https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/issue/feed Graduate Law Journal 2024-03-27T10:52:03+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ [email protected] Open Journal Systems <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>บัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำวารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ (Graduate Law TU Journal) ขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดถึงนักวิชาการ นักวิจัย และผู้สนใจภายนอก ได้นำเสนอและเผยแพร่ผลงานบทความวิจัย บทความวิทยานิพนธ์ หรือบทความวิชาการรูปแบบอื่น ๆ สู่วงการนิติศาสตร์และสาธารณชนทั่วไป อันจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าแก่ วงวิชาการ ตลอดถึงการนำไปประยุกต์ปฏิบัติใช้ในวงวิชาชีพ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมและประเทศชาติต่อไป</p> https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/270545 ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการค้าของเก่า ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 กับมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2023-12-20T14:44:40+07:00 ณัฐพร เศวตะดุล [email protected] <p>พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 เป็นกฎหมายฉบับหนึ่งที่มีการใช้บังคับมาอย่างยาวนาน ซึ่งถูกใช้มาแล้วมากกว่า 90 ปี โดยตั้งแต่มีการตราพระราชบัญญัติออกมาใช้บังคับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 ไม่เคยมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ในสาระสำคัญแต่อย่างใด ทำให้บทบัญญัติของกฎหมายมีความไม่สอดคล้องกับสภาพของสังคมและรูปแบบของกิจการที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากการการพัฒนาขึ้นของเทคโนโลยี โดยในปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 มีหลักการสำคัญคือ รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน</p> <p>จากการศึกษาพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 พบว่ากฎหมายมีปัญหาหลัก ๆ อยู่ด้วยกัน 4 ประเด็น ดังนี้</p> <ol> <li>ความไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน ซึ่งปัญหาหลักเกิดจากการวางนิยามในกฎหมายที่ไม่ชัดเจน จนทำให้ขอบเขตของกฎหมายกว้างมากเกินไปจนกลายเป็นสร้างภาระในการประกอบอาชีพของประชาชน</li> <li>ปัญหาข้อจำกัดของวิธีการในการประกอบอาชีพ ซึ่งเกิดจากข้อกำหนดในด้านสถานที่ที่ยังไม่สามารถรองรับรูปแบบของกิจการในปัจจุบัน เช่น ร้านค้าออนไลน์ หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่มีหน้าร้าน</li> <li>ปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อกำหนดของใบอนุญาต ซึ่งมีประเด็นทั้งในแง่ของการต้องขอใบอนุญาตของสถานที่ประกอบกิจการทุกแห่ง การกำหนดอายุและประเภทของใบอนุญาต รวมไปถึงการกำหนดค่าธรรมเนียม</li> <li>ความไม่สอดคล้องกับกฎหมายอื่น โดยที่มีปัญหาทั้งในแง่ของการที่ต้องมีการขอใบอนุญาตซ้ำซ้อน<br />กับกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายว่าด้วยของโบราณ หรือในแง่ของความไม่สอดคล้องกับกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายว่าด้วยการขายตรงและการตลาดแบบตรง เป็นต้น</li> </ol> <p>จากภาพรวมที่ได้กล่าวมาจึงสรุปได้ว่าพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 เป็นกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญฯ แต่เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้<br />ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีการบังคับใช้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคมในการควบคุมไม่ให้ร้านค้าเหล่านี้กลายเป็นแหล่งซื้อขายสินค้าที่ได้มาจากการลักขโมย หรือเป็นแหล่งในการฟอกเงิน รวมไปถึงการส่งเสริมกิจการเหล่านี้ไปด้วยในตัว จึงสมควรที่จะปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวให้มีความทันสมัยขึ้นและสามารถรองรับรูปแบบการประกอบกิจการใหม่ ๆ ในปัจจุบันและอนาคตได้ โดยต้องมีการวางหลักการในภาพรวมให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นรวมไปถึงการปรับเปลี่ยนข้อกำหนดในด้านสถานที่อันเป็นข้อจำกัดของรูปแบบการประกอบกิจการ และมีการปรับปรุงข้อกำหนดของใบอนุญาตเสียใหม่ รวมไปถึงแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายหรือความไม่สอดคล้องกับกฎหมายอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน</p> 2024-03-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/267318 หน้าที่และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีหน้าที่และอำนาจด้านสาธารณสุข 2023-06-02T10:24:05+07:00 ณัฐยศ อาจหาญ [email protected] <p>บทความเรื่องนี้เป็นการศึกษาถึงปัญหาหน้าที่และอำนาจด้านสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยที่ยังไม่มีการกระจายอำนาจเท่าที่ควร โดยผู้ศึกษาจะทำการศึกษาภายใต้ขอบเขตของเฉพาะเรื่อง การจัดตั้งโรงพยาบาลการจัดหาวัคซีนและยารักษาโรคการควบคุม การแพทย์ฉุกเฉิน และศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและการระงับโรคติดต่อในสัตว์ การจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การควบคุมมลพิษทางอากาศ โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบกับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศ จำนวน 2 ประเทศ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกาในบริบทมิติทางกฎหมาย</p> <p>จากการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศนั้นมีหน้าที่และอำนาจด้านสาธารณสุขที่หลากหลายกว่าประเทศไทย ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีการการบัญญัติเรื่อง “หลักความสามารถทั่วไป” ประกอบกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีการบัญญัติในลักษณะของการยืนยันความชัดเจนในหน้าที่และอำนาจด้านสาธารณสุขของท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีการบัญญัติในลักษณะของการแบ่งแยกหน้าที่และอำนาจระหว่างรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันไว้อย่างชัดเจน อันเป็นผลทำให้เกิดการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น ขณะที่ประเทศไทยนั้น ยังมิได้มีการบัญญัติเรื่อง “หลักความสามารถทั่วไป” และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านสาธารณสุขนั้นยังมิได้มีการบัญญัติให้อำนาจในบางเรื่องจึงทำให้ยังไม่เกิดการกระจายอำนาจเท่าที่ควร และทำให้ยังไม่มีหน้าที่ที่หลากหลาย ทั้งนี้ การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยยังมีอำนาจที่จำกัด นอกจากมิติในด้านกฎหมายที่แล้วนั้น ยังมีมิติในด้านอื่น ๆ เช่น ศักยภาพของท้องถิ่นในการดำเนินการ ด้านงบประมาณ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้น ๆ</p> <p>ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการตรากฎหมายกลางที่มีการบัญญัติหลักการแบ่งหน้าที่และอำนาจ และ“หลักความสามารถทั่วไป” ไว้ในกฎหมาย ให้มีการศึกษา รวบรวมและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านสาธารณสุขเพื่อก่อให้เกิดการกระจายอำนาจ ในส่วนของวิธีการใช้อำนาจควรที่จะมีการแก้บทบัญญัติของกฎหมายซึ่งมีการบัญญัติไว้เป็นเวลานานและยังไม่ได้รับการแก้ไขให้เป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน โดยกำหนดให้การร่วมมือในการจัดทำบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขในรูปแบบของการจัดตั้งสหการนั้นไม่จำกัดเพียงแต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับหรือประเภทเดียวกันเท่านั้น แต่ควรให้องค์กรปกครองท้องถิ่นทุกประเภทสามารถที่จะร่วมมือในการจัดทำบริการสาธารณสุขได้ ทั้งนี้ข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นไปในเชิงมิติของกฎหมาย ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขในมิติอื่น ๆ เช่น ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร เป็นต้น ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป</p> <p> </p> <p> </p> 2024-03-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/268611 ปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการระดมทุน เสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อสาธารณชน 2023-07-18T16:36:34+07:00 