Graduate Law Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>บัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำวารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ (Graduate Law TU Journal) ขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดถึงนักวิชาการ นักวิจัย และผู้สนใจภายนอก ได้นำเสนอและเผยแพร่ผลงานบทความวิจัย บทความวิทยานิพนธ์ หรือบทความวิชาการรูปแบบอื่น ๆ สู่วงการนิติศาสตร์และสาธารณชนทั่วไป อันจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าแก่ วงวิชาการ ตลอดถึงการนำไปประยุกต์ปฏิบัติใช้ในวงวิชาชีพ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมและประเทศชาติต่อไป</p> บัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ en-US Graduate Law Journal 1906-2850 <p>บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย</p> การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแบบคู่ขนานในการอนุญาโตตุลาการ ตามสนธิสัญญาการลงทุน: การวิเคราะห์กลไกทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหา https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/275995 <p>การให้คุ้มครองแก่นักลงทุนต่างชาติปรากฏให้เห็นได้จากบทบัญญัติว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในสนธิสัญญาการลงทุน ซึ่งเป็นการให้สิทธินักลงทุนต่างชาติในการยื่นข้อพิพาทกับรัฐผู้รับการลงทุนต่อคณะอนุญาโตตุลาการได้โดยตรง ถึงแม้ว่าการให้ความคุ้มครองแก่นักลงทุนต่างชาติจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนภายในรัฐผู้รับการลงทุนมากขึ้นก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติอาศัยประโยชน์จากบทบัญญัติดังกล่าว ในการวางแผนสัญชาติโดยการออกแบบโครงสร้างทางธุรกิจของตน เพื่อให้องค์กรที่อยู่ภายใต้ธุรกิจที่ตนเป็นผู้ควบคุมอย่างแท้จริงมีหลายสัญชาติ และสามารถนำข้อพิพาทมายื่นต่อคณะอนุญาโตตุลาการโดยอาศัยสนธิสัญญาการลงทุนที่คุ้มครองแตกต่างกันในลักษณะที่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแบบคู่ขนาน และถึงแม้จะไม่ใช่รูปแบบการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่มีผิดในตัวเอง แต่อาจส่งผลกระทบที่ตามมาหลายประการ เช่น ความไม่สอดคล้องกันของคำชี้ขาด การเยียวที่ซ้ำซ้อน การสูญเสียทรัพยากรในการต่อสู้คดี และการเสียเปรียบของรัฐผู้รับการลงทุน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจเพิกเฉยได้</p> <p>บทความนี้เป็นการศึกษาถึงกลไกทางกฎหมายทั้งกลไกทางสนธิสัญญา กลไกในการประสานงานระหว่างองค์คณะอนุญาโตตุลาการ และการปรับใช้หลักกฎหมายทั่วไป เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์ว่ากลไกทางกฎหมายใดมีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับนำมาปรับใช้กับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแบบคู่ขนานตามสนธิสัญญาการลงทุน ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ บทความ เอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งเอกสารขององค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มศึกษาจากลักษณะ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแบบคู่ขนานขึ้น ต่อมาจึงศึกษาว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบอย่างไร หลังจากนั้นจึงศึกษาถึงกลไกในทางกฎหมายในด้านการปรับใช้และข้อจำกัดของแต่ละกลไก</p> <p>จากการศึกษากลไกทางกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน พบว่ากลไกแต่ละประเภทยังมีข้อจำกัดในการปรับใช้ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายในการปรับปรุงให้กลไกทางกฎหมายที่มีอยู่แต่เดิมให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดขึ้นและป้องกันผลกระทบหากเกิดการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแบบคู่ขนานขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p> </p> กชกร มาลาคำ Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 17 4 611 635 การจำกัดสิทธิของชาวต่างชาติผู้ประสงค์จะมีบุตรโดยให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนในกฎหมายกำกับดูแลการดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/275145 <p>การดำเนินการตั้งครรภ์แทนในประเทศไทยในปัจจุบันถูกกำกับดูแลโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 ซึ่งได้กำหนดให้ผู้ประสงค์จะมีบุตรโดยให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนจะต้องมีสัญชาติไทย หากฝ่ายสามีหรือภริยามิได้มีสัญชาติไทย ต้องจดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี อย่างไรก็ตาม กลับพบว่ายังคงมีการลักลอบดำเนินการตั้งครรภ์แทนข้ามชาติผิดกฎหมายในประเทศไทยตลอดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการลักลอบดำเนินการตั้งครรภ์แทนดังกล่าวส่งผลกระทบในเชิงสุขภาพและในเชิงความคุ้มครองตามกฎหมายของเด็กที่จะเกิดมาในหลายประการ บทความนี้จึงได้ทำการศึกษาการจำกัดสิทธิของชาวต่างชาติผู้ประสงค์จะมีบุตรฯ ตามกฎหมายไทย และทำการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศอังกฤษ และประเทศอินเดีย ซึ่งกฎหมายของทั้งสองประเทศก็ได้มีบทบัญญัติจำกัดสิทธิของชาวต่างชาติผู้ประสงค์จะมี<br />บุตรฯเช่นเดียวกัน โดยจากการวิเคราะห์พบว่าสภาพเศรษฐกิจสังคมและแรงจูงใจในการรับตั้งครรภ์แทนของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของกฎหมายในการห้ามการตั้งครรภ์แทนข้ามชาติ ส่งผลให้การจำกัดสิทธิของชาวต่างชาติผู้ประสงค์จะมีบุตรฯตามกฎหมายไทยไม่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการตั้งครรภ์แทนข้ามชาติ แต่กลับจะยิ่งส่งเสริมทางอ้อมให้เกิดการดำเนินการในลักษณะลักลอบ จึงได้นำไปสู่ข้อเสนอให้ให้มีการแก้ไขบทบัญญัติว่าด้วยสัญชาติของผู้ประสงค์จะมีบุตรฯ โดยอนุญาตให้สามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายชาวต่างชาติสามารถเข้ารับบริการตั้งครรภ์แทนในประเทศไทยได้ ควบคู่ไปกับการกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับ กคทพ. ในการพิจารณาอนุญาตการดำเนินการตั้งครรภ์แทนในกรณีที่ผู้ประสงค์จะมีบุตรฯ เป็นผู้มิได้ถือสัญชาติไทย ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองความผาสุกเด็กที่จะเกิดโดยอาศัยการตั้งครรภ์แทน</p> ณัฐนิช ลิมปโอวาท Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 17 4 636 660 มาตรการเฉพาะกาลของศาลปกครองในการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของกฎ ที่มิได้กำหนดบทเฉพาะกาล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/272275 <p> “กฎ” เป็นผลผลิตจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของฝ่ายปกครองที่เป็นการสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาใช้บังคับในลักษณะที่เป็นนามธรรม (abstract) และมีผลเป็นการทั่วไป (general) โดยมิได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับกับกรณีใด หรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ การที่ฝ่ายปกครองจะออกกฎฉบับใดขึ้นมาใช้บังคับ โดยมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลซึ่งมีอยู่เดิมในขณะที่กฎนั้นมีผลใช้บังคับ นอกจากการกำหนดกฎเกณฑ์อันเป็นเนื้อหาหลักของกฎ หรือที่เรียกว่า “บทถาวร” ซึ่งฝ่ายปกครองมุ่งหมายที่จะบังคับใช้กับบุคคลอย่างถาวรจนกว่าจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้อำนาจแล้ว ในบางกรณี เพื่อให้การบังคับใช้กฎเหล่านั้นเป็นไปอย่างราบรื่นในระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การบังคับใช้กฎเกณฑ์ใหม่ที่ถูกกำหนดขึ้น และเพื่อเป็นการรองรับสิทธิของบุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎอย่างเหมาะสม ฝ่ายปกครองยังต้องคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎเกณฑ์เหล่านั้น และพิจารณากำหนดให้มีกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะเป็นการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า “บทเฉพาะกาล” ซึ่งมีผลทางกฎหมายเพียงช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งขึ้นมาใช้ควบคู่กันไปในช่วงเวลาเริ่มแรกที่มีการใช้บังคับกฎนั้นด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่การออกกฎเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายอย่างหนึ่งของฝ่ายปกครองตามหลักว่าด้วยการปรับเปลี่ยนได้ของกฎที่บุคคลไม่มีสิทธิเรียกร้องให้กฎที่ใช้บังคับอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดำรงคงอยู่ต่อไป และฝ่ายปกครองอาจตัดสินใจยกเลิกกฎที่ใช้บังคับอยู่นั้นได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม โดยถือเป็นดุลพินิจอย่างหนึ่งของฝ่ายปกครองที่อาจกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างไรก็ได้ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทำให้ในบางครั้งกฎที่ฝ่ายปกครองออกมาใช้บังคับกับบุคคลจึงอาจมีการกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาโดยมุ่งหมายเพียงเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแม่บทที่ให้อำนาจไว้เท่านั้น แต่มิได้มีการกำหนดบทเฉพาะกาลขึ้นมาเพื่อรองรับสิทธิของบุคคลที่มีอยู่ในขณะที่กฎนั้นมีผลใช้บังคับอย่างเหมาะสม จนเป็นเหตุให้สิทธิของบุคคลอาจถูกกระทบร้ายอย่างแรงเกินสมควรเมื่อเทียบกับวัตถุประสงค์ในการบังคับใช้กฎนั้น</p> <p> </p> <p>ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันศาลปกครองไทยจะมีอำนาจในการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของกฎ ในคดีพิพาท<br />เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และมีอำนาจเพิกถอนกฎ ตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งเป็นมาตรการในการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองที่มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับกันในระบบกฎหมายปกครองประเทศต่าง ๆ ก็ตาม แต่ด้วยผลของการเพิกถอนซึ่งมีลักษณะเป็นการลบล้างผลทางกฎหมายของกฎอย่างถาวรจากระบบกฎหมายที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในความเป็นจริง โดยที่หากศาลเลือกที่จะคุ้มครองสิทธิของบุคคลหรือแก้ไขเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกฎดังกล่าว ด้วยการนำมาตรการเพิกถอนซึ่งเป็นการลบล้างผลทางกฎหมายของกฎอย่างถาวรมาใช้ในการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของกฎ เพียงเพราะเหตุที่ฝ่ายปกครองมิได้กำหนดบทเฉพาะกาลซึ่งเป็นเพียงกฎเกณฑ์ชั่วคราวไว้ จึงอาจมีผลกระทบต่อการบังคับใช้กฎหมายและการจัดทำบริการสาธารณะของฝ่ายปกครองได้ แต่ในทางกลับกัน หากศาลเลือกที่จะคุ้มครองประโยชน์สาธารณะโดยให้กฎที่มิได้กำหนดบทเฉพาะกาลนั้นมีผลทางกฎหมายต่อไป ด้วยการไม่นำมาตรการเพิกถอนดังกล่าวมาใช้ย่อมมีผลให้ความเดือดร้อนหรือเสียหายของบุคคลซึ่งได้รับผลกระทบจากกฎดังกล่าวไม่ได้รับการเยียวยาแก้ไขอย่างเหมาะสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย อันแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดของมาตรการในการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของศาลปกครอง ที่ไม่ว่าศาลจะเลือกใช้มาตราดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขเยียวยาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในความเป็นจริงได้อย่างสิ้นเชิง</p> <p>ฉะนั้น เพื่อให้การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของกฎโดยศาลปกครองไทยเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ<br />มากยิ่งขึ้น และสามารถลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากผลของคำพิพากษา รวมทั้งประสานประโยชน์สาธารณะกับประโยชน์ของปัจเจกบุคคลได้อย่างเหมาะสม ศาลปกครองไทยควรมีการนำแนวทางการพิจารณาและพิพากษาคดีให้เพิกถอนกฎในลักษณะที่เป็นการสร้างมาตรการเฉพาะกาลของศาลปกครองฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแนวทางในการเพิกถอนกฎที่ได้รับการพัฒนามาจากแนวคิดการผ่อนคลายความเคร่งครัดในการพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองแบบดั่งเดิม มาปรับใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับการออกกฎที่มิได้กำหนดบทเฉพาะกาลของไทย ด้วยการจำกัดผลทางระยะเวลาของคำพิพากษา ให้การเพิกถอนกฎมีผลเพียงช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ในลักษณะที่เป็นการกำหนดมาตรการเฉพาะกาลขึ้นมาเลื่อนการบังคับใช้กฎในช่วงเวลาเริ่มแรก เพื่อให้บุคคลที่มีสิทธิอยู่ในขณะที่กฎพิพาทมีผลใช้บังคับยังคงสามารถใช้สิทธิต่าง ๆ ต่อไปได้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และให้ฝ่ายปกครองผู้ออกกฎยังคงสามารถบังคับใช้กฎดังกล่าวต่อไปได้ตามเหตุผลและความจำเป็นของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ ภายหลังจากพ้นช่วงเวลาดังกล่าว</p> ปิยะวุฒิ ประคองบุษย์ Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 17 4 661 685 การเปลี่ยนตัวคู่สัญญาฝ่ายเอกชนในสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/273204 <p>การที่หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างกับเอกชน ในลักษณะที่เป็นสัญญาทางปกครองนั้น <br />การดำเนินการย่อมอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกเอกชนที่จะเข้ามาเป็นคู่สัญญาและขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด โดยหน่วยงานของรัฐอาจจะใช้เกณฑ์ราคา เกณฑ์เทคนิค หรือเกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์เทคนิค แล้วแต่กรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดซื้อจัดจ้างที่หน่วยงานของรัฐใช้เกณฑ์เทคนิคนั้น เอกชนที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาเป็นคู่สัญญา จะต้องผ่านวิธีการและคุณสมบัติตามที่หน่วยงานของรัฐและกฎหมายกำหนด คุณสมบัติของคู่สัญญาจึงถือว่าเป็นสาระสำคัญของสัญญา แต่อย่างไรก็ดี พบว่าปัจจุบันในระหว่างการดำเนินงานตามสัญญา มีการแก้ไขสัญญาโดยการเปลี่ยนตัวคู่สัญญาฝ่ายเอกชนในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างที่มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง โดยคู่สัญญาฝ่ายเอกชนได้มีการโอนหน้าที่ตามสัญญาให้เอกชนรายอื่น อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ซึ่งเอกชนรายใหม่นั้นไม่ได้ผ่านกระบวนการคัดเลือกตามที่หน่วยงานของรัฐและกฎหมายกำหนดแต่อย่างใด ทั้งที่ในสัญญาบางประเภทคุณสมบัติของคู่สัญญาถือเป็นสาระสำคัญของสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง เมื่อหน่วยงานของรัฐไม่ได้พิจารณาคุณสมบัติของเอกชนรายใหม่ที่เข้ามาแทนที่ตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดนั้น เอกชนรายใหม่ที่เข้ามาแทนที่เอกชนรายเดิมนั้นอาจไม่มีคุณสมบัติหรือความสามารถในการดำเนินงานตามสัญญาได้ ดังนั้น การแก้ไขสัญญาโดยการเปลี่ยนตัวคู่สัญญานั้นจึงอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย</p> <p>จากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันไม่มีกฎหมายกำหนดห้ามไม่ให้มีการเปลี่ยนตัวคู่สัญญาฝ่ายเอกชนในสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง มีเพียงแนวทางซักซ้อมความเข้าใจของกรมบัญชีกลางเท่านั้น และนิติวิธีในการนำกฎหมายเอกชนมาปรับใช้กับกฎหมายปกครองยังขาดความชัดเจนอยู่มาก ผู้เขียนจึงเห็นควรให้มีการนำบทบัญญัติที่ว่าด้วยการห้ามเปลี่ยนตัวคู่สัญญาฝ่ายเอกชนในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างของประเทศสหรัฐอเมริกา คือ 41 ประมวลกฎหมายแห่งสหรัฐ (41 US Code) มาตรา 6305 ประกอบ FAR 42.1204 Applicability of Novation Agreement และสหภาพยุโรป คือ Directive 2014/24/EU มาตรา 72 มาปรับใช้เป็นแนวทางในการบัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้ในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ของประเทศไทยต่อไป เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเป็นการรักษาประโยชน์ของรัฐอีกทางหนึ่ง</p> <p> </p> รัชนี ทองเรือง Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 17 4 686 708 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการวินิจฉัยปัญหาหรือคดีโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองไทย https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/273852 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาวิธีพิจารณาคดีปกครองในส่วนที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยปัญหาหรือคดีโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครอง ด้วยวิธีการศึกษาจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง บันทึกการประชุมในชั้นพิจารณาร่างกฎหมาย ตลอดจนผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องทั้งที่เผยแพร่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 จะได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการนำปัญหาหรือคดีเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองไว้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรโดยมีการแจกแจงรายละเอียดไว้พอสมควรก็ตาม