วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu <p><strong>วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์<br />Governance Journal, Kalasin University<br /></strong><strong>ISSN: 3027-8589 (Online) <br /><br /></strong>วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นวารสารวิชาการที่ครอบคลุมสาขารัฐประศาสนศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารภาครัฐ โดยยินดีรับบทความจากนักวิชาการและนักวิจัยทั้งชาวไทยและต่างประเทศเพื่อนำเสนอในรูปแบบบทความวิชาการ และบทความวิจัย โดยเป็นสิ่งพิมพ์เผยแพร่ผลงานที่มีกำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ในเดือนมิถุนายน และเดือนธันวาคม ซึ่งบทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ (Peer review) จำนวน 3 ท่าน และข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการบริหารปกครองเล่มนี้เป็นของผู้เขียนบทความ คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบต่อความคิดเห็นของผู้เขียนบทความดังกล่าวแต่ประการใด และกองบรรณาธิการวารสารการบริหารปกครอง ไม่สงวนสิทธิคัดลอกเนื้อหาหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเนื้อหาในบทความต่าง ๆ แต่ให้อ้างอิงที่มาของข้อความที่นำไปกล่าวอ้างในที่ต่าง ๆ อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ</p> Kalasin University /มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ th-TH วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 3027-8589 การวิเคราะห์ปัญหาการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในอำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271306 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการส่งเสริมการเกษตร แปลงใหญ่เพื่อผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรที่มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในอำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ มีสัดส่วนที่ผิดพลาดได้ในที่นี้กำหนดไว้ (0.05) จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกร ร้อยละ 62.50 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 37.75 ปี ปลูกมันสำปะหลังเป็นอาชีพหลัก ร้อยละ 70.60 ร้อยละ 56.00 เกษตรกรไม่มีการรวมกลุ่ม ผลผลิตเฉลี่ย 4,265 กิโลกรัมต่อไร่ ร้อยละ 63.5จ ต้องการเทคโนโลยี ใน แน่นอน ร้อยละ 49.75 ต้องการผลิตมันสำปะหลังแบบมีส่วนร่วม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ ด้านการตลาดที่แน่นอน เทคโนโลยีที่ทันสมัย และ การลดต้นทุนการผลิต ปัญหาการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ คือ เงื่อนไขที่เยอะเกินไป ทำให้เกษตรกรเกิดปัญหาในการผลิตมันสำปะหลังในรูปแบบแปลงใหญ่ของอำเภอดอนจาน</p> ชรินทร์ ทริเพ็ง ณัฐพงษ์ ศรีสมุทร สายัญ พันธ์สมบูรณ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-16 2024-07-16 13 2 1 14 การบริหารจัดการเกษตรแปลงใหญ่มันสำปะหลัง ตำบลดงพยุง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/272875 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการบริหารจัดการเกษตรแปลงใหญ่มันสำปะหลังในตำบลดงพยุง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลังตำบลดงพยุง จำนวน 54 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการพรรณนาการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 61.11) อายุเฉลี่ย 55.51 ปี และมีประสบการณ์ในการผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 27.7 ปี เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยในภาคการเกษตรและนอกภาค การเกษตร 120,796.29 และ 9,102.49 บาทต่อปี ตามลำดับ การไม่มีสถานที่แปรรูปผลผลิตมันสำปะหลังเป็นของตนเองถือเป็นปัญหาสูงสุดของเกษตรกร นอกจากนี้ช่องทางการรับซื้อมันสำปะหลังมีน้อยไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ อีกทั้งการขาดความรู้และเทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตมันสำปะหลังก็เป็นปัญหาสำคัญ </p> ดนัย สิทธิ์สำนวน ณัฐพงษ์ ศรีสมุทร สายัญ พันธ์สมบูรณ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-16 2024-07-16 13 2 15 29 การครองอำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ในภาคอีสาน : กรณีศึกษา สส.