ปัฐมาภรณ์ สินทรัพย์ [email protected] <p>ปัจจุบันเงินสกุลดิจิทัลได้รับความนิยมใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเพื่อการลงทุนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น ผู้ประกอบการรายใหม่ (Startup) ซึ่งเป็นบริษัทหรือองค์กรที่มีแนวคิดในการสร้างโครงการใหม่ ๆ ได้มีการนำเงินสกุลดิจิทัลไปใช้เป็นเครื่องมือในการระดมทุน เพื่อเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อสาธารณชนและก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินขึ้น ซึ่งภาครัฐได้ตระหนัก ถึงความสำคัญในการควบคุมกำกับการระดมทุนเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อสาธารณชนให้เป็นระบบที่มีมาตรฐานและกำหนดหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองนักลงทุน ซึ่งเป็นที่มาของการตราพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 รวมตลอดถึงการมีมาตรการจัดเก็บภาษีเงินได้ โดยการตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2561 และในภายหลังกรมสรรพากรได้ออกคู่มือคำแนะนำการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คริปโทเคอร์เรนซี โทเคนดิจิทัลเพื่อสร้างความชัดเจนสำหรับแนวทางปฏิบัติและการจัดเก็บภาษีให้มากยิ่งขึ้น</p> <p>อย่างไรก็ตาม การตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2561 และคู่มือการเสียภาษีเงินได้ดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมและขาดความชัดเจนเกี่ยวกับ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการระดมทุนเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อสาธารณชนอยู่หลายประการ </p> <p>ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษามาตรการในการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการระดมทุนเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อสาธารณชนของประเทศไทยตามประมวลรัษฎากรและทำการศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศสิงคโปร์ที่มีมาตรการในการจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคลอย่างเป็นระบบและจัดเก็บภาษีได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะของโทเคนดิจิทัลประเภทต่าง ๆ พร้อมทั้งวิเคราะห์สภาพปัญหาและนำมาสู่แนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยผู้เขียนเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรกำหนดนิยามความหมายของโทเคนดิจิทัลแต่ละประเภทให้มีความชัดเจนมากขึ้นเพื่อสะท้อนถึงสิทธิที่กำหนดไว้ในโทเคนดิจิทัลและลักษณะของการเป็นเครื่องมือทางการเงิน</p> <p> </p> 2024-03-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/267805 การคุ้มครองบุคคลโดยคำสั่งห้ามเข้าใกล้ 2023-06-05T22:57:04+07:00 ภูริชญา ไทรงาม [email protected] <p>วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาเรื่องมาตรการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลจากเหตุอาชญากรรมในกรณีที่การกระทำความผิดยังไม่เกิดขึ้นของประเทศไทย กล่าวคือ การคุ้มครองบุคคลจากเหตุอาชญากรรมนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐ สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐจะมอบให้แก่ประชาชนในประเทศ เป็นพันธะเชิงบวกของเจ้าหน้าที่รัฐในการใช้มาตรการป้องกันเพื่อปกป้องบุคคลที่ชีวิตมีความเสี่ยงจากการกระทำความผิดทางอาญาของบุคคลอื่น ซึ่งมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการก่ออาชญากรรมมากที่สุดคือ การกำหนดโทษทางอาญา เมื่อมีผู้ใดกระทำการอันใดที่กฎหมายห้าม ผู้นั้นต้องถูกลงโทษ เป็นการควบคุมอาชญากรรมโดยอาศัยความรุนแรงของบทลงโทษทางอาญา แต่ทั้งนี้ การควบคุมการก่ออาชญากรรมในรูปแบบดังกล่าว เป็นการที่รัฐเข้ามาควบคุมหลังจากเกิดการกระทำความผิดและความเสียหายไปแล้ว บางความเสียหายก็ไม่อาจได้รับการชดเชยได้ด้วยการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ การควบคุมการ ก่ออาชญากรรมหรือการป้องกันอาชญากรรมที่ควรจะเป็นคือ การลดช่องทางหรือโอกาสของการกระทำความผิด สกัดกั้นมิให้มีการกระทำความผิดใดๆ เกิดขึ้น