แต่หลักเกณฑ์ในส่วนที่กำหนดองค์กรผู้มีอำนาจริเริ่มหรือตัดสินใจนำปัญหาหรือคดีเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครอง ยังคงมีปัญหาความไม่สอดคล้องกับหลักความเป็นอิสระของตุลาการ ส่วนหลักเกณฑ์ที่กำหนดเหตุหรือเงื่อนไขในการนำปัญหาหรือคดีเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองปัญหาเกี่ยวกับความชัดเจนแน่นอนของกฎหมาย รวมถึงมีปัญหาความเหมาะสมในกรณีกำหนดให้คดีมีทุนทรัพย์สูงเป็นเหตุหรือเงื่อนไขหนึ่งสำหรับการที่องค์กรผู้มีอำนาจจะนำ<br />ปัญหาหรือคดีนั้น เข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครอง ดังนั้น จึงเป็นการสมควรที่จะต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองของประเทศไทย ด้วยการวางกลไกถ่วงดุลการใช้ดุลพินิจขององค์กรผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดให้มีการแสดงเหตุผลประกอบคำสั่งนำปัญหาหรือคดีเข้าสู่การวินิจฉัยโดย<br />ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครอง การกำหนดให้องค์คณะพิจารณาพิพากษามีอำนาจเสนอคำขอเพื่อให้มีการวินิจฉัยปัญหาหรือคดีโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครอง การให้ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองมีอำนาจตัดสินใจในการรับปัญหาหรือคดีเข้าสู่การวินิจฉัย และการนำกรณีคดีมีทุนทรัพย์สูงออกจากเหตุหรือเงื่อนไข<br />ในการใช้ดุลพินิจเพื่อนำปัญหาหรือคดีเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครอง</p> รัฐนิติ นิติอาภรณ์ Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 17 4 709 735 มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมให้มีการจัดการศพทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/275185 <p>บทความนี้มุ่งนำเสนอมาตรการทางกฎหมายและมาตรการส่งเสริมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดให้มีการจัดการศพทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อวิเคราะห์หามาตรการที่เหมาะสมสำหรับการกำหนดให้มีการจัดการศพทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการจัดการศพในรูปแบบเดิมอย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันได้รับการยอมรับและกำหนดไว้เป็นวิธีการทางเลือกเพิ่มเติม ได้แก่ วิธีการเผาศพด้วยน้ำ (Alkaline Hydrolysis) หรือวิธีการลดปริมาณสารอินทรีย์ตามธรรมชาติ (Natural Organic Reduction) ซึ่งสามารถช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องของมลพิษทางอากาศ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการอนุรักษ์พลังงาน นอกจากนี้ ในการดำเนินการจัดตั้ง พัฒนา และจัดการสถานที่ฝังศพตามธรรมชาติ (Natural Burial Ground) ยังสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการนำพื้นที่ป่าไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น การอนุรักษ์หรือฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ การลดความเสื่อมโทรมของสภาพพื้นที่ป่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียว และเพิ่มศักยภาพในการเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอน เป็นต้น ผู้เขียนพบว่า ประเทศไทยมีมาตรการส่งเสริมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มาตรการด้านกองทุนสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มาตรการด้านกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 มาตรการส่งเสริมตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) หรือ T-VER และมาตรการด้านภาษีอากร ที่สามารถนำมาพิจารณาและปรับใช้เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือ และเพื่อเป็นการจูงใจให้ภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการจัดการศพทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการออกมาตรการทางกฎหมายหรือข้อกำหนดใด ๆ มารองรับว่าการจัดการศพทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นวิธีการที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการจัดการศพในรูปแบบเดิมได้ ปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นอุปสรรคในการนำมาตรการส่งเสริมต่าง