Graduate Law Journal https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>บัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำวารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ (Graduate Law TU Journal) ขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดถึงนักวิชาการ นักวิจัย และผู้สนใจภายนอก ได้นำเสนอและเผยแพร่ผลงานบทความวิจัย บทความวิทยานิพนธ์ หรือบทความวิชาการรูปแบบอื่น ๆ สู่วงการนิติศาสตร์และสาธารณชนทั่วไป อันจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าแก่ วงวิชาการ ตลอดถึงการนำไปประยุกต์ปฏิบัติใช้ในวงวิชาชีพ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมและประเทศชาติต่อไป</p> en-US <p>บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย</p> tulawgradjournal@gmail.com (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปูนเทพ ศิรินุพงศ์) tulawgradjournal@gmail.com (นางสาวสุวพิชญ์ ชาวสี่ร้อย) Wed, 26 Jun 2024 13:38:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 THE THE IMPLEMENTATION OF TREATIES IN INDONESIA’S LEGAL SYSTEM : A CASE STUDY ON EXTRADITION https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/270616 <p>This study examines the application of international treaties to Indonesian law, focusing on extradition. An in-depth analysis of Indonesia's adoption and implementation of extradition treaties within the framework of its domestic legal system is provided in this article. International law is complex and nuanced, and extradition is no exception. The paper explores Indonesian extradition legislation, including relevant constitutional provisions, laws, and accepted legal practices. It examines the procedural elements of extradition, the role of the judiciary, and the guiding principles. This paper utilized the normative juridical technique using legal materials in the form of extradition laws and regulations and pertinent information about the Indonesian legal system. It aims to increase understanding of how Indonesia maintains its territorial integrity while navigating the intricate web of international agreements.</p> <p> </p> Go Lisanawati, Dr. Wisnu Dewanto Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/270616 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 การทับซ้อนกันของที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/268620 <p>บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการทับซ้อนกันของที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน เพื่อศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการกำหนดบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทับซ้อนกันของอุทยานแห่งชาติทับลานกับที่ดินของรัฐ และศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน โดยเนื้อหาของบทความจะเป็นการสะท้อนให้เห็นความเป็นมาของปัญหาที่เกิดขึ้น<br />จากการทับซ้อนกันของที่ดินของรัฐในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน การดำเนินการของรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน รวมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการทับซ้อนกันของแนวเขตที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขโดยมีการจัดทำแนวเขตที่ดินให้ชัดเจนและบนพื้นฐานของสภาพพื้นที่จริง และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและประชาชน โดยคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติและความเป็นของคนในป่าอย่างสมดุล เพื่อให้เกิดความธรรมและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม </p> การุณย์ พิมพ์สังกุล Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/268620 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 มาตรการทางกฎหมายในการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (Li-ion Battery) https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/270912 <p>บทความนี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายในการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีที่มาของสภาพปัญหาจากการเพิ่มสูงขึ้นของปริมาณซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เนื่องจากการขยายตัวของการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา <br />และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดอื่น ตลอดจนการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณซากแบตเตอรี่<br />ชนิดลิเทียมไอออนที่ต้องนำเข้าสู่ระบบการจัดการของเสียเพิ่มสูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามหากซากแบตเตอรี่ถูกจัดการอย่างไม่ถูกวิธีจะส่งผลให้สารอันตรายที่เป็นส่วนประกอบภายในแบตเตอรี่ เช่น ลิเทียม แมงกานิส โคบอลต์ <br />รั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดภาวะมลพิษต่อผู้ที่สัมผัสสารอันตรายดังกล่าว จากการศึกษามาตรการทางกฎหมายในการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในประเทศไทย พบว่า มาตรการทางกฎหมายไม่เพียงพอต่อการนำมาใช้ในการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนได้อย่างเป็นระบบและครบวงจร ทั้งยังไม่ครอบคลุมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน กล่าวคือ ไม่มีมาตรการการหมุนเวียนวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำ ทำให้ในการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนนั้นเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นบทความนี้จึงศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนจากประเทศอื่นๆ เช่น กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป, <br />ประเทศอินเดีย และประเทศสิงคโปร์ เพื่อวิเคราะห์และหาแนวทางในการพัฒนามาตรการทางกฎหมายในการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในประเทศไทย ให้เหมาะสมกับบริบท และสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย</p> <p>จากการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ พบว่า ในแต่ละประเทศมีการกำหนดกฎหมายเฉพาะสำหรับการจัดการแบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานโดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดแยก เก็บรวบรวม <br />ไปจนถึงกระบวนการกำจัดซากแบตเตอรี่ ซึ่งแต่ละประเทศได้นำเอาแนวคิด Circular Economy หรือหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้เป็นแนวทางในการจัดการซากแบตเตอรี่ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ควบคู่<br />ไปกับหลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility : EPR) มาใช้เพื่อบังคับให้ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย จะต้องเข้าไปร่วมรับผิดชอบในการจัดการซากแบตเตอรี่ที่ตนเองได้ผลิต หรือจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง บทความนี้เห็นด้วยกับมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ เนื่องจากเป็นมาตรการที่ครอบคลุมในการจัดการซากแบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงตลอดวงจรชีวิตของแบตเตอรี่ ทั้งยังสามารถหมุนเวียนนำเอาวัตถุดิบที่ผ่านการใช้งานแล้วกลับมา Reuse <br />หรือ Recycle ได้อีกอันเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการลดปริมาณขยะที่จะต้องถูกนำไปกำจัด ณ สถานที่ปลายทาง เพื่อเป็นการป้องกันภาวะมลพิษที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน นอกจากนี้ยังเป็นการทำให้ผู้ผลิต หรือผู้จำหน่ายต้องเข้ามาร่วมรับผิดชอบกับการจัดการซากแบตเตอรี่ของตน เพื่อเป็นการลดภาระและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่หน่วยงานรัฐ ดังนั้นประเทศไทยจึงควรพัฒนามาตรการทางกฎหมายเพื่อใช้บังคับการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ด้วยวิธีการผนวกรวมหลักการ EPR เข้าไปกับ <br />(ร่าง) พระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ... ที่จัดทำโดย<br />กรมควบคุมมลพิษ โดยกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในการจัดการ<br />ซากแบตเตอรี่ของตนตั้งแต่กระบวนการออกแบบ ไปจนตลอดวงจรชีวิตของแบตเตอรี่ ควบคู่ไปกับการนำเอาแนวคิด Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน มาปรับใช้กับมาตรการทางกฎหมายโดยห้ามมิให้นำเอาซากแบตเตอรี่<br />ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการบำบัดและรีไซเคิลไปกำจัดโดยทันที เพื่อเป็นการหมุนเวียนวัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการกู้คืนวัตถุดิบแล้วกลับมา Reuse หรือ Recycle อันเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน <br />ทั้งนี้ยังต้องมีการกำหนดเป้าหมายในการกู้คืนวัตถุดิบมาใช้เพื่อ Reuse หรือ Recycle เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตจำต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนด ซึ่งผู้ผลิตจะต้องจัดทำบันทึกข้อมูลปริมาณซากแบตเตอรี่ที่ได้เก็บรวบรวม จำนวนซากแบตเตอรี่ที่ถูกส่งไปบำบัด ปริมาณวัตถุดิบที่สามารถกู้คืนได้จากการบำบัด ปริมาณการ<br />รีไซเคิล รวมไปถึงปริมาณที่ถูกส่งไปกำจัด ณ สถานที่กำจัดปลายทาง เพื่อให้รัฐสามารถเข้าไปตรวจสอบเพื่อกำหนด<br />ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐเป็นผู้กำหนด</p> จักรพันธ์ พงษาชัย Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/270912 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 ระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษ : ศึกษาการระวางโทษหนักเบา ตามหลักความได้สัดส่วนโดยการแบ่งชั้นของโทษ https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/268042 <p>ระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษ คือ ระบบที่จัดเรียงความผิดตามระดับความหนักเบาของโทษ โดยความผิดที่มีความรุนแรงของขนาดบทลงโทษเท่ากันจะอยู่ในชั้นของโทษเดียวกัน ส่วนความผิดที่มีความรุนแรงของขนาดบทลงโทษที่แตกต่างกันจะถูกจัดอยู่ต่างชั้นของโทษ การจัดลำดับชั้นของชั้นโทษจะแสดงให้เห็นถึงความได้สัดส่วนของความผิดและโทษอาญา ทั้งกรณีเปรียบเทียบระหว่างความผิดนั้นกับโทษที่ลงแก่ความผิด และกรณีเปรียบเทียบระวางโทษสำหรับความผิดนั้นกับความผิดอื่นที่อยู่ในชั้นโทษเดียวกันหรือต่างชั้น ดังนั้น บทความชิ้นนี้มุ่งหวังจะนำระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษมาปรับใช้ในประมวลกฎหมายอาญา โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับหลักความได้สัดส่วน และหลักความได้สัดส่วน ซึ่งรวมทั้งแนวคิดที่เกี่ยวกับการพิจารณาความร้ายแรงของความผิด อีกทั้งมุ่งศึกษาการกำหนดลำดับชั้นโทษในกฎหมายอาญาต่างประเทศ และสภาพของลำดับชั้นโทษในประมวลกฎหมายอาญาของไทย ปัญหาในการระวางโทษตามหลักความได้สัดส่วนและปัญหาการกำหนดชั้นโทษในประเทศไทย รวมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้วิธีการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลทางเอกสาร จากหนังสือ วารสาร บทความทางวิชาการ ตำรา และเว็บไซต์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p>จากการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยมีปัญหาเกี่ยวกับ 1) การระวางโทษตามหลักความได้สัดส่วน โดยพบปัญหาการระวางโทษจำคุกที่ไม่ได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของความผิดและการระวางโทษจำคุกที่ไม่ได้สัดส่วนกับโทษปรับ 2) ปัญหาเกี่ยวกับระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษ ได้แก่ ไม่มีการจัดลำดับชั้นโทษอย่างชัดเจน ชั้นโทษที่มีอยู่มีความหลากหลาย กระจัดกระจายและไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ชั้นของโทษทับซ้อนในความผิดที่มีความร้ายแรงแตกต่างกัน และที่สำคัญที่สุด คือ ประเทศไทยยังขาดหลักการและหลักเกณฑ์ในการกำหนดชั้นโทษ ทั้งนี้ ผู้เขียนจึงมีข้อสรุปจากปัญหาดังกล่าวและนำเสนอข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาซึ่งจะได้กล่าวในบทความชิ้นนี้ต่อไป</p> เจนจิรา เชี่ยวชาญกิจ Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/268042 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 การคุ้มครองสิทธิของมารดาที่เป็นเด็กในการยุติการตั้งครรภ์ ภายใต้กรอบความคิดเรื่องหลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/270793 <p>ความยินยอมทางอาญาของเด็กเป็นเงื่อนไขสำคัญของการยุติการตั้งครรภ์ เนื่องจากความยินยอมดังกล่าวย่อมส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์มีอำนาจกระทำเหนือเนื้อตัวร่างกายของเด็ก หากฝ่าฝืนต่อความยินยอมดังกล่าวแล้ว บุคคลากรทางการแพทย์อาจมีความรับผิดทางกฎหมายอาญาตามมา แต่อย่างไรก็ดีด้วยเหตุที่เด็กยังมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาไม่เต็มที่ ประกอบกับยังไม่มีวุฒิภาวะที่เพียงพอ ในบางเรื่องเด็กไม่สามารถที่จะรับรู้และเข้าใจถึงลักษณะของการกระทำและผลของการกระทำได้อย่างแท้จริงจึงทำให้ไม่อาจให้ความยินยอมอย่างแท้จริงได้ ดังนี้ในการกำหนดอายุขั้นต่ำที่จะถือว่าเด็กมีความสามารถที่จะให้ความยินยอมทางอาญาในเรื่องใดจึงต้องพิจารณาถึงความรู้และความเข้าใจของเด็กต่อลักษณะของการกระทำ วัตถุประสงค์ของการกระทำและผลที่ตามมาของการกระทำในเรื่องนั้นเป็นรายกรณีไป โดยจะใช้เกณฑ์อายุทางแพ่งของเด็กมาเป็นตัวกำหนดความสามารถของเด็กในทางอาญาไม่ได้ เนื่องจากความยินยอมทางแพ่งและความยินยอมทางอาญามีลักษณะที่แตกต่างกัน อนึ่งในปัจจุบันกฎหมายไทยยอมรับให้หญิงสามารถทำการยุติการตั้งครรภ์ด้วยความสมัครใจได้เมื่อมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ดีกฎหมายมาตราดังกล่าวกลับไม่มีการกำหนดถึงมาตรการที่ใช้เฉพาะเจาะจงกับกรณีของเด็กที่เป็นมารดาประสงค์จะยุติการตั้งครรภ์เอาไว้ อาทิ ไม่ได้มีการกำหนดอายุขั้นต่ำที่ถือว่าเด็กมีความสามารถในการให้ความยินยอม ไม่ได้มีการกำหนดเกี่ยวกับมาตรการพิเศษสำหรับเด็กหากเด็กไม่มีความสามารถในการให้ความยินยอมว่าควรมีขั้นตอนเช่นใดบ้างเพื่อให้เด็กสามารถเข้าสู่กระบวนการยุติการตั้งครรภ์ได้ รวมถึงมาตรการที่จำเป็น อาทิการได้รับคำปรึกษาก่อนการยุติการตั้งครรภ์จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ซึ่งการขาดกระบวนการข้างต้นย่อมส่งผลทำให้เด็กไม่ได้รับความคุ้มครองในกระบวนการการตัดสินใจ ตลอดทั้งการส่งเสริมสวัสดิภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างเหมาะสม และไม่เป็นไปตามหลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก</p> ชนัญชิดา