วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu <p><strong>วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์<br />Governance Journal, Kalasin University<br /></strong><strong>ISSN: 3027-8589 (Online) <br /><br /></strong>วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เป็นวารสารวิชาการที่ครอบคลุมสาขารัฐประศาสนศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารภาครัฐ โดยยินดีรับบทความจากนักวิชาการและนักวิจัยทั้งชาวไทยและต่างประเทศเพื่อนำเสนอในรูปแบบบทความวิชาการ และบทความวิจัย โดยเป็นสิ่งพิมพ์เผยแพร่ผลงานที่มีกำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ในเดือนมิถุนายน และเดือนธันวาคม ซึ่งบทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ (Peer review) จำนวน 3 ท่าน และข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการบริหารปกครองเล่มนี้เป็นของผู้เขียนบทความ คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบต่อความคิดเห็นของผู้เขียนบทความดังกล่าวแต่ประการใด และกองบรรณาธิการวารสารการบริหารปกครอง ไม่สงวนสิทธิคัดลอกเนื้อหาหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเนื้อหาในบทความต่าง ๆ แต่ให้อ้างอิงที่มาของข้อความที่นำไปกล่าวอ้างในที่ต่าง ๆ อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ</p> th-TH governance_journal@ksu.ac.th (Assoc.Prof.Dr.Kathanyoo Kaewhanam) ariya.po@ksu.ac.th (Asst.Prof.Dr.Ariya Pongsiri) Tue, 13 Feb 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลกระทบของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อการค้าชายแดนไทย-ลาว ต่อผู้ประกอบการการค้า ณ ด่านชายแดนช่องเม็ก และนักธุรกิจ ผู้ส่งออก-นำเข้าในจังหวัดอุบลราชธานี https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/269960 <p>บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การค้าชายแดนไทย-ลาว ณ ด่านชายแดนช่องเม็ก ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างปี พ.ศ. 2562 – 2565 และ 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อการค้าชายแดนไทย-ลาว ต่อผู้ประกอบการการค้า ณ ด่านชายแดนช่องเม็ก และนักธุรกิจผู้ส่งออก-นำเข้าในจังหวัดอุบลราชธานี จากการศึกษาสถานการณ์ดังกล่าวพบว่า การออกคำสั่งปิดด่านชายแดนเป็นการชั่วคราวของจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยในตลาดชายแดนช่องเม็ก อาทิ การขาดรายได้ ร้านค้าชายแดนบางส่วนต้องปิดตัว ประมาณ 1-3 ปี ในขณะที่ ผู้ประกอบการการนำเข้า-ส่งออกผ่านด่านชายแดนช่องเม็กที่ทำการส่งสินค้าข้ามแดนไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากมาตรการฯ ของไทยมิได้ห้ามการเคลื่อนย้ายสินค้า แต่เป็นการห้ามการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศ ทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้าโดยใช้รถบรรทุกไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการทางกฎหมายของไทย อย่างไรก็ตาม ผลกระทบหลังยกเลิกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการค้าระหว่างไทย-ลาว ณ ด่านช่องเม็ก หลายประการ อาทิ รูปแบบการค้าและพฤติกรรมของการซื้อสินค้าของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเป็นการซื้อขายออนไลน์ ทั้งสินค้าจากไทยและจากจีน ทำให้ลูกค้าจากฝั่งลาวไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาซื้อสินค้าในประเทศ และปัจจุบันกลุ่มลูกค้าหลักของตลาดชายแดนช่องเม็กกลายเป็นคนไทยในจังหวัดอุบลราชธานีเป็นหลัก ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะจากตัวแทนภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจคือ ภาครัฐควรสนับสนุนการจัดทำแผนการท่องเที่ยวระหว่างกันและอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เช่น เวลาในการเปิด-ปิดด่าน การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณด่าน เป็นต้น </p> ศิริสุดา แสนอิว , ปิยะมาศ ทัพมงคล, เพียงกมล มานะรัตน์ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/269960 Wed, 14 Feb 2024 00:00:00 +0700 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกับการยกระดับการกระจายอำนาจการคลังท้องถิ่นในประเทศไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/270910 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปสู่การปฏิบัติกับการยกระดับการกระจายอำนาจการคลังท้องถิ่น โดยสะท้อนถึงปัญหาอุปสรรค และเสนอข้อเสนอแนะ สืบเนื่องจากความสำคัญของกระจายอำนาจทางการคลังท้องถิ่น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ที่เพียงพอต่อการจัดบริการสาธารณะของตนเองและลดการพึ่งพิงจากรัฐบาล จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บรายได้จากฐานทรัพย์สินมีอัตราภาษีที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ สามารถสร้างรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเพิ่มประสิทธิภาพการคลังท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า