วุฒิพงษ์ นามบุตร จังหวัดอุบลราชธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271411 <p>การแพ้ชนะในการเลือกตั้งเป็นเรื่องธรรมดาในทางการเมืองอย่างไรก็ตาม นักการเมืองที่สามารถชนะการเลือกตั้งติดต่อได้หลายครั้งในภูมิภาค หรือ จังหวัดที่กระแสพรรคการเมืองตกต่ำเป็นที่น่าสนใจอย่างมากในการศึกษาในทางการเมือง นายวุฒิพงษ์ นามบุตร สส. พรรคประชาธิปัตย์ เขต 2 จังหวัดอุบลราชธานี ชนะการเลือกตั้งติดต่อกันถึง 5 สมัย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2566 ถึงแม้ว่าพื้นที่เขตเลือกตั้งของเขาจะตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีและภูมิภาคอีสานซึ่งเป็นฐานคะแนนของพรรคเพื่อไทยก็ตาม บทความนี้มีวัตถุประสงค์ต้องการศึกษา คือ การใช้วาทกรรมทางการเมืองหรืออุดมการณ์ทางการเมืองของนายวุฒิพงษ์ นามบุตร ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในเขตพื้นที่เลือกตั้งของตน, ปัจจัยที่ส่งผลให้วาทกรรมทางการเมืองหรืออุดมการณ์ทางการเมืองประสบความสำเร็จ และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อความคิดและอุดมการณ์ประชาชนในเขตการเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี ผลการศึกษาพบว่า นายวุฒิพงษ์ นามบุตร ได้มีการสร้างและผลิตซ้ำวาทกรรมผ่านตนเอง สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และประชาชนที่เชื่อมั่นในตัวเขา วาทกรรมที่พบในพื้นที่ได้แก่ “วุฒิพงษ์ผู้แทนติดดิน” “ผู้แทนนักพัฒนา” และ “สมาชิกของตระกูลนามบุตร”ซึ่งเป็นตระกูลเก่าแก่และทำประโยชน์ในคนในพื้นที่มานาน มากกว่านั้นเขาได้มีการลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนในเขตเลือกตั้งอยู่สม่ำเสมอ เขาสามารถดึงทรัพยากรโดยเฉพาะเรื่องงบประมาณเพื่อพัฒนาพื้นที่ได้มาก ปัจจัยทั้งสองทำให้เกิดความสำเร็จในการใช้วาทกรรมซึ่งส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เชื่อมั่นในตัวเขาในฐานและผู้แทนให้ความสำคัญกับตัวบุคคลมากกว่าอุดมการณ์หรือพรรคการเมือง</p> ธรรพ์ณธร สีทา ปฐวี โชติอนันต์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-16 2024-07-16 13 2 30 55 กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และนโยบายภาครัฐด้านสาธารณสุขจากภาวะโรคระบาดใหญ่ของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดมหาสารคาม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271474 <p>การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และนโยบายภาครัฐด้านสาธารณสุขจากภาวะโรคระบาดใหญ่ของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบของกลยุทธ์การจัดการความขัดแย้ง 5 มิติที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งกับนโยบายรัฐด้านสาธารณสุข 3.เพื่อให้ข้อเสนอแนะที่มีต่อนโยบายภาครัฐด้านสาธารณสุข การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ จังหวีดมหาสารคาม ทำการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 255 คน จากประชากรทั้งหมด 707 คน เครื่องมือการวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ ดังนี้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งของพยาบาบาลวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการแข่งขัน มีระดับความคิดเห็นสูงสุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.46, S.D = 0.582) และน้อยที่สุด คือ ด้านการหลีกเลี่ยง (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.43, S.D = 0.613) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.40, S.D = 0.618) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเวลา มีระดับความคิดเห็นสูงสุด ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.50, S.D = 0.577) และน้อยที่สุด คือ ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 4.34, S.D = .611) การรับรู้นโยบายภาครัฐด้านสาธารณสุข โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.23, S.D = 0.717) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านโครงสร้างสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน มีระดับความคิดเห็นสูงสุด (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.25, S.D = 0.718) และน้อยที่สุด คือ ด้านบุคลากร (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 4.17, S.D = 0.747) กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่กลยุทธ์การจัดการความขัดแย้งสามารถร่วมพยากรณ์และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดมหาสารคาม 78.5 % (Adj R2 = 0.785)</p> เนตรนภา ชัยชนะ ชินวัตร เชื้อสระคู Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-16 2024-07-16 13 2 56 72 ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่ง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271475 <p>การวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร คุณภาพการบริการ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานภาครัฐ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพการบริการของพนักงานหน่วยงานภาครัฐ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานภาครัฐ และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับวัฒนธรรมองค์กร คุณภาพการบริการ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานภาครัฐ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้างของหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่ง ทำการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 238 ราย ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดำเนินการวิเคราะห์ ดังนี้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 9 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) วัฒนธรรมองค์กรของพนักงานหน่วยงานภาครัฐ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.59, S.D = 0.693) คุณภาพการบริการของพนักงานหน่วยงานภาครัฐ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( <img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" />= 3.53, S.D = 0.778) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานภาครัฐ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{X}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{X}" /> = 3.89, S.D = 0.695) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปริมาณ มีระดับความคิดเห็นสูงสุด 2) วัฒนธรรมองค์กร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพการบริการของพนักงานหน่วยงานภาครัฐที่เป็นหน่วยศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) วัฒนธรรมองค์กรมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานภาครัฐที่เป็นหน่วยศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และคุณภาพการบริการมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานภาครัฐที่เป็นหน่วยศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ศรสวรรค์ ทับทิมศรี ชินวัตร เชื้อสระคู Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-16 2024-07-16 13 2 73 90 การวิเคราะห์ปัญหาและเปรียบเทียบข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขัน ทางการค้าตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271690 <p>วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมา ปัญหาข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 เปรียบเทียบกับต่างประเทศ และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อเป็นการส่งเสริมเรื่องการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม พบว่า (1) ข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าของแต่ละประเทศ ใช้กับการกระทำของหน่วยงานหรือหน่วยธุรกิจใดนั้น ย่อมเป็นไปตามบริบทของสังคม วัฒนธรรมทางการค้า รวมถึงนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ การมีบทบัญญัติในลักษณะนี้ ก็เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมบางอย่างสามารถดำเนินการได้ตามนโยบายภาครัฐ ป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบ จากผู้ประกอบการที่มีที่ความสามารถในการแข่งขันมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่น และยังเป็นการส่งเสริมการแข่งขัน ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย (2) ข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า ไม่มีมาตรการแนวทางหรือหลักเกณฑ์รองรับที่เหมาะสม ทั้งขาดความเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายอาจก่อให้เกิดปัญหาอันนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายอย่างไร้ประสิทธิภาพ ทำให้การรักษาและส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ไม่สามารถบรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมได้ (3) ข้อยกเว้นกฎหมายแข่งขันของประเทศไทยและของต่างประเทศ แม้มีความแตกต่างกันในรายละเอียดตามบริบทของสังคม วัฒนธรรมทางการค้า รวมถึงนโยบายทางเศรษฐกิจ แต่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างและส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมเช่นเดียวกัน โดยประเทศไทยสามารถนำข้อกฎหมายและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศ มาศึกษาและปรับใช้ให้เหมาะสม อันนำไปสู่ประโยชน์สูงสุดแก่สาธารณะชน (4) ข้อยกเว้นกฎหมายแข่งขันของประเทศไทย ต้องมีการวางหลักเกณฑ์การปฏิบัติให้ชัดเจนและเหมาะสม จากหน่วยงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการแข่งขันทางการค้าเป็นการเฉพาะ อย่างแท้จริง และปรับตัวบทกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน</p> วัชระ ภูกันดาร สาธิตา วิมลคุณารักษ์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-16 2024-07-16 13 2 91 106 กระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/272392 <p>งานวิจัยเรื่องกระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อกระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยและศึกษาผลที่เกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิจัยจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายนอก ได้แก่ องค์การระหว่างประเทศส่งออกแนวคิดการจัดการที่พักอาศัยมายังประเทศไทย ส่วนปัจจัยภายใน ได้แก่ จำนวนผู้สูงอายุ นโยบายของรัฐบาล กฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นแรงหนุนเสริม กระบวนทัศน์นโยบายผู้สูงอายุด้านที่พักอาศัยของประเทศไทยจึงแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ 1) กระบวนทัศน์ก่อน พ.