วงค์เงิน Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/270793 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 มาตรการกำกับดูแลธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล : ศึกษากรณีการปล่อยเช่าห้องชุดในอาคารชุด https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/270226 <p>การกำกับดูแลธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นกรณีการปล่อยให้เช่าห้องชุดในอาคารชุดแบบรายวันหรือแบบรายสัปดาห์ โดยมีลักษณะการให้บริการใกล้เคียงกับการประกอบกิจการโรงแรมซึ่งภาครัฐควบคุมมาตรฐานการให้บริการผ่านใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมภายใต้พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ในขณะที่ผู้ประกอบการภาคเอกชนนำห้องชุดในอาคารชุดปล่อยให้เช่าแบบรายวันหรือแบบรายสัปดาห์มีวัตถุประสงค์ในการแบ่งปันห้องชุดในอาคารชุดเพื่อหารายได้เสริมตามแนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปัน (sharing economy) ซึ่งให้เป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 จากกรณีคดีดำเลขที่ 50/2561 คดีแดง 59/2561 ศาลจังหวัดหัวหิน และคดีดำ เลขที่ 277/256 และคดีดำแดง เลขที่ 900/2561 ศาลจังหวัดเพชรบุรี การที่ภาครัฐได้นำหลักการอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมมากำกับดูแลการประกอบกิจการธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นกรณีการปล่อยให้เช่าห้องชุดในอาคารชุดตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 อันไม่สอดรับและเหมาะสมสำหรับธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นประเภทนี้ซึ่งกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเกินสมควรแก่เหตุในการประกอบอาชีพหรือประกอบกิจการตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ให้การรับรองและคุ้มครองไว้ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ปล่อยให้เช่าห้องชุดในอาคารชุด</p> <p>บทความนี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบมาตรการกำกับดูแลการปล่อยให้เช่าห้องชุดในอาคารชุดของธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ กรณีประเทศญี่ปุ่นและกรณีเมืองซานฟรานซิสโกของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยวิเคราะห์ในประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการกำกับดูแลการปล่อยให้เช่าห้องชุดในอาคารชุดของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและเกิดความเหมาะสม ผลการศึกษาพบว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่มีความเหมาะสมและไม่สอดรับกับลักษณะการให้บริการของธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นกรณีการปล่อยให้เช่าห้องชุดในอาคารชุดแต่อย่างใด จึงทำให้รัฐต้องมีการกำกับดูแลธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นประเภทดังกล่าวผ่านใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมอันเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพการประกอบอาชีพของประชาชนมากเกินสมควรแก่เหตุ จนนำไปสู่เกิดการลักลอบปล่อยให้เช่าห้องชุดในอาคารชุดผิดกฎหมายและขาดการรับรองมาตรฐานการให้บริการธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นกรณีปล่อยเช่าห้องชุดในอาคารชุด รวมถึงมาตรฐานความมั่นคงและความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ อีกทั้งรัฐไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลของผู้ประกอบการภาคเอกชนและผู้ใช้บริการได้ ตลอดจนไม่สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการประกอบกิจการเข้าสู่รายได้รัฐด้วยเช่นกัน ดังนั้น รัฐควรปล่อยให้ประชาชนใช้เสรีภาพในการประกอบอาชีพโดยนำห้องชุดในอาคารชุดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองปล่อยให้เช่า โดยรัฐควรกำหนดมาตรการกำกับดูแลที่เหมาะสมในธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นประเภทดังกล่าว เพื่อผู้ประกอบการภาคเอกชนปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรการกำกับดูแลที่ได้กำหนดไว้ โดยมีวัตถุประสงค์ต้องการให้เกิดความมั่นใจและความปลอดภัยในร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ</p> นนทวัฒน์ สุวรรณ Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/270226 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 การวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/268966 <p>ปัญหาการวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบ<br />รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 และพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิก<br />สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การตรวจสอบสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง<br />ของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัญหาการวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง<br />ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาจากสาเหตุอย่างน้อย 5 ประการ คือ ประการแรก องค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตั้งแต่ช่วงก่อนวันเลือกตั้งจนถึงหลังประกาศผลการเลือกตั้งมีมากกว่าหนึ่งองค์กร<strong> <br /></strong>อันอาจทำให้ผลการวินิจฉัยชี้ขาดมีความแตกต่างกัน ประการที่สอง ความรับผิดในทางกฎหมายของผู้สมัคร<br />ในแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่าง ประการที่สาม กรอบเวลาที่กฎหมายกำหนดในการพิจารณาของศาลมีอยู่<br />ค่อนข้างจำกัด ประการที่สี่ บทบัญญัติยังไม่ชัดเจนว่าการสมัครโดยที่ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งนั้น ถือว่าเป็นเหตุให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมหรือไม่ และประการที่ห้า บทบัญญัติยังไม่ครอบคลุมถึงเหตุอื่นที่ควรทำให้ผู้สมัครไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ <br />มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ผู้เขียนจึงได้มีความเห็นเป็นข้อเสนอแนะ<br />เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว 4 ประการ คือ ประการแรก กำหนดเขตอำนาจขององค์กรที่มี<br />อำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยยึดเอาเวลาที่เหตุอันเป็นที่มาแห่งการขาดคุณสมบัติหรือการมีลักษณะต้องห้าม<br />มิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเกิดขึ้นมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดเขตอำนาจขององค์กร ประการที่สอง กำหนดให้มี<br />การตรวจสอบผู้สมัครทุกคนไม่ว่าจะได้รับเลือกตั้งหรือไม่ และกำหนดให้การพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นอำนาจของศาลยุติธรรมโดยไม่จำกัดกรอบเวลาในการพิจารณาของศาล ประการที่สาม กำหนด<br />เหตุที่ทำให้ผู้สมัครไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งให้ครอบคลุมถึงเหตุอื่น และประการสุดท้าย ให้ถือว่าการสมัครโดยไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งนั้น เป็นเหตุทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม </p> ประเคียง เพียรดี Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/268966 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาบทบัญญัติของกฎหมายไม่ครอบคลุมเงินได้จากธุรกรรม ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/268936 <p>จุดเริ่มต้นของธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลเกิดจากแนวความคิดในการสร้างระบบการเงินแบบไร้ตัวกลางเพื่อต้องการปฏิวัติระบบการเงินแบบดั้งเดิมให้กลายมาเป็นระบบการเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ เพียงแต่ลักษณะของรูปแบบธุรกรรมยังคงมีความคล้ายคลึงกับระบบการเงินแบบดั้งเดิม เช่น การสร้างสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยวิธีการระดมทุน การซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล การให้กู้ยืม และการนำสินทรัพย์ดิจิทัลไปฝากไว้ในระบบ เป็นต้น ซึ่งการทำธุรกรรมดังกล่าวนั้นก่อให้เกิดเงินได้ พึงประเมินที่ต้องทำการจัดเก็บภาษีและภาครัฐได้ตระหนักถึงความสำคัญจึงมีความจำเป็นในการตรา พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2561 ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการถือครองโทเคนดิจิทัลตามบทบัญญัติมาตรา 40(4)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากรและจัดเก็บภาษีเงินได้จากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลตามบทบัญญัติมาตรา 40(4)(ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร นอกจากนั้น กรมสรรพากรยังได้ออกคู่มือ “คำแนะนำการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คริปโทเคอร์เรนซี โทเคนดิจิทัล”เพื่อกำหนดประเภทเงินได้จากธุรกรรมต่าง ๆ และกำหนดแนวทางในการจัดเก็บภาษีให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น</p> <p>อย่างไรก็ตาม แนวทางในการจัดเก็บภาษีดังกล่าวยังคงพบประเด็นปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติของกฎหมายไม่ครอบคลุมประเภทเงินได้ตลอดสายการลงทุน ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศสิงคโปร์ ที่มีมาตรการในการจัดเก็บภาษีและกำหนดประเภทเงินได้พึงประเมินได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ผู้เขียน ได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหากำหนดให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรกำหนดประเภทเงินได้ให้มีความชัดเจนและครอบคลุมธุรกรรมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น</p> ปัฐมาภรณ์ สินทรัพย์ Copyright (c) 2024 Graduate Law Journal http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/view/268936 Wed, 26 Jun 2024 00:00:00 +0700