การจัดเก็บรายได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเองภายหลังการบังคับใช้กฎหมาย ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากที่ผ่านมายังมีการชะลอและลดอัตราการจัดเก็บภาษีดังกล่าว ประกอบกับสภาพการบังคับใช้กฎหมายที่ยังขาดความพร้อมในการนำไปปฏิบัติ ทำให้รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากฐานภาษีทรัพย์สินนี้ ยังไม่บรรลุตามเจตนารมย์ของกฎหมาย โดยมีข้อเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งมิติด้านกฎหมาย มิติด้านการบริหารจัดการ และมิติเชิงนโยบาย เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระทางการคลังยิ่งขึ้น และสามารถพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้อย่างเต็มที่ต่อไป</p> เอกพงษ์ ศิริพันธ์, สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/270910 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 Exploring the Interplay of Political Markets and Political Utility https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/273728 <p>Political markets are the settings in which political parties vie with one another for support by offering votes and influence in exchange for policies and promises. The satisfaction or value that people and groups derive from political decisions and outcomes is measured by political utility. When combined, these ideas draw attention to the transactional character of politics, in which parties trade support in exchange for beneficial policy results. In the end, the political utility that these exchanges produce is a gauge of how well political decisions meet the interests and preferences of the various constituents. Thus, this paper aims to explore the Interplay of Political Markets and Political Utility. This paper is documentary research. The results found that the connection between political markets and political utility were; (1) Incentive Structure, (2) Resource Allocation, (3) Competition and Exchange, (4) Rational Decision-Making, (5) Dynamic Nature, (6) Subjective Evaluation, and (7) Feedback loop. It was concluded that several characteristics, including incentive structures, resource allocation, competition and exchange, rational decision-making, dynamic nature, subjective evaluation, and feedback loops, define the relationship between political markets and political utility. These components serve as examples of how political actors work within markets to maximize gains and efficiency in the pursuit of political objectives.</p> สัญญา เคณาภูมิ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/273728 Fri, 17 May 2024 00:00:00 +0700 ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเป็นหน่วยรับงบประมาณตรง จากสำนักงบประมาณ กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/268995 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในการเป็นหน่วยรับงบประมาณโดยตรงและเพื่อเสนอแนะแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นหน่วยรับงบประมาณตรงในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อสอบถามประเด็นความพร้อมและแนวทางในการเตรียมความพร้อมในการจัดทำคำของบประมาณ โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากข้าราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางที่มีประสบการณ์ในแต่ละระดับ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำคำขอรับเงินอุดหนุนต่อสำนักงบประมาณ จำนวน 16 คน ประกอบด้วย 1) ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4 คน 2) ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ หรือผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ 4 คน และ 3) นักวิเคราะห์นโยบายและแผน 8 คน และนำมาวิเคราะห์ด้วยกระบวนการค้นหาแก่นสาระ ทำการจัดลำดับความสำคัญและความหนาแน่นของข้อมูลแล้วเขียนอธิบายตามข้อค้นพบ ผลการศึกษา พบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางยังต้องการความพร้อมสำหรับการจัดทำคำของบประมาณตรง โดยเฉพาะความเข้าใจในระเบียบ วิธีการตามกฎหมาย ทักษะในการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อจัดทำคำของบประมาณ นอกจากนี้ยังพบว่าเจ้าหน้าที่มีความกดดันจากการสื่อสารภายในองค์กร และมีข้อกังวลจากการชี้แจงงบประมาณต่อสำนักงบประมาณตามขั้นตอนการของบประมาณโดยตรง อย่างไรก็ตามในด้านภาวะผู้นำ พบว่าผู้บริหารมีความกระตือรือร้น ให้ความสำคัญและยอมรับต่อกระบวนการงบประมาณแบบใหม่ เนื่องจากมีอิสระและการควบคุมจากส่วนกลางลดลง อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสให้ท้องถิ่นได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการงบประมาณซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> กิรทัศน์ ในริกูล, ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/268995 Wed, 14 Feb 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/269981 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชากรซึ่งเป็นบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่นทุกรูปแบบ โดยใช้การเก็บข้อมูลแบบสอบถามเชิงคุณภาพ เพื่อได้มาซึ่งข้อมูลในเชิงสถิติ ที่มีตัวเลขยืนยันชัดเจน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจะวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการทดสอบสมมติฐาน เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีมากที่สุดคือทฤษฎีเกี่ยวกับการยอมรับด้านเทคโนโลยี ด้านความคาดหวังจากประสิทธิภาพของเทคโนโลยีและด้านการได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีค่านัยสำคัญทางสถิติซึ่งมีค่าที่เท่ากันต่อมาคือ ด้านการรับรู้ความยากง่ายในการใช้ และด้านการรับรู้ประโยชน์ของเทคโนโลยีตามลำดับ แนวคิดส่วนประสมทางการตลาดพบว่า การส่งเสริมการตลาดมีอิทธิพลมากที่สุดต่อมาคือ การจัดจำหน่าย, ราคา ตามลำดับซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแนวคิดและทฤษฎีที่กล่าวมานั้นเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลของบุคลากร ความสัมพันธ์ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ANOVA พบว่าอายุมีผลต่อการรับรู้ความยากง่ายในการใช้เทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษา ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลทางผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางที่เหมาะสมต่อการตัดสินใจเลือกใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังนี้ ควรจัดอบรมหรือการเรียนเกี่ยวกับแพลตฟอร์มดิจิทัลดังกล่าว ให้เข้าใจตามช่วงอายุและให้ความสำคัญกับการสื่อสารถึงคุณประโยชน์ที่จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ความง่าย ความสะดวก</p> ปริญญา พันสอน , กฤษดา ประชุมราศี Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/269981 Tue, 26 Mar 2024 00:00:00 +0700 การจัดการปัญหาการโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายของคลินิกเวชกรรมที่ให้บริการเสริมความงาม จังหวัดมหาสารคาม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/268262 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม วิธีการวิจัยใช้ระเบียบวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาหลัก ของการโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ของจังหวัดมหาสารคาม คือผู้ประกอบการอาศัยช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะช่องทางเฟซบุ๊กใช้ชื่อสถานพยาบาลของตนกระทำการโฆษณา เพื่อประโยชน์ทางการค้าและแสวงหาผลประโยชน์เพื่อให้ได้มีผู้มารับบริการมากขึ้น ดังนั้น ควรมีการจัดการในเชิงรุกให้มีหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มเติม ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อร่วมกันให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น ข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่า หากได้จัดทำคู่มือปฏิบัติงานพิจารณาอนุมัติ การโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาลให้เป็นปัจจุบัน ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ตลอดจนมีระบบการตรวจสอบโฆษณาออนไลน์ หรือ นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ตรวจจับข้อความโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตที่ผิดกฎหมาย และประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้เข้าใจ ตระหนักรู้ถึงการโฆษณาผลิตภัณฑ์และสถานพยาบาลที่เข้าข่ายผิดกฎหมายให้รับรู้มากยิ่งขึ้น</p> อาภากร เขจรรักษ์, นพดล มุสิก Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/268262 Sun, 21 Apr 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับท้องถิ่นเพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : กรณีศึกษาลุ่มน้ำลำตะคอง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/270580 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เสนอแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับท้องถิ่น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: กรณีศึกษาลุ่มน้ำลำตะคอง ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่ในการวิจัยกำหนดเกณฑ์ตามความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำโดยแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ มีความอุดมสมบูรณ์มาก ปานกลาง และน้อย เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์กลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก ตามแนวทางการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ได้แก่ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้อาวุโสในชุมชน จำนวน 30 คน และบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับท้องถิ่น ประกอบด้วย การใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำ การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ การกำกับดูแลและการควบคุมทรัพยากรน้ำ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ</p> วรัชยา เชื้อจันทึก, สุวิมล ตั้งประเสริฐ, สุชาดา น้ำใจดี, ทิพยา ถินสูงเนิน, มัตติกา ชัยมีแรง Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/270580 Sun, 21 Apr 2024 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมตามแนวทางบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) กรณีศึกษา ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/270071 <p>การวิจัย เรื่อง การมีส่วนร่วมตามแนวทางบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) กรณีศึกษา ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกิจกรรมชุมชนของบ้าน วัด โรงเรียน ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นประชาชน (บ้าน) จำนวน 365 คน คิดเป็นร้อยละ 94.56 เพศหญิง จำนวน 211 คน คิดเป็นร้อยละ 54.66 มีอายุ 51-60 ปี จำนวน 121 คน คิดเป็นร้อยละ 31.35 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 24.61 มีการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 186 คน คิดเป็นร้อยละ 48.19 อาศัยอยู่ชุมชน มากกว่า 10 ปี จำนวน 262 คน ภาพรวมระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ( = 3.55, S.D. = 1.07) โดยการมีส่วนร่วมนั้นจะมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามบทบาทที่ในชุมชน กล่าวคือ วัดจะมีบทบาทหลักในการประสานภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน ให้สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางทางด้านจิตใจแก่ชุมชน และเป็นพื้นที่ในการพบปะแก่คนในชุมชน ส่วนโรงเรียนเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการสนับสนุนข้อมูล การดำเนินกิจกรรมและข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ รวมถึงการกำหนดแนวทางในการทำงานร่วมกัน และชุมชนมีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมที่จะดำเนินการ โดยมีกลุ่มผู้นำชุมชน ทั้งผู้นำที่เป็นทางการและผู้นำที่ไม่เป็นทางการในการประสานให้คนในชุมชนให้เกิดการทำกิจกรรมร่วมกัน ประสานประโยชน์ทุกภาคส่วน และบรรลุเป้าหมายในการดำเนินงานทุกกิจกรรม</p> สุทธิรักษ์ นามวงษ์, อาริยา ป้องศิริ, พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/270071 Sun, 21 Apr 2024 00:00:00 +0700 การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/269673 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ 2) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจากการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน (Mixed methods) คือการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยสุ่มด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling Random) จำนวน 320 คน คือ ผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลคูเมือง และเทศบาลตำบลหินเหล็กไฟ และผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 16 คน ได้แก่ นายกเทศมนตรี และรองนายกเทศมนตรี และนักบริหารงานทั่วไป จำนวน 5 คน โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ระดับของการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ภาพรวมในระดับปานกลาง ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจากการจัดสวัสดิการมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ คือ การเพิ่มสวัสดิการด้านเบี้ยยังชีพ และการตรวจสุขภาพประจำปี</p> <p> </p> ภิญโญ สร่างไธสง , วินัย ผลเจริญ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/269673 Sun, 21 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนสามัญ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเขตกรุงเทพมหานคร https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/269549 <p>งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนสามัญของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากปัจจุบันพบว่าจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรีมีสัดส่วนในการเลือกเข้ารับราชการพลเรือนสามัญน้อยกว่าที่ควร โดยการศึกษาวิจัย มุ่งเน้นการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและค้นหาแนวทางการสร้างประสิทธิภาพเพื่อการเสริมหนุนต่อการเลือกเข้ารับราชการพลเรือนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี หรือที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาสุดท้ายของแต่ละหลักสูตรในระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ด้วยการสำรวจเชิงปริมาณ ผ่านแบบสอบถาม จำนวนทั้งสิ้น 836 คน และเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ จำนวน 30 คน จากผู้แทนนักศึกษาสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความแตกต่างทางเพศมิได้ส่งผลต่อการเลือกสมัครเข้ารับราชการพลเรือนเมื่อสำเร็จการศึกษา 