ในประเทศไทยมีคำสั่งคุ้มครองบุคคลจากเหตุอาชญากรรมแม้การกระทำความผิดยังไม่เกิดก็จริง แต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของคำสั่งนั้นยังไม่ชัดแจ้งและไม่ครอบคลุม จำกัดสิทธิ ในการร้องขอเป็นเพียงของพนักงานอัยการเท่านั้น มิได้ให้โอกาสผู้เสียหายหรือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้ใช้สิทธิดังกล่าวเพื่อตนเอง อีกทั้งสภาพบังคับของคำสั่งคุ้มครองนั้นยังไม่หนักแน่นเพียงพอที่จะควบคุมการกระทำของผู้กระทำได้ ส่งผลให้อาชญากรรมยังคงเกิดขึ้นต่อไป ตามประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้วิธีการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลียตะวันตก และประเทศอังกฤษ ซึ่งปรากฎว่าทั้งสองประเทศนั้นล้วนมีมาตรการคุ้มครองบุคคลจากเหตุอาชญากรรมในกรณีที่การกระทำความผิดยังไม่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ด้วยเหตุเช่นนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักเกณฑ์เงื่อนไขของมาตรการดังกล่าว เพื่อนำมาเสนอให้กับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ในประเทศออสเตรเลียตะวันตกและประเทศอังกฤษได้ให้สิทธิแก่ผู้เสียหายหรือเหยื่อในการร้องขอให้มีการคุ้มครอง ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่กำหนดไว้เพียงพนักงานอัยการและศาลหลักเกณฑ์ในการร้องขอให้มีคำสั่งคุ้มครองของประเทศออสเตรเลียตะวันตกถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าการกระทำลักษณะใดบ้างที่สามารถร้องขอได้ ซึ่งต่างจากประเทศอังกฤษ ที่กำหนดไว้อย่างกว้าง และให้ภาระการพิสูจน์ตกเป็นฝ่ายผู้ร้องขอในการแสดงให้ศาลเห็นว่าผู้ร้องเดือดร้อนหรือได้รับอันตรายอย่างไร และในส่วนของสภาพบังคับของคำสั่งนั้น ทั้งสองประเทศกำหนดไว้ตรงกันคือ คำสั่งคุ้มครองนั้นมิได้มีสภาพเป็นคำสั่งหรือโทษทางอาญา แต่หากมีการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลเมื่อใด เมื่อนั้นถือว่ากระทำความผิดอาญาและต้องถูกระวางโทษทางอาญา โดยความหนักเบาของโทษนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำประเทศไทยจึงควรแก้ไขและปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมาตรการคุ้มครองบุคคลจากเหตุอาชญากรรมในกรณีที่การกระทำความผิดยังไม่เกิดขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการคุ้มครองประชาชนและความแน่นอนในการบังคับใช้กฎหมาย</p> 2024-03-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/267927 มาตรการทางอาญาในการแก้ไขปัญหาการคัดลอกผลงานทางวิชาการ 2023-06-26T14:37:41+07:00 ภูษณ วิบูลย์มา [email protected] <p>บทความนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตทางวิชาการกรณีการคัดลอกผลงานทางวิชาการซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เนื่องจากผู้คัดลอกผลงานทางวิชาการไม่ได้พัฒนาความรู้ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการจากการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการจัดทำผลงานทางวิชาการ ยิ่งไปกว่านั้นการคัดลอกผลงานทางวิชาการยังส่งผลกระทบต่อผู้ที่ถูกคัดลอกผลงานซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของเจ้าของผลงาน และส่งผลกระทบต่อผู้ที่ถูกหลอกลวงจากการนำผลงานทางวิชาการที่เกิดจากการคัดลอกผลงานไปใช้หลอกลวงเพื่อแสวงหาประโยชน์ เช่น การนำผลงานทางวิชาการที่เกิดจากการคัดลอกผลงานไปใช้เพื่อเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา การขอตำแหน่งทางวิชาการหรือตำแหน่งอื่น การขอเลื่อนวิทยฐานะ การขอให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินอื่นในระดับที่สูงขึ้น หรือการนำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์อื่น เพราะฉะนั้นจากปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวการคัดลอกผลงานทางวิชาการจึงเป็นปัญหาสำคัญที่สมควรได้รับการแก้ไขภายใต้แนวความคิดว่าจะสามารถนำมาตรการทางอาญามาใช้แก้ไขปัญหาการคัดลอกผลงานทางวิชาการได้หรือไม่อย่างไร และผู้คัดลอกผลงานทางวิชาการจะต้องมีความรับผิดทางอาญาหรือไม่เพียงใด</p> <p>ตามปัญหาดังกล่าว บทความนี้ใช้วิธีการศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกรณีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ ศึกษาถึงสภาพปัญหาการคัดลอกผลงานทางวิชาการและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการคัดลอกผลงานทางวิชาการ ประกอบกับการศึกษาและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบันที่ใช้บังคับกับกรณีการคัดลอกผลงานทางวิชาการว่ามาตรการดังกล่าวมีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการแก้ไขปัญหาการคัดลอกผลงานทางวิชาการหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับการดำเนินการในต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาเหตุผลและความจำเป็นในการนำมาตรการทางอาญามาใช้แก้ไขปัญหาการคัดลอกผลงานทางวิชาการ โดยการกำหนดความผิดอาญาฐานคัดลอกผลงานทางวิชาการสำหรับประเทศไทยอย่างเหมาะสมกับลักษณะของการกระทำความผิด</p> <p>จากการศึกษาและวิเคราะห์พบว่าการคัดลอกผลงานทางวิชาการเป็นการกระทำที่น่าตำหนิ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น และไม่มีมาตรการอื่นที่เหมาะสมกว่าการใช้มาตรการทางอาญา ดังนั้น จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าวบทความนี้จึงเสนอให้นำมาตรการทางอาญามาใช้สำหรับการแก้ไขปัญหาการคัดลอกผลงานทางวิชาการในประเทศไทย รวมไปถึงเสนอมาตรการอื่นที่จะช่วยส่งเสริมการใช้มาตรการทางอาญาในการแก้ไขปัญหาการคัดลอกผลงานทางวิชาการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อนำแนวทางดังกล่าวมาใช้แก้ไขปัญหาการทุจริตทางวิชาการกรณีการคัดลอกผลงานทางวิชาการในประเทศไทยให้ประสบผลสำเร็จต่อไป</p> 2024-03-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/267974 ปัญหาทางกฎหมายของคำสั่งกำหนดมาตรการชั่วคราวในกฎหมายการแข่งขันทางการค้า 2023-06-11T19:38:56+07:00 วริทธิ์ธร ศรีสวัสดิ์ [email protected] <p>บทความนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายของคำสั่งกำหนดมาตรการชั่วคราวในกฎหมายการแข่งขันทางการค้า ซึ่งเป็นมาตรการที่ทำให้องค์กรกำกับการแข่งขันทางการค้าสามารถเยียวยาสภาพการแข่งขันในตลาดหรือผู้ประกอบธุรกิจในตลาดที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมอันเป็นการจำกัดการแข่งขันได้อย่างทันท่วงทีในระหว่างที่กรณีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ซึ่งในปัจจุบันกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของไทยให้อำนาจคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าในการออกคำสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจระงับ หยุด แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงการกระทำ รวมทั้งมีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขใด ๆ เท่าที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย คือมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 อย่างไรก็ตามบทบัญญัติดังกล่าว มิได้กำหนดไว้โดยชัดเจนว่าให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้ามีอำนาจในการออกคำสั่งกำหนดมาตรการชั่วคราวได้หรือไม่ นอกจากนี้เมื่อการใช้อำนาจออกคำสั่งเป็นการใช้อำนาจทางปกครอง กรณีจึงมีปัญหาที่ต้องพิจารณาถึงสถานะของคำสั่งดังกล่าวว่าเป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่ รวมไปถึงความเหมาะสมในการนำพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นกฎหมายกลางในการพิจารณาออกคำสั่งทางปกครองมาใช้บังคับกับการพิจารณาออกคำสั่งดังกล่าวโดยเฉพาะเรื่องการเปิดโอกาสให้คู่กรณีมีสิทธิโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนหรือสิทธิที่จะได้รับฟังของคู่กรณี</p> <p>ในประเด็นปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนได้ศึกษาถึงหลักการพื้นฐานในการใช้อำนาจทางปกครองที่เป็นการออกคำสั่ง ในกฎหมายการแข่งขันทางการค้า ประกอบกับแนวทางและเงื่อนไขในการใช้อำนาจออกคำสั่งกำหนดมาตรการชั่วคราวขององค์กรกำกับการแข่งขันทางการค้าในต่างประเทศ ทำให้เห็นว่า กฎหมายฉบับปัจจุบันไม่ได้ให้อำนาจคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าในการออกคำสั่งกำหนดมาตรการชั่วคราวได้ แต่อย่างไรก็ตาม