ๆ มาพิจารณาและปรับใช้เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการศพทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย บทความนี้จึงได้นำเสนอแนวทางสำหรับการกำหนดให้มีการจัดการศพทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำมาตรการทางกฎหมายและมาตรการส่งเสริมของต่างประเทศ ได้แก่ มาตรการทางกฎหมายในระดับรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเกาหลีใต้มาเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายไทยต่อไป</p> วราพงศ์ จันทนพันธ์ Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 17 4 736 763 ปัญหาการดำเนินคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในศาลปกครอง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/275415 <p style="margin: 0cm; margin-bottom: .0001pt; text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"><span lang="TH" style="font-size: 15.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงและได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน <br />เป็นอันมากเมื่อพิจารณาถึงกฎหมายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบันแล้วจะเห็นได้ว่าได้มีกฎหมายที่ให้อำนาจหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม <br />โดยปกติแล้วหากมีผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายและเกิดเป็นข้อพิพาททางปกครองขึ้น ย่อมต้องยื่นฟ้องคดี<br />ต่อศาลปกครอง ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติจัดตั้ง<br />ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 ที่บัญญัติถึงคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง</span></p> <p style="margin: 0cm; margin-bottom: .0001pt; text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"> </p> <p style="margin: 0cm; margin-bottom: .0001pt; text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"><span lang="TH" style="font-size: 15.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">จากการศึกษาพบว่า กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ประกอบกับคำแนะนำของประธานศาลปกครองสูงสุดในการดำเนินคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2554 สามารถรองรับการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรก็ตาม ได้พบปัญหาและข้อจำกัดทางกฎหมายดังกล่าว ในเรื่องของการขาดบทนิยามของคำว่า “คดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม”, สิทธิการยื่นฟ้องคดีแบบกลุ่ม,หลักเกณฑ์เกณฑ์ในการพิจารณาความเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย<br />โดยพิจารณาถึงความเสียหายของสิ่งแวดล้อมประกอบ, การมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา, <br />ผลของคำพิพากษาที่มีผลต่อผู้ที่มิได้ถูกฟ้องคดี,การมีคำพิพากษาเกินคำขอ, การสงวนสิทธิแก้ไขคำพิพากษา, <br />การกำหนดค่าเสียหายทางจิตใจ และหลักเกณฑ์การบังคับคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม</span></p> <p style="margin: 0cm; margin-bottom: .0001pt; text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"> </p> <p style="margin: 0cm; margin-bottom: .0001pt; text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"><span lang="TH" style="font-size: 15.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">บทความฉบับนี้จึงมีข้อสรุปจากการศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในบทความฉบับนี้</span></p> <p style="margin: 0cm; margin-bottom: .0001pt; text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"> </p> <p style="margin: 0cm; margin-bottom: .0001pt; text-align: justify; text-justify: inter-cluster;"> </p> วิรัช วิสาขศาสตร์ Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 17 4 การพรากโดยการแสวงหาผลประโยชน์จากความไว้วางใจในการล่อลวง เพื่อการอนาจารเด็ก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/274248 <p>การล่อลวงเพื่อการอนาจารเด็กเป็นกลวิธีอย่างหนึ่งของผู้กระทำความผิดทางเพศต่อเด็ก