ศ. 2525: ยุคกำเนิดสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ 2) กระบวนทัศน์ พ.ศ.2525-2539: ยุคสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุเบ่งบาน 3) กระบวนทัศน์ พ.ศ.2540-2554: ยุคก่อเกิดการสร้างสภาพแวดล้อมเกื้อหนุนหลักสูงวัยในที่เดิม และ 4) กระบวนทัศน์ พ.ศ.2555-ปัจจุบัน: ยุคการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุทุกกลุ่มตามหลักสูงวัยในที่เดิม จากกระบวนทัศน์ทั้ง 4 ช่วง ส่งผลให้นโยบายของรัฐบาลไทยแตกต่างกันออกไปจากเดิมมุ่งสร้างสถานสงเคราะห์เฉพาะผู้ยากไร้มาสู่การจัดที่พักอาศัยภายใต้แนวคิดสูงวัยในที่เดิมโดยให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุทุกกลุ่มมากขึ้น</p> ปิยากร หวังมหาพร Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-17 2024-07-17 13 2 107 124 ปัญหาความรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรมต่อการรับฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/272125 <p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัญหาหลักกฎหมายลักษณะฝากทรัพย์ตามมาตรา 657 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับ The Hotel Proprietors Act 1956 แห่งสหราชอาณาจักร และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เยอรมัน กรณีคนเดินทางหรือแขกผู้เข้าอาศัยได้เข้ามาพัก โรงแรม โฮเต็ล รีสอร์ท ห้องพัก หรือสถานที่พักเช่นว่านั้นแล้ว คนเดินทางหรือแขกผู้เข้าอาศัยได้ฝากทรัพย์สินไว้ในตู้นิรภัยที่ทางสถานที่พักได้จัดไว้ให้ พบว่าเป็นการฝากทรัพย์ต่อเจ้าสำนักโรงแรมที่หากเกิดความสูญหายหรือเสียหาย เจ้าสำนักโรงแรมยังคงต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน 2. จากการศึกษาปัญหาความรับผิดของเจ้าสำนักโรงแรมต่อคนเดินทางหรือแขกอาศัยตามมาตรา 675 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พบว่ายังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความรับผิดต่อทรัพย์สินของผู้เดินทางหรือแขกผู้เข้าพักอาศัยโดยไม่คำนึงมูลค่าที่แท้จริง เพื่อให้สอดคล้องและมีสภาพเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน และ 3. จากการศึกษาแนวทางเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของผู้เดินทางหรือแขกผู้เข้าพักอาศัย พบว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมหลักกฎหมายมาตรา 675 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนของค่าตอบแทนในการฝากทรัพย์ต่อเจ้าสำนักโรงแรมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อเจ้าสำนักโรงแรมและแขกผู้เข้าพักอาศัย</p> ชไมพร ไทยดำรงเดช Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-17 2024-07-17 13 2 125 140 ความคาดหวังและความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพ ภายในอำเภอเมือง และอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/273016 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน 2) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เข้ารับบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพภายในสถานพยาบาลทุกประเภท ในอำเภอเมือง และอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความคาดหวังต่อบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความพึงพอใจต่อบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพแตกต่างกัน และประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพ ต่างกัน มีความคาดหวังต่อบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ในขณะที่ความคาดหวังของประชาชนมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับความพึงพอใจของประชาชนในบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้</p> รวิกานต์ จิตจักร ภิรดา ชัยรัตน์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-19 2024-07-19 13 2 141 158 การคุ้มครองลูกจ้างในงานเกษตรกรรมเพาะปลูกตามฤดูกาลตามกฎหมายไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/273429 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดพื้นฐาน วิวัฒนาการ และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองลูกจ้างในงานเกษตรกรรมเพาะปลูกตามฤดูกาลตามกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย รวมถึงเพื่อวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรมของไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 วิธี อันได้แก่ วิธีแรก