การให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้ามีอำนาจในการออกคำสั่งกำหนดมาตรการชั่วคราวเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเพื่อให้สามารถระงับยับยั้งพฤติกรรมอันเป็นการจำกัดการแข่งขันทางการค้าได้อย่างทันท่วงที จากการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศจึงควรกำหนดให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้ามีอำนาจออกคำสั่งกำหนดมาตรการชั่วคราวได้ภายใต้เงื่อนไขในการใช้อำนาจหรือกำหนดองค์ประกอบส่วนเหตุในการออกคำสั่งเฉพาะกรณีจำเป็นเร่งด่วนหากเนิ่นช้าไปอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์ของผู้บริโภคหรือตลาดใดตลาดหนึ่งหรือผู้ประกอบธุรกิจอื่น นอกจากนี้ แม้ว่าคำสั่งในลักษณะดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนในการตระเตรียมเพื่อออกคำสั่งทางปกครอง แต่คำสั่งกำหนดมาตรการชั่วคราวมีผลในระดับที่รุนแรงจนถึงขนาดแยกออกจากคำสั่งทางปกครองในบั้นปลายและดำรงอยู่โดยตัวของตัวเองได้ ดังนั้น คำสั่งกำหนดมาตรการชั่วคราวจึงมีสถานะเป็นคำสั่งทางปกครอง และการพิจารณาออกคำสั่งต้องถูกบังคับตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แต่การนำกฎหมายฉบับดังกล่าวมาบังคับใช้กับการพิจารณาออกคำสั่งดังกล่าวโดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิของคู่กรณีในการโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน โดยสภาพย่อมมีเหตุตามข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจัดให้มีการรับฟังคู่กรณีก่อนออกคำสั่งตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เนื่องจากเป็นคำสั่งที่ออกในกรณีจำเป็นเร่งด่วน จากการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศประกอบกับลักษณะและผลของคำสั่งแล้ว คำสั่งดังกล่าวจำต้องวินิจฉัยพฤติกรรมอันเป็นการจำกัดการแข่งขันทางการค้าโดยใช้ความเชี่ยวชาญและเทคนิคเฉพาะทาง รวมทั้งมีผลเป็นการจำกัดการใช้เสรีภาพในการประกอบธุรกิจของผู้รับคำสั่ง ดังนั้น จึงไม่สมควรที่จะใช้ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องรับฟังคู่กรณีก่อนออกคำสั่งทางปกครองดังกล่าวและควรกำหนดให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าต้องจัดให้คู่กรณีมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านก่อนการออกคำสั่งดังกล่าวเสมอ</p> 2024-03-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/267826 ประสิทธิภาพในการใช้อำนาจนิติบัญญัติของคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร 2023-06-06T18:13:54+07:00 สุจิตตรา พูนสวัสดิ์ [email protected] <p>บทความนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการใช้อำนาจนิติบัญญัติคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎรไทย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การกำหนดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 129 และข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 มีข้อจำกัดที่ส่งผลให้การใช้อำนาจนิติบัญญัติของคณะกรรมาธิการไม่สอดคล้องตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ รวมทั้งการกำหนดวิธีการสอบหาข้อเท็จจริงยังขาดความชัดเจนและไม่ครอบคุลมรอบด้าน เช่น รายละเอียดรูปแบบและแนวทางการรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติไม่เกิดประสิทธิภาพของข้อมูล (Informational Efficiency) ที่เพียงพอในการเสนอต่อสภา เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใช้ประกอบการอภิปรายและประกอบการตัดสินใจในการตรากฎหมาย นอกจากนี้คณะกรรมาธิการสามัญยังขาดการพัฒนาบทบาทงานด้านนิติบัญญัติอย่างเป็นรูปธรรม ในขณะเดียวกันข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 90 ยังไม่ปรากฏการให้อำนาจคณะกรรมาธิการในการตรวจสอบประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายซึ่งปัจจุบันถือเป็นภารกิจหลักที่สำคัญอย่างมากของคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎรในหลายประเทศ</p> <p>ประเด็นปัญหาดังกล่าวผู้เขียนได้ศึกษาแนวคิดการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งเป็นอำนาจของรัฐสภาในฐานะผู้แทนปวงชนที่มาจากเลือกตั้งมีอำนาจในการออกกฎหมายและตรวจสอบฝ่ายบริหารทั้งด้านกฎหมายและการดำเนินนโยบาย