ซึ่งเป็นการสร้างสถานะความสัมพันธ์และการแสวงหาผลประโยชน์จากความไว้วางใจที่เกิดจากความสัมพันธ์นั้นในขั้นตระเตรียมการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กหรือขั้นล่วงละเมิดทางเพศหรือแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก การอยู่กับเด็กโดยลำพังเป็นสถานการณ์ที่ทำให้ผู้กระทำสามารถล่วงละเมิดทางเพศหรือแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กได้โดยไม่มีผู้อื่นพบเห็น ผู้กระทำความผิดทางเพศต่อเด็กหลายรายจึงมักหาโอกาสเพื่อให้ตนเองได้อยู่กับเด็กโดยลำพังก่อนที่จะมีการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก ในกรณีที่ผู้กระทำใช้การล่อลวงเพื่อการอนาจารเด็กก่อนที่จะมีการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก ความซับซ้อนของความสัมพันธ์ใกล้ชิดอันเกิดจากการล่อลวงเพื่อการอนาจารเด็ก วิธีการแสวงหาผลประโยชน์จากความไว้วางใจ และการใช้กลวิธีชักจูงเด็กโดยอาศัยความมีอิทธิพลเหนือ การตัดสินใจของเด็กของผู้กระทำ ทำให้การสร้างสถานการณ์ที่ผู้กระทำอยู่กับเด็กโดยลำพังเกิดขึ้นหลากหลายรูปแบบ การปรับใช้บทบัญญัติความผิดฐานพรากเด็กหรือพรากผู้เยาว์ มาตรา 317 ถึงมาตรา 319 จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ควรถูกนำใช้เพื่อลงโทษผู้กระทำและยับยั้งให้ไม่มีการสร้างสถานการณ์ในลักษณะดังกล่าวขึ้น แต่การตีความการกระทำที่การพรากของศาลไทยยังขาดความชัดเจน ทำให้ในกรณีที่ผู้กระทำไม่ได้มีการกระทำทางกายภาพอย่างชัดเจนอย่างการก่อ การสนับสนุนการเดินทางของเด็กหรือการสนทนากับเด็กในช่องทางสนทนาออนไลน์ ถูกวินิจฉัยว่าไม่เป็นการพรากเด็กหรือผู้เยาว์ในบางคดี ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะให้ในกรณีที่ผู้กระทำอาศัยความสัมพันธ์หรือแสวงหาผลประโยชน์จากความไว้วางใจอันเกิดจากความสัมพันธ์ กระทำการใด ๆ อันทำให้ตนเองได้อยู่กับเด็กโดยลำพัง ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเกิดการกระทำโดยตรง ก่อ หรือสนับสนุนให้เด็กเดินทางออกจากการปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเป็นการพรากเด็กหรือผู้เยาว์ และควรมีการกำหนดความรับผิดทางอาญาสำหรับกรณีการสนทนากับเด็กผ่านทางช่องทางออนไลน์ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กเป็นความผิดเกี่ยวกับการกระทำทางเพศตต่อเด็กอีกฐานความผิดหนึ่ง</p> สิรินทิพย์ สมใจ Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 17 4 789 811 อาชญากรรมรุกราน และปัญหาความชอบด้วยกฎหมายของ การป้องกันตนเองล่วงหน้าของรัฐ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/273217 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาปัญหาการกระทำของรัฐที่มีลักษณะเป็นการก่ออาชญากรรมรุกรานแต่รัฐอ้างสิทธิในการป้องกันตนเองล่วงหน้าเพื่อยกเว้นความรับผิดต่ออาชญากรรมรุกราน โดยการใช้สิทธิดังกล่าว รัฐอ้างว่าเป็นสิทธิที่อยู่ภายใต้การรับรองของกฎบัตรสหประชาชาติข้อ 51 ในฐานะ “สิทธิดั้งเดิมของรัฐ” ซึ่งมีรากฐานมาจากกรณี Caroline aff</p> <p>ดังที่บัญญัติไว้ในข้อ 51 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ การป้องกันตนเองล่วงหน้าแตกต่างจากการป้องกันตนเองโดยทั่วไป กล่าวคือ รัฐสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้โดยลำพังในการใช้กำลังทางทหารเพื่อป้องกันตนเองจากรัฐผู้รุกรานเมื่อมีการโจมตีเกิดขึ้น (An armed attack occurs) ในกรณีการป้องกันตนเองแบบทั่วไป ในขณะที่การป้องกันตนเองล่วงหน้านั้นเป็นใช้กำลังทางทหารของรัฐโดยอ้างสิทธิในการป้องกันตนเองล่วงหน้าเพื่อโจมตีรัฐอันธพาลก่อนที่รัฐอันธพาลจะดำเนินการโจมตีหรือการรุกราน การป้องกันตนเองล่วงหน้าจึงมีเป้าประสงค์เพื่อกระทำต่อรัฐอันธพาลที่สร้าง<strong>ภยันตรายอันใกล้จะถึง (</strong><strong>Imminent threat)</strong> โดยมีจุดประสงค์เพื่อปลดอาวุธหรือขจัดภัยคุกคามที่ใกล้จะถึงดังกล่าวก่อนที่รัฐอันธพาลจะได้ดำเนินการโจมตีครั้งแรก ซึ่งแม้ว่าการกระทำดังกล่าวมีลักษณะเป็นอาชญากรรมรุกรานตามความหมายของธรรมนูญกรุงโรมข้อ 8 Bis แต่รัฐเหล่านั้นก็หยิบยกการป้องกันตนเองล่วงหน้าดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิด บทความนี้จึงมุ่งนำเสนอแนวคิดและวิเคราะห์ทางปฏิบัติของรัฐว่าสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่</p> <p> </p> สุรวุฒิ อินทร์สำเภา Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 17 4 812 832 ช่องว่างทางกฎหมายกรณีการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องบันทึกภาพและเสียง อย่างต่อเนื่องตามพระราชบัญญัติป้องกันปราบปรามการทรมานการกระทำ ให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/273410 <p>ในอดีตที่ผ่านมาปัญหาการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบทั้งในส่วนพฤติการณ์และกระบวนการล้วนมีการเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจที่มากเกินขอบเขต ไม่ว่าจะเป็นการตรวจ การควบคุมตัว การจับ การซ้อมผู้ต้องหาเพื่อให้รับสารภาพ การสร้างพยานหลักฐานเท็จ การวิสามัญฆาตกรรม การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น โดยการบังคับใช้กฎหมายโดยเกินเลยไปนั้น อาจเกิดมาจากความไม่เท่าเทียมกันของผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฐานะทางสังคม อิทธิพลทางสังคม หน้าที่การงาน ฐานะทางการเงิน ความสัมพันธ์ทางตรงและทางอ้อม เช่น ญาติมิตร ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนฝูง คนรู้จัก ซึ่งเหล่านี้ล้วนถือเป็นตัวแปรที่เป็นปัจจัยในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐได้เช่นกัน และแม้ปัจจุบันจะมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 อันเป็นหลักประกันของผู้ถูกควบคุมตัวว่า ในการควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุมจนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวนหรือปล่อยตัวบุคคลดังกล่าวไป อย่างไรก็ตาม กรณีเมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ส่งตัวให้พนักงานสอบสวนแล้ว กลับไม่มีการบัญญัติให้ต้องมีการบันทึกภาพและเสียงในชั้นสอบสวนแต่อย่างใด จึงเกิดข้อแตกต่างและช่องว่างทางกฎหมายระหว่างชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน อันส่งผลให้ผู้ถูกควบคุมตัวปราศจากหลักประกันความปลอดภัยในชั้นสอบสวน รวมทั้ง ความเสี่ยงในการถูกขู่เข็ญ หลอกลวง ทรมาน ใช้กำลังบังคับ หรือกระทำโดยมิชอบประการใด ๆ รวมไปถึงการเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย และปัญหาอีกประการหนึ่งคือการไม่ได้กำหนดฐานความผิดที่เหมาะสมในการบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ทุกฐานความผิดตั้งแต่ความผิดลหุโทษกระทั่งถึงความผิดที่มีโทษฉกรรจ์จะต้องมีการบันทึกภาพและเสียงทุกกรณี</p> <p>ตามปัญหาดังกล่าว บทความนี้จึงมุ่งศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน หลักการปฏิบัติหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 สภาพปัญหาและผลกระทบเกี่ยวกับการบันทึกภาพและเสียงของเจ้าหน้าที่ของรัฐในบริบทต่าง ๆ รวมทั้ง การศึกษาเปรียบเทียบกรณีการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่อง ในประเทศอังกฤษและประเทศเยอรมนี ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่อง ตามพระราชบัญญัติป้องกันปราบปรามการทรมานการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ควรได้รับการแก้ไขเพิ่มเติม 2 ประการ คือ การกำหนดให้มีการบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในชั้นสอบสวน และการกำหนดฐานความผิดที่เหมาะสมในการบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานและลดดุลพินิจในการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยการแก้ไขเพิ่มเติมไว้ในพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินกระบวนยุติธรรมทางอาญาในชั้นเจ้าพนักงานเกี่ยวกับการบันทึกภาพและเสียงกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่ประชาชนเป็นไปอย่างสมดุล เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 รวมไปถึงให้เกิดความสอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment: CAT) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance: ICPPED) และอนุสัญญาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อันเป็นหลักสากลควบคู่กันไปด้วยต่อไป</p> <p> </p> อธิวัฒน์ ลิปภานนท์ Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-25 2024-12-25 17 4 833 855