2) ค่าตอบแทนเป็นปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อการเลือกสมัครเข้ารับราชการของนักศึกษาสำเร็จการศึกษาใหม่ในระดับสูงสุด 3) ปัจจัยจากความสนใจเฉพาะด้านของตัวนักศึกษาคือแรงขับภายในที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนสามัญ 4) ปัจจัยด้านวิถีชีวิต และวัฒนธรรมการทำงานเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการพลเรือนในระดับรองลงมา 5) ภาครัฐควรเสริมประสิทธิภาพนโยบายการสรรหาบุคคล โดยคำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของแต่ละช่วงวัยเป็นหลัก เพื่อให้ตอบสนองได้ตรงจุด และสามารถดึงดูดบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่ภาครัฐ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเชิงนโยบาย คือ ภาครัฐควรเน้นการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับค่าครองชีพ จัดให้มีสวัสดิการใหม่ ๆ หรือสวัสดิการทางเลือกที่คำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งาน และยังคงให้ความสำคัญกับความมั่นคงในการทำงานอย่างต่อเนื่อง</p> ธรรมศักดิ์ โชคชัยเจริญพร, สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/269549 Sun, 21 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน ศึกษากรณี พื้นที่ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/270232 <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน บ้านนาเหนือ หมู่ที่ 14 ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 296 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ตอนที่ 2 ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการศึกษา มีผู้ตอบแบบสอบถาม 116 คน คิดเป็นร้อยละ 39.18 ทุน 5 มิติ ด้านทุนมนุษย์ พบว่า ทักษะที่สร้างรายได้ มีผู้ไม่ตอบมากที่สุด 87 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 ด้านทุนกายภาพ พบว่า ทุกคนมีบ้านของตัวเอง ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ใช้น้ำประปาของทางเทศบาลเป็นผู้จัดหาให้ ไม่มีปัญหากับพื้นที่ทำกิน จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านทุนการเงิน พบว่า รายจ่ายครัวเรือนจะจ่ายเพื่อการบริโภค จ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟฟ้า จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านทุนทรัพยากรธรรมชาติ พบว่า ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการยังชีพ จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 93.10 และด้านทุนทางสังคม พบว่า ชุมชนมีกติกาหรือกฎระเบียบที่ใช้ร่วมกันในชุมชน, ชุมชนมีการจัดการปัญหาความขัดแย้งของชุมชน จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนภาพรวมปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน อยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 59.04 (X) =2.91 S.D= 0.75) และปัจจัยภายใน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 62.18 (X) =3.09 S.D= 0.77)</p> สิรินดา กมลเขต, พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม, จริยา อินทนิล, อาริยา ป้องศิริ, ปาริชา มารี เคน, โสภณ มูลหา, อธิพงษ์ ภูมีแสง, พรพิมล พิมพ์แก้ว Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/270232 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลนาจารย์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/273702 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับสมรรถนะบุคลากรและเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลนาจารย์ อำเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามสำรวจ จำนวน 47 ชุด และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 8 คน พบว่า ภาพรวมระดับสมรรถนะหลักของบุคลากรเทศบาลตำบลนาจารย์ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นในงานของบุคลากรเทศบาลตำบลนาจารย์ ด้านสมรรถนะ “การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม” อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅&nbsp;&nbsp; = 4.53, S.D.= 0.58) ส่วนสมรรถนะที่ต้องมีแนวทางการพัฒนาต่อไปคือ สมรรถนะ “การมุ่งผลสัมฤทธิ์” อยู่ในระดับมาก (X ̅&nbsp;&nbsp; = 4.10, S.D.= 0.62) ตามลำดับ ในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ บุคลากรของเทศบาลตำบลนาจารย์ ต้องได้รับการฝึกอบรม ศึกษาดูงานนอกสถานที่ พัฒนาเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ มีพี่เลี้ยงคอยกำกับดูแล ติดตามประเมินผลงานอย่างสม่ำเสมอและใกล้ชิด รวมถึงพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม มีการกำหนดเป้าหมาย หรือกำหนดเป็นแผนแนวทางในการพัฒนาต่อไป</p> <p>&nbsp;</p> ผกาสรณ์ ศรีสว่างวงศ์ , อาริยา ป้องศิริ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/273702 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 มาตรการการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินราชพัสดุในเขตตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/270796 <p>มาตรการการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินราชพัสดุเป็นวิธีการรัฐนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินราชพัสดุของประชาชนที่เข้าไปถือครองที่ดินราชพัสดุโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายให้สามารถถือครองที่ดินอย่างถูกกฎหมาย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ จากการสอบถามประชาชนเป็นผู้เช่าที่ดินราชพัสดุในเขตตำบลแคมป์สน จำนวน 200 คน และการสัมภาษณ์ใน การวิจัยเชิงคุณภาพกับผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ประชาชนที่เป็นผู้เช่าที่ดินราชพัสดุในเขตตำบลแคมป์สน จำนวน 200 คน ประชากรของงานวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 7 คน ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินราชพัสดุในระดับน้อย ประชาชนมีปัญหาและอุปสรรคในการใช้มาตรการการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินราชพัสดุในระดับปานกลาง ประชาชนเห็นด้วยมากกับแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการใช้มาตรการการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินราชพัสดุ และผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลทราบว่าเป็นมาตรการทางด้านสังคมที่ทางราชการกำหนดไว้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือราษฎรที่อยู่อาศัยและทำกินในที่ราชพัสดุ ให้ได้อยู่อาศัยและทำกินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และควรมีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจนและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน</p> ไพจิตร เลพล, วุฒิพงศ์ บัวช้อย, สุภัทธนีย์ ขุนสิงห์สกุล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/270796 Mon, 22 Apr 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271224 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะ และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ วิธีการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 47 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ รองศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่ม/หน่วย จำนวน 5 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะในการปฏิบัติงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการปฏิบัติงาน ด้านความรู้ พบว่า ควรจัด ส่งอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง ด้านทักษะ พบว่า ต้องอาศัยการลงมือฝึกปฏิบัติและฝึกใช้ความรู้ทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนภาคปฏิบัติ และที่สำคัญต้องมีการติดตามประเมินผล ด้านเจตคติ/ค่านิยม พบว่า ควรฝึกอบรมปลูกจิตสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรม และส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้ ข้อเสนอแนะงานวิจัย ดังนี้ ด้านความรู้ ควรมีการอบรม สัมมนา เพื่อเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ด้านทักษะ ควรมีการอบรม สัมมนา เพื่อเสริมสร้างทักษะในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ด้านเจตคติ/ค่านิยม ควรจัดกิจกรรม โครงการ เพื่อกระตุ้นให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน</p> เอมอร พิมพโส, อาริยา ป้องศิริ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271224 Tue, 23 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความสำเร็จในการบริหารตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาการศึกษา ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271255 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการบริหารงานตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กลุ่มประชากร ประกอบด้วย บุคลากรในหน่วยงานทางการศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดกาฬสินธุ์ที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคำถามเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ เป็นแบบสอบถามปลายเปิด ผลการวิจัย พบว่า ความสำเร็จในการบริหารตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่ามากที่สุด 4 ด้าน คือ ด้านการประสานงาน ด้านเทคโนโลยี ด้านวัสดุ และด้านโครงสร้างองค์กร รองลงมาคือ ด้านงบประมาณ มีค่าอยู่ในระดับมาก ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ด้านงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณเกิดความล่าช้า และการเบิกจ่ายงบประมาณมีหลายขั้นตอน ด้านวัสดุ วัสดุอุปกรณ์ล้าสมัยและเกิดการชำรุดเสียหาย ด้านโครงสร้างองค์กร มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของส่วนราชการบางแห่งส่งผลให้การดำเนินงานขาดความต่อเนื่อง ด้านเทคโนโลยี ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์บางเครื่องเก่า ระบบอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร ด้านการประสานงาน ขาดการบูรณาการทำงานร่วมกัน</p> <p> </p> สุมาลี ลำเพย, อาริยา ป้องศิริ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271255 