การรวบรวมข้อมูลเอกสารจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง วิธีที่สอง การลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ณ สถานที่จริง พร้อมกับการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกจังหวัดที่มีการจ้างลูกจ้างกลุ่มนี้อย่างแพร่หลายในไร่อ้อย สวนผลไม้ และการทำนาข้าว โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ อันได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จันทบุรี ลำพูน พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรีและวิธีที่สาม การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างประชากร 3 กลุ่ม ผ่านแบบสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ผู้เขียนสร้างขึ้นในลักษณะคำถามปลายเปิด อันได้แก่ กลุ่มแรก ลูกจ้างในงานเกษตรกรรมเพาะปลูกตามฤดูกาล จำนวน 7 คน กลุ่มที่สอง นายจ้างในงานเกษตรกรรมเพาะปลูกตามฤดูกาล จำนวน 7 คน กลุ่มที่สาม เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่องค์กรอิสระช่วยเหลือแรงงาน คือ กระทรวงเเรงงาน และผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ จำนวน 3 คน รวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 17 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและสอดคล้องกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจริงในสังคมเกษตรกรรมไทย ผลการศึกษา ในกรณีแรกพบว่าลูกจ้างในงานเพาะปลูกตามฤดูกาล ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปีและไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วยไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยในบางเรื่องกฎหมายไทยไม่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างที่นายจ้างพึงต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างกลุ่มนี้เอาไว้ จึงเกิดช่องว่างที่ไม่มีกลไกทางกฎหมาย สำหรับนำมาเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมเกษตรกรรม ผู้เขียนเห็นว่าควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายของไทย โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างไว้ตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมเกษตรกรรม จนนำไปสู่การถนอมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงาน ซึ่งเสนอให้ออก (ร่าง) กฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองลูกจ้างในงานเกษตรกรรมเพาะปลูก พ.ศ. .... โดยเสนอให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายพิเศษในบางเรื่อง อันได้แก่ กำหนดเวลาพักระหว่างการทำงาน กำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณี กำหนดข้อห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงานยามวิกาล กำหนดค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตร กำหนดเวลาทำงานปกติและค่าจ้างขั้นต่ำที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องที่หรือจังหวัดที่ใช้บังคับ และห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด ในกรณีที่สอง พบว่าลูกจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายพิเศษที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการทำงานสำหรับงานเกษตรกรรมในบางเรื่อง ผู้เขียนจึงเห็นว่าควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายของไทย โดยเสนอให้มีการกำหนดความคุ้มครองลูกจ้างที่สอดคล้องกับการจ้างระยะเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 90 วัน หรือการจ้างที่เป็นครั้งคราว ซึ่งลูกจ้างเข้าทำงานและออกจากงานของนายจ้างคนเดียวกันบ่อยครั้ง อันได้แก่ การกำหนดวันหยุดพักผ่อน ให้นายจ้างจัดสวัสดิการที่พักอาศัยแยกเป็นสัดส่วนกับสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายทางการเกษตร และจัดสวัสดิการเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการป้องกันสารเคมี ยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีลูกจ้างได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทั่วไปที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการทำงานสำหรับงานเกษตรกรรมในบางเรื่อง ผู้เขียนเห็นว่าควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายของไทย โดยเสนอห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงหรือหญิงมีครรภ์ทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายที่ไม่สอดคล้องสำหรับงานเกษตรกรรม และกำหนดมาตรการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอันจำเป็น อันได้แก่ การจัดเครื่องมือและอุปกรณ์ในการป้องกันส่วนบุคคล การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรกล เครื่องมือหรืออุปกรณ์ และการใช้สารเคมีอันตรายทางการเกษตรที่ถูกวิธีให้แก่ลูกจ้าง</p> สุรศักดิ์ มีบัว บรรเจิด สิงคะเนติ วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-19 2024-07-19 13 2 159 191