เพื่อให้การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารมีความเหมาะสมและถูกต้องเป็นไปตามหลักการแบ่งแยกอำนาจที่กำหนดให้การใช้อำนาจอธิปไตยของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมีความเป็นอิสระต่อกันและมีความสัมพันธ์ต่อกันโดยที่แต่ละฝ่ายสามารถถือสิทธิและปกป้องสิทธิของตนเองด้วยการยับยั้งและสนับสนุนในกิจกรรมสำคัญ ๆ ของอีกฝ่ายหนึ่งได้ รวมทั้งการตรวจสอบและถ่วงดุลที่จะช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจของแต่ละฝ่ายที่ได้รับมอบหมายจากรัฐธรรมนูญเป็นไปได้โดยสะดวก และป้องกันไม่ให้แต่ละฝ่ายใช้อำนาจมากจนเกินขอบเขต อันจะส่งผลให้การใช้อำนาจต่าง ๆ มีความสมดุลหรือเกิดดุลยภาพและประสิทธิภาพ</p> <p>การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยระบบคณะกรรมาธิการเป็นการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินทางอ้อม ถือว่าเป็นแนวทางการดำเนินงานที่ครอบคลุมทุกรูปแบบของการตรวจสอบฝ่ายบริหารทั้งทางกฎหมายและนโยบายได้อย่างคล่องตัว ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้อำนาจของคณะกรรมาธิการต่างประเทศ โดยจะเป็นการยกตัวอย่างกรณีคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่พบว่าการใช้อำนาจของคณะกรรมาธิการสามารถถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารได้อย่างเป็นอิสระและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนสอดคล้องตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ เนื่องจากมีระบบวิธีการดำเนินงานในการกระจายอำนาจหรือแบ่งงานของสภาไปยังคณะกรรมาธิการอย่างเป็นระบบและให้อำนาจด้านนิติบัญญัติแก่คณะกรรมาธิการอย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งคณะกรรมาธิการ สภาสามัญ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นต้นแบบของรัฐสภาไทย แม้ว่าการเมืองการปกครองตามหลักการแบ่งแยกอำนาจไม่เด็ดขาดจะทำให้ฝ่ายบริหารยังมีอิทธิพลครอบงำการพิจารณาร่างกฎหมายของคณะกรรมาธิการ แต่ได้มีการมุ่งเน้นให้คณะกรรมาธิการกลั่นกรองมีบทบาทในการพิจารณาตรวจสอบกฎหมายทั้งก่อนกระบวนการตรากฎหมายและภายหลังการประกาศใช้กฎหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานด้านนิติบัญญัติและนำไปสู่การพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์กฎหมายของคณะกรรมาธิการได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งประเทศไทยสามารถพิจารณานำแนวทางการดำเนินงานมาประยุกต์ใช้ปรับปรุงให้ระบบคณะกรรมาธิการไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้นได้</p> <p> </p> 2024-03-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/268143 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในระบบกฎหมายไทย 2023-06-23T10:07:14+07:00 อานนท์ มาเม้า [email protected] <p>บทความนี้มุ่งอธิบายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในระบบกฎหมายไทย โดยแบ่งเป็น 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และหลักกฎหมายไทยเกี่ยวกับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งในปัจจุบัน ศาลทุกศาลในระบบกฎหมายไทย อันได้แก่ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร และศาลรัฐธรรมนูญ ล้วนมีความผิดฐานละเมิดศาลในแต่ละศาลแล้ว ทั้งนี้ จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นกฎหมายแม่บทในเรื่องความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในกรณีศาลยุติธรรม และเป็นแม่แบบให้กับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในกรณีศาลทหารและศาลปกครอง แต่ศาลปกครองมีการเพิ่มเติมรายละเอียดมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นศาลสุดท้ายในระบบกฎหมายไทยที่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เป็นศาลซึ่งมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญกำหนดความผิดดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะและแยกจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอย่างสมบูรณ์</p> 2024-03-27T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal