 คน) รองลงมาคือแผนการเรียนศิลปศาสตร์-ภาษา ร้อยละ 16.00 (70 คน) เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของสถาบัน เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.33, S.D. = 0.564) รองลงมาคือ ด้านหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.25, S.D. = 0.568) ด้านประกอบวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.25, S.D. = 0.562) และด้านคุณภาพและชื่อเสียงของคณะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.22, S.D. = 0.527) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ให้ความสำคัญที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านเศรษฐกิจและสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.87, S.D. = 0.671) เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อโดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มตัวอย่างในทุกด้าน เนื่องจากค่า p-value ของทุกด้านมีค่ามากกว่า 0.05</p>
2024-09-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024