@article{pocharee_2020, title={แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนและความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสะพานไม้แกดำ ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม Guidelines for Community Participation Development and Availability of Kae Dum Wooden Bridge, KaeDum District, Mahasarakham Province.}, volume={11}, url={https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru/article/view/213170}, abstractNote={<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนและความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสะพานไม้แกดำ ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม งานวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการระดมความคิดคิดจากกลุ่มเฉพาะ (Focus Group) จำนวน 20 คน และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งได้แก่แบบสอบถาม จำนวน 500 ชุด โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เริ่มต้นจากการค้นหาทรัพยากรที่มีในชุมชนด้วยการสัมภาษณ์ผู้ แล้วนำมาจัดทำเป็นบัญชีข้อมูลทรัพยากรท่องเที่ยวของชุมชน จากนั้น ระยะที่ 2 เป็นกระบวนการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม นำไปสู่ ระยะที่ 3 เป็นการวัดความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสะพานไม้แกดำ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว และ ระยะที่ 4 เป็นการเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนสะพานไม้แกดำ โดยใช้การระดมความคิดคิดจากกลุ่มเฉพาะ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดได้มาจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนสะพานไม้แกดำ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย โดยระดับการมีส่วนร่วมรายด้านมากที่สุด คือ ด้านการริเริ่มการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว  ส่วนด้านการวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมีค่าน้อยที่สุด   ซึ่งตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยของการมีส่วนร่วมสูงสุด 3 อันดับแรก คือ การปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในชุมชน การจัดสถานที่กำจัด/ทิ้งขยะหรือบริการจัดเก็บขยะพอเพียง และ การขายสินค้าต่างๆ</p> <p>ความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสะพานไม้แกดำโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวและการบริหารจัดการแหลง และ ด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ซึ่งตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยของความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวสูงสุด 3 อันดับแรก ตามลำดับ คือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีความพร้อมในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว การเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่มีความพร้อมสูง และ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์</p> <p>ดังนั้นแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนและความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสะพานไม้แกดำนั้น ควรมีการรวมกลุ่มเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยว ข้องทุกภาคส่วนในชุมชนเข้าใจและให้การยอมรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนสะพานไม้แกดำ อีกทั้งต้องสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวที่จัดขึ้น และทำควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบริเวณรอบหนองน้ำแกดำ โดยอาศัยกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ใส่ใจการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงการพัฒนาที่นำไปสู่การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อนำมาเป็นสินค้าของที่ระลึกหรือของฝาก เพื่อให้คนในชุมชนมีรายได้ และนำไปสู่การลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในชุมชนต่อไป</p> <p> </p>}, number={1}, journal={มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี}, author={pocharee, linjong -}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={151–164} }