Tue, 23 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเมืองขอนแก่นตามแนวคิดการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ กรณีศึกษา ย่านศรีจันทร์สร้างสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271286 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและสภาพปัจจุบันในการพัฒนาย่านศรีจันทร์สร้างสรรค์ อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น และ 2) เพื่อถอดบทเรียนและเสนอแนวทางในการดำเนินงานของการพัฒนาย่านศรีจันทร์สร้างสรรค์เป็นการวิจัยเชิงแบบผสมระหว่างการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในส่วนของการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) มีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และการพัฒนาที่ผ่านมา ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้ทำการสำรวจและศึกษาโครงการย่านศรีจันทร์สร้างสรรค์ การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการประชุมกลุ่มย่อย (Group Discussion) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาย่านสร้างสรรค์ในเมืองขอนแก่น ได้มีการดำเนินการที่เรียกว่า ย่านสร้างสรรค์ศรีจันทร์ ซึ่งย่านนี้เคยเป็นถนนสายสำคัญหลักของเมืองขอนแก่น เป็นศูนย์กลางหลัก และเป็นที่ตั้งของทั้งศูนย์ราชการ มีธุรกิจการค้าต่าง ๆ เมื่อศูนย์ราชการย้ายออกไป และเมืองเจริญเติบโตมีการขยายตัวเมืองออกไป ทำให้ธุรกิจการค้าในย่านศรีจันทร์ซบเซา การพัฒนาย่านศรีจันทร์ ได้มีการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่หลากหลายรูปแบบ ส่งผลให้โครงการนี้ช่วยทำให้ย่านศรีจันทร์มีการพัฒนา และกลับมามีชีวิตชีวามากขึ้น ปัจจัยและเงื่อนไขที่นำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานของการพัฒนาย่านศรีจันทร์สร้างสรรค์ ประกอบด้วย 1) ความพร้อมและศักยภาพของพื้นที่ 2) การเริ่มต้นที่ค้นหาปัญหาและความต้องการเพื่อหาแนวร่วมการ 3) สร้างการมีส่วนร่วมและความร่วมมือในการทำงาน 4) การสนับสนุนจากภาคีที่เกี่ยวข้องและทรรศนะของหน่วยงานภายนอกที่มีต่อเมือง และ 5) การยอมรับของชุมชน ผู้ประกอบการ ร้านค้า และประชาชน</p> นวลจันทร์ วรรณพราหมณ์, ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271286 Tue, 23 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการขอเลื่อนวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271452 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ และแนวทางการพัฒนาการขอเลื่อนวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ วิธีการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการครู ที่ยื่นคำขอเลื่อนวิทยฐานะ จำนวน 73 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล ผู้อำนวยการสถานศึกษา ข้าราชการครู รวมจำนวน 5 คน ผลวิจัยพบว่า 1) การรับรู้การขอเลื่อนวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการขอเลื่อนวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) แนวทางในการพัฒนาการขอเลื่อนวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ 1) สำนักงาน ก.ค.ศ. ควรพัฒนาระบบให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น เพิ่มกรรมการให้เพียงพอ และสร้างความเข้าใจให้กรรมการประเมินเพื่อให้ผลการประเมินมีคุณภาพ 2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรจัดอบรมการเขียนแผนการเรียนรู้ การทำไฟล์วีดีทัศน์ และผลลัพธ์ เพื่อให้ตรงกับระดับความคาดหวังตามตำแหน่งและวิทยฐานะที่ยื่นคำขอและองค์ประกอบการประเมิน</p> รุจิรา สระทอง, จริยา อินทนิล, พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271452 Tue, 23 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271355 <p>การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ<br />ของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อให้ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชน ในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียนศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวนทั้งสิ้น 233 คน จาก 4 โรงเรียน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน จำนวน 4 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นในการตัดสินใจของผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครอง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.962 นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชน ในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียนศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ มุ่งเน้นที่การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับตัวผู้เรียน เพิ่มและเสริมทักษะให้กับผู้เรียนในด้านวิชาการรองลงมาคือการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น</p> สุพินดา คำภักดี, จริยา อินทนิล Copyright (c) 2024 http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/271355 Tue, 23 Apr 2024 00:00:00 +0700